พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8941/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: กรอบเวลา 10 ปี, การแจ้งเหตุผลเพิ่มเติม, และการประเมินค่ารายปี
โรงเรียนที่จะได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 9 (3) จะต้องเป็นโรงเรียนสาธารณะ ซึ่งกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคล และต้องใช้ในการศึกษาเท่านั้น โรงเรียนของโจทก์เก็บค่าธรรมเนียมการเรียน ค่าธรรมเนียมอื่นและค่าใช้จ่ายอื่น ซึ่งเป็นการกระทำเพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคล โรงเรียนและสถานรับเลี้ยงเด็กของโจทก์จึงไม่ใช่ทรัพย์สินของโรงเรียนสาธารณะซึ่งกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคลและใช้เฉพาะในการศึกษาจึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดิน ตามมาตรา 9 (3)
ศาสนสมบัติที่จะได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินตามมาตรา 9 (4) จะต้องใช้เฉพาะในศาสนกิจเท่านั้นไม่อาจใช้ในการอื่นได้ โรงเรียนและสถานรับเลี้ยงเด็กของโจทก์ได้สอนความรู้ทางวิชาการด้วย ไม่ได้ใช้เฉพาะด้านศาสนกิจเพียงอย่างเดียว โรงเรียนและสถานรับเลี้ยงเด็กของโจทก์จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดิน ตามมาตรา 9 (4)
โจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภ.ร.ด.2) ประจำปีภาษี 2538 ถึงปีภาษี 2547 เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2547 ซึ่งตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 18 และ 19 กำหนดให้ผู้รับประเมินมีหน้าที่ยื่นแบบแจ้งรายการทรัพย์สินเพื่อเสียภาษีภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี จึงเป็นกรณีที่โจทก์ไม่ยื่นแบบพิมพ์แสดงรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ตามมาตรา 24 ทวิ วรรคสอง (1) ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินย้อนหลังได้ไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นแบบพิมพ์ตามมาตรา 19 คือนับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ในแต่ละปี พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมินไปถึงโจทก์เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2548 แม้โจทก์เคยฟ้องจำเลยเกี่ยวกับการประเมินดังกล่าวมาแล้วตามคดีหมายเลขแดงที่ 81/2555 ของศาลภาษีอากรกลาง ซึ่งศาลดังกล่าวพิพากษาให้เพิกถอนการแจ้งการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน เนื่องจากใบแจ้งรายการประเมินขาดรายละเอียด เหตุผล ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายซึ่งไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 37 และให้เพิกถอนคำวินิจฉัยชี้ขาดของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาดังกล่าวแล้วก็ตาม ก็เห็นได้ว่า ศาลภาษีอากรกลางมิได้พิพากษาเพิกถอนการประเมินอันเป็นคำสั่งทางปกครองแต่อย่างใด และแม้การประเมินภาษีโรงเรือนของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว จะไม่ได้จัดให้มีเหตุผลตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 37 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่คำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางดังกล่าว ก็มีผลให้จำเลยที่ 1 สามารถจัดให้มีเหตุผลและแจ้งให้โจทก์ทราบในภายหลังได้ โดยไม่มีข้อจำกัดที่ต้องกระทำก่อนจำเลยที่ 2 มีคำชี้ขาดที่ถูกเพิกถอนไปแล้ว การที่จำเลยที่ 1 จัดให้มีเหตุผลและแจ้งให้โจทก์ทราบภายหลังย่อมมีผลให้ถือว่า การประเมินครั้งแรกที่แจ้งให้โจทก์ทราบเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2548 ที่ขาดเหตุผลมาแต่เดิมนั้นไม่เป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่สมบูรณ์ ถือได้ว่าการประเมินดังกล่าวสมบูรณ์มาแต่เดิมแล้ว การนับระยะเวลาในการประเมินย้อนหลังไม่เกิน 10 ปี ตามมาตรา 24 ทวิ วรรคสอง (1) จึงนับจากวันที่ประเมินภาษีครั้งแรก ทั้งระยะเวลาย้อนหลังได้ไม่เกิน 10 ปี ก็เป็นเพียงระยะเวลาที่เป็นกรอบเวลาในการใช้อำนาจในการประเมินของจำเลยที่ 1 เท่านั้น มิใช่อายุความ การประเมินภาษีสำหรับปีภาษี 2538 จึงเกินกำหนด 10 ปี แล้ว ส่วนปีภาษี 2539 ถึงปีภาษี 2547 นั้น ไม่เกินกำหนดเวลาตามมาตรา 24 ทวิ วรรคสอง (1) พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีอำนาจประเมินย้อนหลังได้
มาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มิใช่บทบัญญัติบังคับให้พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติตามทุกกรณีไป เพียงแต่หากพนักงานเจ้าหน้าที่ประสงค์จะได้รับความสะดวกตามสมควรในการตรวจตรา ก็ควรจะแจ้งให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประเมินทราบก่อน
เมื่อศาลภาษีอากรกลางมีคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ 81/2555 แล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งรายการประเมินมายังโจทก์เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2556 และต่อมาได้มีการแจ้งเหตุผลเพิ่มเติมตามใบแจ้งรายการประเมินลงวันที่ 15 กรกฎาคม 2556 เมื่อคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางดังกล่าวมิได้เพิกถอนการประเมินอันเป็นคำสั่งทางปกครอง และมีผลให้จำเลยที่ 1 สามารถจัดให้มีเหตุผลและแจ้งให้โจทก์ทราบในภายหลังได้ โดยไม่มีข้อจำกัดที่ต้องกระทำก่อนจำเลยที่ 2 มีคำชี้ขาดที่ถูกเพิกถอนไปแล้ว ใบแนบใบแจ้งรายการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภ.ร.ด.8) เพิ่มเติมดังกล่าวจึงเป็นการจัดให้มีเหตุผลในภายหลังโดยกระทำก่อนสิ้นสุดกระบวนการพิจารณาอุทธรณ์ ตามมาตรา 41 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ใบแจ้งรายการประเมินตามมาตรา 24 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 (ภ.ร.ด.8) จึงเป็นคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วย พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 37 แล้ว
การกำหนดค่ารายปีต้องเป็นไปตามมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 เมื่อโรงเรือนของโจทก์เป็นกรณีที่หาค่าเช่าไม่ได้เนื่องจากเจ้าของทรัพย์สินดำเนินกิจการเองแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมประเมินค่ารายปีโดยเทียบเคียงกับโรงเรือนเลขที่ 70/32 ซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนเช่นเดียวกับโรงเรือนของโจทก์และอยู่ในทำเลที่ใกล้เคียงกับโจทก์ได้
ศาสนสมบัติที่จะได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินตามมาตรา 9 (4) จะต้องใช้เฉพาะในศาสนกิจเท่านั้นไม่อาจใช้ในการอื่นได้ โรงเรียนและสถานรับเลี้ยงเด็กของโจทก์ได้สอนความรู้ทางวิชาการด้วย ไม่ได้ใช้เฉพาะด้านศาสนกิจเพียงอย่างเดียว โรงเรียนและสถานรับเลี้ยงเด็กของโจทก์จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดิน ตามมาตรา 9 (4)
โจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภ.ร.ด.2) ประจำปีภาษี 2538 ถึงปีภาษี 2547 เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2547 ซึ่งตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 18 และ 19 กำหนดให้ผู้รับประเมินมีหน้าที่ยื่นแบบแจ้งรายการทรัพย์สินเพื่อเสียภาษีภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี จึงเป็นกรณีที่โจทก์ไม่ยื่นแบบพิมพ์แสดงรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ตามมาตรา 24 ทวิ วรรคสอง (1) ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินย้อนหลังได้ไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นแบบพิมพ์ตามมาตรา 19 คือนับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ในแต่ละปี พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมินไปถึงโจทก์เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2548 แม้โจทก์เคยฟ้องจำเลยเกี่ยวกับการประเมินดังกล่าวมาแล้วตามคดีหมายเลขแดงที่ 81/2555 ของศาลภาษีอากรกลาง ซึ่งศาลดังกล่าวพิพากษาให้เพิกถอนการแจ้งการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน เนื่องจากใบแจ้งรายการประเมินขาดรายละเอียด เหตุผล ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายซึ่งไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 37 และให้เพิกถอนคำวินิจฉัยชี้ขาดของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาดังกล่าวแล้วก็ตาม ก็เห็นได้ว่า ศาลภาษีอากรกลางมิได้พิพากษาเพิกถอนการประเมินอันเป็นคำสั่งทางปกครองแต่อย่างใด และแม้การประเมินภาษีโรงเรือนของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว จะไม่ได้จัดให้มีเหตุผลตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 37 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่คำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางดังกล่าว ก็มีผลให้จำเลยที่ 1 สามารถจัดให้มีเหตุผลและแจ้งให้โจทก์ทราบในภายหลังได้ โดยไม่มีข้อจำกัดที่ต้องกระทำก่อนจำเลยที่ 2 มีคำชี้ขาดที่ถูกเพิกถอนไปแล้ว การที่จำเลยที่ 1 จัดให้มีเหตุผลและแจ้งให้โจทก์ทราบภายหลังย่อมมีผลให้ถือว่า การประเมินครั้งแรกที่แจ้งให้โจทก์ทราบเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2548 ที่ขาดเหตุผลมาแต่เดิมนั้นไม่เป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่สมบูรณ์ ถือได้ว่าการประเมินดังกล่าวสมบูรณ์มาแต่เดิมแล้ว การนับระยะเวลาในการประเมินย้อนหลังไม่เกิน 10 ปี ตามมาตรา 24 ทวิ วรรคสอง (1) จึงนับจากวันที่ประเมินภาษีครั้งแรก ทั้งระยะเวลาย้อนหลังได้ไม่เกิน 10 ปี ก็เป็นเพียงระยะเวลาที่เป็นกรอบเวลาในการใช้อำนาจในการประเมินของจำเลยที่ 1 เท่านั้น มิใช่อายุความ การประเมินภาษีสำหรับปีภาษี 2538 จึงเกินกำหนด 10 ปี แล้ว ส่วนปีภาษี 2539 ถึงปีภาษี 2547 นั้น ไม่เกินกำหนดเวลาตามมาตรา 24 ทวิ วรรคสอง (1) พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีอำนาจประเมินย้อนหลังได้
มาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มิใช่บทบัญญัติบังคับให้พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติตามทุกกรณีไป เพียงแต่หากพนักงานเจ้าหน้าที่ประสงค์จะได้รับความสะดวกตามสมควรในการตรวจตรา ก็ควรจะแจ้งให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประเมินทราบก่อน
เมื่อศาลภาษีอากรกลางมีคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ 81/2555 แล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งรายการประเมินมายังโจทก์เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2556 และต่อมาได้มีการแจ้งเหตุผลเพิ่มเติมตามใบแจ้งรายการประเมินลงวันที่ 15 กรกฎาคม 2556 เมื่อคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางดังกล่าวมิได้เพิกถอนการประเมินอันเป็นคำสั่งทางปกครอง และมีผลให้จำเลยที่ 1 สามารถจัดให้มีเหตุผลและแจ้งให้โจทก์ทราบในภายหลังได้ โดยไม่มีข้อจำกัดที่ต้องกระทำก่อนจำเลยที่ 2 มีคำชี้ขาดที่ถูกเพิกถอนไปแล้ว ใบแนบใบแจ้งรายการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภ.ร.ด.8) เพิ่มเติมดังกล่าวจึงเป็นการจัดให้มีเหตุผลในภายหลังโดยกระทำก่อนสิ้นสุดกระบวนการพิจารณาอุทธรณ์ ตามมาตรา 41 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ใบแจ้งรายการประเมินตามมาตรา 24 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 (ภ.ร.ด.8) จึงเป็นคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วย พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 37 แล้ว
การกำหนดค่ารายปีต้องเป็นไปตามมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 เมื่อโรงเรือนของโจทก์เป็นกรณีที่หาค่าเช่าไม่ได้เนื่องจากเจ้าของทรัพย์สินดำเนินกิจการเองแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมประเมินค่ารายปีโดยเทียบเคียงกับโรงเรือนเลขที่ 70/32 ซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนเช่นเดียวกับโรงเรือนของโจทก์และอยู่ในทำเลที่ใกล้เคียงกับโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2095/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: หนังสือมอบอำนาจที่ระบุปีภาษีไม่ตรงกับปีที่ฟ้องคดี ไม่กระทบอำนาจฟ้อง
แม้หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ระบุว่า โจทก์มอบอำนาจให้ฟ้องคดีในเรื่องภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปี 2546 แต่ตามคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายว่าโจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการฯ สำหรับปีภาษีที่พิพาทในคดีนี้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2547 จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งรายการประเมินมายังโจทก์ โจทก์ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีใหม่ จำเลยที่ 4 มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีใหม่โดยแจ้งว่าการประเมินภาษีถูกต้องแล้ว เมื่อพิจารณาคำบรรยายฟ้องของโจทก์ประกอบเอกสารท้ายคำฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องแล้วเห็นได้ว่าโจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการฯ ที่พิพาทคดีนี้โดยระบุว่าเป็นแบบแจ้งรายการฯ ประจำปีภาษี 2546 ทั้งที่เป็นประจำปีภาษี 2547 แต่จำเลยที่ 1 ก็เข้าใจดีว่าเป็นแบบแจ้งรายการฯ ประจำปีภาษี 2547 ดังที่จำเลยที่ 4 มีหนังสือแจ้งรายการประเมินฯ เท้าความถึงแบบแจ้งรายการฯ ที่โจทก์ยื่นดังกล่าวว่าเป็นแบบแจ้งรายการฯ ประจำปีภาษี 2547 และต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีใหม่ จำเลยที่ 2 ก็รับพิจารณาและชี้ขาดยืนตามการประเมินโดยระบุว่าเป็นการชี้ขาดเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2547 จึงแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์โดยชัดแจ้งว่าการมอบอำนาจและการฟ้องคดีนี้ของโจทก์เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2547
คำให้การของจำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้ว่า หนังสือแจ้งรายการประเมินฯ และหนังสือแจ้งผลการพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีใหม่ไม่จำต้องระบุข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ เพราะเป็นเหตุผลที่รู้กันอยู่แล้วตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 37 วรรคสาม (2) อุทธรณ์ของจำเลยในประเด็นนี้จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น และมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์
คำให้การของจำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้ว่า หนังสือแจ้งรายการประเมินฯ และหนังสือแจ้งผลการพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีใหม่ไม่จำต้องระบุข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ เพราะเป็นเหตุผลที่รู้กันอยู่แล้วตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 37 วรรคสาม (2) อุทธรณ์ของจำเลยในประเด็นนี้จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น และมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1442/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินต้องแจ้งประเมินภายใน 5 ปี นับจากวันยื่นแบบพิมพ์ หากเกินกำหนด การประเมินเป็นโมฆะ
จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินก่อนปี 2548 ที่พบเป็นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษีใด และมิใช่ปี 2540 ถึง 2544 ที่พิพาทหรือไม่ คำให้การของจำเลยจึงไม่แสดงโดยชัดแจ้งว่ายอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือบางส่วนเป็นคำให้การที่ไม่ชอบ ถือได้ว่าจำเลยยอมรับข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าโจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับห้องชุดพิพาทประจำปีภาษี 2540 ถึง 2544 ต่อจำเลยตามกำหนดเวลาของกฎหมายแล้ว คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉันว่าโจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษีพิพาทต่อจำเลยภายในกำหนดหรือไม่ การที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจึงเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบ ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะอุทธรณ์ตามกฎหมายอุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลางต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
โจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษีพิพาทภายในกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 19 แล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องประเมินค่ารายปีและค่าภาษีแจ้งไปยังโจทก์ภายใน 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปีที่โจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ ไม่ว่าการประเมินนั้นจะเป็นเพราะโจทก์แจ้งค่ารายปีไม่ถูกต้อง หรือมีทรัพย์สินบางรายการต้องนำมาคำนวณเพิ่มเติมหรือเพราะโจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ถูกต้อง แต่จำเลยยังมิได้ดำเนินการประเมินก็ตาม แม้สิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเอาค่าภาษีอากรจะมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31 แต่การที่จำเลยจะใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจากโจทก์ในกรณีนี้ได้ กฎหมายกำหนดให้ต้องมีการแจ้งรายการประเมินไปยังโจทก์ก่อน เมื่อจำเลยแจ้งรายการประเมินไปยังโจทก์เกิน 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปีภาษีพิพาทที่โจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ เป็นการประเมินเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลาตามมาตรา 24 ทวิ วรรคสอง (2) เป็นผลให้การประเมินและคำชี้ขาดไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษีพิพาทภายในกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 19 แล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องประเมินค่ารายปีและค่าภาษีแจ้งไปยังโจทก์ภายใน 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปีที่โจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ ไม่ว่าการประเมินนั้นจะเป็นเพราะโจทก์แจ้งค่ารายปีไม่ถูกต้อง หรือมีทรัพย์สินบางรายการต้องนำมาคำนวณเพิ่มเติมหรือเพราะโจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ถูกต้อง แต่จำเลยยังมิได้ดำเนินการประเมินก็ตาม แม้สิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเอาค่าภาษีอากรจะมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31 แต่การที่จำเลยจะใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจากโจทก์ในกรณีนี้ได้ กฎหมายกำหนดให้ต้องมีการแจ้งรายการประเมินไปยังโจทก์ก่อน เมื่อจำเลยแจ้งรายการประเมินไปยังโจทก์เกิน 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปีภาษีพิพาทที่โจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ เป็นการประเมินเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลาตามมาตรา 24 ทวิ วรรคสอง (2) เป็นผลให้การประเมินและคำชี้ขาดไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1442/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินเกิน 5 ปีนับจากวันยื่นแบบฯ เป็นการประเมินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับห้องชุดพิพาทประจำปี 2540 ถึง 2549 ต่อกรุงเทพมหานครจำเลยตามกำหนดเวลาของกฎหมาย จำเลยให้การว่า เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2548 โจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2548 สำหรับห้องชุดพิพาทต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลย พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยตรวจสอบสมุดทะเบียนภาษีโรงเรือนและที่ดินแล้วปรากฏว่าห้องชุดพิพาทยังไม่เคยมีการยื่นเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน คำให้การในตอนแรกนี้จำเลยเพียงแต่ต่อสู้ว่า โจทก์ยังมิได้เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินเท่านั้น มิได้ต่อสู้ว่าโจทก์ยังไม่ได้ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน นอกจากนี้จำเลยยังให้การต่อไปว่า ในเดือนธันวาคม 2549 สำนักงานเขตคลองเตยได้จัดกิจกรรมทำความสะอาดครั้งใหญ่จึงพบเอกสารแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินของโจทก์ก่อนปีภาษี 2548 บางปี โดยจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินก่อนปีภาษี 2548 ที่พบเป็นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษีใด และมิใช่ปี 2540 ถึง 2544 ที่พิพาทหรือไม่ คำให้การของจำเลยจึงเป็นคำให้การที่ไม่ชอบ ถือได้ว่าจำเลยยอมรับข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าโจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับห้องชุดพิพาทประจำปีภาษี 2540 ถึง 2544 ต่อจำเลยตามกำหนดเวลาของกฎหมายแล้ว คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉันว่าโจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2540 ถึง 2544 ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปีภาษีหรือไม่ การที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจึงเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะอุทธรณ์ตามกฎหมาย อุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
โจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษีพิพาทภายในกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 19 แล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องประเมินค่ารายปีและค่าภาษีแจ้งไปยังโจทก์ภายใน 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปีที่โจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ ไม่ว่าการประเมินนั้นจะเป็นเพราะโจทก์แจ้งค่ารายปีไม่ถูกต้อง หรือมีทรัพย์สินบางรายการต้องนำมาคำนวณเพิ่มเติม หรือเพราะโจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ถูกต้อง แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยยังมิได้ดำเนินการประเมิน
สิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเอาค่าภาษีอากรแม้จะมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31 แต่การที่จำเลยจะใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจากโจทก์ กฎหมายกำหนดให้ต้องมีการแจ้งรายการประเมินไปยังโจทก์ก่อน การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยแจ้งรายการประเมินไปยังโจทก์ย้อนหลังเกิน 5 ปี นับแต่วันสุดท้าของเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปีภาษีพิพาทที่โจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้เป็นการประเมินเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 24 ทวิ วรรคสอง (2) เป็นผลให้การประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่และคำชี้ขาดยืนตามการประเมินของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินให้แก่จำเลยแม้จะยังไม่ขาดอายุความ
โจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษีพิพาทภายในกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 19 แล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องประเมินค่ารายปีและค่าภาษีแจ้งไปยังโจทก์ภายใน 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปีที่โจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ ไม่ว่าการประเมินนั้นจะเป็นเพราะโจทก์แจ้งค่ารายปีไม่ถูกต้อง หรือมีทรัพย์สินบางรายการต้องนำมาคำนวณเพิ่มเติม หรือเพราะโจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ถูกต้อง แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยยังมิได้ดำเนินการประเมิน
สิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเอาค่าภาษีอากรแม้จะมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31 แต่การที่จำเลยจะใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจากโจทก์ กฎหมายกำหนดให้ต้องมีการแจ้งรายการประเมินไปยังโจทก์ก่อน การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยแจ้งรายการประเมินไปยังโจทก์ย้อนหลังเกิน 5 ปี นับแต่วันสุดท้าของเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปีภาษีพิพาทที่โจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้เป็นการประเมินเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 24 ทวิ วรรคสอง (2) เป็นผลให้การประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่และคำชี้ขาดยืนตามการประเมินของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินให้แก่จำเลยแม้จะยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3899/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน การพิจารณาคำร้อง และการคืนค่าขึ้นศาลที่ชำระเกิน
โจทก์ผู้รับประเมินนำค่ารายปีของทรัพย์สินที่ใช้ในปี 2545 มายื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภ.ร.ด.2) เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2546 ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปีเพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำการประเมินและแจ้งจำนวนภาษีที่ต้องชำระมายังโจทก์ตาม มาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ภาษีดังกล่าวเรียกว่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปี 2546
ในปีภาษี 2546 พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ประเมินค่าภาษีห้องพักและบ้านพักตามอัตราค่าเช่าที่โจทก์ระบุในแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภ.ร.ด.2) ซึ่งเท่ากับค่าภาษีของห้องพักและบ้านพัก ตามแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภ.ร.ด.2) ประจำปี 2545 ถือว่าจำเลยที่ 1 นำค่าภาษีที่ล่วงแล้วมาเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีที่จะต้องเสียภาษีในปีต่อมาตามมาตรา 18 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475
มาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ฯ มิใช่บทบัญญัติบังคับให้พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติตามทุกกรณี เพียงแต่หากพนักงานเจ้าหน้าที่ประสงค์ที่จะได้รับความสะดวกตามสมควรในการตรวจตรา ก็ควรจะแจ้งให้ผู้รับประเมินผู้เช่าหรือผู้ครองทราบก่อน
จำเลยที่ 3 ที่ 4 เป็นคณะกรรมการพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ประจำปี 2546 ซึ่งจำเลยที่ 2 ประธานกรรมการบริหารส่วนตำบลจำเลยที่ 1 แต่งตั้งให้มีอำนาจหน้าที่พิจารณากลั่นกรองตรวจสอบและเสนอข้อคิดเห็นและพิจารณาความเห็นอื่นตามที่จำเลยที่ 2 มอบหมาย จำเลยที่ 2 ประธานกรรมการบริหารจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีอำนาจแจ้งคำชี้ขาดแก่โจทก์ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 25 ถึง 30 แสดงว่า การเข้าร่วมประชุมของจำเลยที่ 3 ที่ 4 เป็นการที่จำเลยที่ 2 ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้การจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ความเห็นของคณะกรรมการพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ เป็นการช่วยกลั่นกรองตรวจสอบและเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับงานที่ได้รับมอบหมาย ไม่มีผลบังคับผูกพันประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลให้ต้องถือตามและกฎหมายดังกล่าวก็มิได้กำหนดองค์ประกอบ หรือองค์ประชุมของคณะกรรมการดังกล่าวไว้ แม้จำเลยที่ 4 จะมิได้เข้าร่วมประชุม แต่รับว่าได้ลงลายมือชื่อเป็นกรรมการพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่และรับรองรายงานการประชุมโดยมิได้โต้แย้ง จึงไม่ถึงกับทำให้ความเห็นของคณะกรรมการตามรายงานการประชุมเสียไป จำเลยที่ 2 มีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจและตัดสินใจที่จะชี้ขาดด้วยตนเองโดยไม่จำต้องชี้ขาดตามความเห็นของคณะกรรมการพิจารณาคำร้องชุดดังกล่าว คำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 จึงชอบด้วยกฎหมาย
ปัญหาว่าหนังสือแจ้งการประเมินและคำชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่เป็นคำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือจะต้องแสดงเหตุผลตามมาตรา 37 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 หรือไม่นั้นต้องพิจารณาถึงกรณีอันเป็นเหตุให้คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือไม่ต้องแสดงเหตุผลดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 37 วรรคสาม (1) ถึง (4) ประกอบด้วยโดยเฉพาะกรณีตาม (2) ที่ว่า เหตุผลนั้นเป็นที่รู้กันอยู่แล้วโดยไม่จำต้องระบุอีก การที่เหตุผลนั้นจะเป็นที่รู้กันอยู่แล้วหรือไม่ เป็นปัญหาข้อเท็จจริงแต่โจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้องจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง และมิใช่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 225 ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรไม่วินิจฉัยให้
อนี่ง คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินแลคะคำชี้ขาดที่ให้โจทก์ชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2546 เป็นเงิน 988,017.45 บาท อ้างว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะสูงเกินไป โดยโจทก์เห็นว่าควรมีค่าภาษีเพียง 385,146 บาท และขอให้คืนส่วนที่เกินจำนวน 602,871.45 บาท แก่โจทก์จึงเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์จำนวน 602,871.45 บาท คิดเป็นค่าขึ้นศาล 15,072.50 บาท แต่โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลในชั้นศาลภาษีอากรกลางและชั้นอุทธรณ์มาศาลละ 24,700 บาท เกินมาทั้งสองชั้นศาล รวมเป็นเงิน 19,255 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินให้แก่โจทก์
พิพากษายืน ให้โจทก์ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ 4,000 บาท แทนจำเลยทั้งห้า คืนค่าขึ้นศาลที่เสียเกินมาจำนวน 19,255 บาท แก่โจทก์
ในปีภาษี 2546 พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ประเมินค่าภาษีห้องพักและบ้านพักตามอัตราค่าเช่าที่โจทก์ระบุในแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภ.ร.ด.2) ซึ่งเท่ากับค่าภาษีของห้องพักและบ้านพัก ตามแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภ.ร.ด.2) ประจำปี 2545 ถือว่าจำเลยที่ 1 นำค่าภาษีที่ล่วงแล้วมาเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีที่จะต้องเสียภาษีในปีต่อมาตามมาตรา 18 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475
มาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ฯ มิใช่บทบัญญัติบังคับให้พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติตามทุกกรณี เพียงแต่หากพนักงานเจ้าหน้าที่ประสงค์ที่จะได้รับความสะดวกตามสมควรในการตรวจตรา ก็ควรจะแจ้งให้ผู้รับประเมินผู้เช่าหรือผู้ครองทราบก่อน
จำเลยที่ 3 ที่ 4 เป็นคณะกรรมการพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ประจำปี 2546 ซึ่งจำเลยที่ 2 ประธานกรรมการบริหารส่วนตำบลจำเลยที่ 1 แต่งตั้งให้มีอำนาจหน้าที่พิจารณากลั่นกรองตรวจสอบและเสนอข้อคิดเห็นและพิจารณาความเห็นอื่นตามที่จำเลยที่ 2 มอบหมาย จำเลยที่ 2 ประธานกรรมการบริหารจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีอำนาจแจ้งคำชี้ขาดแก่โจทก์ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 25 ถึง 30 แสดงว่า การเข้าร่วมประชุมของจำเลยที่ 3 ที่ 4 เป็นการที่จำเลยที่ 2 ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้การจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ความเห็นของคณะกรรมการพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ เป็นการช่วยกลั่นกรองตรวจสอบและเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับงานที่ได้รับมอบหมาย ไม่มีผลบังคับผูกพันประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลให้ต้องถือตามและกฎหมายดังกล่าวก็มิได้กำหนดองค์ประกอบ หรือองค์ประชุมของคณะกรรมการดังกล่าวไว้ แม้จำเลยที่ 4 จะมิได้เข้าร่วมประชุม แต่รับว่าได้ลงลายมือชื่อเป็นกรรมการพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่และรับรองรายงานการประชุมโดยมิได้โต้แย้ง จึงไม่ถึงกับทำให้ความเห็นของคณะกรรมการตามรายงานการประชุมเสียไป จำเลยที่ 2 มีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจและตัดสินใจที่จะชี้ขาดด้วยตนเองโดยไม่จำต้องชี้ขาดตามความเห็นของคณะกรรมการพิจารณาคำร้องชุดดังกล่าว คำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 จึงชอบด้วยกฎหมาย
ปัญหาว่าหนังสือแจ้งการประเมินและคำชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่เป็นคำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือจะต้องแสดงเหตุผลตามมาตรา 37 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 หรือไม่นั้นต้องพิจารณาถึงกรณีอันเป็นเหตุให้คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือไม่ต้องแสดงเหตุผลดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 37 วรรคสาม (1) ถึง (4) ประกอบด้วยโดยเฉพาะกรณีตาม (2) ที่ว่า เหตุผลนั้นเป็นที่รู้กันอยู่แล้วโดยไม่จำต้องระบุอีก การที่เหตุผลนั้นจะเป็นที่รู้กันอยู่แล้วหรือไม่ เป็นปัญหาข้อเท็จจริงแต่โจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้องจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง และมิใช่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 225 ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรไม่วินิจฉัยให้
อนี่ง คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินแลคะคำชี้ขาดที่ให้โจทก์ชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2546 เป็นเงิน 988,017.45 บาท อ้างว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะสูงเกินไป โดยโจทก์เห็นว่าควรมีค่าภาษีเพียง 385,146 บาท และขอให้คืนส่วนที่เกินจำนวน 602,871.45 บาท แก่โจทก์จึงเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์จำนวน 602,871.45 บาท คิดเป็นค่าขึ้นศาล 15,072.50 บาท แต่โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลในชั้นศาลภาษีอากรกลางและชั้นอุทธรณ์มาศาลละ 24,700 บาท เกินมาทั้งสองชั้นศาล รวมเป็นเงิน 19,255 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินให้แก่โจทก์
พิพากษายืน ให้โจทก์ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ 4,000 บาท แทนจำเลยทั้งห้า คืนค่าขึ้นศาลที่เสียเกินมาจำนวน 19,255 บาท แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3899/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: การพิจารณาข้อเท็จจริงและดุลพินิจของเจ้าพนักงาน
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 18 และ 19 กำหนดให้ผู้รับประเมินหรือบุคคลผู้พึงชำระค่าภาษีมีหน้าที่ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีภายในเดือนกุมภาพันธ์ โดยนำค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วนับเป็นหลักในการคำนวณภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา เมื่อโจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินซึ่งพิมพ์ข้อความว่าประจำปีภาษี 2546 โดยโจทก์ผู้รับประเมินแจ้งรายการทรัพย์สินที่โจทก์ใช้ในปี 2545 เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ทำการประเมินและแจ้งจำนวนภาษีที่ต้องชำระ ภาษีดังกล่าวเรียกว่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2546 ดังนั้น ที่โจทก์กล่าวในคำฟ้องว่าโจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2546 สำหรับทรัพย์สินที่ใช้ในปี 2545 นั้น จึงชอบแล้ว
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 23 บัญญัติให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจที่จะเข้าไปตรวจตราทรัพย์สินได้ด้วยตนเองต่อหน้าผู้รับประเมิน ผู้เช่าหรือผู้ครองหรือผู้แทน... ในการนี้ผู้รับประเมิน ผู้เช่า หรือผู้ครองจะต้องได้รับแจ้งความเป็นลายลักษณ์อักษรให้ทราบไม่ต่ำกว่าสี่สิบแปดชั่วโมงก่อนตรวจนั้น มิใช่บทบัญญัติบังคับให้พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติตามทุกกรณีไป เพียงแต่หากพนักงานเจ้าหน้าที่ประสงค์ที่จะได้รับความสะดวกตามสมควรในการตรวจตราก็ควรจะแจ้งให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประเมินทราบก่อนทำการตรวจ ดังนั้น การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 มิได้ปฏิบัติตามมาตราดังกล่าว จึงไม่ถึงกับทำให้การประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 2 ในฐานะประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลหินตั้งมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจและตัดสินใจที่จะชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีใหม่นั้นด้วยตนเองโดยไม่จำต้องชี้ขาดตามความเห็นของคณะกรรมการพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ที่ทำหน้าที่ช่วยกลั่นกรองตรวจสอบและเสนอข้อคิดเห็นอันเกี่ยวกับงานที่ได้รับมอบหมายซึ่งไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 คำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 จึงชอบด้วยกฎหมาย
กรณีคำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือจะต้องแสดงเหตุผลตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ มาตรา 37 วรรคหนึ่ง หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาถึงกรณีอันเป็นเหตุให้คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือไม่ต้องแสดงเหตุผลดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 37 วรรคสาม (1) ถึง (4) ประกอบด้วยกรณีที่ว่าเหตุผล (ที่ต้องแสดง) นั้นเป็นที่รู้กันอยู่แล้วโดยไม่จำต้องระบุอีก การที่เหตุผลนั้นจะเป็นที่รู้กันอยู่แล้วหรือไม่ย่อมเป็นปัญหาข้อเท็จจริง กรณีนี้โจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ทั้งมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 225
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 23 บัญญัติให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจที่จะเข้าไปตรวจตราทรัพย์สินได้ด้วยตนเองต่อหน้าผู้รับประเมิน ผู้เช่าหรือผู้ครองหรือผู้แทน... ในการนี้ผู้รับประเมิน ผู้เช่า หรือผู้ครองจะต้องได้รับแจ้งความเป็นลายลักษณ์อักษรให้ทราบไม่ต่ำกว่าสี่สิบแปดชั่วโมงก่อนตรวจนั้น มิใช่บทบัญญัติบังคับให้พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติตามทุกกรณีไป เพียงแต่หากพนักงานเจ้าหน้าที่ประสงค์ที่จะได้รับความสะดวกตามสมควรในการตรวจตราก็ควรจะแจ้งให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประเมินทราบก่อนทำการตรวจ ดังนั้น การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 มิได้ปฏิบัติตามมาตราดังกล่าว จึงไม่ถึงกับทำให้การประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 2 ในฐานะประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลหินตั้งมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจและตัดสินใจที่จะชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีใหม่นั้นด้วยตนเองโดยไม่จำต้องชี้ขาดตามความเห็นของคณะกรรมการพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ที่ทำหน้าที่ช่วยกลั่นกรองตรวจสอบและเสนอข้อคิดเห็นอันเกี่ยวกับงานที่ได้รับมอบหมายซึ่งไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 คำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 จึงชอบด้วยกฎหมาย
กรณีคำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือจะต้องแสดงเหตุผลตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ มาตรา 37 วรรคหนึ่ง หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาถึงกรณีอันเป็นเหตุให้คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือไม่ต้องแสดงเหตุผลดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 37 วรรคสาม (1) ถึง (4) ประกอบด้วยกรณีที่ว่าเหตุผล (ที่ต้องแสดง) นั้นเป็นที่รู้กันอยู่แล้วโดยไม่จำต้องระบุอีก การที่เหตุผลนั้นจะเป็นที่รู้กันอยู่แล้วหรือไม่ย่อมเป็นปัญหาข้อเท็จจริง กรณีนี้โจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ทั้งมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน, การประเมินภาษี, สิทธิในการโต้แย้ง, การยื่นคำร้อง
จำเลยได้รับแจ้งการประเมินจากพนักงานเก็บภาษีสำหรับค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2535 และ 2536 เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2537 จำเลยซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องนำค่าภาษีไปชำระภายใน 90 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมินตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 38 (เดิม) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เมื่อจำเลยมิได้ขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ตามมาตรา 25 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 และมิได้ชำระค่าภาษีตามการประเมินดังกล่าวภายในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2537 อันเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามการประเมินดังกล่าว จึงเป็นค่าภาษีค้างชำระอันก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะฟ้องบังคับเอาแก่จำเลยได้ นับแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2537 เป็นต้นไป เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2547 จึงยังอยู่ภายในระยะเวลา 10 ปี สิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าภาษีโรงเรือนประจำปีภาษี 2535 และ 2536 ยังไม่ขาดอายุความ (ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1996/2538)
เมื่อจำเลยได้รับแจ้งการประเมินแล้ว หากจำเลยไม่พอใจ กฎหมายกำหนดให้จำเลยต้องยื่นคำร้องต่ออธิบดีกรมสรรพากรหรือสมุหเทศาภิบาล ขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ตามมาตรา 25 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 เมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ จำเลยย่อมไม่อาจโต้แย้งหรือยกข้อต่อสู้ในประเด็นเกี่ยวกับการประเมินค่ารายปีและค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินในชั้นศาลได้ เพราะปัญหาดังกล่าวยุติไปในชั้นการประเมิน (ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2530, 705/2531)
เมื่อจำเลยได้รับแจ้งการประเมินแล้ว หากจำเลยไม่พอใจ กฎหมายกำหนดให้จำเลยต้องยื่นคำร้องต่ออธิบดีกรมสรรพากรหรือสมุหเทศาภิบาล ขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ตามมาตรา 25 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 เมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ จำเลยย่อมไม่อาจโต้แย้งหรือยกข้อต่อสู้ในประเด็นเกี่ยวกับการประเมินค่ารายปีและค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินในชั้นศาลได้ เพราะปัญหาดังกล่าวยุติไปในชั้นการประเมิน (ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2530, 705/2531)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1901/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: การเปลี่ยนแปลงพื้นที่และหลักฐานจากคำพิพากษาศาลฎีกา
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 19 บัญญัติว่า ผู้รับประเมินจะต้องยื่นแบบพิมพ์เพื่อแจ้งรายการทรัพย์สินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในท้องที่ซึ่งทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี และมาตรา 24 บัญญัติให้พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดประเภททรัพย์สิน ค่ารายปีกับค่าภาษีที่จะต้องเสียและให้พนักงานเก็บภาษีแจ้งรายการประเมินไปให้ผู้รับประเมินทราบโดยไม่ชักช้า นอกจากนี้ มาตรา 24 ทวิ วรรคสอง (2) ยังบัญญัติว่าผู้รับประเมินผู้ใดยื่นแบบพิมพ์ไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินย้อนหลังได้ไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นแบบพิมพ์ตามมาตรา 19 ดังนั้นการแจ้งการประเมินย้อนหลังในกรณีที่ผู้รับประเมินยื่นแบบพิมพ์แล้วจะต้องกระทำภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ของปีภาษีที่ผู้รับประเมินยื่นแบบพิมพ์
โจทก์ยื่นแบบพิมพ์แจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2532 ถึง 2536 ในปี 2532 ถึง 2536 ภายในกำหนด พนักงานเจ้าหน้าที่มีหน้าที่ต้องประเมินค่ารายปีและค่าภาษีโดยไม่ชักช้า หากเห็นว่าโจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ไม่ว่าจะเป็นเพราะแจ้งค่ารายปีไม่ถูกต้อง หรือมีทรัพย์สินบางรายการต้องนำมาคำนวณเพิ่มเติมหรือเพราะโจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ถูกต้อง แต่ยังไม่ได้ทำการประเมิน พนักงานเจ้าหน้าที่ก็ต้องดำเนินการประเมินย้อนหลังภายใน 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปีที่โจทก์ยื่นแบบพิมพ์ มิใช่ภายในกำหนด 10 ปี ซึ่งเป็นกรณีที่ผู้รับประเมินไม่ยื่นแบบพิมพ์ การที่พนักงานเก็บภาษีแจ้งรายการประเมินให้โจทก์ชำระค่าภาษีสำหรับปีภาษี 2532 ถึง 2536 เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2541 ซึ่งโจทก์ได้รับเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2541 จึงเกินกำหนด 5 ปี
คลังพัสดุของโจทก์มีเนื้อที่ 3,360 ตารางเมตร เมื่อหักพื้นที่อาคารโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ออกแล้วคงเหลือพื้นที่อีก 98,944 ตารางเมตร ในส่วนพื้นที่ที่เหลือนั้น ได้มีคำวินิจฉัยในคดีก่อนว่าเป็นที่ว่างมิได้ใช้ปลูกสร้างโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นและอยู่กระจัดกระจายกันไป ทั้งบริเวณรอบอาคารคลังพัสดุมีรั้วล้อมรอบ พื้นที่ว่างนอกรั้วอยู่แยกต่างหากจากคลังพัสดุ โดยมีถนนทางรถไฟและคลองคั่น พื้นที่ดังกล่าวจึงมิใช่ที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับอาคารคลังพัสดุ ดังนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่จะนำพื้นที่ดังกล่าวรวมกับพื้นที่อาคารคลังพัสดุ โดยอ้างว่าเป็นที่ดินต่อเนื่องกับคลังพัสดุแล้วประเมินค่าภาษีจากโจทก์ในปีภาษี 2540 อีก ย่อมไม่ถูกต้อง จึงต้องคำนวณค่ารายปีของอาคารคลังพัสดุใหม่ โดยถือตามจำนวนพื้นที่ของอาคารคลังพัสดุที่ฟังยุติแล้วในคดีก่อนมาเป็นหลักในการคำนวณ
โจทก์ยื่นแบบพิมพ์แจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2532 ถึง 2536 ในปี 2532 ถึง 2536 ภายในกำหนด พนักงานเจ้าหน้าที่มีหน้าที่ต้องประเมินค่ารายปีและค่าภาษีโดยไม่ชักช้า หากเห็นว่าโจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ไม่ว่าจะเป็นเพราะแจ้งค่ารายปีไม่ถูกต้อง หรือมีทรัพย์สินบางรายการต้องนำมาคำนวณเพิ่มเติมหรือเพราะโจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ถูกต้อง แต่ยังไม่ได้ทำการประเมิน พนักงานเจ้าหน้าที่ก็ต้องดำเนินการประเมินย้อนหลังภายใน 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปีที่โจทก์ยื่นแบบพิมพ์ มิใช่ภายในกำหนด 10 ปี ซึ่งเป็นกรณีที่ผู้รับประเมินไม่ยื่นแบบพิมพ์ การที่พนักงานเก็บภาษีแจ้งรายการประเมินให้โจทก์ชำระค่าภาษีสำหรับปีภาษี 2532 ถึง 2536 เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2541 ซึ่งโจทก์ได้รับเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2541 จึงเกินกำหนด 5 ปี
คลังพัสดุของโจทก์มีเนื้อที่ 3,360 ตารางเมตร เมื่อหักพื้นที่อาคารโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ออกแล้วคงเหลือพื้นที่อีก 98,944 ตารางเมตร ในส่วนพื้นที่ที่เหลือนั้น ได้มีคำวินิจฉัยในคดีก่อนว่าเป็นที่ว่างมิได้ใช้ปลูกสร้างโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นและอยู่กระจัดกระจายกันไป ทั้งบริเวณรอบอาคารคลังพัสดุมีรั้วล้อมรอบ พื้นที่ว่างนอกรั้วอยู่แยกต่างหากจากคลังพัสดุ โดยมีถนนทางรถไฟและคลองคั่น พื้นที่ดังกล่าวจึงมิใช่ที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับอาคารคลังพัสดุ ดังนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่จะนำพื้นที่ดังกล่าวรวมกับพื้นที่อาคารคลังพัสดุ โดยอ้างว่าเป็นที่ดินต่อเนื่องกับคลังพัสดุแล้วประเมินค่าภาษีจากโจทก์ในปีภาษี 2540 อีก ย่อมไม่ถูกต้อง จึงต้องคำนวณค่ารายปีของอาคารคลังพัสดุใหม่ โดยถือตามจำนวนพื้นที่ของอาคารคลังพัสดุที่ฟังยุติแล้วในคดีก่อนมาเป็นหลักในการคำนวณ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1901/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินย้อนหลังต้องเป็นไปตามกรอบเวลา 5 ปีนับจากวันสิ้นสุดระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นแบบ
พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ฯ มาตรา 19 บัญญัติให้ ผู้รับประเมินจะต้องยื่นแบบพิมพ์เพื่อแจ้งรายการทรัพย์สินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในท้องที่ซึ่งทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี โดยมาตรา 24 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดประเภทแห่งทรัพย์สิน ค่ารายปี และค่าภาษีที่จะต้องเสียให้พนักงานเก็บภาษีแจ้งรายการประเมินไปให้ผู้รับประเมินโดยไม่ชักช้า นอกจากนี้ มาตรา 24 ทวิ วรรคสอง (2) ยังบัญญัติว่า ผู้รับประเมินผู้ใดยื่นแบบพิมพ์ไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินย้อนหลังได้ไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นแบบพิมพ์ ดังนั้น การแจ้งการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินย้อนหลังในกรณีที่ผู้รับประเมินยื่นแบบพิมพ์แล้ว จะต้องกระทำภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ในปีภาษีที่ผู้รับประเมินยื่นแบบพิมพ์ โจทก์ยื่นแบบพิมพ์แจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2532 ถึง 2536 ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 19 แล้ว พนักงานของจำเลยจึงมีหน้าที่ประเมินค่ารายปีและค่าภาษีโดยไม่ชักช้า หากเห็นว่าโจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไม่ถูกต้อง หรือไม่บริบูรณ์ ก็ต้องประเมินภาษีย้อนหลังภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ในแต่ละปีที่โจทก์ยื่นแบบพิมพ์ ไม่ใช่ประเมินภายในกำหนด 10 ปี ซึ่งเป็นกรณีที่ผู้รับประเมินไม่ยื่นแบบพิมพ์ จำเลยแจ้งรายการประเมินให้โจทก์ชำระค่าภาษีสำหรับปีภาษี 2532 ถึงปีภาษี 2536 เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2541 ซึ่งโจทก์ได้รับแจ้งการประเมินเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2541 จึงเกินกำหนด 5 ปีแล้ว การประเมินและคำชี้ขาดการประเมินจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน ผู้เสียภาษีต้องยื่นรายการและมีสิทธิโต้แย้งการประเมินตามกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 18 และ 19 กำหนดให้ผู้รับประเมินหรือบุคคลผู้พึงชำระค่าภาษีมีหน้าที่ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี โดยนำค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักในการคำนวณภาษีที่จะต้องเสียในปีต่อมา ดังนั้น ทรัพย์สินที่บริษัทจำเลยใช้ในปี 2539 จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องยื่นรายการภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2540 เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการประเมินและแจ้งจำนวนภาษีที่ต้องชำระไปยังจำเลย เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ประเมินภาษีของโจทก์ทำแบบแจ้งรายการคำนวณภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปี 2540 ให้แก่จำเลยซึ่งได้รับทราบแล้ว หากไม่พอใจจำเลยก็ชอบที่จะยื่นคำโต้แย้งคัดค้านการประเมินหรือขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ตามมาตรา 25 ได้ และหากยังไม่พอใจในการชี้ขาดการประเมินก็อาจนำคดีไปสู่ศาลเพื่อแสดงให้ศาลเห็นว่าการประเมินนั้นไม่ถูกต้องได้แต่ต้องกระทำภายใน 30 วัน นับแต่วันรับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาดตามมาตรา 31วรรคหนึ่ง ทั้งนี้จำเลยจะต้องชำระค่าภาษีทั้งสิ้นซึ่งถึงกำหนดต้องชำระเสียก่อนตามมาตรา 39 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติตาม จำเลยย่อมไม่มีสิทธิโต้แย้งคัดค้านหรือยื่นคำให้การต่อสู้คดีว่าการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปี 2540 ของโจทก์ไม่ชอบจำเลยต้องรับผิดชำระค่าภาษีดังกล่าวพร้อมเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 10 ของค่าภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 43(4) เนื่องจากจำเลยมิได้นำเงินมาชำระภายใน 4 เดือน นับแต่วันพ้นกำหนดระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน