คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พฤษภา พนมยันตร์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 131 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11193/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดฐานชักชวนเข้าสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ และการพิสูจน์การดำเนินกิจการโดยมิได้จดทะเบียน
ความผิดฐานร่วมกันชักชวนให้ผู้ใดเข้าเป็นสมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ซึ่งยังไม่ได้จดทะเบียนตาม พ.ร.บ.การฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ.2517 มาตรา 29 นั้น ต้องเป็นการชักชวน ชี้ช่อง หรือจัดการโดยวิธีใด ๆ ที่คล้ายคลึงกัน ให้ผู้ใดเข้าเป็นสมาชิกในสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ซึ่งยังมิได้จดทะเบียนโดยถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องในข้อ ก. ว่า เมื่อระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2541 ถึงวันที่ 22 กันยายน 2541 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยทั้งสองร่วมกันดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์ในนามชมรมผู้สูงอายุมวลชน อำเภอนาเชือก และสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ร่วมมิตร อำเภอนาเชือก โดยมิได้จดทะเบียนเป็นสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ตามกฎหมาย และบรรยายฟ้องในข้อ ข. ว่า เมื่อระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2541 ถึงวันที่ 26 มกราคม 2542 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยทั้งสองโดยทุจริตหลอกลวง บ. ผู้เสียหายที่ 1 กับพวกรวม 59 คน และประชาชนทั่วไปด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งว่าจำเลยทั้งสองได้จัดตั้งชมรมผู้สูงอายุมวลชน อำเภอนาเชือก และสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ร่วมมิตร อำเภอนาเชือก ซึ่งได้จดทะเบียนให้ดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์ได้ตามกฎหมาย หากผู้เสียหายทั้ง 59 คน และประชาชนโดยทั่วไปประสงค์จะสมัครเป็นสมาชิกสมาคมจะต้องเสียเงินเป็นค่าสมัครเริ่มต้น 100 บาท ค่าบำรุงสมาคม จำนวน 400 บาท และค่าสงเคราะห์ศพของสมาชิกล่วงหน้าศพละ 20 บาท เมื่อสมาชิกถึงแก่ความตายหลังเข้าเป็นสมาชิกแล้ว 180 วัน ผู้รับประโยชน์จะได้รับเงินผลประโยชน์รายละ 100,000 บาท อันเป็นความเท็จ ความจริงแล้วจำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาที่จะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์เมื่อสมาชิกถึงแก่ความตายแต่อย่างใด ข้อความในฟ้องข้อ ก. จึงเป็นการบรรยายตามองค์ประกอบความผิดฐานดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์โดยมิได้จดทะเบียนเป็นสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์หรือขึ้นทะเบียนการฌาปนกิจสงเคราะห์ตามมาตรา 50 แห่ง พ.ร.บ.การฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ.2517 เพราะการดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์อาจเป็นการดำเนินการอื่นที่มิใช่การชักชวน ชี้ช่อง หรือจัดการให้ผู้ใดเข้าเป็นสมาชิก อันเป็นองค์ประกอบความผิดของความผิดฐานร่วมกันชักชวนให้ผู้ใดเข้าเป็นสมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ซึ่งยังไม่ได้จดทะเบียน ส่วนข้อความในฟ้องข้อ ข. โจทก์บรรยายฟ้องรวมการกระทำของจำเลยทั้งสองตั้งแต่ก่อนการจดทะเบียนสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ร่วมมิตร อำเภอนาเชือก และหลังจากจดทะเบียนเป็นสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์แล้วโดยมุ่งถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดว่าเป็นการหลอกลวงว่าจะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์หากผู้เป็นสมาชิกถึงแก่ความตายอันเป็นความเท็จ จึงมิได้แบ่งแยกว่าเป็นการกระทำก่อนหรือหลังการจดทะเบียนเป็นสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์หรือไม่ เห็นได้ว่าเป็นการบรรยายข้อเท็จจริงซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 วรรคแรก ประกอบมาตรา 341 เป็นข้อสำคัญ เพราะการกระทำความผิดฐานร่วมกันชักชวนให้ผู้ใดเข้าเป็นสมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ซึ่งยังไม่ได้จดทะเบียนต้องเป็นการกระทำก่อนการจดทะเบียนเป็นสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์เท่านั้น การที่โจทก์บรรยายฟ้องโดยรวมการกระทำทั้งก่อนและหลังการจดทะเบียนเป็นสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ จึงมิได้แสดงข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ พอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ย่อมไม่อาจถือได้ว่าเป็นการบรรยายฟ้องความผิดตาม พ.ร.บ.การฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ.2517 มาตรา 29 มาด้วยดังที่โจทก์ฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10242/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามสิทธิเรียกร้องทางแพ่งที่เกี่ยวเนื่องจากคดีอาญา ศาลต้องยึดตามข้อเท็จจริงที่ศาลอาญาพิพากษาถึงที่สุด
การฟ้องขอให้ศาลบังคับตามสิทธิเรียกร้องในทางแพ่งที่เกี่ยวเนื่องมาจากการกระทำความผิดอาญา การพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ซึ่งหมายถึงข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นโดยตรงที่เป็นประเด็นสำคัญและศาลต้องฟังยุติมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว มิใช่ประเด็นปลีกย่อย
คดีแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาเพียงว่า จำเลยได้บุกรุกที่ดินพิพาทจริง ส่วนปัญหาว่าจำเลยบุกรุกเป็นเนื้อที่เท่าใด เป็นข้อปลีกย่อยที่จะต้องนำสืบรายละเอียดกันในชั้นพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5232/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าโดยบันดาลโทสะ และอำนาจในการฟ้องเรียกค่าเสียหายของผู้ก่อเหตุ
เมื่อโจทก์ร่วมเป็นฝ่ายก่อเหตุโดยด่าว่ามารดาจำเลยด้วยถ้อยคำรุนแรงและพูดท้าทายจำเลยเป็นทำนองให้ไปต่อสู้กันในที่เกิดเหตุ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำเพราะถูกโจทก์ร่วมข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม อันเป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ ดังนี้โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้ก่อให้จำเลยกระทำความผิด และไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยสำหรับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ม. ผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ร่วมย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนโจทก์ร่วมได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) และไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการกับยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 และ มาตรา 44/1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5216/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษจำคุกเป็นกักขังและการห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการลงโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 1 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นลงโทษกักขังจำเลยแทนโทษจำคุก มีกำหนด 1 เดือน จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้ไขเล็กน้อย คดีจึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 2 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2475/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งอุทธรณ์เนื่องจากไม่ชำระค่าขึ้นศาลตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ ทำให้ศาลจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
คำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่เห็นว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ไม่ครบถ้วนและมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นเรียกให้โจทก์ให้ชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตามทุนทรัพย์ให้ครบถ้วนถูกต้องภายใน 15 วันนับแต่ทราบคำสั่ง เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ แม้โจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าว โจทก์ก็ต้องชำระค่าขึ้นศาลตามคำสั่งดังกล่าวไปก่อน และโต้แย้งคำสั่งไว้เพื่อใช้สิทธิฎีกาในภายหลัง แต่โจทก์มิได้ดำเนินการชำระค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาดังกล่าวจึงถือว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246 ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะจำหน่ายคดีของโจทก์ออกจากสารบบความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 132 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1875/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจอนุญาโตตุลาการ: ศาลมิอาจก้าวก่ายการวินิจฉัยเนื้อหาข้อพิพาทตามสัญญาอนุญาโตตุลาการ
คณะอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยว่า ผู้คัดค้านได้ทำงานเสร็จตามสัญญาแล้ว จึงชี้ขาดให้ผู้ร้องชำระเงินค่าจ้างที่ยังค้างกับคืนเงินประกันผลงานให้แก่ผู้คัดค้าน คำวินิจฉัยชี้ขาดนี้จึงเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดว่าผู้คัดค้านได้ทำงานแล้วเสร็จและมีสิทธิได้รับสินจ้างตามสัญญาหรือไม่ ซึ่งเป็นไปตามข้อสัญญา จึงไม่มีเหตุให้ศาลสั่งเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้คัดค้านยังทำงานไม่เสร็จเรียบร้อยตามสัญญาเพราะมัณฑนากรหรือผู้ควบคุมงานของผู้ว่าจ้าง คือ ผู้ร้อง ยังไม่ได้ออกหนังสือให้แก่ผู้คัดค้าน อันเป็นการเข้าไปวินิจฉัยเนื้อหาในประเด็นข้อพิพาทที่เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะอนุญาโตตุลาการโดยเฉพาะ แล้วพิพากษาให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการดังกล่าวมานั้น จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1308/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าบำรุงรักษานิคมอุตสาหกรรมและค่าบำบัดน้ำเสีย: การบังคับชำระตามสัญญาและประกาศของนิคมอุตสาหกรรม
พ.ร.บ.การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 มาตรา 14 ให้โจทก์มีอำนาจกำหนด ค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวก ตลอดจนค่าบริการในนิคมอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ตามความเหมาะสมในด้านธุรกิจ โจทก์จึงประกาศกำหนดค่าบริการบำบัดน้ำเสียได้ โดยประกาศนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยที่ 60/2538 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคิดปริมาณน้ำเสีย ให้คำนวณจากร้อยละ 80 ของน้ำใช้ในแต่ละเดือน และแม้ผู้ใช้น้ำจะมิได้ปล่อยน้ำใช้ลงสู่ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลาง ผู้ใช้น้ำก็ยังต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด โดยคำนวณจากน้ำใช้ตามประกาศฉบับนี้ และประกาศของโจทก์ที่ 61/2538 เรื่อง ค่าบริการบำบัดน้ำเสียในนิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร กำหนดวิธีคำนวณอัตราค่าบริการในการบำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรมไว้โดยชัดแจ้ง ประกาศดังกล่าวใช้บังคับเป็นการทั่วไปแก่ผู้ประกอบกิจการอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาครทุกราย มิได้ใช้บังคับเฉพาะรายของจำเลยอันจะทำให้เห็นว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ จึงมิได้ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่จำเลยดังที่ให้การ จำเลยซึ่งเป็นผู้ใช้ที่ดินตามสัญญาการใช้ที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาครและใบอนุญาตให้ใช้ที่ดินเพื่อการประกอบกิจการอุตสาหกรรม จึงต้องผูกพันเสียค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำเสียตามอัตราที่โจทก์ประกาศกำหนด ไม่ว่ากระบวนการผลิตของจำเลยจะก่อให้เกิดน้ำเสียขึ้นถึงร้อยละ 80 หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22777-22778/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำเสนอและคำสนองต้องชัดเจน การโฆษณาเป็นเพียงคำเชื้อเชิญ ไม่ถือเป็นสัญญาผูกพัน
คำเสนอต้องมีข้อความชัดเจนแน่นอนเพียงพอที่จะถือเป็นข้อผูกพันในสัญญา จำเลยโฆษณามีใจความว่า ให้การสนับสนุนสินเชื่อแก่ผู้ประมูลหลักทรัพย์ของจำเลยในงานมหกรรมขายทอดตลาด วงเงินกู้สูงสุด 90 % ของราคาประเมินหลักทรัพย์ประกัน อัตราดอกเบี้ยมี 3 ทางเลือก 1) คงที่ 1 ปี 3.5 % ต่อปี 2) คงที่ 2 ปี 4.25 % ต่อปี 3) คงที่ 3 ปี 4.75 % ต่อปี ข้อความดังกล่าวเป็นเพียงการแสดงความประสงค์ของจำเลยที่จะให้สินเชื่อแก่ผู้ประมูลซื้อทรัพย์ในการจัดงานดังกล่าวได้ ข้อความที่แสดงไม่ระบุรายละเอียดให้ชัดเจนพอที่จะถือว่าเป็นคำเสนอได้ คงเป็นเพียงคำเชื้อเชิญให้ผู้ชนะการประมูลทำคำเสนอขอสินเชื่อเงินกู้จากจำเลยภายในวงเงินและอัตราดอกเบี้ยประเภทใดประเภทหนึ่งที่ระบุเอาไว้เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22741/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท: ปล้นทรัพย์-หน่วงเหนี่ยวกักขัง ศาลฎีกาแก้ไขกระทงโทษ
ความผิดฐานปล้นทรัพย์และความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง โจทก์บรรยายฟ้องความผิดทั้งสองฐานรวมมาในฟ้องข้อ ค. ว่า เหตุที่จำเลยทั้งสี่กระทำการหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 นั้น ก็เพื่อสะดวกแก่การปล้นทรัพย์พาหรือเพื่อให้ยื่นให้ทรัพย์นั้น หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม ความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว จึงเป็นกรรมเดียวกัน ที่ศาลล่างเรียงกระทงลงโทษความผิดฐานปล้นทรัพย์และความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง จึงยังไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความเสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้องได้ และเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งมิได้ฎีกาให้ได้รับประโยชน์ดุจจำเลยที่ 3 ผู้ฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19672/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพที่ได้มาจากการจับกุมในคดีอื่น ไม่อาจนำมาใช้เป็นหลักฐานในคดีปัจจุบันได้
แม้บันทึกคำรับสารภาพจำเลยกระทำขึ้นเนื่องจากจำเลยถูกจับในคดีอื่น แต่ในบันทึกนั้นจำเลยก็ได้กล่าวถึงการที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย อันมีลักษณะเป็นถ้อยคำรับสารภาพว่า จำเลยผู้ถูกจับกุมได้กระทำความผิด จึงต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคท้าย
of 14