พบผลลัพธ์ทั้งหมด 131 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5534/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิคัดค้านการขายทรัพย์สินของผู้เยาว์: บุคคลภายนอกไม่มีสิทธิคัดค้าน แม้ถูกหลอกลวง
ป.พ.พ. มาตรา 1574 บัญญัติเกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ซึ่งผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องที่ผู้ร้องขออนุญาตขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ทั้งสามและอนุญาตให้ผู้ร้องขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ทั้งสาม ประเด็นดังกล่าวจึงยุติ ดังนั้น เมื่อผู้ร้องมายื่นคำร้องขออนุญาตขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ทั้งสามในราคาใหม่ คดีจึงมีประเด็นเพียงว่า สมควรกำหนดให้ขายใหม่ในราคาเท่าใดเท่านั้น ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ร้องต้องนำสืบเกี่ยวกับราคาอสังหาริมทรัพย์ว่ามีราคาเท่าใดและสมควรขายในราคาเท่าใด หาได้เกี่ยวข้องกับผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ ที่ผู้คัดค้านอ้างว่าถูก ก. หลอกลวงขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ผู้คัดค้านหลงเชื่อวางเงินมัดจำให้ ก. ก็เป็นเรื่องที่ผู้คัดค้านต้องไปว่ากล่าวต่อ ก. เอง ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิคัดค้านการขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ทั้งสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5510/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีเยาวชนหลังฟื้นฟูสมรรถภาพยาเสพติด และผลของการฟ้องพ้นกำหนด
พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 78 บัญญัติว่า เมื่อมีการจับกุมเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดตามมาตรา 69 วรรคหนึ่ง หรือกรณีเด็กหรือเยาวชนปรากฏตัวอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนตามมาตรา 70 วรรคหนึ่ง ให้พนักงานสอบสวนรีบดำเนินการสอบสวนและส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมทั้งความเห็น ไปยังพนักงานอัยการ เพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวให้ทันภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่เด็กหรือเยาวชนนั้นถูกจับกุม หรือปรากฏตัวอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนแล้วแต่กรณี แต่หากเกิดความจำเป็นไม่สามารถฟ้องเด็กหรือเยาวชนนั้นต่อศาลให้ทันภายในระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณีต้องยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอผัดฟ้องต่อไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในวรรคสองและวรรคสาม บทบัญญัตินี้มีเจตนารมณ์ที่ต้องการเร่งรัดให้มีการสอบสวนและฟ้องเด็กหรือเยาวชน เพื่อคุ้มครองสิทธิเด็กหรือเยาวชนให้ได้รับการพิจารณาคดีโดยเร็ว นอกจากนั้น พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 19 วรรคสี่ บัญญัติว่า ในระหว่างการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ต้องหายาเสพติดให้พนักงานสอบสวนดำเนินกระบวนการสอบสวนคดีต่อไป เมื่อสอบสวนเสร็จให้ส่งสำนวนพร้อมความเห็นไปยังพนักงานอัยการ โดยไม่ต้องส่งตัวผู้ต้องหาไปด้วย แม้ตามมาตรา 19 วรรคท้าย บัญญัติว่า ในระหว่างที่ผู้ต้องหาถูกควบคุมตัว ตามพระราชบัญญัตินี้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่ต้องตามดำเนินการฝากขังหรือขอผัดฟ้องตามกฎหมายก็ตาม แต่การที่ไม่ต้องดำเนินการฝากขังหรือผัดฟ้องดังกล่าวย่อมหมายถึงว่าพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยระยะเวลาในการยื่นคำร้องขอฝากขังหรือผัดฟ้อง เฉพาะช่วงระยะเวลาที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดโดยไม่ต้องนำระยะเวลาระหว่างการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดมารวมเข้ากับระยะเวลาที่ต้องดำเนินการยื่นคำร้องขอผัดฟ้องหรือฝากขังเท่านั้น
คดีนี้ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2555 คณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด มีคำวินิจฉัยและมีคำสั่งให้ส่งคดีคืนพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีต่อไป และได้แจ้งคำวินิจฉัยมายังสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2555 ซึ่งพนักงานอัยการผู้รับผิดชอบสำนวน มีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนติดตามตัวจำเลยมาส่งพนักงานอัยการเพื่อยื่นฟ้องต่อศาล แต่พนักงานสอบสวนนำตัวจำเลยมาส่งพนักงานอัยการผู้รับผิดชอบเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2556 และพนักงานอัยการยื่นฟ้องจำเลยในวันดังกล่าว เมื่อผู้ต้องหาไม่ถูกควบคุมตัวตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 เนื่องจากการฟื้นฟูไม่เป็นที่น่าพอใจและให้ส่งคืนพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีต่อไปพนักงานอัยการจึงต้องยื่นฟ้องผู้ต้องหาดังกล่าวต่อศาลให้ทันภายในกำหนด 30 วัน นับแต่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ซึ่งหากเกิดความจำเป็นที่ไม่สามารถฟ้องคดีนี้ต่อศาลได้ทันภายในระยะเวลาดังกล่าวก็ต้องขอผัดฟ้องตามกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.2553 มาตรา 78 เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องจำเลยเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุด จึงต้องห้ามมิให้พนักงานอัยการฟ้องคดี ตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.2553 มาตรา 80
คดีนี้ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2555 คณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด มีคำวินิจฉัยและมีคำสั่งให้ส่งคดีคืนพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีต่อไป และได้แจ้งคำวินิจฉัยมายังสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2555 ซึ่งพนักงานอัยการผู้รับผิดชอบสำนวน มีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนติดตามตัวจำเลยมาส่งพนักงานอัยการเพื่อยื่นฟ้องต่อศาล แต่พนักงานสอบสวนนำตัวจำเลยมาส่งพนักงานอัยการผู้รับผิดชอบเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2556 และพนักงานอัยการยื่นฟ้องจำเลยในวันดังกล่าว เมื่อผู้ต้องหาไม่ถูกควบคุมตัวตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 เนื่องจากการฟื้นฟูไม่เป็นที่น่าพอใจและให้ส่งคืนพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีต่อไปพนักงานอัยการจึงต้องยื่นฟ้องผู้ต้องหาดังกล่าวต่อศาลให้ทันภายในกำหนด 30 วัน นับแต่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ซึ่งหากเกิดความจำเป็นที่ไม่สามารถฟ้องคดีนี้ต่อศาลได้ทันภายในระยะเวลาดังกล่าวก็ต้องขอผัดฟ้องตามกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.2553 มาตรา 78 เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องจำเลยเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุด จึงต้องห้ามมิให้พนักงานอัยการฟ้องคดี ตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.2553 มาตรา 80
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4404/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าต้องพิสูจน์เจตนาละทิ้งร้างอย่างชัดเจน การกลับมาพักอาศัยชั่วคราวแสดงเจตนาที่จะอยู่กินต่อไป
การทิ้งร้าง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (4) นั้น จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าคู่ความนั้นจงใจทิ้งร้างไปในลักษณะที่ไม่หวนกลับไปหาคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง โดยไม่ประสงค์ที่จะอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาอีกต่อไป เป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่า 1 ปี จำเลยออกไปจากบ้านตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2555 แต่จำเลยกลับมาพักอยู่กับโจทก์ระหว่างวันที่ 11 ถึง 15 กันยายน 2555 อีก จึงยังไม่เกินกว่ากำหนดเวลา 1 ปี และย่อมแสดงว่า จำเลยยังประสงค์จะอยู่กินกับโจทก์ต่อไป แต่โจทก์เป็นฝ่ายเปลี่ยนกุญแจบ้านไม่ให้จำเลยเข้าไปอยู่ในบ้าน และไม่ยอมพูดคุยกับจำเลยเพื่อปรับความเข้าใจ ในขณะที่จำเลยยอมโทรศัพท์ขอโทษมารดาโจทก์และยอมรับผิดกับมารดาโจทก์ มารดาจำเลยก็ไม่ต้องการให้โจทก์จำเลยหย่ากัน โดยนัดโจทก์และมารดาโจทก์มาพูดคุย แต่มารดาโจทก์ก็ไม่ยอมช่วย และบอกว่าโจทก์กับจำเลยต้องแยกกันอยู่ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่า จำเลยยังมีเยื่อใยต่อโจทก์ ต้องการอยู่กับโจทก์ต่อไป จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ หรือกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง อันจะเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิฟ้องหย่าได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (4) และ (6)
การที่จำเลยแสดงอาการไม่ต้อนรับ ไม่พูดคุยกับมารดาโจทก์ ทั้งไม่แสดงความคิดเห็นใด ๆ ในการที่มารดาโจทก์มาพักอาศัยอยู่กับโจทก์นั้น เป็นเพียงพฤติการณ์หรือการกระทำที่ไม่เหมาะสมของจำเลยเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการทรมานจิตใจโจทก์อย่างร้ายแรงอันจะเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (3)
การที่จำเลยแสดงอาการไม่ต้อนรับ ไม่พูดคุยกับมารดาโจทก์ ทั้งไม่แสดงความคิดเห็นใด ๆ ในการที่มารดาโจทก์มาพักอาศัยอยู่กับโจทก์นั้น เป็นเพียงพฤติการณ์หรือการกระทำที่ไม่เหมาะสมของจำเลยเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการทรมานจิตใจโจทก์อย่างร้ายแรงอันจะเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4403/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสหลังหย่า: รถยนต์เป็นสินสมรสหรือไม่ และการแบ่งทรัพย์สินที่ดินที่ขายฝาก/ขายไปแล้ว
เครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (2) หมายถึงเครื่องมือเครื่องใช้ที่โดยสภาพเป็นสิ่งเฉพาะสำหรับใช้ในการประกอบอาชีพของคู่สมรสฝ่ายนั้นเท่านั้น รถยนต์ที่โจทก์จำเลยซื้อมาระหว่างสมรสเพื่อความสะดวกในการรับส่งบุตรไปโรงเรียน ภายหลังจำเลยนำมาใช้รับจ้างส่งนักเรียน แสดงให้เห็นว่ารถยนต์เป็นทรัพย์ที่มิได้มุ่งหมายใช้ในการประกอบอาชีพรับจ้างแต่เพียงประการเดียว รถยนต์จึงเป็นสินสมรสมิใช่สินส่วนตัวของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4402/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าจากเหตุเหยียดหยาม คำพูดไม่สุภาพต่อหน้าธารกำนัลยังไม่ถึงขั้นร้ายแรงพอที่จะเป็นเหตุหย่าได้
จำเลยเรียกโจทก์ว่า บักหลอย บักหน้าส้นตีน เป็นเพียงคำไม่เหมาะสมที่ภริยาจะใช้เรียกสามีต่อหน้าธารกำนัล ซึ่งเป็นข้อที่จำเลยจะต้องปรับปรุงตนไม่ใช้คำดังกล่าวกับสามีอีกต่อไป ยังไม่ถึงกับเป็นคำที่เหยียดหยามโจทก์อย่างร้ายแรง ส่วนที่จำเลยเรียกมารดาโจทก์ว่าอีแก่นั้น คำว่า "อี" เป็นคำประกอบหน้าชื่อผู้หญิงที่มีฐานะต่ำกว่า หรือเป็นคำใช้ประกอบหน้าชื่อผู้หญิงแสดงการดูหมิ่นเหยียดหยาม สำหรับคำว่า "แก่" มีความหมายว่ามีอายุมาก คำว่า "อีแก่" จึงเป็นคำไม่สุภาพและไม่เหมาะสมที่จำเลยในฐานะบุตรสะใภ้จะใช้เรียกมารดาของสามี แต่ยังไม่ถึงกับเป็นคำที่เหยียดหยามมารดาโจทก์อย่างร้ายแรง ยังไม่พอฟังว่า จำเลยเหยียดหยามโจทก์หรือบุพการีของโจทก์อย่างร้ายแรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (3 )
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4231/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการพบปะบุตรในระหว่างพิจารณาคดี: ฎีกาไม่เป็นประโยชน์เมื่อคดีถึงที่สุด
เมื่อในคดีหลักที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้เด็กชาย ธ. เป็นบุตรของโจทก์กับจำเลยที่ 1 และให้โจทก์มีอำนาจปกครองถึงที่สุดแล้ว ฎีกาของโจทก์ที่ขอคุ้มครองประโยชน์ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาโดยขอให้มีสิทธิติดต่อผู้เยาว์ได้ จึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดี ศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4230/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่าโดยใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดชายแดนใต้ และผลทางทะเบียน
โจทก์และจำเลยเป็นอิสลามศาสนิก มีภูมิลำเนาในจังหวัดนราธิวาส สมรสกันถูกต้องตามหลักกฎหมายอิสลามและจดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์มาฟ้องหย่าจำเลยโดยบรรยายเหตุแห่งการหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สภาพแห่งข้อหาจึงเป็นเรื่องครอบครัว ย่อมตกอยู่ภายใต้บังคับแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ.2489 มาตรา 3 ที่ให้ใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกบังคับแทนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงต้องใช้เหตุฟ้องหย่าตามหลักกฎหมายอิสลามมาบังคับใช้แทน ป.พ.พ. มาตรา 1516 เมื่อโจทก์ได้ถูกตัดสินให้หย่าขาดจากการเป็นภริยาจำเลยโดยคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส โดยระบุไว้ในหนังสือการหย่าร้างว่า คำตัดสินนี้เป็นคำชี้ขาดตามหลักศาสนาและกฎระเบียบทุกประการ จึงเป็นการหย่ากันโดยชอบตามหลักกฎหมายอิสลาม มีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้เช่นเดียวกับการหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และสามารถนำไปใช้เพื่อจดทะเบียนหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้เลย โดยโจทก์ไม่จำต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาล ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4187/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาและแพ่งจากการกระทำชำเราเด็ก ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาเพื่อชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิจารณาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 เมื่อในคดีอาญาศาลพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง จึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ร่วมและต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามคำร้องขอค่าสินไหมทดแทนของโจทก์ร่วม แม้โจทก์ร่วมไม่ได้ฎีกาเรื่องค่าสินไหมทดแทนมาด้วย ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกคดีส่วนแพ่งขึ้นวินิจฉัยเพื่อให้เป็นตามผลคดีอาญาได้เพราะเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4187/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็ก และการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในคดีอาญา
ในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิจารณาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 เมื่อในคดีอาญาศาลพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง จึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ร่วมและต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามคำร้องขอค่าสินไหมทดแทนของโจทก์ร่วม แม้โจทก์ร่วมไม่ได้ฎีกาเรื่องค่าสินไหมทดแทนมาด้วย ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกคดีส่วนแพ่งขึ้นวินิจฉัยเพื่อให้เป็นไปตามผลคดีอาญาได้เพราะเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3604/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน แม้คู่สัญญาจะโอนสิทธิให้ผู้อื่น การซื้อขายที่ดินโดยรู้เงื่อนไขเป็นเหตุเพิกถอนได้
โจทก์ฟ้องบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยทั้งสองมิได้ให้การโต้แย้งถึงความมีอยู่หรือความสมบูรณ์ของสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว กรณีต้องถือว่าจำเลยทั้งสองรับแล้วว่า จำเลยที่ 1 กับโจทก์ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 (3) ดังนั้น กรณีจึงถือว่าสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลบังคับระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญา และผลของสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 นั่นคือ การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไปและทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตน ด้วยเหตุนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 เข้าผูกพันตนตามสัญญากับโจทก์ยอมยกที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้เป็นของบุตรทั้งสองเมื่อบรรลุนิติภาวะแล้ว โดยจำเลยที่ 1 จะไม่โอนขายบ้านและที่ดินดังกล่าวเด็ดขาด แม้ว่าสัญญาดังกล่าวจะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกคือ บุตรทั้งสอง และบุคคลภายนอกตามที่ระบุไว้ในสัญญายังมิได้แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นเพราะยังไม่บรรลุนิติภาวะตามเงื่อนไขในสัญญาก็ตาม จำเลยที่ 1 ก็ยังคงต้องผูกพันตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว จะย้อนมาอ้างสิทธิว่าที่ดินดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรสหรือไม่อย่างไรไม่ได้ เพราะสิทธิของจำเลยที่ 1 ตามที่มีอยู่เดิมเหนือที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวได้ระงับสิ้นไปแล้ว จำเลยที่ 1 จึงได้แต่สิทธิและพันธะหน้าที่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น