คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 86/10

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 558/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกใบลดหนี้และใบกำกับภาษีกรณีสินค้าเสียหายและเปลี่ยนทดแทน
โจทก์ได้ส่งมอบเคเบิ้ลใยแก้วนำแสงที่โจทก์อ้างว่าเสียหายให้แก่บริษัท ท. โดยมีการชำระราคาและออกใบกำกับภาษีแล้ว ความรับผิดทางภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเกิดขึ้นแล้ว หากต่อมาเคเบิ้ลใยแก้วนำแสงดังกล่าวเกิดความเสียหายและโจทก์ได้เปลี่ยนของใหม่ทดแทนของเดิมและได้รับเคเบิ้ลใยแก้วนำแสงที่เสียหายกลับคืนมา โจทก์มีหน้าที่ต้องออกใบลดหนี้สำหรับเคเบิ้ลใยแก้วนำแสงตามจำนวนที่เสียหายและนำภาษีขายนั้นมาหักออกจากภาษีขายของตนในเดือนภาษีที่ได้ออกใบลดหนี้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 86/10 ประกอบคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.80/2542 และเมื่อโจทก์ได้ส่งมอบเคเบิ้ลใยแก้วนำแสงจำนวนใหม่ทดแทนของเดิม กรณีจึงเกิดความรับผิดในภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเคเบิ้ลใยแก้วนำแสงใหม่ที่นำมาทดแทน โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีตั้งแต่เมื่อมีการส่งมอบเคเบิ้ลใยแก้วนำแสงจำนวนใหม่โดยไม่ต้องคำนึงว่ามีการโอนกรรมสิทธิ์แล้วหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8942/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม: การออกใบกำกับภาษีสำหรับสินค้าทดแทนความเสียหาย และการงดเบี้ยปรับ
การขายสินค้าถ้ามีการส่งมอบสินค้าพร้อมออกใบกำกับภาษี ความรับผิดทางภาษีมูลค่าเพิ่มย่อมเกิดขึ้นโดยไม่คำนึงว่ามีการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าหรือไม่ ส่วนการให้บริการถ้ามีการออกใบกำกับภาษีพร้อมชำระค่าบริการ ความรับผิดทางภาษีมูลค่าเพิ่มย่อมเกิดขึ้นแล้วเช่นกัน ผู้ซื้อหรือผู้รับบริการย่อมนำใบกำกับภาษีไปใช้สำหรับการขอคืนภาษีซื้อหรือเครดิตภาษีในเดือนภาษีนั้นได้ ในทางกลับกันผู้ขายหรือผู้ให้บริการที่ออกใบกำกับภาษีต้องมีหน้าที่นำภาษีขายไปเสียภาษีในเดือนภาษีนั้น และในทางบัญชีสินค้าคงเหลือของผู้ขายหรือผู้ให้บริการต้องมีการตัดยอดสินค้าหรือสิ่งของที่นำไปขายหรือให้บริการจำนวนนั้น ๆ ออกจากบัญชีสินค้าคงเหลือให้ตรงกับยอดสินค้าหรือสิ่งของคงเหลือที่มีอยู่จริงทำให้เกิดระบบการสอบยันทางภาษีได้อย่างเป็นระบบ ทั้งในทางเอกสารสามารถตรวจสอบได้ว่ามีการเสียภาษีไว้ถูกต้องหรือไม่ เมื่อคำฟ้องของโจทก์ระบุชัดว่าโจทก์สาขาในประเทศไทยได้ออกใบกำกับภาษีสำหรับเคเบิ้ลใยแก้วที่อ้างว่าเสียหายให้แก่บริษัท ท. พร้อมได้รับชำระราคาแล้ว จึงฟังได้ว่ามีการชำระราคาและออกใบกำกับภาษีสำหรับเคเบิ้ลใยแก้วที่อ้างว่าเสียหายแล้ว
เมื่อโจทก์เป็นผู้นำเข้าเคเบิ้ลใยแก้วและได้รับชำระเงินแล้ว เหตุที่อ้างว่ายังไม่ส่งมอบจึงเป็นเรื่องที่ผิดปกติธรรมดา โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ให้เห็นว่า เคเบิ้ลใยแก้วที่โจทก์อ้างว่าเสียหายยังไม่มีการส่งมอบให้แก่บริษัท ท. เมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ กรณีจึงรับฟังได้ว่า เคเบิ้ลใยแก้วที่โจทก์อ้างว่าเสียหายได้ส่งมอบให้แก่บริษัท ท. โดยมีการชำระราคาและออกใบกำกับภาษีแล้ว และใบกำกับภาษีดังกล่าวต้องใช้กับเคเบิ้ลใยแก้วที่โจทก์อ้างว่าเสียหายจำนวนนั้นเท่านั้น และก่อให้เกิดการเริ่มต้นการนำใบกำกับภาษีนั้นไปใช้ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม หากต่อมาเคเบิ้ลใยแก้วดังกล่าวเกิดความเสียหายซึ่งโจทก์ต้องรับผิดชอบเปลี่ยนของใหม่ให้และโจทก์ได้เปลี่ยนเคเบิ้ลใยแก้วใหม่ทดแทนของเดิมและได้รับเคเบิ้ลใยแก้วที่เสียหายกลับคืนมา โจทก์มีหน้าที่ต้องออกใบลดหนี้สำหรับเคเบิ้ลใยแก้วตามจำนวนที่เสียหายและนำภาษีขายที่คำนวณจากมูลค่าของเคเบิ้ลใยแก้วที่โจทก์อ้างว่าเสียหายนั้นมาหักออกจากภาษีขายของตนในเดือนภาษีที่ได้ออกใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 ประกอบมาตรา 82/10 แห่ง ป.รัษฎากร ประกอบคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.80/2542 ทั้งนี้ก็เพื่อยืนยันในทางเอกสารต่อเจ้าพนักงานที่ไปตรวจสอบได้ว่าเคเบิ้ลใยแก้วจำนวนนั้นได้มีความชำรุดบกพร่องจริงหรือไม่ในจำนวนเท่าใด ด้วยเหตุดังกล่าวเมื่อมีการนำเคเบิ้ลใยแก้วใหม่มาทดแทนในส่วนที่โจทก์อ้างว่าเสียหายก็ต้องมีการออกใบกำกับภาษีสำหรับเคเบิ้ลใยแก้วใหม่ที่นำมาทดแทนเพื่อให้ตรงกับการเสียภาษีซื้อจากการนำเข้าสำหรับเคเบิ้ลใยแก้วจำนวนใหม่ดังกล่าว และนำไปตัดยอดจากบัญชีสินค้าคงเหลือสำหรับเคเบิ้ลใยแก้วใหม่ข้างต้น เพื่อให้ระบบบัญชี ใบกำกับภาษี และการเสียภาษีสอดคล้องตรงกันทั้งหมดสำหรับเคเบิ้ลใยแก้วจำนวนใหม่ที่นำมาทดแทน อันทำให้ถูกต้องตามระบบบัญชีและมีเอกสารสามารถตรวจสอบในทางภาษีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7169/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกใบลดหนี้ต้องเป็นไปตามเหตุที่กฎหมายกำหนด หากออกโดยไม่มีเหตุตามประมวลรัษฎากรแล้ว ถือเป็นการออกเอกสารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การออกใบลดหนี้ใหม่ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 86/10 นั้นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้ขายสินค้าจะออกใบลดหนี้ได้ต้องเป็นเรื่องมีการลดราคาสินค้าที่ขายเนื่องจากผิดข้อตกลง สินค้าชำรุดเสียหายหรือขาดจำนวน คำนวณราคาสินค้าผิดพลาดสูงกว่าที่เป็นจริงหรือเนื่องจากเหตุอื่นตามที่อธิบดีกำหนด หรือมีการคืนสินค้าตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 82/10 เท่านั้น
โจทก์ออกใบลดหนี้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาสเพราะโจทก์ส่งสินค้าให้ผู้ซื้อแล้วแต่ยังไม่อาจติดตั้งได้จึงออกใบกำกับภาษีชุดใหม่ให้ผู้ซื้อ โจทก์ออกใบลดหนี้ให้โรงพยาบาลนราธิวาสเพราะผู้ซื้อได้ทำใบอนุมัติเบิกจ่ายรวมสินค้าทั้งหมด แต่โจทก์ส่งสินค้าแยกรายการ จึงออกใบกำกับภาษีรวมสินค้าให้ใหม่และโจทก์ออกใบลดหนี้ให้สาธารณสุขจังหวัดชลบุรี เพราะผู้ซื้อไม่สามารถเบิกจ่ายจากปีงบประมาณต่างงบกัน โจทก์จึงออกใบกำกับภาษีให้ใหม่ ส่วนที่โจทก์ออกใบลดหนี้ให้โรงพยาบาลควนขนุนก็เพราะผู้ซื้อไม่สามารถเบิกจ่ายจากงบประมาณปี 2537ได้โดยจะต้องเบิกจ่ายจากปีงบประมาณ 2538 ซึ่งเป็นปีถัดไปโจทก์จึงออกใบกำกับภาษีให้ผู้ซื้อใหม่ การออกใบลดหนี้ของโจทก์ในกรณีดังกล่าวข้างต้นเป็นการออกเพื่อยกเลิกใบกำกับภาษีที่ออกไว้เดิม หลังจากออกใบกำกับภาษีให้ผู้ซื้อใหม่แล้วจึงมิใช่กรณีดังที่ระบุไว้ในมาตรา 82/10(1)(2)(3)(4) ดังนั้นการที่โจทก์ออกใบกำกับภาษีและออกใบลดหนี้ดังกล่าวให้แก่ผู้ซื้อจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7169/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกใบลดหนี้ต้องมีเหตุตามกฎหมายเท่านั้น การออกเพื่อแก้ไขการเบิกจ่ายงบประมาณไม่ชอบ
การออกใบลดหนี้ใหม่ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 86/10 นั้นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้ขายสินค้าจะออกใบลดหนี้ได้ต้องเป็นเรื่องมีการลดราคาสินค้าที่ขายเนื่องจากผิดข้อตกลง สินค้าชำรุดเสียหายหรือขาดจำนวน คำนวณราคาสินค้าผิดพลาดสูงกว่าที่เป็นจริง หรือเนื่องจากเหตุอื่นตามที่อธิบดีกำหนด หรือมีการคืนสินค้าตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 82/10 เท่านั้น
โจทก์ออกใบลดหนี้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาสเพราะโจทก์ส่งสินค้าให้ผู้ซื้อแล้วแต่ยังไม่อาจติดตั้งได้จึงออกใบกำกับภาษีชุดใหม่ให้ผู้ซื้อ โจทก์ออกใบลดหนี้ให้โรงพยาบาลนราธิวาส เพราะผู้ซื้อได้ทำใบอนุมัติเบิกจ่ายรวมสินค้าทั้งหมด แต่โจทก์ส่งสินค้าแยกรายการ จึงออกใบกำกับภาษีรวมสินค้าให้ใหม่และโจทก์ออกใบลดหนี้ให้สาธารณสุขจังหวัดชลบุรี เพราะผู้ซื้อไม่สามารถเบิกจ่ายจากปีงบประมาณต่างงบกัน โจทก์จึงออกใบกำกับภาษีให้ใหม่ ส่วนที่โจทก์ออกใบลดหนี้ให้โรงพยาบาลควนขนุน ก็เพราะผู้ซื้อไม่สามารถเบิกจ่ายจากงบประมาณปี 2537ได้โดยจะต้องเบิกจ่ายจากปีงบประมาณ 2538 ซึ่งเป็นปีถัดไป โจทก์จึงออกใบกำกับภาษีให้ผู้ซื้อใหม่ การออกใบลดหนี้ของโจทก์ในกรณีดังกล่าวข้างต้นเป็นการออกเพื่อยกเลิกใบกำกับภาษีที่ออกไว้เดิม หลังจากออกใบกำกับภาษีให้ผู้ซื้อใหม่แล้ว จึงมิใช่กรณีดังที่ระบุไว้ในมาตรา 82/10 (1) (2) (3) (4) ดังนั้น การที่โจทก์ออกใบกำกับภาษีและออกใบลดหนี้ดังกล่าวให้แก่ผู้ซื้อจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7129/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินค่าประกันบริการถือเป็นค่าบริการตามประมวลรัษฎากร ต้องนำไปคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้
เงินค่าประกันการใช้บริการซึ่งโจทก์จัดเก็บจากผู้ใช้บริการนั้นแม้โจทก์จะต้องเรียกเก็บเนื่องจากมีข้อผูกพันที่โจทก์ได้ให้ไว้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยตามสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์ติดตามตัวระบบ DIGITALDISPLAY PAGING ก็ตาม แต่การเรียกเก็บเงินดังกล่าวจากผู้ใช้บริการก็เรียกเก็บในฐานะเป็นคู่สัญญากับโจทก์ หากผู้ใช้บริการไม่ชำระเงินค่าประกันการใช้บริการให้แก่โจทก์ โจทก์ก็จะไม่ให้บริการและหากผู้ใช้บริการยังค้างชำระค่าบริการอยู่ เมื่อเลิกสัญญาการให้บริการโจทก์ก็สามารถหักจากเงินค่าประกันการใช้บริการดังกล่าว และถ้ามีเงินเหลือจึงจะคืนให้แก่ผู้ใช้บริการหรือหากผู้ใช้บริการไม่ค้างชำระค่าบริการก็จะคืนเงินทั้งจำนวนให้แก่ผู้ใช้บริการ ดังนั้น เงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นเงินที่จัดเก็บเพื่อประโยชน์ของโจทก์และจัดเก็บในขณะที่ผู้ใช้บริการเริ่มขอใช้บริการและหากไม่ชำระโจทก์ก็จะไม่ให้บริการการเรียกเก็บเงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นเงินที่โจทก์ได้รับประโยชน์จากการที่โจทก์ให้บริการ เงินจำนวนดังกล่าวจึงถือเป็นเงินค่าบริการตามความหมายของคำว่า "บริการ"ตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร
เมื่อเงินค่าประกันการใช้บริการดังกล่าวถือว่าเป็นค่าบริการส่วนหนึ่งและโจทก์ได้เรียกเก็บจากผู้ใช้บริการขณะเมื่อเริ่มขอใช้บริการ โจทก์จึงต้องนำเงินจำนวนที่เรียกเก็บดังกล่าวเป็นฐานภาษีในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร และความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการให้บริการดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อโจทก์ได้รับค่าบริการ ดังนั้น โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนของเงินค่าประกันการใช้บริการในขณะที่มีการจัดเก็บเงินจำนวนดังกล่าวจากผู้ใช้บริการตามมาตรา 78/1(1) แห่ง ประมวลรัษฎากรและภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ต้องคำนวณและเรียกเก็บดังกล่าวถือเป็นภาษีขายของโจทก์ซึ่งโจทก์ต้องนำไปคำนวณเพื่อชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร ยิ่งกว่านั้นเมื่อเลิกสัญญาการใช้บริการโจทก์มีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าประกันการใช้บริการให้แก่ผู้ใช้บริการทั้งจำนวนหรือส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าใช้บริการที่ค้างชำระแล้วโจทก์สามารถออกใบลดหนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 86/10 และ 82/10 แห่งประมวลรัษฎากรและนำใบลดหนี้ซึ่งปรากฏภาษีขายที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือค่าบริการที่ลดลงนั้นมาหักออกจากภาษีขายของโจทก์ในเดือนภาษีที่ได้ออกใบลดหนี้ดังกล่าว ขณะเดียวกันผู้ใช้บริการที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรากฏตามใบลดหนี้มาหักออกจากภาษีซื้อของตนในเดือนภาษีที่ได้รับใบลดหนี้นั้น ดังนั้น เงินค่าประกันการใช้บริการซึ่งลูกค้าจ่ายให้แก่โจทก์จึงถือเป็นเงินค่าบริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7129/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินค่าประกันการใช้บริการถือเป็นค่าบริการตามประมวลรัษฎากร จึงต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
เงินค่าประกันการใช้บริการซึ่งโจทก์จัดเก็บจากผู้ใช้บริการนั้นแม้โจทก์จะต้องเรียกเก็บเนื่องจากมีข้อผูกพันที่โจทก์ได้ให้ไว้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยตามสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์ติดตามตัวระบบ DIGITALDISPLAY PAGING ก็ตาม แต่การเรียกเก็บเงินดังกล่าวจากผู้ใช้บริการก็เรียกเก็บในฐานะเป็นคู่สัญญากับโจทก์ หากผู้ใช้บริการไม่ชำระเงินค่าประกันการใช้บริการให้แก่โจทก์ โจทก์ก็จะไม่ให้บริการและหากผู้ใช้บริการยังค้างชำระค่าบริการอยู่ เมื่อเลิกสัญญาการให้บริการโจทก์ก็สามารถหักจากเงินค่าประกันการใช้บริการดังกล่าว และถ้ามีเงินเหลือจึงจะคืนให้แก่ผู้ใช้บริการหรือหากผู้ใช้บริการไม่ค้างชำระค่าบริการก็จะคืนเงินทั้งจำนวนให้แก่ผู้ใช้บริการ ดังนั้น เงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นเงินที่จัดเก็บเพื่อประโยชน์ของโจทก์และจัดเก็บในขณะที่ผู้ใช้บริการเริ่มขอใช้บริการและหากไม่ชำระโจทก์ก็จะไม่ให้บริการการเรียกเก็บเงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นเงินที่โจทก์ได้รับประโยชน์จากการที่โจทก์ให้บริการ เงินจำนวนดังกล่าวจึงถือเป็นเงินค่าบริการตามความหมายของคำว่า "บริการ"ตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร
เมื่อเงินค่าประกันการใช้บริการดังกล่าวถือว่าเป็นค่าบริการส่วนหนึ่งและโจทก์ได้เรียกเก็บจากผู้ใช้บริการขณะเมื่อเริ่มขอใช้บริการ โจทก์จึงต้องนำเงินจำนวนที่เรียกเก็บดังกล่าวเป็นฐานภาษีในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร และความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการให้บริการดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อโจทก์ได้รับค่าบริการ ดังนั้น โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนของเงินค่าประกันการใช้บริการในขณะที่มีการจัดเก็บเงินจำนวนดังกล่าวจากผู้ใช้บริการตามมาตรา 78/1(1) แห่ง ประมวลรัษฎากรและภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ต้องคำนวณและเรียกเก็บดังกล่าวถือเป็นภาษีขายของโจทก์ซึ่งโจทก์ต้องนำไปคำนวณเพื่อชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร ยิ่งกว่านั้นเมื่อเลิกสัญญาการใช้บริการโจทก์มีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าประกันการใช้บริการให้แก่ผู้ใช้บริการทั้งจำนวนหรือส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าใช้บริการที่ค้างชำระแล้วโจทก์สามารถออกใบลดหนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 86/10 และ 82/10 แห่งประมวลรัษฎากรและนำใบลดหนี้ซึ่งปรากฏภาษีขายที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือค่าบริการที่ลดลงนั้นมาหักออกจากภาษีขายของโจทก์ในเดือนภาษีที่ได้ออกใบลดหนี้ดังกล่าว ขณะเดียวกันผู้ใช้บริการที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรากฏตามใบลดหนี้มาหักออกจากภาษีซื้อของตนในเดือนภาษีที่ได้รับใบลดหนี้นั้น ดังนั้น เงินค่าประกันการใช้บริการซึ่งลูกค้าจ่ายให้แก่โจทก์จึงถือเป็นเงินค่าบริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7129/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินค่าประกันการใช้บริการเป็นค่าบริการที่ต้องนำมาคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม และสามารถออกใบลดหนี้ได้
เงินค่าประกันการใช้บริการซึ่งโจทก์จัดเก็บจากผู้ใช้บริการนั้นแม้โจทก์จะต้องเรียกเก็บเนื่องจากมีข้อผูกพันที่โจทก์ได้ให้ไว้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยตามสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์ติดตามตัวระบบDIGITAL DISPLAY PAGING ก็ตาม แต่การเรียกเก็บเงินดังกล่าวจากผู้ใช้บริการก็เรียกเก็บในฐานะเป็นคู่สัญญากับโจทก์ หากผู้ใช้บริการไม่ชำระเงินค่าประกันการใช้บริการให้แก่โจทก์ โจทก์ก็จะไม่ให้บริการและหากผู้ใช้บริการยังค้างชำระค่าบริการอยู่ เมื่อเลิกสัญญาการให้บริการโจทก์ก็สามารถหักจากเงินค่าประกันการใช้บริการดังกล่าว และถ้ามีเงินเหลือจึงจะคืนให้แก่ผู้ใช้บริการหรือหากผู้ใช้บริการไม่ค้างชำระค่าบริการก็จะคืนเงินทั้งจำนวนให้แก่ผู้ใช้บริการ ดังนั้น เงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นเงินที่จัดเก็บเพื่อประโยชน์ของโจทก์ และจัดเก็บในขณะที่ผู้ใช้บริการเริ่มขอใช้บริการและหากไม่ชำระโจทก์ก็จะไม่ให้บริการ การเรียกเก็บเงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นเงินที่โจทก์ได้รับประโยชน์จากการที่โจทก์ให้บริการ เงินจำนวนดังกล่าวจึงถือเป็นเงินค่าบริการตามความหมายของคำว่า" "บริการ" ตามมาตรา 77/1 (10) แห่งป.รัษฎากร
เมื่อเงินค่าประกันการใช้บริการดังกล่าวถือว่าเป็นค่าบริการส่วนหนึ่งและโจทก์ได้เรียกเก็บจากผู้ใช้บริการขณะเมื่อเริ่มขอใช้บริการ โจทก์จึงต้องนำเงินจำนวนที่เรียกเก็บดังกล่าวเป็นฐานภาษีในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 แห่ง ป.รัษฎากร และความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการให้บริการดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อโจทก์ได้รับค่าบริการ ดังนั้น โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนของเงินค่าประกันการใช้บริการในขณะที่มีการจัดเก็บเงินจำนวนดังกล่าวจากผู้ใช้บริการตามมาตรา 78/1 (1) แห่ง ป.รัษฎากรและภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ต้องคำนวณและเรียกเก็บดังกล่าวถือเป็นภาษีขายของโจทก์ซึ่งโจทก์ต้องนำไปคำนวณเพื่อชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่ง ป.รัษฎากรยิ่งกว่านั้น เมื่อเลิกสัญญาการใช้บริการโจทก์มีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าประกันการใช้บริการให้แก่ผู้ใช้บริการทั้งจำนวนหรือส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าใช้บริการที่ค้างชำระแล้วโจทก์สามารถออกใบลดหนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 86/10 และ 82/10 แห่งป.รัษฎากร และนำใบลดหนี้ซึ่งปรากฏภาษีขายที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือค่าบริการที่ลดลงนั้นมาหักออกจากภาษีขายของโจทก์ในเดือนภาษีที่ได้ออกใบลดหนี้ดังกล่าว ขณะเดียวกันผู้ใช้บริการที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรากฏตามใบลดหนี้มาหักออกจากภาษีซื้อของตนในเดือนภาษีที่ได้รับใบลดหนี้นั้น ดังนั้น เงินค่าประกันการใช้บริการซึ่งลูกค้าจ่ายให้แก่โจทก์จึงถือเป็นเงินค่าบริการตามมาตรา 77/1 (10) แห่ง ป.รัษฎากร