พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 547/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้า 'MITA' บนสินค้าทดแทน ไม่ถือเป็นการละเมิด หากไม่ทำให้ประชาชนสับสน
แม้ที่กล่องบรรจุสินค้าผงหมึกและฉลากปิดข้างขวดบรรจุสินค้าผงเหล็กที่จำเลยที่ 1 นำเข้ามาจำหน่ายจะมีคำว่า MITA ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 ที่ได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทยสำหรับสินค้าเครื่องถ่ายเอกสารแต่จำเลยทั้งห้ามิได้นำคำดังกล่าวมาใช้อย่างเครื่องหมายการค้า กล่าวคือ สินค้าผงหมึกและผงเหล็กที่จำเลยที่ 1 นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายมิได้ระบุว่าเป็นผงหมึกและผงเหล็กภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า mita ของโจทก์ที่ 1สินค้าดังกล่าวเป็นสินค้าที่ไม่มีเครื่องหมายการค้าระบุหรือติดไว้ที่กล่องหรือขวดบรรจุสินค้า สิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์ที่ 1 เป็นสิทธิแต่ผู้เดียวเพื่อใช้เครื่องหมายการค้านั้นสำหรับสินค้าจำพวกที่ได้จดทะเบียนไว้เพื่อระบุว่าสินค้านั้นเป็นของโจทก์ที่ 1 และแยกแยะให้เห็นว่าสินค้าของโจทก์ที่ 1 แตกต่างจากสินค้าของผู้ผลิตอื่นเท่านั้น หาได้รวมไปถึงสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะผลิตสินค้า ขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าที่ผลิตขึ้นนั้นอันเป็นสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตรการประดิษฐ์ไม่ ประกอบกับกล่องและขวดบรรจุผงหมึกและผงเหล็กที่จำเลยที่ 1 นำเข้ามาจำหน่ายก็มิได้เขียนคำว่า MITA ให้มีลักษณะบ่งเฉพาะว่า mita เช่นเดียวกับของโจทก์ที่ 1 แต่เขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ว่า MITA และคำว่า TONER กับ DEVELOPER ก็เขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่เช่นเดียวกัน รวมทั้งข้อความว่า FOR USE IN ซึ่งหมายความว่า ใช้กับหรือใช้สำหรับ ก็เขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่เห็นได้ชัดเจน แม้กล่องและขวดบรรจุสินค้าดังกล่าวจะมิได้ระบุชื่อบริษัท ผู้ผลิต แต่ก็มิได้ระบุชื่อบริษัทโจทก์ที่ 1 ว่าเป็นผู้ผลิตผงหมึกและผงเหล็กที่จำเลยที่ 1 นำเข้ามาจำหน่าย ส่วนกล่องบรรจุผงหมึกของโจทก์ที่ 1คำว่า TONER เขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะอักษร T เพียงตัวเดียว ตัวอักษรนอกนั้นเขียนด้วยตัวพิมพ์เล็ก โดยเขียนว่า Toner มีเครื่องหมายการค้าคำว่า mitaเขียนเรียงกันตามแนวนอน 6 แนว แถวละ 8 คำ อยู่ส่วนบนของกล่อง มีคำว่าmita เขียนด้วยตัวอักษรสีขาวบนพื้นกรอบสี่เหลี่ยมสีแดงเห็นได้เด่นชัดทั้งหกด้านของกล่องสีดำและมีชื่อบริษัทโจทก์ที่ 1 อยู่ด้วย แต่ไม่มีข้อความว่า FOR USE INส่วนที่ฉลากปิดข้างขวดบรรจุสินค้าผงหมึกของโจทก์ที่ 1 ก็เป็นฉลากสีฟ้า มีคำว่าmita เป็นตัวอักษรสีขาวเห็นเด่นชัด คำว่า TONER เป็นตัวอักษรเล็กกว่าคำว่าmita มาก และฝาขวดเป็นสีน้ำเงิน แต่ฉลากปิดข้างขวดบรรจุสินค้าผงหมึกของจำเลยที่ 1 เป็นสีน้ำตาลเข้ม มีคำว่า TONER FOR USE IN MITA เห็นได้เด่นชัดและฝาขวดเป็นสีน้ำตาลเข้ม กล่องและขวดสินค้าผงหมึกที่จำเลยที่ 1 นำเข้ามาจำหน่ายกับของโจทก์ที่ 1 จึงแตกต่างอย่างชัดเจน สำหรับขวดบรรจุสินค้าผงเหล็กที่จำเลยที่ 1 นำเข้ามาจำหน่ายและของโจทก์ที่ 1 ก็แตกต่างกันชัดเจนเช่นกัน ดังนี้ จากข้อความที่ระบุข้างกล่องและขวดบรรจุสินค้าที่จำเลยที่ 1จำหน่ายอย่างชัดเจนว่า FOR USE IN MITA ซึ่งหมายถึงสินค้าที่ใช้กับเครื่อง-ถ่ายเอกสารมิต้า ประชาชนผู้ต้องใช้สินค้าผงหมึกและผงเหล็กดังกล่าวย่อมทราบดีว่าสินค้าที่จำเลยทั้งห้าจำหน่ายมิใช่สินค้าของโจทก์ที่ 1 เพียงแต่เป็นสินค้าที่อาจใช้แทนกันได้เท่านั้น ประชาชนจึงไม่สับสนหรือหลงผิดว่าสินค้าที่จำเลยทั้งห้าจำหน่ายเป็นสินค้าของโจทก์ที่ 1 แต่อย่างใด การที่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ได้นำผงหมึกและผงเหล็กเข้ามาจำหน่ายและเสนอจำหน่ายในประเทศไทยดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่า จำเลยทั้งห้าได้จำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 และข้อความในการประกอบการค้าของโจทก์ทั้งสองเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของโจทก์ที่ 1การกระทำของจำเลยทั้งห้าจึงยังไม่เป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า mita ของโจทก์ที่ 1 โจทก์ทั้งสองจึงไม่อาจขอให้ห้ามจำเลยทั้งห้านำเข้ามาในราชอาณาจักร จำหน่าย หรือเสนอจำหน่ายสินค้าผงหมึกและผงเหล็กที่นำเข้าดังกล่าวและเรียกให้จำเลยทั้งห้าชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1651/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าและจำหน่ายสินค้าที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น แต่ไม่มีการใช้เครื่องหมายการค้าอย่างชัดเจน ไม่ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
สินค้าของกลางที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักรและจำหน่าย หรือเสนอจำหน่าย มีคำว่า MITA ซึ่งเป็นชื่อใช้กับสินค้า ของโจทก์ร่วม และที่ กล่องสินค้ามีข้อความว่า DC-211,213RE,313Z และ 313ZD ตรงกับที่กล่องสินค้าของโจทก์ร่วม แต่ผู้ผลิตสินค้าของกลางมิได้เอาคำว่า MITAมาใช้อย่างเครื่องหมายการค้าหรือชื่อในการประกอบการค้าแต่อย่างใด กล่าวคือ สินค้าของกลางบางส่วนไม่มีเครื่องหมายการค้าหรือชื่อในการประกอบการค้าระบุไว้คงมีแต่คำว่า MITA ปะปนอยู่กับคำภาษาอังกฤษอื่นที่สลากสินค้าเท่านั้น และสินค้าของกลางอื่นมีเครื่องหมายการค้าหรือชื่อในการประกอบการค้าระบุไว้ว่าKTN อยู่ในกรอบสามเหลี่ยมต่างกับคำว่า MITA ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้า หรือชื่อในการประกอบการค้าของโจทก์ร่วมอย่างชัดแจ้ง สินค้าของกลางจึงไม่เป็นสินค้าที่มีชื่อ หรือข้อความในการประกอบการค้าของโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 272(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1651/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อ/เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกัน สินค้าไม่ถือเป็นของโจทก์หากไม่มีเครื่องหมายการค้าที่ชัดเจน
สินค้าของกลางที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักรและจำหน่ายหรือเสนอจำหน่าย มีคำว่า MITA ซึ่งเป็นชื่อใช้กับสินค้าของโจทก์ร่วม และที่กล่องสินค้ามีข้อความว่า DC-211, 213 RE, 313 Z และ 313 ZD ตรงกับที่กล่องสินค้าของโจทก์ร่วม แต่ผู้ผลิตสินค้าของกลางมิได้เอาคำว่า MITA มาใช้อย่างเครื่องหมายการค้าหรือชื่อในการประกอบการค้าแต่อย่างใด กล่าวคือ สินค้าของกลางบางส่วนไม่มีเครื่องหมายการค้าหรือชื่อในการประกอบการค้าระบุไว้คงมีแต่คำว่า MITA ปะปนอยู่กับคำภาษาอังกฤษอื่นที่สลากสินค้าเท่านั้น และสินค้าของกลางอื่นมีเครื่องหมายการค้าหรือชื่อในการประกอบการค้าระบุไว้ว่า KTN อยู่ในกรอบสามเหลี่ยมต่างกับคำว่า MITA ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้า หรือชื่อในการประกอบการค้าของโจทก์ร่วมอย่างชัดแจ้ง สินค้าของกลางจึงไม่เป็นสินค้าที่มีชื่อหรือข้อความในการประกอบการค้าของโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 272 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3576/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมแปลงเครื่องหมายการค้า EDWIN และจำหน่ายสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นอักษรโรมัน EDWINและมีข้อความเป็นคำขวัญกำกับข้างล่างว่า SOLDONLYATTHEFINESTSTORES ที่ประเทศญี่ปุ่น ก่อนจำเลยที่ 2 จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันว่า EDWIN ในประเทศไทย 3 ปี การที่จำเลยที่ 2 ผลิตกางเกงยีนออกจำหน่ายในประเทศไทยโดยใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า EDWIN มีลักษณะเป็นการเขียนแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าที่จำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนไว้ แต่กางเกงยีนที่จำเลยที่ 2 ผลิตใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันมีลักษณะการเขียนเหมือนกับเครื่องหมายการค้าที่โจทก์จดทะเบียนไว้ทั้งยังมีข้อความว่า SOLDONLYATTHEFINESTSTORES ด้วย เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์และคำขวัญกำกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการ นอกจากนี้กระดาษป้ายฉลากที่ติดอยู่กับกางเกงยีนดังกล่าวมีแบบ ขนาด สีสัน และข้อความเหมือนกันทุกประการ รวมทั้งที่ป้ายบอกขนาดและราคาซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนของจำเลยที่ 2ก็มีคำว่า "EDWIN" อยู่ใต้ข้อความที่เป็นภาษาญี่ปุ่น ซึ่งคำว่า"EDWIN" นี้ตรงกับที่ปรากฏอยู่ในป้ายบอกขนาดและราคาซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนของโจทก์อันหมายถึงว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า"EDWIN" เป็นเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนแล้ว ดังนี้แสดงให้เห็นแจ้งชัดถึงเจตนาของจำเลยที่ 2 ในการปลอมเครื่องหมายการค้า EDWIN ของโจทก์ โดยรู้อยู่แล้วว่าเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนดังกล่าวเป็นของโจทก์ที่ประเทศญี่ปุ่นและบริษัทโจทก์อยู่ในประเทศนั้นถือว่าเป็นการปลอมเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้นอกราชอาณาจักร และเป็นการเอาชื่อรูป รอยประดิษฐ์ หรือข้อความในการประกอบการค้าของโจทก์มาใช้เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าสินค้าของจำเลยที่ 2 เป็นสินค้าของโจทก์กับเป็นการจำหน่ายซึ่งสินค้าอันเป็นสินค้าที่มีชื่อรูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความในการประกอบการค้าของผู้อื่นและเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม จำเลยที่ 2 ประกอบกิจการค้าขายสินค้ากางเกงยีนด้วยการใช้เครื่องหมายการค้าของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ทำการปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นและนำมาใช้กับสินค้าของตนในรูปของการตั้งเป็นโรงงานผลิตสินค้าดังกล่าวออกจำหน่ายแก่ประชาชนเป็นเวลานานถึงประมาณ 8 ปี กางเกงยีนและกระโปรงยีนที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมของกลางมีจำนวนถึง 2,277 ตัว และกระดาษป้ายฉลากเครื่องหมายการค้าปลอมที่เตรียมไว้ใช้ติดกับสินค้ากางเกงยีนและกระโปรงยีนมีจำนวนถึง 28,880 แผ่น ทั้งโจทก์ได้บอกให้จำเลยที่ 2ระงับการผลิตกางเกงยีนโดยใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ตั้งแต่ปลาย พ.ศ. 2531 ก่อนที่เจ้าพนักงานตำรวจจะไปตรวจค้นโรงงานของจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2532 เป็นเวลาถึงประมาณ 1 ปีแต่จำเลยที่ 2 ก็ยังไม่ยอมหยุดผลิตกางเกงยีนดังกล่าว พฤติการณ์การกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 ยังไม่มีเหตุสมควรให้รอการลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1257/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้า 'MITA' บนผงหมึก: ไม่เข้าข่ายละเมิด หากไม่ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์
การที่จำเลยที่ 1 พนักงานบริษัทจำเลยที่ 2 ซึ่งมีจำเลยที่ 3เป็นกรรมการผู้จัดการได้นำสินค้าผงหมึกพิพาทไปเสนอจำหน่ายต่อทางราชการ โดยระบุในใบเสนอราคาว่า เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้กับเครื่องถ่ายเอกสาร MITAรุ่น DC - 313 Z เป็นการเสนอราคาสินค้าตรงตามความประสงค์ของทางราชการซึ่งมิได้ระบุว่าต้องการผงหมึกเฉพาะที่มีเครื่องหมายการค้า MITA เท่านั้น กล่องสินค้าของจำเลยทั้งสามมีข้อความระบุชัดว่าเป็นสินค้าผงหมึก (TONER)ที่ใช้กับเครื่องถ่ายเอกสาร MITA (FOR USE IN MITA) รุ่น DC - 211 RE313 Z และ 313 ZD แม้ที่กล่องสินค้าดังกล่าวจะมีคำว่า "MITA" ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนไว้สำหรับใช้กับสินค้าเครื่องถ่าย-เอกสาร แต่จำเลยทั้งสามก็มิได้นำคำดังกล่าวมาใช้อย่างเครื่องหมายการค้า กล่าวคือมิได้ระบุว่าผงหมึกของจำเลยทั้งสามเป็นผงหมึกที่มีเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมผงหมึกของจำเลยทั้งสามเป็นผงหมึกที่ไม่มีเครื่องหมายการค้าระบุไว้ และจำเลย-ทั้งสามมิได้เขียนคำว่า "MITA" ให้มีลักษณะบ่งเฉพาะว่า "mita" เช่นเดียวกับของโจทก์ร่วม แต่เขียนเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ว่า "MITA" และคำว่า "TONER" ซึ่งหมายถึงผงหมึก ที่กล่องสินค้าของจำเลยที่สามก็เขียนเป็นตัวพิมพ์ใหญ่เช่นเดียวกันรวมทั้งคำว่า "FOR USE IN" ก็เขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่เห็นได้ชัดเจนประกอบกับที่กล่องสินค้าดังกล่าวปรากฎป้ายชื่อบริษัทและที่อยู่ของจำเลยที่ 2 อยู่ด้วย มิได้ระบุชื่อบริษัทโจทก์ร่วมที่กล่องสินค้าดังกล่าวแต่อย่างใด ส่วนกล่องสินค้าของโจทก์ร่วมปรากฎว่า คำว่า "TONER" เขียนตัวอักษร "T" ด้วยตัวพิมพ์ใหญ่เพียงตัวเดียวตัวอักษรนอกนั้นเป็นตัวพิมพ์เล็ก โดยเขียนว่า "Toner" มีเครื่องหมายการค้าคำว่า"mita" เขียนเรียงกันตามแนวนอน 6 แถว แถวละ 8 คำ และมีชื่อบริษัทโจทก์ร่วมอยู่ด้วย แต่ไม่มีคำว่า"FOR USE IN" กล่องสินค้าผงหมึกของจำเลยทั้งสามกับของโจทก์ร่วมจึงแตกต่างกันอย่างชัดแจ้ง การที่จำเลยทั้งสามนำคำว่า "MITA"ซึ่งเป็นชื่อหรือข้อความในการประกอบการค้าของโจทก์ร่วมมาใช้ระบุที่หีบห่อบรรจุสินค้าของจำเลยทั้งสามในลักษณะดังกล่าว ประกอบกับราคาสินค้าที่จำเลยทั้งสามเสนอจำหน่ายแก่ทางราชการ กับราคาสินค้าของโจทก์ร่วมก็แตกต่างกันมาก จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามได้เสนอจำหน่ายสินค้าซึ่งมีชื่อหรือข้อความในการประกอบการค้าของโจทก์ร่วมเพื่อให้ประชาชนหรือทางราชการหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของโจทก์ร่วมการกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นความผิดตามป.อ. มาตรา 275 ประกอบด้วย มาตรา 272 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1257/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อการค้า 'MITA' บนผลิตภัณฑ์ผงหมึก ไม่เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275 เนื่องจากไม่มีเจตนาทำให้เข้าใจผิด
การที่จำเลยที่ 1 พนักงานบริษัทจำเลยที่ 2 ซึ่งมีจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการผู้จัดการได้นำสินค้าผงหมึกพิพาทไปเสนอจำหน่าย ต่อทางราชการ โดยระบุในใบเสนอราคาว่า เป็นอุปกรณ์สำหรับ ใช้กับเครื่องถ่ายเอกสาร MITA รุ่น DC-313Z เป็นการเสนอราคา สินค้าตรงตามความประสงค์ของทางราชการซึ่งมิได้ระบุว่าต้องการ ผงหมึกเฉพาะที่มีเครื่องหมายการค้า MITA เท่านั้น กล่องสินค้า ของจำเลยทั้งสามมีข้อความระบุชัดว่าเป็นสินค้าผงหมึก (TONER) ที่ใช้กับเครื่องถ่ายเอกสาร MITA(FORUSEINMITA) รุ่น DC-211 RE313Z และ 313Z แม้ที่กล่องสินค้าดังกล่าว จะมีคำว่า "MITA" ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนไว้สำหรับใช้กับสินค้าเครื่องถ่ายเอกสาร แต่จำเลยทั้งสามก็มิได้นำคำดังกล่าวมาใช้อย่างเครื่องหมายการค้า กล่าวคือ มิได้ระบุว่าผงหมึกของจำเลยทั้งสามเป็นผงหมึกที่มี เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมผงหมึกของจำเลยทั้งสาม เป็นผงหมึกที่ไม่มีเครื่องหมายการค้าระบุไว้ และจำเลยทั้งสาม มิได้เขียนคำว่า "MITA" ให้มีลักษณะบ่งเฉพาะว่า "mita" เช่นเดียวกับของโจทก์ร่วม แต่เขียนเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ว่า "MITA" และคำว่า "TONER" ซึ่งหมายถึงผงหมึก ที่กล่องสินค้าของจำเลย ทั้ง สามก็เขียนเป็นตัวพิมพ์ใหญ่เช่นเดียวกันรวมทั้งคำว่า "FORUSEIN" ก็เขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่เห็นได้ชัดเจนประกอบกับที่ กล่องสินค้าดังกล่าวปรากฏป้ายชื่อบริษัทและที่อยู่ของจำเลยที่ 2 อยู่ด้วย มิได้ระบุชื่อบริษัทโจทก์ร่วมที่กล่องสินค้าดังกล่าวแต่ อย่างใด ส่วนกลางสินค้าของโจทก์ร่วมปรากฏว่า คำว่า "TONER" เขียนตัวอักษร "T" ด้วยตัวพิมพ์ใหญ่เพียงตัวเดียวตัวอักษรนอกนั้น เป็นตัวพิมพ์เล็ก โดยเขียนว่า "TONER" มีเครื่องหมายการค้าคำว่า "mita" เขียนเรียงกันตามแนวนอน 6 แถว แถวละ 8 คำ และมีชื่อ บริษัทโจทก์ร่วมอยู่ด้วย แต่ไม่มีคำว่า "FORUSEIN" กล่องสินค้า ผงหมึกของจำเลยทั้งสามกับของโจทก์ร่วมจึงแตกต่างกันอย่างชัดแจ้ง การที่จำเลยทั้งสามนำคำว่า "MITA" ซึ่งเป็นชื่อหรือข้อความในการประกอบการค้าของโจทก์ร่วมมาใช้ระบุที่หีบห่อบรรจุสินค้า ของจำเลยทั้งสามในลักษณะดังกล่าว ประกอบกับราคาสินค้าที่จำเลย ทั้งสาม เสนอ จำหน่ายแก่ทางราชการ กับราคาสินค้าของโจทก์ร่วม ก็แตกต่างกันมาก จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามได้เสนอจำหน่าย สินค้าซึ่งมีชื่อหรือข้อความในการประกอบการค้าของโจทก์ร่วม เพื่อให้ประชาชนหรือทางราชการหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของโจทก์ร่วมการกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275 ประกอบด้วย มาตรา 272(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 663/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผลิตอาหารปลอมและใช้เครื่องหมายการค้าผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต มีความผิดตามกฎหมายอาญา
ซีอิ๊วของกลางส่วนหนึ่งที่ขวดปิดฉลากเครื่องหมายการค้าปลอมระบุว่าผลิตที่แห่งหนึ่ง แต่ความจริงผลิตที่อีกแห่งหนึ่งเช่นนี้เป็นการหลอกลวงให้ผู้ซื้อเข้าใจผิดในเรื่องสถานที่ที่ผลิต ซีอิ๊วของกลางจึงเป็นอาหารปลอม ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 27(4)
โจทก์มีแต่คำรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยว่า จำเลยซื้อเครื่องหมายการค้าปลอมจากผู้อื่นแล้วให้ลูกจ้างปิดฉลากเครื่องหมายการค้านั้นที่ขวดซีอิ๊ว โจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยเป็นผู้กระทำปลอมขึ้น พฤติการณ์เพียงเท่านี้ถือไม่ได้ว่าจำเลยปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 273 แต่การกระทำดังกล่าวเป็นการเอาชื่อรูป รอยประดิษฐ์และข้อความในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่น เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 272(1) ซึ่งโจทก์มิได้ระบุขอให้ลงโทษ แต่ตามคำบรรยายฟ้องพอถือได้ว่าบรรยายฟ้องรวมการกระทำอันเป็นความผิดตามมาตรา 272(1) ไว้ด้วย จึงลงโทษจำเลยตามมาตรา 272(1) ซึ่งมีโทษเบากว่ามาตรา 273 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคท้าย และการกระทำผิดดังกล่าวเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยอื่นที่มิได้ฎีกา.
โจทก์มีแต่คำรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยว่า จำเลยซื้อเครื่องหมายการค้าปลอมจากผู้อื่นแล้วให้ลูกจ้างปิดฉลากเครื่องหมายการค้านั้นที่ขวดซีอิ๊ว โจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยเป็นผู้กระทำปลอมขึ้น พฤติการณ์เพียงเท่านี้ถือไม่ได้ว่าจำเลยปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 273 แต่การกระทำดังกล่าวเป็นการเอาชื่อรูป รอยประดิษฐ์และข้อความในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่น เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 272(1) ซึ่งโจทก์มิได้ระบุขอให้ลงโทษ แต่ตามคำบรรยายฟ้องพอถือได้ว่าบรรยายฟ้องรวมการกระทำอันเป็นความผิดตามมาตรา 272(1) ไว้ด้วย จึงลงโทษจำเลยตามมาตรา 272(1) ซึ่งมีโทษเบากว่ามาตรา 273 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคท้าย และการกระทำผิดดังกล่าวเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยอื่นที่มิได้ฎีกา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 663/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผลิตและจำหน่ายซีอิ๊วปลอมติดฉลากเครื่องหมายการค้าผู้อื่น เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 272(1)
ซีอิ๊วของกลางส่วนหนึ่งที่ขวดปิดฉลากเครื่องหมายการค้าปลอมระบุว่าผลิตที่แห่งหนึ่ง แต่ความจริงผลิตที่อีกแห่งหนึ่ง เช่นนี้เป็นการหลอกลวงให้ผู้ซื้อเข้าใจผิดในเรื่องสถานที่ที่ผลิต ซีอิ๊วของกลางจึงเป็นอาหารปลอม ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 27 (4)
โจทก์มีแต่คำรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยว่า จำเลยซื้อเครื่องหมายการค้าปลอมจากผู้อื่นแล้วให้ลูกจ้างปิดฉลากเครื่องหมายการค้านั้นที่ขวดซีอิ๊ว โจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยเป็นผู้กระทำปลอมขึ้น พฤติการณ์เพียงเท่านี้ถือไม่ได้ว่าจำเลยปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 273 แต่การกระทำดังกล่าวเป็นการเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์และข้อความในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่น เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 272 (1) ซึ่งโจทก์มิได้ระบุขอให้ลงโทษ แต่ตามคำบรรยายฟ้องพอถือได้ว่าบรรยายฟ้องรวมการกระทำอันเป็นความผิดตามมาตรา 272 (1) ไว้ด้วย จึงลงโทษจำเลยตามมาตรา 272 (1) ซึ่งมีโทษเบากว่ามาตรา 273 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคท้าย และการกระทำผิดดังกล่าวเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยอื่นที่มิได้ฎีกา.
โจทก์มีแต่คำรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยว่า จำเลยซื้อเครื่องหมายการค้าปลอมจากผู้อื่นแล้วให้ลูกจ้างปิดฉลากเครื่องหมายการค้านั้นที่ขวดซีอิ๊ว โจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยเป็นผู้กระทำปลอมขึ้น พฤติการณ์เพียงเท่านี้ถือไม่ได้ว่าจำเลยปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 273 แต่การกระทำดังกล่าวเป็นการเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์และข้อความในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่น เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 272 (1) ซึ่งโจทก์มิได้ระบุขอให้ลงโทษ แต่ตามคำบรรยายฟ้องพอถือได้ว่าบรรยายฟ้องรวมการกระทำอันเป็นความผิดตามมาตรา 272 (1) ไว้ด้วย จึงลงโทษจำเลยตามมาตรา 272 (1) ซึ่งมีโทษเบากว่ามาตรา 273 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคท้าย และการกระทำผิดดังกล่าวเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยอื่นที่มิได้ฎีกา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2230/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าและหีบห่อยา ไม่เข้าข่ายละเมิด หากมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน และผู้บริโภคต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ
โจทก์เป็นเจ้าของยาชื่อ PERIACTIN ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ในประเทศไทยแล้ว ส่วนจำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า PERITADINE เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการของจำเลยที่ 1 การที่จำเลยพิมพ์คำนี้บนกล่องบรรจุยาของจำเลย แม้จะมีคำภาษาไทย "เพอริตาดิน" พิมพ์ไว้ด้วย จำเลยก็มีสิทธิ์ทำได้ และการที่แผงยาของจำเลยทำด้วยพลาสติกเซโลเฟนด้านหนึ่ง และอลูมิเนียมหรือฟอยล์สีฟ้าคล้ายกับแผงยาของโจทก์อีกด้านหนึ่ง แต่ตัวอักษรที่พิมพ์ไว้ทั้งสองด้านแตกต่างกันหลายประการ แผงยาของโจทก์และแผงยาของจำเลยจึงแตกต่างกัน ไม่อาจทำให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นแผงยาของผู้ผลิตรายเดียวกันได้ โดยเฉพาะยาของโจทก์และจำเลยเป็นยาอันตรายด้วยกัน ตามปกติผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ จึงเป็นการยากที่จะทำให้ผู้ซื้อเข้าใจผิดได้ สำหรับกล่องบรรจุแผงยาของโจทก์และของจำเลยก็มีลักษณะสีสรรแตกต่างกันมาก ไม่อาจทำให้ประชาชนเข้าใจผิดได้ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นการเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และเอาชื่อรูปรอยประดิษฐ์ในการประกอบการค้าของโจทก์ไปใช้กับสินค้าของจำเลยเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของโจทก์ ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
ฟ้องของโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดแล้วว่า โจทก์มีสิทธิ์ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์อย่างไร และจำเลยได้กระทำการอย่างใดบ้างอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ สำหรับค่าเสียหายก็ได้บรรยายแล้วว่าการกระทำของจำเลยทำให้โจทก์เสียหายอย่างใดคิดเป็นเงินเท่าใด ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ฟ้องของโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดแล้วว่า โจทก์มีสิทธิ์ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์อย่างไร และจำเลยได้กระทำการอย่างใดบ้างอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ สำหรับค่าเสียหายก็ได้บรรยายแล้วว่าการกระทำของจำเลยทำให้โจทก์เสียหายอย่างใดคิดเป็นเงินเท่าใด ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2842/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อสินค้าที่คล้ายคลึงกัน ต้องพิจารณาความแตกต่างของรายละเอียดอื่นประกอบ เพื่อวินิจฉัยเจตนาทำให้ประชาชนหลงเชื่อ
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 272 (1) นั้น การเอาชื่อในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้หรือทำให้ปรากฏที่สินค้าจะเป็นผิดก็ต่อเมื่อการใช้ชื่อนั้นเจตนาเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่น และในการที่จะวินิจฉัยว่าเจตนาเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่นหรือไม่นั้นจะอาศัยคำซึ่งเปล่งเสียงออกมาอย่างเดียวมิได้ จะต้องพิเคราะห์ตัวอักษรถ้อยคำ และลักษณะอื่นๆ ของชื่อนั้นประกอบด้วย
ชื่อสินค้าของโจทก์มีคำว่า " TASTE modern from U.S.A." ชื่อสินค้าของจำเลยนอกจากมีคำว่า " TASTE" แล้ว ยังมีภาษาไทยว่า" เทสท์ 23 บางลำภู" แสดงว่า เป็นชื่อร้านเทสท์อยู่ที่เลขที่ 23 บางลำพูหาใช่ TASTE ซึ่งเป็น modern from U.S.A. ของโจทก์ไม่ จึงไม่ทำให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของโจทก์
ชื่อสินค้าของโจทก์มีคำว่า " TASTE modern from U.S.A." ชื่อสินค้าของจำเลยนอกจากมีคำว่า " TASTE" แล้ว ยังมีภาษาไทยว่า" เทสท์ 23 บางลำภู" แสดงว่า เป็นชื่อร้านเทสท์อยู่ที่เลขที่ 23 บางลำพูหาใช่ TASTE ซึ่งเป็น modern from U.S.A. ของโจทก์ไม่ จึงไม่ทำให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของโจทก์