คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 275

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 68 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5275/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อ รูป รอยประดิษฐ์บนสินค้า: ความผิดตามมาตรา 275 ป.อ. ครอบคลุมเฉพาะเครื่องหมายการค้า ไม่รวมรูปทรง/ลวดลาย
ความผิดฐานเสนอจำหน่ายสินค้า ซึ่งเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ ในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า หีบ ห่อ วัตถุที่ใช้ห่อหุ้ม หรือสิ่งอื่นในทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่น ตาม ป.อ. มาตรา 275 ประกอบมาตรา 272 (1) นั้น เป็นบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องเครื่องหมายของสินค้า มิได้บังคับในเรื่องรูปทรง ลวดลายของสินค้าหรือสิ่งผลิต ซึ่งหากมีผู้นำชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ ไปทำเป็นรูปร่างของสินค้า ผู้มีสิทธิในชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ อาจได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายในลักษณะอื่น เช่น กฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ จำพวกงานศิลปกรรม หรือกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตร จำพวกการออกแบบผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1835/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเสนอขายสินค้าปลอมที่มีเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนนอกราชอาณาจักร ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275 ยังใช้บังคับ
การที่พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นใช้ในภายหลังประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 273 มีบทบัญญัติมาตรา 110(1) ประกอบด้วยมาตรา 108 ซึ่งกำหนดให้เฉพาะการเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรเท่านั้นเป็นความผิดทางอาญาเป็นเพราะเครื่องหมายการค้าที่ได้รับจดทะเบียนในราชอาณาจักรจะได้รับความคุ้มครองสำหรับสินค้าที่จดทะเบียนไว้ตามมาตรา 44 เฉพาะในเขตพื้นที่ภายในราชอาณาจักรเท่านั้น ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้นอกราชอาณาจักรแต่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนในราชอาณาจักรไม่อาจฟ้องคดีเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนหรือเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิดสิทธิดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 46วรรคแรก เว้นแต่จะเป็นกรณีที่มีบุคคลอื่นเอาสินค้าของตนไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นตามมาตรา 46 วรรคสอง ส่วนประมวลกฎหมายอาญามาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 273 ซึ่งออกมาใช้บังคับก่อน พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ ให้ความคุ้มครองสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้นอกราชอาณาจักรที่จะดำเนินคดีอาญาแก่ผู้เสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวปลอมได้ด้วย แม้พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯมาตรา 110(1) ประกอบด้วยมาตรา 108 มิได้คุ้มครองสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนนอกราชอาณาจักรไว้เช่นนั้นก็ไม่อาจถือได้ว่าบทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯเมื่อพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ เป็นกฎหมายเฉพาะซึ่งใช้บังคับในภายหลังมาตรา 3 วรรคแรก ให้ยกเลิกเฉพาะพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474และพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2504 เท่านั้น มิได้ให้ยกเลิกความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 273 ด้วย ทั้งไม่อาจถือว่ามาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 273 ขัดหรือแย้งกับมาตรา 110(1) ประกอบด้วยมาตรา 108 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ บทบัญญัติมาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 273 จึงมิได้ถูกยกเลิกไปโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ ดังนั้นการที่จำเลยเสนอจำหน่ายสินค้ากระเป๋าที่มีเครื่องหมายการค้าซึ่งมีผู้ทำปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนไว้นอกราชอาณาจักร จึงมีความผิดและต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 273

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1835/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนนอกราชอาณาจักร: ประมวลกฎหมายอาญายังใช้บังคับ แม้มี พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534
เมื่อพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 อันเป็นบทกฎหมายเฉพาะซึ่งใช้บังคับในภายหลัง มาตรา 3 วรรคแรก บัญญัติให้ยกเลิกเฉพาะพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 และพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2504 เท่านั้น มิได้บัญญัติให้ยกเลิกความผิดตามประประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275 ประกอบมาตรา 273 ด้วย ทั้งไม่อาจถือได้ว่าบทบัญญัติมาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 273 แห่งประมวลกฎหมายอาญาเป็นบทกฎหมายซึ่งขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติมาตรา 110 (1) ประกอบด้วยมาตรา 108 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 3 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บทบัญญัติมาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 273 แห่งประมวลกฎหมายอาญาจึงมิได้ถูกยกเลิกไปโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534
จำเลยเสนอจำหน่ายสินค้ากระเป๋าที่มีเครื่องหมายการค้าซึ่งมีผู้ทำปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนไว้นอกราชอาณาจักรจึงเป็นความผิดและต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 273

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1835/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนนอกราชอาณาจักร: ประมวลกฎหมายอาญาไม่ขัดแย้งกับ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
การที่พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ซึ่ง เป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังมีบทบัญญัติในมาตรา 110(1) ประกอบด้วยมาตรา 108 บัญญัติให้เฉพาะการเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรเท่านั้นเป็นความผิดทางอาญาเป็นเพราะเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนในราชอาณาจักรจะได้รับความคุ้มครอง สำหรับสินค้าที่จดทะเบียนไว้ตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเฉพาะในเขตพื้นที่ภายในราชอาณาจักรเท่านั้นผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้นอกราชอาณาจักรแต่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนในราชอาณาจักร ไม่อาจฟ้องคดีเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนหรือเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิดสิทธิดังกล่าวได้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 46 วรรคแรก เว้นแต่จะเป็นกรณีที่มีบุคคลอื่นเอาสินค้าของตนไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นตามมาตรา 46 วรรคสอง
บทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 273 ซึ่งออกมาใช้บังคับก่อนพระราชบัญญัติเครื่องหมาการค้า พ.ศ. 2534 ให้ความคุ้มครองสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้นอกราชอาณาจักรที่จะดำเนินคดีอาญาแก่ผู้เสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวปลอมได้ด้วย แม้พระราชบัญญัติดังกล่าวมาตรา 110(1)ประกอบด้วยมาตรา 108 มิได้คุ้มครองสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้า ที่ได้จดทะเบียนนอกราชอาณาจักรไว้เช่นนั้นกรณีก็ไม่อาจถือได้ว่าบทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญาขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
เมื่อพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 อันเป็นบทกฎหมายเฉพาะซึ่งใช้บังคับในภายหลัง มาตรา 3 วรรคแรก บัญญัติให้ยกเลิกเฉพาะพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 และพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2504 เท่านั้น มิได้บัญญัติให้ยกเลิกความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 273 ด้วยทั้งไม่อาจถือได้ว่าบทบัญญัติมาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 273 แห่งประมวลกฎหมายอาญาเป็นบทกฎหมายซึ่งขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติมาตรา 110(1) ประกอบด้วยมาตรา 108 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 3 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบทบัญญัติมาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 273 แห่งประมวลกฎหมายอาญา จึงมิได้ถูกยกเลิกไปโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 การที่จำเลยเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าซึ่งมีผู้ทำปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนไว้นอกราชอาณาจักรจึงเป็นความผิดและต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275ประกอบด้วย มาตรา 273

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1835/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนนอกราชอาณาจักร: ประมวลกฎหมายอาญาไม่ขัดแย้งกับ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534
เมื่อพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 อันเป็นบทกฎหมายเฉพาะซึ่งใช้บังคับในภายหลัง มาตรา 3 วรรคแรก บัญญัติให้ยกเลิกเฉพาะพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 และพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2504 เท่านั้น มิได้บัญญัติให้ยกเลิกความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275 ประกอบมาตรา 273 ด้วย ทั้งไม่อาจถือได้ว่าบทบัญญัติมาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 273 แห่งประมวลกฎหมายอาญา เป็นบทกฎหมายซึ่งขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติมาตรา 110(1) ประกอบด้วยมาตรา 108 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 3 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บทบัญญัติมาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 273แห่งประมวลกฎหมายอาญาจึงมิได้ถูกยกเลิกไปโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2534
จำเลยเสนอจำหน่ายสินค้ากระเป๋าที่มีเครื่องหมายการค้าซึ่งมีผู้ทำปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนไว้นอกราชอาณาจักรจึงเป็นความผิดและต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 273

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1719/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนต่างประเทศ การเสนอขายสินค้าปลอมเครื่องหมายการค้า
การอ้างหนังสือจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในต่างประเทศเป็นพยานเอกสารมิได้มีกฎหมายบัญญัติว่าจะต้องมีโนตารีปับลิกเป็นพยานและต้องมีเจ้าหน้าที่สถานทูตของประเทศไทยรับรองลายมือชื่อของโนตารีปับลิกดังเช่นหนังสือมอบอำนาจที่ได้กระทำในต่างประเทศ
ป.อ. มาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 273 ได้ให้ความคุ้มครองแก่ผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนไว้นอกราชอาณาจักร โดยให้สิทธิที่จะดำเนินคดีอาญาแก่ผู้เสนอจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายปลอมได้ การที่ผู้เสียหายไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนในประเทศไทยไม่อาจถือว่าผู้เสียหายไม่ประสงค์จะได้รับความคุ้มครองเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของตนในประเทศไทย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2817/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายสินค้าหลังซื้อจากตัวแทนจำหน่าย ไม่ถือเป็นการละเมิดเครื่องหมายการค้า หากผู้ผลิตได้ประโยชน์จากการขายแล้ว
เมื่อผู้ผลิตสินค้าที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าได้จำหน่ายสินค้าของตนในครั้งแรก ซึ่งได้รับประโยชน์จากการใช้เครื่องหมายการค้านั้นจากราคาสินค้าที่จำหน่ายไปเสร็จสิ้นแล้ว จึงไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้ผู้ซื้อสินค้าซึ่งประกอบการค้าปกตินำสินค้านั้นออกจำหน่ายอีกต่อไป โจทก์ที่ 1 ผู้ผลิตสินค้าปัตตะเลี่ยน ไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้จำเลยนำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงที่จำเลยซื้อจากตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ที่ 1 ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ มาจำหน่ายในประเทศไทยได้
โจทก์ที่ 2 เป็นผู้นำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า "WAHL" ของโจทก์ที่ 1 จากประเทศสหรัฐอเมริกามาจำหน่ายในประเทศไทย โจทก์ที่ 1 ไม่ได้ตั้งให้โจทก์ที่ 2 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์ที่ 1 ในประเทศไทยแต่เพียงผู้เดียว โจทก์ที่ 2 จึงเป็นเพียงผู้นำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจากโจทก์ที่ 1 มาจำหน่ายในประเทศไทยผู้หนึ่งเท่านั้น การที่จำเลยนำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า "WAHL" เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยจึงไม่เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 421

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2817/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าสินค้ามีเครื่องหมายการค้า การละเมิดสิทธิ และการคุ้มครองเครื่องหมายการค้า
โจทก์ที่ 1 ซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ผลิตสินค้าปัตตะเลี่ยนโดยใช้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศไทย คำว่า "WAHL" โจทก์ที่ 1 ย่อมเป็นผู้มีสิทธิแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้เครื่องหมายการค้านั้นสำหรับสินค้าปัตตะเลี่ยน ทำให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิหวงกันไม่ให้ผู้อื่นนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 ไปใช้โดยมิชอบ วัตถุประสงค์ของการใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าก็เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้าของผู้อื่นและเพื่อระบุว่าสินค้านั้นเป็นของเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าว ซึ่งเป็นประโยชน์ในการจำหน่ายสินค้าของตนการที่มีผู้ซื้อสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้าเพื่อนำไปจำหน่ายต่อไป ก็เป็นเรื่องปกติธรรมดาในการประกอบการค้า เมื่อผู้ผลิตสินค้าที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าได้จำหน่ายสินค้าของตนในครั้งแรก ซึ่งได้รับประโยชน์จากการใช้เครื่องหมายการค้านั้นจากราคาสินค้าที่จำหน่ายไปเสร็จสิ้นแล้ว จึงไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้ผู้ซื้อสินค้าซึ่งประกอบการค้าปกตินำสินค้านั้นออกจำหน่ายอีกต่อไป โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้จำเลยนำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงที่จำเลยซื้อจากตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ที่ 1 ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์มาจำหน่ายในประเทศไทยได้
แม้กล่องบรรจุสินค้าปัตตะเลี่ยนซึ่งมีเครื่องหมายการค้าคำว่า "WAHL" จะมีซองกระดาษที่มีเครื่องหมายการค้าเดียวกันห่อหุ้มกล่องและมีใบรับประกันที่มีเครื่องหมายการค้าเดียวกันระบุชื่อที่อยู่ของจำเลยว่าเป็นศูนย์บริการ ก็เป็นเครื่องหมายการค้าที่แสดงว่าสินค้าปัตตะเลี่ยนในกล่องหรือหีบห่อนั้นเป็นสินค้าของโจทก์ที่ 1 จำเลยเพียงแต่เป็นผู้ให้บริการรับซ่อมปัตตะเลี่ยนให้เท่านั้น มิใช่แสดงว่าจำเลยเป็นเจ้าของหรือผู้มีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 การกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "WAHL"ของโจทก์ที่ 1
โจทก์ที่ 2 เป็นผู้นำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า"WAHL" ของโจทก์ที่ 1 จากประเทศสหรัฐอเมริกามาจำหน่ายในประเทศไทยโจทก์ที่ 1 ไม่ได้ตั้งให้โจทก์ที่ 2 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์ที่ 1 ในประเทศไทยแต่เพียงผู้เดียว โจทก์ที่ 2 จึงเป็นเพียงผู้นำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจากโจทก์ที่ 1 มาจำหน่ายในประเทศไทยผู้หนึ่งเท่านั้น จึงฟังไม่ได้ว่า การที่จำเลยนำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า "WAHL" เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ที่ 2ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6583/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำหน่ายสุราปลอมและใช้ฉลากเครื่องหมายการค้าผู้อื่น การกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญาและพ.ร.บ.สุรา
จำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าสุราของกลางที่จำเลยทั้งสองนำส่งออกไปขายแก่ผู้ซื้อต่างประเทศนั้นเป็นสุราปลอมซึ่งบรรจุขวดและปิดฉลากที่มีชื่อ รูป รอยประดิษฐ์และข้อความในการประกอบการค้าของโจทก์ร่วม เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจว่าเป็นสินค้าสุราที่แท้จริงของโจทก์ร่วม เป็นความผิดฐานจำหน่ายสินค้าที่มีชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 275 และเป็นความผิดฐานขายสุราที่รู้ว่าทำขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 31แต่ความผิดฐานเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ ทำให้ปรากฏที่สินค้าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 272(1) นั้น จำเลยกว้านซื้อสุราของกลางมาจากร้านค้าแล้วนำส่งออกไปขายแก่ผู้ซื้อในต่างประเทศไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองทำสุราปลอมเองหรือบรรจุขวดเป็นสินค้าของจำเลยเองแต่มีการปิดฉลากปลอม จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้เอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้กับสินค้าของตนเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4360/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองฎีกาและการฟ้องร้องกรณีเครื่องหมายการค้าปลอม
โจทก์ได้อ้างในฎีกาแล้วว่าอัยการสูงสุดลงลายมือชื่อในหนังสือรับรองที่แนบท้ายฎีกาว่ามีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัย เมื่อหนังสือรับรองดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของฎีกาโจทก์ จึงถือได้ว่าอัยการสูงสุดได้ลงลายมือชื่อรับรองในฎีกา ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 221 แล้ว
ส่วนหนังสือรับรองของอัยการสูงสุดที่รับรองฎีกาของโจทก์ร่วมว่ารูปคดีมีเหตุอันควรที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัยนั้น แม้โจทก์ร่วมจะมิได้ยื่นพร้อมฎีกาของโจทก์ร่วม แต่เมื่อข้อความในหนังสือรับรองดังกล่าวแสดงให้เห็นชัดเจนว่าอัยการ-สูงสุดได้พิจารณาฎีกาของโจทก์ร่วมที่ยื่นต่อศาลแล้วว่ามีเหตุอันควรที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัย จึงรับรองให้โจทก์ร่วมฎีกาเช่นนี้ กรณีถือได้ว่ามีการรับรองให้ฎีกาโดยชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 221 ดังกล่าวแล้วเช่นกัน ศาลฎีกาจึงชอบที่จะวินิจฉัยฎีกาของโจทก์และโจทก์ร่วมได้
บริษัทนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์พื้นเมืองและผลิตภัณฑ์จากสัตว์แห่งประเทศจีน (China National Native Produce and Animal By-Products Import and Export Corporation Fujian Tea Branch)ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตราดอกทานตะวันไว้ที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อใช้กับผลิตภัณฑ์ชากลิ่นมะลิขนาด 113 กรัม หมายเลข 1046 โจทก์ร่วมเป็นตัวแทนจำหน่ายใบชาของบริษัทดังกล่าวแต่ผู้เดียวในประเทศไทย ทั้งโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้นำเข้าหรือสั่งอาหารเข้ามาในราชอาณาจักรและขึ้นทะเบียนตำรับอาหารเข้ามาในราชอาณาจักร แต่เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้ร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าและจำหน่ายใบชาที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมตามฟ้องและจำเลยที่ 1 เคยสั่งใบชากลิ่นมะลิ ตราดอกทานตะวัน ขนาด 113 กรัมหมายเลข 1046 จากบริษัทนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์พื้นเมืองและผลิตภัณฑ์จากสัตว์แห่งประเทศจีน ส่งผ่านเมืองฮ่องกงเช่นเดียวกับโจทก์ร่วม เครื่องหมายการค้าของใบชาที่จำเลยที่ 1 นำเข้ามาดังกล่าวจึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงของผู้ผลิตใบชา หาใช่เครื่องหมายการค้าปลอมไม่
of 7