พบผลลัพธ์ทั้งหมด 68 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4360/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองฎีกาโดยอัยการสูงสุดและการพิสูจน์ความผิดฐานปลอมแปลงเครื่องหมายการค้า
โจทก์ได้อ้างในฎีกาแล้วว่าอัยการสูงสุดลงลายมือชื่อในหนังสือรับรองที่แนบท้ายฎีกาว่ามีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัย เมื่อหนังสือรับรองดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของฎีกาโจทก์ จึงถือได้ว่าอัยการสูงสุดได้ลงลายมือชื่อรับรองในฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 แล้ว ส่วนหนังสือรับรองของอัยการสูงสุดที่รับรองฎีกาของโจทก์ร่วมว่ารูปคดีมีเหตุอันควรที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัยนั้นแม้โจทก์ร่วมจะมิได้ยื่นพร้อมฎีกาของโจทก์ร่วม แต่เมื่อข้อความในหนังสือรับรองดังกล่าวแสดงให้เห็นชัดเจนว่าอัยการสูงสุดได้พิจารณาฎีกาของโจทก์ร่วมที่ยื่นต่อศาลแล้วว่ามีเหตุอันควรที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัย จึงรับรองให้โจทก์ร่วมฎีกาเช่นนี้ กรณีถือได้ว่ามีการรับรองให้ฎีกาโดยชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 221 ดังกล่าวแล้วเช่นกัน ศาลฎีกาจึงชอบที่จะวินิจฉัยฎีกาของโจทก์และโจทก์ร่วมได้ บริษัทนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์พื้นเมืองและผลิตภัณฑ์จากสัตว์แห่งประเทศจีน (ChinaNationalNativeProduceandAnimalByProductsImportandExportCorporationFujianTeaBranch) ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตราดอกทานตะวันไว้ที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อใช้กับผลิตภัณฑ์ชากลิ่นมะลิขนาด 113 กรัม หมายเลข 1046โจทก์ร่วมเป็นตัวแทนจำหน่ายใบชาของบริษัทดังกล่าวแต่ผู้เดียวในประเทศไทย ทั้งโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้นำเข้าหรือสั่งอาหารเข้ามาในราชอาณาจักรและขึ้นทะเบียนตำรับอาหารเข้ามาในราชอาณาจักร แต่เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้ร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าและจำหน่ายใบชาที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมตามฟ้องและจำเลยที่ 1 เคยสั่งใบชากลิ่นมะลิ ตราดอกทานตะวัน ขนาด 113 กรัม หมายเลข 1046จากบริษัทนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์พื้นเมืองและผลิตภัณฑ์จากสัตว์แห่งประเทศจีน ส่งผ่านเมืองฮ่องกงเช่นเดียวกับโจทก์ร่วม เครื่องหมายการค้าของใบชาที่จำเลยที่ 1 นำเข้ามาดังกล่าวจึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงของผู้ผลิตใบชาหาใช่เครื่องหมายการค้าปลอมไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4276/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดกรรมเดียวกัน: การฟ้องซ้ำหลังมีคำพิพากษายกฟ้องคดีเดิม แม้รายละเอียดต่างกันเล็กน้อย
เมื่อเวลากระทำผิดตามฟ้องคดีนี้กับคดีเดิมเป็นเวลาเดียวกันเพราะแม้คำฟ้องคดีนี้จะระบุว่าเวลากระทำผิดเป็นระหว่างเดือนมกราคม 2531ถึงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2531 แต่ก็ระบุว่าวันเวลาใดไม่ปรากฏชัดจึงอาจเป็นวันที่19 มกราคม 2531 เวลากลางวัน ดังที่ระบุไว้ในคำฟ้องคดีเดิมก็ได้ และการกระทำของจำเลยทั้งสองในความผิด 2 กรรม ทั้งสองคดีดังกล่าว ก็เป็นการร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าของบริษัทผู้เสียหายรายเดียวกันซึ่งใช้กับสินค้าเหมือนกัน และร่วมกันจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมดังกล่าวเช่นเดียวกัน แม้คดีนี้โจทก์จะฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันจำหน่ายสินค้าดังกล่าว ส่วนในคดีเดิมโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันเสนอจำหน่ายสินค้านั้นก็ตาม แต่การกระทำอันเป็นการจำหน่ายย่อมรวมถึงการเสนอจำหน่ายอยู่ด้วยในตัว ทั้งปรากฏในคำฟ้องคดีเดิมและในคดีนี้ว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันเสนอจำหน่ายหรือจำหน่ายสินค้าดังกล่าวต่อร้านค้าต่าง ๆ ทั่วไปในกรุงเทพ-มหานครเช่นเดียวกัน ดังนี้ ความผิด 2 กรรม ที่โจทก์ทั้งสองคดีฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดได้เกิดขึ้นในเวลาและสถานที่เดียวกัน ทั้งเป็นการกระทำความผิดในเรื่องเดียวกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองในแต่ละกรรมทั้งสองคดีจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน ความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองคดีนี้ในแต่ละกรรมย่อมเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิด 2 กรรมที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีเดิม และเมื่อคดีอาญาเดิมดังกล่าวศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าดอกทานตะวันของบริษัทเดียวกันกับที่จำเลยทั้งสองถูกฟ้องคดีนี้และร่วมกันเสนอจำหน่ายสินค้าใบชากลิ่นมะลิตราดอกทานตะวันโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมจำเลยทั้งสองไม่มีความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ถือได้ว่าได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว โจทก์จะนำคดีนี้ซึ่งเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิดที่ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีก่อนมาฟ้องจำเลยทั้งสองนี้อีกหาได้ไม่ เพราะสิทธินำคดีอาญาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสองย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำกรรมเดียวกัน: คดีความผิดฐานปลอมแปลงเครื่องหมายการค้าและขายของหลอกลวง ศาลยกฟ้องเนื่องจากเคยมีคำพิพากษาเด็ดขาดแล้ว
คำฟ้องโจทก์คดีนี้ที่ขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 273และ 275 ระบุว่า จำเลยกระทำผิดเมื่อระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2531 ถึงวันที่ 28กรกฎาคม 2531 วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด ส่วนในคำฟ้องคดีเดิม โจทก์ฟ้องระบุว่าจำเลยกระทำผิดทั้งสองกรรมดังกล่าวเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2531 ดังนี้ เวลากระทำผิดตามฟ้องคดีนี้กับคดีเดิมจึงเป็นเวลาเดียวกัน เพราะวันที่จำเลยกระทำผิดคดีนี้อาจเป็นวันที่ 19 มกราคม 2531 เวลากลางวัน ดังที่ระบุไว้ในคำฟ้องคดีเดิมก็ได้เมื่อการกระทำของจำเลยในความผิด 2 กรรมทั้งสองคดีดังกล่าวเป็นการร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าของบริษัทผู้เสียหายรายเดียวกัน ซึ่งใช้กับสินค้าเหมือนกันและจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมดังกล่าวเช่นเดียวกันทั้งคำฟ้องคดีเดิมและคดีนี้โจทก์ก็ระบุว่าจำเลยกระทำความผิดในเวลาและสถานที่เดียวกัน เป็นการกระทำความผิดในเรื่องเดียวกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองในแต่ละกรรมทั้งสองคดีจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน ความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ในแต่ละกรรมย่อมเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิด 2 กรรม ที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยในคดีเดิม และเมื่อคดีอาญาเดิมดังกล่าวศาลได้พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยปลอมเครื่องหมายการค้าดอกทานตะวันของบริษัทเดียวกันกับที่จำเลยถูกฟ้องคดีนี้และเสนอจำหน่ายสินค้าใบชากลิ่นมะลิ ตราดอกทานตะวัน โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม จำเลยไม่มีความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง พิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุด ดังนั้น เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้วจึงนำคดีนี้ซึ่งเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิดที่ได้ฟ้องจำเลยในคดีก่อนมาฟ้องจำเลยทั้งสองนี้อีกหาได้ไม่ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4)
สำหรับความผิดฐานขายของโดยหลอกลวงตาม ป.อ.มาตรา271 ที่โจทก์กล่าวหาจำเลยนั้น เมื่อไม่ได้ความว่าจำเลยได้ขายสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์ร่วมโดยหลอกลวงอย่างไรบ้าง หากแต่โจทก์ร่วมไปซื้อสินค้าพิพาทจากบุคคลอื่นที่วางขายในห้างสรรพสินค้าเอง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดในข้อหาดังกล่าว กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าข้อหานี้เป็นฟ้องซ้ำกับข้อหาในคดีอาญาเรื่องเดิมหรือไม่ เพราะแม้จะวินิจฉัยให้ ผลแห่งคดีก็ไม่เปลี่ยนแปลง
สำหรับความผิดฐานขายของโดยหลอกลวงตาม ป.อ.มาตรา271 ที่โจทก์กล่าวหาจำเลยนั้น เมื่อไม่ได้ความว่าจำเลยได้ขายสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์ร่วมโดยหลอกลวงอย่างไรบ้าง หากแต่โจทก์ร่วมไปซื้อสินค้าพิพาทจากบุคคลอื่นที่วางขายในห้างสรรพสินค้าเอง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดในข้อหาดังกล่าว กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าข้อหานี้เป็นฟ้องซ้ำกับข้อหาในคดีอาญาเรื่องเดิมหรือไม่ เพราะแม้จะวินิจฉัยให้ ผลแห่งคดีก็ไม่เปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ - กรรมเดียว - ปลอมเครื่องหมายการค้า - ศาลยกฟ้อง - เหตุผลความผิดกรรมเดียวกับคดีก่อน
คำฟ้องโจทก์คดีนี้ที่ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา273และ275ระบุว่าจำเลยกระทำผิดเมื่อระหว่างวันที่1มกราคม2531ถึงวันที่28กรกฎาคม2531วันเวลาใดไม่ปรากฎชัดส่วนในคำฟ้องคดีเดิมโจทก์ฟ้องระบุว่าจำเลยกระทำผิดทั้งสองกรรมดังกล่าวเมื่อวันที่19มกราคม2531ดังนี้เวลากระทำผิดตามฟ้องคดีนี้กับคดีเดิมจึงเป็นเวลาเดียวกันเพราะวันที่จำเลยกระทำผิดคดีนี้อาจเป็นวันที่19มกราคม2531เวลากลางวันดังที่ระบุไว้ในคำฟ้องคดีเดิมก็ได้เมื่อการกระทำของจำเลยในความผิด2กรรมทั้งสองคดีดังกล่าวเป็นการร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าของบริษัทผู้เสียหายรายเดียวกันซึ่งใช้กับสินค้าเหมือนกันและจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมดังกล่าวเช่นเดียวกันทั้งคำฟ้องคดีเดิมและคดีนี้โจทก์ก็ระบุว่าจำเลยกระทำความผิดในเวลาและสถานที่เดียวกันเป็นการกระทำความผิดในเรื่องเดียวกันการกระทำของจำเลยทั้งสองในแต่ละกรรมทั้งสองคดีจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกันความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ในแต่ละกรรมย่อมเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิด2กรรมที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยในคดีเดิมและเมื่อคดีอาญาเดิมดังกล่าวศาลได้พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่โจทก์ร่วมนำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยปลอมเครื่องหมายการค้าดอกทานตะวันของบริษัทเดียวกันกับที่จำเลยถูกฟ้องคดีนี้และเสนอจำหน่ายสินค้าใบชากลิ่นมะลิตราดอกทานตะวันโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมจำเลยไม่มีความผิดตามที่โจทก์ฟ้องพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดดังนั้นเมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้วจึงนำคดีนี้ซึ่งเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิดที่ได้ฟ้องจำเลยในคดีก่อนมาฟ้องจำเลยทั้งสองนี้อีกหาได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(4) สำหรับความผิดฐานขายของโดยหลอกลวงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา271ที่โจทก์กล่าวหาจำเลยนั้นเมื่อไม่ได้ความว่าจำเลยได้ขายสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์ร่วมโดยหลอกลวงอย่างไรบ้างหากแต่โจทก์ร่วมไปซื้อสินค้าพิพาทจากบุคคลอื่นที่วางขายในห้างสรรพสินค้าเองจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดในข้อหาดังกล่าวกรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าข้อหานี้เป็นฟ้องซ้ำกับข้อหาในคดีอาญาเรื่องเดิมหรือไม่เพราะแม้จะวินิจฉัยให้ผลแห่งคดีก็ไม่เปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ – ความผิดฐานปลอมแปลงเครื่องหมายการค้าและจำหน่ายสินค้าปลอม – คดีถึงที่สุดแล้ว
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำผิดโดยร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าใบชากลิ่นมะลิ ตราดอกทานตะวันของบริษัทผู้เสียหายและร่วมกันจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายปลอมดังกล่าวแก่ประชาชนเมื่อระหว่างวันที่1มกราคม2531ถึงวันที่28กรกฎาคม2531วันเวลาใดไม่ปรากฎชัดส่วนในคำฟ้องคดีเดิมระบุว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำผิดทั้งสองกรรมดังกล่าวเมื่อวันที่19มกราคม2531เวลากลางวันเห็นได้ว่าเวลากระทำผิดตามฟ้องคดีนี้กับคดีเดิมเป็นเวลาเดียวกันเพราะแม้คำฟ้องคดีนี้จะระบุว่าเวลากระทำผิดเป็นระหว่างวันที่1มกราคม2531ถึงวันที่28กรกฎาคม2531แต่ก็ระบุว่าวันเวลาใดไม่ปรากฎชัดจึงอาจเป็นวันที่19มกราคม2531เวลากลางวันดังที่ระบุไว้ในคำฟ้องคดีเดิมก็ได้และการกระทำของจำเลยทั้งสองในความผิด2กรรมทั้งสองคดีดังกล่าวก็เป็นการร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าตราดอกทานตะวันของบริษัทผู้เสียหายรายเดียวกันซึ่งใช้กับสินค้าใบชากลิ่นมะลิเหมือนกันและร่วมกันจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายสินค้าใบชาที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมดังกล่าวเช่นเดียวกันทั้งปรากฎในคำฟ้องคดีเดิมว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันเสนอจำหน่ายสินค้าดังกล่าวต่อร้านต่างๆทั่วไปในกรุงเทพมหานครซึ่งคำฟ้องคดีนี้โจทก์ก็ระบุว่าเกิดที่กรุงเทพมหานครเช่นเดียวกันดังนี้ความผิด2กรรมที่โจทก์ทั้งสองคดีฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดได้เกิดขึ้นในเวลาและสถานที่เดียวกันทั้งเป็นการกระทำความผิดในเรื่องเดียวกันการกระทำของจำเลยทั้งสองในแต่ละกรรมทั้งสองคดีจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกันความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองคดีนี้ในแต่ละกรรมย่อมเป็นความผิดกรรมเดียวกันกันความผิด2กรรมที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีเดิมเมื่อฟังได้ความว่าคดีอาญาเดิมศาลแขวงดุสิตได้พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองไม่มีความผิดตามที่โจทก์ฟ้องและคดีถึงที่สุดแล้วดังนั้นเมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้วโจทก์จึงนำคดีนี้ซึ่งเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิดที่ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีก่อนมาฟ้องจำเลยทั้งสองนี้อีกหาได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้า แม้ต่างเวลา-สถานที่ หากเป็นการกระทำกรรมเดียวกัน สิทธิฟ้องระงับ
คำฟ้องโจทก์คดีนี้ที่ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 273 และ 275 ระบุว่า จำเลยกระทำผิดเมื่อระหว่างวันที่1 มกราคม 2531 ถึงวันที่ 28 กรกฎาคม 2531 วันเวลาใดไม่ปรากฎชัด ส่วนในคำฟ้องคดีเดิม โจทก์ฟ้องระบุว่าจำเลยกระทำผิดทั้งสองกรรมดังกล่าวเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2531 ดังนี้ เวลากระทำผิดตามฟ้องคดีนี้กับคดีเดิมจึงเป็นเวลาเดียวกัน เพราะวันที่จำเลยกระทำผิดคดีนี้อาจเป็นวันที่ 19 มกราคม 2531 เวลากลางวันดังที่ระบุไว้ในคำฟ้องคดีเดิมก็ได้เมื่อการกระทำของจำเลยในความผิด 2 กรรมทั้งสองคดีดังกล่าวเป็นการร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าของบริษัทผู้เสียหายรายเดียวกัน ซึ่งใช้กับสินค้าเหมือนกันและจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมดังกล่าวเช่นเดียวกันทั้งคำฟ้องคดีเดิมและคดีนี้โจทก์ก็ระบุว่าจำเลยกระทำความผิดในเวลาและสถานที่เดียวกัน เป็นการกระทำความผิดในเรื่องเดียวกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองในแต่ละกรรมทั้งสองคดีจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน ความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ในแต่ละกรรมย่อมเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิด 2 กรรมที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยในคดีเดิม และเมื่อคดีอาญาเดิมดังกล่าวศาลได้พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่โจทก์ร่วมนำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยปลอมเครื่องหมายการค้าดอกทานตะวันของบริษัทเดียวกันกับที่จำเลยถูกฟ้องคดีนี้และเสนอจำหน่ายสินค้าใบชากลิ่นมะลิ ตราดอกทานตะวัน โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม จำเลยไม่มีความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง พิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุด ดังนั้น เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้วจึงนำคดีนี้ซึ่งเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิดที่ได้ฟ้องจำเลยในคดีก่อนมาฟ้องจำเลยทั้งสองนี้อีกหาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) สำหรับความผิดฐานขายของโดยหลอกลวงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 271 ที่โจทก์กล่าวหาจำเลยนั้น เมื่อไม่ได้ความว่าจำเลยได้ขายสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์ร่วมโดยหลอกลวงอย่างไรบ้างหากแต่โจทก์ร่วมไปซื้อสินค้าพิพาทจากบุคคลอื่นที่วางขายในห้างสรรพสินค้าเอง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดในข้อหาดังกล่าว กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าข้อหานี้เป็นฟ้องซ้ำกับข้อหาในคดีอาญาเรื่องเดิมหรือไม่ เพราะแม้จะวินิจฉัยให้ ผลแห่งคดีก็ไม่เปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7878/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำและความเสียหายจากการบวกโทษ: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจจำกัดในการแก้ไขโทษจำคุก
การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีก่อน มีเจตนาเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ส่วนการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้ มีเจตนาเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อเจตนาของการกระทำผิดทั้งสองข้อหาแตกต่างกัน การกระทำผิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นการกระทำหลายกรรมต่างกัน โจทก์ย่อมฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดได้ ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)
หลังจากที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไม่นำโทษจำคุกของจำเลยที่ 2ที่รอไว้ในคดีก่อนบวกเข้ากับโทษจำคุกคดีนี้แล้ว โจทก์ไม่อุทธรณ์ ถือว่าโจทก์พอใจในคำพิพากษาศาลชั้นต้น ส่วนการพิจารณาพิพากษาชั้นอุทธรณ์ ป.วิ.อ.มาตรา 212 บัญญัติว่า คดีที่จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาที่ให้ลงโทษ ห้ามมิให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เว้นแต่โจทก์จะได้อุทธรณ์ในทำนองนั้น ฉะนั้นเมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ปัญหาเรื่องการบวกโทษแล้ว บทบัญญัติมาตรานี้ห้ามศาล-อุทธรณ์นำเรื่องการบวกโทษขึ้นมาวินิจฉัยอีก เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษแก่จำเลย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาว่ามีอำนาจบวกโทษจำเลยที่ 2 ได้เองจึงไม่ชอบ
หลังจากที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไม่นำโทษจำคุกของจำเลยที่ 2ที่รอไว้ในคดีก่อนบวกเข้ากับโทษจำคุกคดีนี้แล้ว โจทก์ไม่อุทธรณ์ ถือว่าโจทก์พอใจในคำพิพากษาศาลชั้นต้น ส่วนการพิจารณาพิพากษาชั้นอุทธรณ์ ป.วิ.อ.มาตรา 212 บัญญัติว่า คดีที่จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาที่ให้ลงโทษ ห้ามมิให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เว้นแต่โจทก์จะได้อุทธรณ์ในทำนองนั้น ฉะนั้นเมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ปัญหาเรื่องการบวกโทษแล้ว บทบัญญัติมาตรานี้ห้ามศาล-อุทธรณ์นำเรื่องการบวกโทษขึ้นมาวินิจฉัยอีก เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษแก่จำเลย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาว่ามีอำนาจบวกโทษจำเลยที่ 2 ได้เองจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7878/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำและความชอบด้วยกฎหมายในการบวกโทษจำคุกคดีเก่ากับคดีใหม่ ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจเพิ่มเติมโทษหากโจทก์มิได้อุทธรณ์
การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีก่อนมีเจตนาเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ส่วนการกระทำของจำเลยที่ 1และที่ 2 ในคดีนี้ มีเจตนาเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อเจตนาของการกระทำผิดทั้งสองข้อหาแตกต่างกันการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นการกระทำหลายกรรมต่างกัน โจทก์ย่อมฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1และที่ 2 ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดได้ ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) หลังจากที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไม่นำโทษจำคุกของจำเลยที่ 2ที่รอไว้ในคดีก่อนบวกเข้ากับโทษจำคุกคดีนี้แล้ว โจทก์ไม่อุทธรณ์ ถือว่าโจทก์พอใจในคำพิพากษาศาลชั้นต้นส่วนการพิจารณาพิพากษาชั้นอุทธรณ์ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 บัญญัติว่าคดีที่จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาที่ให้ลงโทษ ห้ามมิให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เว้นแต่โจทก์จะได้อุทธรณ์ในทำนองนั้น ฉะนั้นเมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ปัญหาเรื่องการบวกโทษแล้ว บทบัญญัติมาตรานี้ห้ามศาลอุทธรณ์นำเรื่องการบวกโทษขึ้นมาวินิจฉัยอีก เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษแก่จำเลยการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาว่ามีอำนาจบวกโทษจำเลยที่ 2 ได้เองจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1651/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าและจำหน่ายสินค้าที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น แต่ไม่มีการใช้เครื่องหมายการค้าอย่างชัดเจน ไม่ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
สินค้าของกลางที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักรและจำหน่าย หรือเสนอจำหน่าย มีคำว่า MITA ซึ่งเป็นชื่อใช้กับสินค้า ของโจทก์ร่วม และที่ กล่องสินค้ามีข้อความว่า DC-211,213RE,313Z และ 313ZD ตรงกับที่กล่องสินค้าของโจทก์ร่วม แต่ผู้ผลิตสินค้าของกลางมิได้เอาคำว่า MITAมาใช้อย่างเครื่องหมายการค้าหรือชื่อในการประกอบการค้าแต่อย่างใด กล่าวคือ สินค้าของกลางบางส่วนไม่มีเครื่องหมายการค้าหรือชื่อในการประกอบการค้าระบุไว้คงมีแต่คำว่า MITA ปะปนอยู่กับคำภาษาอังกฤษอื่นที่สลากสินค้าเท่านั้น และสินค้าของกลางอื่นมีเครื่องหมายการค้าหรือชื่อในการประกอบการค้าระบุไว้ว่าKTN อยู่ในกรอบสามเหลี่ยมต่างกับคำว่า MITA ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้า หรือชื่อในการประกอบการค้าของโจทก์ร่วมอย่างชัดแจ้ง สินค้าของกลางจึงไม่เป็นสินค้าที่มีชื่อ หรือข้อความในการประกอบการค้าของโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 272(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1651/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อ/เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกัน สินค้าไม่ถือเป็นของโจทก์หากไม่มีเครื่องหมายการค้าที่ชัดเจน
สินค้าของกลางที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักรและจำหน่ายหรือเสนอจำหน่าย มีคำว่า MITA ซึ่งเป็นชื่อใช้กับสินค้าของโจทก์ร่วม และที่กล่องสินค้ามีข้อความว่า DC-211, 213 RE, 313 Z และ 313 ZD ตรงกับที่กล่องสินค้าของโจทก์ร่วม แต่ผู้ผลิตสินค้าของกลางมิได้เอาคำว่า MITA มาใช้อย่างเครื่องหมายการค้าหรือชื่อในการประกอบการค้าแต่อย่างใด กล่าวคือ สินค้าของกลางบางส่วนไม่มีเครื่องหมายการค้าหรือชื่อในการประกอบการค้าระบุไว้คงมีแต่คำว่า MITA ปะปนอยู่กับคำภาษาอังกฤษอื่นที่สลากสินค้าเท่านั้น และสินค้าของกลางอื่นมีเครื่องหมายการค้าหรือชื่อในการประกอบการค้าระบุไว้ว่า KTN อยู่ในกรอบสามเหลี่ยมต่างกับคำว่า MITA ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้า หรือชื่อในการประกอบการค้าของโจทก์ร่วมอย่างชัดแจ้ง สินค้าของกลางจึงไม่เป็นสินค้าที่มีชื่อหรือข้อความในการประกอบการค้าของโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 272 (1)