คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 275

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 68 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5444/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินค้าติดเครื่องหมายการค้าปลอม แม้มีเครื่องหมายการค้าของจำเลย ก็ยังคงเป็นสินค้าปลอมตามกฎหมาย
การที่ถุงเท้าของกลางมีเครื่องหมายการค้าปลอมของผู้เสียหายติดอยู่ แม้จะมีเครื่องหมายการค้าของจำเลยติดอยู่ด้วย ก็หาทำให้เครื่องหมายการค้าปลอมที่ติดอยู่กลับเป็นเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงไม่ และถุงเท้าดังกล่าวย่อมถือเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275 ประกอบมาตรา 273 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3576/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมแปลงเครื่องหมายการค้า EDWIN และจำหน่ายสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นอักษรโรมัน EDWINและมีข้อความเป็นคำขวัญกำกับข้างล่างว่า SOLDONLYATTHEFINESTSTORES ที่ประเทศญี่ปุ่น ก่อนจำเลยที่ 2 จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันว่า EDWIN ในประเทศไทย 3 ปี การที่จำเลยที่ 2 ผลิตกางเกงยีนออกจำหน่ายในประเทศไทยโดยใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า EDWIN มีลักษณะเป็นการเขียนแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าที่จำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนไว้ แต่กางเกงยีนที่จำเลยที่ 2 ผลิตใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันมีลักษณะการเขียนเหมือนกับเครื่องหมายการค้าที่โจทก์จดทะเบียนไว้ทั้งยังมีข้อความว่า SOLDONLYATTHEFINESTSTORES ด้วย เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์และคำขวัญกำกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการ นอกจากนี้กระดาษป้ายฉลากที่ติดอยู่กับกางเกงยีนดังกล่าวมีแบบ ขนาด สีสัน และข้อความเหมือนกันทุกประการ รวมทั้งที่ป้ายบอกขนาดและราคาซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนของจำเลยที่ 2ก็มีคำว่า "EDWIN" อยู่ใต้ข้อความที่เป็นภาษาญี่ปุ่น ซึ่งคำว่า"EDWIN" นี้ตรงกับที่ปรากฏอยู่ในป้ายบอกขนาดและราคาซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนของโจทก์อันหมายถึงว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า"EDWIN" เป็นเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนแล้ว ดังนี้แสดงให้เห็นแจ้งชัดถึงเจตนาของจำเลยที่ 2 ในการปลอมเครื่องหมายการค้า EDWIN ของโจทก์ โดยรู้อยู่แล้วว่าเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนดังกล่าวเป็นของโจทก์ที่ประเทศญี่ปุ่นและบริษัทโจทก์อยู่ในประเทศนั้นถือว่าเป็นการปลอมเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้นอกราชอาณาจักร และเป็นการเอาชื่อรูป รอยประดิษฐ์ หรือข้อความในการประกอบการค้าของโจทก์มาใช้เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าสินค้าของจำเลยที่ 2 เป็นสินค้าของโจทก์กับเป็นการจำหน่ายซึ่งสินค้าอันเป็นสินค้าที่มีชื่อรูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความในการประกอบการค้าของผู้อื่นและเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม จำเลยที่ 2 ประกอบกิจการค้าขายสินค้ากางเกงยีนด้วยการใช้เครื่องหมายการค้าของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ทำการปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นและนำมาใช้กับสินค้าของตนในรูปของการตั้งเป็นโรงงานผลิตสินค้าดังกล่าวออกจำหน่ายแก่ประชาชนเป็นเวลานานถึงประมาณ 8 ปี กางเกงยีนและกระโปรงยีนที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมของกลางมีจำนวนถึง 2,277 ตัว และกระดาษป้ายฉลากเครื่องหมายการค้าปลอมที่เตรียมไว้ใช้ติดกับสินค้ากางเกงยีนและกระโปรงยีนมีจำนวนถึง 28,880 แผ่น ทั้งโจทก์ได้บอกให้จำเลยที่ 2ระงับการผลิตกางเกงยีนโดยใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ตั้งแต่ปลาย พ.ศ. 2531 ก่อนที่เจ้าพนักงานตำรวจจะไปตรวจค้นโรงงานของจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2532 เป็นเวลาถึงประมาณ 1 ปีแต่จำเลยที่ 2 ก็ยังไม่ยอมหยุดผลิตกางเกงยีนดังกล่าว พฤติการณ์การกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 ยังไม่มีเหตุสมควรให้รอการลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1257/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้า 'MITA' บนสินค้าผงหมึก ไม่เข้าข่ายทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์
แม้ที่กล่องสินค้าของจำเลยทั้งสามจะมีคำว่า "MITA" ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนไว้สำหรับใช้กับสินค้าเครื่องถ่ายเอกสาร แต่เมื่อจำเลยทั้งสามมิได้นำคำดังกล่าวมาใช้อย่างเครื่องหมายการค้า และมิได้เขียนคำว่า "MITA"ในลักษณะเดียวกับของโจทก์ร่วม ประกอบกับที่กล่องสินค้าของจำเลยทั้งสามปรากฏป้ายชื่อบริษัทและที่อยู่ของจำเลยที่ 2 มิได้ระบุชื่อบริษัทโจทก์ร่วม ทั้งเมื่อกล่องสินค้าของจำเลยทั้งสามกับของโจทก์ร่วมแตกต่างกันอย่างชัดแจ้ง และราคาสินค้าของจำเลยทั้งสามและของโจทก์ร่วมยังแตกต่างกันมาก จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามได้เสนอจำหน่ายสินค้าซึ่งมีชื่อหรือข้อความในการประกอบการค้าของโจทก์ร่วมเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 272(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1257/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อการค้า 'MITA' บนผลิตภัณฑ์ผงหมึก ไม่เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275 เนื่องจากไม่มีเจตนาทำให้เข้าใจผิด
การที่จำเลยที่ 1 พนักงานบริษัทจำเลยที่ 2 ซึ่งมีจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการผู้จัดการได้นำสินค้าผงหมึกพิพาทไปเสนอจำหน่าย ต่อทางราชการ โดยระบุในใบเสนอราคาว่า เป็นอุปกรณ์สำหรับ ใช้กับเครื่องถ่ายเอกสาร MITA รุ่น DC-313Z เป็นการเสนอราคา สินค้าตรงตามความประสงค์ของทางราชการซึ่งมิได้ระบุว่าต้องการ ผงหมึกเฉพาะที่มีเครื่องหมายการค้า MITA เท่านั้น กล่องสินค้า ของจำเลยทั้งสามมีข้อความระบุชัดว่าเป็นสินค้าผงหมึก (TONER) ที่ใช้กับเครื่องถ่ายเอกสาร MITA(FORUSEINMITA) รุ่น DC-211 RE313Z และ 313Z แม้ที่กล่องสินค้าดังกล่าว จะมีคำว่า "MITA" ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนไว้สำหรับใช้กับสินค้าเครื่องถ่ายเอกสาร แต่จำเลยทั้งสามก็มิได้นำคำดังกล่าวมาใช้อย่างเครื่องหมายการค้า กล่าวคือ มิได้ระบุว่าผงหมึกของจำเลยทั้งสามเป็นผงหมึกที่มี เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมผงหมึกของจำเลยทั้งสาม เป็นผงหมึกที่ไม่มีเครื่องหมายการค้าระบุไว้ และจำเลยทั้งสาม มิได้เขียนคำว่า "MITA" ให้มีลักษณะบ่งเฉพาะว่า "mita" เช่นเดียวกับของโจทก์ร่วม แต่เขียนเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ว่า "MITA" และคำว่า "TONER" ซึ่งหมายถึงผงหมึก ที่กล่องสินค้าของจำเลย ทั้ง สามก็เขียนเป็นตัวพิมพ์ใหญ่เช่นเดียวกันรวมทั้งคำว่า "FORUSEIN" ก็เขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่เห็นได้ชัดเจนประกอบกับที่ กล่องสินค้าดังกล่าวปรากฏป้ายชื่อบริษัทและที่อยู่ของจำเลยที่ 2 อยู่ด้วย มิได้ระบุชื่อบริษัทโจทก์ร่วมที่กล่องสินค้าดังกล่าวแต่ อย่างใด ส่วนกลางสินค้าของโจทก์ร่วมปรากฏว่า คำว่า "TONER" เขียนตัวอักษร "T" ด้วยตัวพิมพ์ใหญ่เพียงตัวเดียวตัวอักษรนอกนั้น เป็นตัวพิมพ์เล็ก โดยเขียนว่า "TONER" มีเครื่องหมายการค้าคำว่า "mita" เขียนเรียงกันตามแนวนอน 6 แถว แถวละ 8 คำ และมีชื่อ บริษัทโจทก์ร่วมอยู่ด้วย แต่ไม่มีคำว่า "FORUSEIN" กล่องสินค้า ผงหมึกของจำเลยทั้งสามกับของโจทก์ร่วมจึงแตกต่างกันอย่างชัดแจ้ง การที่จำเลยทั้งสามนำคำว่า "MITA" ซึ่งเป็นชื่อหรือข้อความในการประกอบการค้าของโจทก์ร่วมมาใช้ระบุที่หีบห่อบรรจุสินค้า ของจำเลยทั้งสามในลักษณะดังกล่าว ประกอบกับราคาสินค้าที่จำเลย ทั้งสาม เสนอ จำหน่ายแก่ทางราชการ กับราคาสินค้าของโจทก์ร่วม ก็แตกต่างกันมาก จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามได้เสนอจำหน่าย สินค้าซึ่งมีชื่อหรือข้อความในการประกอบการค้าของโจทก์ร่วม เพื่อให้ประชาชนหรือทางราชการหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของโจทก์ร่วมการกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275 ประกอบด้วย มาตรา 272(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1257/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้า 'MITA' บนผงหมึก: ไม่เข้าข่ายละเมิด หากไม่ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์
การที่จำเลยที่ 1 พนักงานบริษัทจำเลยที่ 2 ซึ่งมีจำเลยที่ 3เป็นกรรมการผู้จัดการได้นำสินค้าผงหมึกพิพาทไปเสนอจำหน่ายต่อทางราชการ โดยระบุในใบเสนอราคาว่า เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้กับเครื่องถ่ายเอกสาร MITAรุ่น DC - 313 Z เป็นการเสนอราคาสินค้าตรงตามความประสงค์ของทางราชการซึ่งมิได้ระบุว่าต้องการผงหมึกเฉพาะที่มีเครื่องหมายการค้า MITA เท่านั้น กล่องสินค้าของจำเลยทั้งสามมีข้อความระบุชัดว่าเป็นสินค้าผงหมึก (TONER)ที่ใช้กับเครื่องถ่ายเอกสาร MITA (FOR USE IN MITA) รุ่น DC - 211 RE313 Z และ 313 ZD แม้ที่กล่องสินค้าดังกล่าวจะมีคำว่า "MITA" ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนไว้สำหรับใช้กับสินค้าเครื่องถ่าย-เอกสาร แต่จำเลยทั้งสามก็มิได้นำคำดังกล่าวมาใช้อย่างเครื่องหมายการค้า กล่าวคือมิได้ระบุว่าผงหมึกของจำเลยทั้งสามเป็นผงหมึกที่มีเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมผงหมึกของจำเลยทั้งสามเป็นผงหมึกที่ไม่มีเครื่องหมายการค้าระบุไว้ และจำเลย-ทั้งสามมิได้เขียนคำว่า "MITA" ให้มีลักษณะบ่งเฉพาะว่า "mita" เช่นเดียวกับของโจทก์ร่วม แต่เขียนเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ว่า "MITA" และคำว่า "TONER" ซึ่งหมายถึงผงหมึก ที่กล่องสินค้าของจำเลยที่สามก็เขียนเป็นตัวพิมพ์ใหญ่เช่นเดียวกันรวมทั้งคำว่า "FOR USE IN" ก็เขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่เห็นได้ชัดเจนประกอบกับที่กล่องสินค้าดังกล่าวปรากฎป้ายชื่อบริษัทและที่อยู่ของจำเลยที่ 2 อยู่ด้วย มิได้ระบุชื่อบริษัทโจทก์ร่วมที่กล่องสินค้าดังกล่าวแต่อย่างใด ส่วนกล่องสินค้าของโจทก์ร่วมปรากฎว่า คำว่า "TONER" เขียนตัวอักษร "T" ด้วยตัวพิมพ์ใหญ่เพียงตัวเดียวตัวอักษรนอกนั้นเป็นตัวพิมพ์เล็ก โดยเขียนว่า "Toner" มีเครื่องหมายการค้าคำว่า"mita" เขียนเรียงกันตามแนวนอน 6 แถว แถวละ 8 คำ และมีชื่อบริษัทโจทก์ร่วมอยู่ด้วย แต่ไม่มีคำว่า"FOR USE IN" กล่องสินค้าผงหมึกของจำเลยทั้งสามกับของโจทก์ร่วมจึงแตกต่างกันอย่างชัดแจ้ง การที่จำเลยทั้งสามนำคำว่า "MITA"ซึ่งเป็นชื่อหรือข้อความในการประกอบการค้าของโจทก์ร่วมมาใช้ระบุที่หีบห่อบรรจุสินค้าของจำเลยทั้งสามในลักษณะดังกล่าว ประกอบกับราคาสินค้าที่จำเลยทั้งสามเสนอจำหน่ายแก่ทางราชการ กับราคาสินค้าของโจทก์ร่วมก็แตกต่างกันมาก จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามได้เสนอจำหน่ายสินค้าซึ่งมีชื่อหรือข้อความในการประกอบการค้าของโจทก์ร่วมเพื่อให้ประชาชนหรือทางราชการหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของโจทก์ร่วมการกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นความผิดตามป.อ. มาตรา 275 ประกอบด้วย มาตรา 272 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1965/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียน: ผลกระทบต่อการฟ้องร้องและการพิสูจน์ความผิด
โจทก์และโจทก์ร่วมฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันเลียนเครื่องหมายการค้า คำว่า แจ๊คสัน JACKSON ของโจทก์ร่วมซึ่งได้จดทะเบียนแล้วและโจทก์ร่วมได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าของโจทก์ร่วมประเภทกางเกงยีนสำเร็จรูปนำออกจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป โดยจำเลยทั้งสองใช้เครื่องหมายการค้า คำว่า JACKSONG(แจ๊คซอง) กับสินค้ากางเกงยีนของจำเลยทั้งสองเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม และร่วมกันจำหน่ายและเสนอจำหน่ายกางเกงยีนที่มีเครื่องหมายการค้าเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมแก่ประชาชนทั่วไป แต่ทางนำสืบของโจทก์และโจทก์ร่วมกลับปรากฏว่า โจทก์ร่วมหาได้นำเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนดังกล่าวที่ได้รับโอนมาไปใช้กับสินค้ากางเกงยีนของโจทก์ร่วมไม่ โจทก์ร่วมผลิตและจำหน่ายกางเกงยีนติดเครื่องหมายการค้าคำว่า JACKSON และข้างหน้ามีรูปกีตาร์1 ตัว วางตั้งเฉียง จำเลยทั้งสองได้เลียนเครื่องหมายการค้าJACKSON ซึ่งเขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่มีรูปกีตาร์ ของ โจทก์ร่วมโดยเพิ่มอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ตัว G อีก 1 ตัว ท้ายคำว่า JACKSON เป็น JACKSONGและดัดแปลงรูปกีตาร์ ให้แตกต่างจากของโจทก์ร่วมเพียงเล็กน้อยดังนี้ เมื่อปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า JACKSON มีรูปกีตาร์ของโจทก์ร่วมยังมิได้รับการจดทะเบียน จึงมีผลเท่ากับโจทก์และโจทก์ร่วมอ้างว่าจำเลยทั้งสองเลียนเครื่องหมายการค้ายังมิได้จดทะเบียนของโจทก์ร่วมข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาดังกล่าวจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงดั่ง ที่กล่าวในฟ้องไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสองตามฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3172/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนเครื่องหมายการค้าและจำหน่ายสินค้าปลอม ศาลมีอำนาจริบทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิด
จำเลยทั้งสองร่วมกันทำเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นแล้วนำไปติดประทับไว้ที่กระสอบซึ่งมีข้าวสารเจ้าบรรจุอยู่ และร่วมกันเสนอจำหน่ายและจำหน่ายข้าวสารเจ้านั้นแก่ผู้ซื้อข้าวสารเจ้าทั้งหมดจึงเป็นทรัพย์ส่วนหนึ่งที่จำเลยทั้งสองใช้ในการกระทำความผิดตามฟ้อง ศาลมีอำนาจสั่งริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33(1).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3172/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนเครื่องหมายการค้าและการเสนอขายสินค้าปลอม ศาลมีอำนาจริบข้าวสารที่เป็นของกลางได้
จำเลยทั้งสองร่วมกันทำเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นแล้วนำไปติดประทับไว้ที่กระสอบซึ่งมีข้าวสารเจ้าบรรจุอยู่ และร่วมกันเสนอจำหน่ายและจำหน่ายข้าวสารเจ้านั้นแก่ผู้ซื้อข้าวสารเจ้าทั้งหมดจึงเป็นทรัพย์ส่วนหนึ่งที่จำเลยทั้งสองใช้ในการกระทำความผิดตามฟ้อง ศาลมีอำนาจสั่งริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5041-5042/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-เครื่องหมายการค้า: การฟ้องคดีอาญาซ้ำเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว และการใช้เครื่องหมายการค้าโดยชอบ
พนักงานอัยการโจทก์และผู้เสียหายโจทก์ร่วมเคยฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม ศาลชั้นต้นพิพากษา ยกฟ้องคดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมาโจทก์ร่วมพบสินค้าของจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าเดียวกันนั้นอีกจึงดำเนินการให้โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้โดยอาศัยพยานหลักฐานใหม่และเพิ่มข้อหาอื่นอีกแต่ไม่ได้ความแน่ชัดว่าจำเลยได้ร่วมกันกระทำการเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมขึ้นใหม่ดังนี้ เป็นการนำการกระทำของจำเลยที่มีคำพิพากษา เสร็จเด็ดขาดแล้วมาฟ้องใหม่นั่นเองสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์และโจทก์ร่วมจึงระงับไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)
โจทก์ร่วมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตราควายพระอาทิตย์ย่อมมีสิทธิใช้หรือให้ผู้อื่นใช้เครื่องหมายการค้าที่ตนจดทะเบียนได้โดยชอบ การที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 นำเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ร่วมมีสิทธิใช้ได้ตามกฎหมายมาใช้กับสินค้าของจำเลยที่4 โดยโจทก์ร่วมยินยอมจึงไม่เป็นความผิดฐานเลียนเครื่องหมายการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5041-5042/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ & สิทธิใช้เครื่องหมายการค้า: คดีเลียนแบบเครื่องหมายการค้าเดิมที่ศาลยกฟ้องแล้ว การใช้เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนโดยชอบ
พนักงานอัยการโจทก์และผู้เสียหายโจทก์ร่วมเคยฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมาโจทก์ร่วมพบสินค้าของจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าเดียวกันนั้นอีกจึงดำเนินการให้โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้โดยอาศัยพยานหลักฐานใหม่และเพิ่มข้อหาอื่นอีกแต่ไม่ได้ความแน่ชัดว่าจำเลยได้ร่วมกันกระทำการเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมขึ้นใหม่ดังนี้เป็นการนำการกระทำของจำเลยที่มีคำพิพากษา เสร็จเด็ดขาดแล้วมาฟ้องใหม่นั่นเองสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์และโจทก์ร่วมจึงระงับไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (4)
โจทก์ร่วมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตราควายพระอาทิตย์ย่อมมีสิทธิใช้หรือให้ผู้อื่นใช้เครื่องหมายการค้าที่ตนจดทะเบียนได้โดยชอบ การที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 นำเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ร่วมมีสิทธิใช้ได้ตามกฎหมายมาใช้กับสินค้าของจำเลยที่ 4 โดยโจทก์ร่วมยินยอมจึงไม่เป็นความผิดฐานเลียนเครื่องหมายการค้า
of 7