พบผลลัพธ์ทั้งหมด 77 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4555/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับภาษีเกิดขึ้นพร้อมหนี้ภาษี แม้แจ้งประเมินหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระ
เบี้ยปรับของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นเงินภาษีที่เกิดขึ้นพร้อมกับหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แม้ว่าเจ้าพนักงานประเมินจะได้แจ้งการประเมินไปยังลูกหนี้ภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ แต่เมื่อลูกหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและเบี้ยปรับได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ กรมสรรพากรเจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระเบี้ยปรับด้วย การที่ลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19,23มีผลเพียงทำให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินเงินภาษีอากรตามที่รู้เห็นว่าถูกต้องและแจ้งจำนวนภาษีอากรไปยังลูกหนี้ตามมาตรา 25,49 เท่านั้น ไม่ได้ทำให้เงินเบี้ยปรับเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อลูกหนี้ไม่ไปพบเจ้าพนักงานประเมิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4555/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับภาษีเกิดขึ้นพร้อมหนี้ภาษี เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระ แม้แจ้งประเมินหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
เบี้ยปรับของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สืบเนื่องมาจากลูกหนี้มีรายได้จากการขายบ้านและที่ดิน แต่มิได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประจำปี 2530 เบี้ยปรับดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นเงินภาษีที่เกิดขึ้นพร้อมกับหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งลูกหนี้จะต้องยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2530 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 56, 57 จัตวา เมื่อเจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็ย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้เบี้ยปรับด้วย แม้เจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินไปยังลูกหนี้ภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ แต่เมื่อมูลหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและเบี้ยปรับได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระเบี้ยปรับด้วย
การที่ลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19, 23 มีผลเพียงทำให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินเงินภาษีอากรตามที่รู้เห็นว่าถูกต้องและแจ้งจำนวนภาษีอากรไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 25, 49 หาทำให้เงินเบี้ยปรับเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อลูกหนี้ไม่ไปพบเจ้าพนักงานประเมินตามหมายเรียกไม่
การที่ลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19, 23 มีผลเพียงทำให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินเงินภาษีอากรตามที่รู้เห็นว่าถูกต้องและแจ้งจำนวนภาษีอากรไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 25, 49 หาทำให้เงินเบี้ยปรับเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อลูกหนี้ไม่ไปพบเจ้าพนักงานประเมินตามหมายเรียกไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6056/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี: การยินยอมปฏิบัติตามและอายุความ 10 ปี กรณีแสดงรายรับขาดเกิน 25%
หมายเรียกเพื่อตรวจสอบไต่สวนของเจ้าพนักงานประเมินให้เวลาโจทก์ฟ้องน้อยกว่า 7 วัน โจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้าน กลับยินยอมปฏิบัติตามหมายเรียกตลอดจนร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนตลอดมาจนกระทั่งเสร็จสิ้นและเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินแล้วโจทก์มากล่าวอ้างว่าหมายเรียกดังกล่าวไม่ชอบภายหลังหาได้ไม่ โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้า แสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับ เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจทำการประเมินภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 88 ทวิ(2).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6056/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาประเมินภาษีตามประกาศ คปถ.ฉบับที่ 8 และการปฏิบัติที่ขัดแย้งกับปกติวิสัยทางการค้า
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 8 กำหนดให้การประเมินตามหมายเรียกเพื่อตรวจสอบไต่สวนที่ออกก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติใช้บังคับให้แล้วเสร็จภายในเวลาสองปี ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยมีหมายเรียกลงวันที่ 26 สิงหาคม 2517 ไปยังโจทก์ว่าประสงค์จะทำการตรวจสอบการเสียภาษีอากรตั้งแต่ปี 2512 ถึงปัจจุบัน ซึ่งตามข้อความดังกล่าวแสดงว่าจำเลยประสงค์จะตรวจสอบภาษีสำหรับปี 2517 อันเป็นปีปัจจุบันด้วย กรณีไม่จำต้องให้จำเลยมีหมายเรียกเพื่อตรวจสอบภาษีอากรปี 2517 อีก เมื่อเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยทำการประเมินภาษีอากรปี 2517 แล้วเสร็จเกินกำหนดเวลาสองปีดังกล่าว การประเมินจึงไม่ชอบ
การตรวจสอบไต่สวนภาษีอากรตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 8 มิได้จำกัดแต่เพียงเฉพาะการให้ออกหมายเรียกมาตรวจสอบเท่านั้น แต่หมายถึงการออกหนังสือเชิญผู้มีหน้าที่ชำระหรือนำส่งภาษีอากรมาทำการตรวจสอบด้วย การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ให้โจทก์ไปพบเพื่อทราบข้อความบางอย่างอันเกี่ยวกับรายละเอียดในงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2518 และ 2519 แม้จะไม่ได้ใช้ถ้อยคำว่าให้โจทก์ไปพบเพื่อตรวจสอบไต่สวนการเสียภาษีของโจทก์ก็ตาม ก็เห็นได้ว่าเป็นการเรียกไปพบเพื่อให้ชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดในงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนของโจทก์เพื่อนำไปสู่การพิจารณาว่าโจทก์ได้เสียภาษีไว้ถูกต้องหรือไม่ อันเป็นการตรวจสอบไต่สวนการเสียภาษีของโจทก์นั่นเองดังนั้น จำเลยจึงต้องดำเนินการประเมินหรือออกคำสั่งให้ชำระหรือนำส่งภาษีอากรให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับ
เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกเพื่อตรวจสอบภาษีโดยให้เวลาน้อยกว่า7 วัน แม้จะเป็นการไม่ชอบตามประมวลรัษฎากร มาตรา 23 และ 87 ตรี แต่โจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านมาแต่แรก กลับยินยอมปฏิบัติตามหมายเรียก ตลอดจนให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนมาจนกระทั่งเสร็จสิ้นและเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินแล้ว ดังนี้โจทก์จึงจะอ้างว่าหมายเรียกดังกล่าวไม่ชอบไม่ได้
ระยะเวลาที่กำหนดให้ทำการประเมินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 8นั้น รัฐมนตรีว่ากระทรวงการคลังมีอำนาจสั่งขยายออกไปตามควรแก่กรณีได้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นแต่ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันสิ้นกำหนดเวลาดังกล่าว
การซื้อขายสินค้าแบบไดเรก ไฟแนนซ์ ซึ่งมีวิธีปฏิบัติคือโจทก์จะสั่งซื้อสินค้าจากผู้ขายในต่างประเทศต่อเมื่อมีผู้ซื้อในประเทศไทยต้องการซื้อ และโจทก์ได้เปิดเผยให้ผู้ขายในต่างประเทศทราบตัวผู้ซื้อที่แท้จริงในประเทศไทยด้วยการให้ผู้ซื้อในประเทศไทยส่งเงินค่าสินค้าไปให้ผู้ขายในต่างประเทศโดยตรง และให้ผู้ขายในต่างประเทศส่งสินค้ามายังผู้ซื้อในประเทศโดยตรง ผิดปกติวิสัยของพ่อค้าคนกลางที่ซื้อสินค้ามาเพื่อขายต่อจะพึงปฏิบัติ เพราะการเปิดเผยให้ผู้ซื้อทราบแหล่งที่ซื้อและเปิดเผยให้ผู้ขายทราบราคาที่ผู้ซื้อต้องชำระย่อมเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อและผู้ขายติดต่อซื้อขายกันได้โดยตรงในครั้งต่อไปโดยไม่ต้องซื้อผ่านโจทก์ ตามพฤติการณ์เป็นเรื่องที่โจทก์เป็นตัวแทนนายหน้าของผู้ขายในต่างประเทศ มิใช่เป็นผู้ซื้อสินค้ามาแล้วขายไปดังที่โจทก์อ้าง
การตรวจสอบไต่สวนภาษีอากรตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 8 มิได้จำกัดแต่เพียงเฉพาะการให้ออกหมายเรียกมาตรวจสอบเท่านั้น แต่หมายถึงการออกหนังสือเชิญผู้มีหน้าที่ชำระหรือนำส่งภาษีอากรมาทำการตรวจสอบด้วย การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ให้โจทก์ไปพบเพื่อทราบข้อความบางอย่างอันเกี่ยวกับรายละเอียดในงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2518 และ 2519 แม้จะไม่ได้ใช้ถ้อยคำว่าให้โจทก์ไปพบเพื่อตรวจสอบไต่สวนการเสียภาษีของโจทก์ก็ตาม ก็เห็นได้ว่าเป็นการเรียกไปพบเพื่อให้ชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดในงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนของโจทก์เพื่อนำไปสู่การพิจารณาว่าโจทก์ได้เสียภาษีไว้ถูกต้องหรือไม่ อันเป็นการตรวจสอบไต่สวนการเสียภาษีของโจทก์นั่นเองดังนั้น จำเลยจึงต้องดำเนินการประเมินหรือออกคำสั่งให้ชำระหรือนำส่งภาษีอากรให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับ
เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกเพื่อตรวจสอบภาษีโดยให้เวลาน้อยกว่า7 วัน แม้จะเป็นการไม่ชอบตามประมวลรัษฎากร มาตรา 23 และ 87 ตรี แต่โจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านมาแต่แรก กลับยินยอมปฏิบัติตามหมายเรียก ตลอดจนให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนมาจนกระทั่งเสร็จสิ้นและเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินแล้ว ดังนี้โจทก์จึงจะอ้างว่าหมายเรียกดังกล่าวไม่ชอบไม่ได้
ระยะเวลาที่กำหนดให้ทำการประเมินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 8นั้น รัฐมนตรีว่ากระทรวงการคลังมีอำนาจสั่งขยายออกไปตามควรแก่กรณีได้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นแต่ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันสิ้นกำหนดเวลาดังกล่าว
การซื้อขายสินค้าแบบไดเรก ไฟแนนซ์ ซึ่งมีวิธีปฏิบัติคือโจทก์จะสั่งซื้อสินค้าจากผู้ขายในต่างประเทศต่อเมื่อมีผู้ซื้อในประเทศไทยต้องการซื้อ และโจทก์ได้เปิดเผยให้ผู้ขายในต่างประเทศทราบตัวผู้ซื้อที่แท้จริงในประเทศไทยด้วยการให้ผู้ซื้อในประเทศไทยส่งเงินค่าสินค้าไปให้ผู้ขายในต่างประเทศโดยตรง และให้ผู้ขายในต่างประเทศส่งสินค้ามายังผู้ซื้อในประเทศโดยตรง ผิดปกติวิสัยของพ่อค้าคนกลางที่ซื้อสินค้ามาเพื่อขายต่อจะพึงปฏิบัติ เพราะการเปิดเผยให้ผู้ซื้อทราบแหล่งที่ซื้อและเปิดเผยให้ผู้ขายทราบราคาที่ผู้ซื้อต้องชำระย่อมเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อและผู้ขายติดต่อซื้อขายกันได้โดยตรงในครั้งต่อไปโดยไม่ต้องซื้อผ่านโจทก์ ตามพฤติการณ์เป็นเรื่องที่โจทก์เป็นตัวแทนนายหน้าของผู้ขายในต่างประเทศ มิใช่เป็นผู้ซื้อสินค้ามาแล้วขายไปดังที่โจทก์อ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4612/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาออกหมายเรียกไต่สวนภาษี: นับจากวันยื่นแบบแสดงรายการ แม้ทายาทจะยื่นภายหลัง
การที่ผู้ต้องเสียภาษีได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้แล้ว แม้ต่อมาเมื่อผู้ต้องเสียภาษีตาย ทายาทจะไปยื่นเสียภาษีอีกก็ตาม การนับกำหนดระยะเวลาออกหมายเรียกไต่สวนตามประมวลรัษฎากรมาตรา 19ก็ต้องนับแต่วันที่มีการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีครั้งแรก กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินจะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีให้ออกหมายเรียกก่อนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 49 เป็นเรื่องการกำหนดเงินได้สุทธิ ซึ่งจะมีขึ้นหลังจากมีการไต่สวนแล้ว ส่วนกรณีที่จะออกหมายเรียกมาไต่สวนนั้น เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินใช้อำนาจตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 หรือ 23 แล้วแต่กรณี ซึ่งในบทมาตราดังกล่าวมิได้บัญญัติว่าจะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4612/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเกินกำหนดอายุความและข้อโต้แย้งเรื่องที่มาของทรัพย์สินเพิ่มพูน
ก. ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีสำหรับปี 2518-2520 ขณะ ที่มีชีวิตอยู่ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2521 เจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกเพื่อไต่สวนการเสียภาษีของ ก. ไปยังทายาทของก. เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2527 จึงเกินกำหนดห้าปีนับแต่วันที่มีการยื่นแบบแสดงรายการสำหรับภาษีปี 2518-2520 การออกหมายเรียกดังกล่าวไม่ชอบด้วยมาตรา 19 แห่ง ป.รัษฎากร เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีในปี ดังกล่าว การกำหนดเงินได้สุทธิตามมาตรา 49 แห่ง ป.รัษฎากร เท่านั้น ที่ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีก่อน ส่วนการออกหมายเรียกไต่สวน เพื่อกำหนดเงินได้สุทธิเป็นกรณีเจ้าพนักงานประเมินใช้อำนาจตาม มาตรา 19หรือมาตรา 23 ซึ่งในบทมาตราดังกล่าวหาได้บัญญัติไว้ว่า จะต้องได้ รับอนุมัติจากอธิบดีก่อนไม่ โจทก์อ้างว่าการที่เจ้าพนักงานประเมินนำหุ้นของ ก. ที่เพิ่มขึ้นในปี 2521 หรือ 2522 มาถือเป็นเงินได้ของปี 2521 และ 2522ไม่ชอบ เพราะหุ้นที่เพิ่มขึ้นนั้น ก. ได้นำเงินที่ได้รับคืนจากการทดรองจ่ายให้บริษัทโรงงานน้ำตาลซื้อมา จึงเป็นทรัพย์สิน ที่มีอยู่เดิมแต่เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง การที่เจ้าพนักงานประเมินถือเอาหุ้นที่เพิ่มขึ้นเป็น เงินได้พึงประเมิน จึงชอบด้วยกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3802-3803/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีที่มิชอบ การขออนุมัติกำหนดเงินได้สุทธิ และการเพิกถอนการประเมินภาษี
++ คดีแดงที่ 3802-3803/2534 ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ ++
++
บทบัญญัติของมาตรา 21 และ 25 แห่งประมวลรัษฎากรอันเป็นบทบัญญัติห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินนั้น กฎหมายมิได้กำหนดเป็นเด็ดขาดว่า ถ้าไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกจะต้องห้ามอุทธรณ์ในทุกกรณี แต่จะต้องห้ามอุทธรณ์ก็ต่อเมื่อไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่มีเหตุอันสมควรเท่านั้นเมื่อปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองจำต้องอยู่ต่างประเทศตามความจำเป็นของสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้นซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่า โจทก์ทั้งสองไม่อาจกลับเข้ามาดำเนินการอย่างใด ๆ ในประเทศไทยได้ เพราะหากเข้ามาจะก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยของบ้านเมือง จึงถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองมีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจจะปฏิบัติตามหมายเรียกได้ และโจทก์ทั้งสองได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด อีกทั้งได้ฟ้องคดีต่อศาลภายในกำหนดนับแต่วันรับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ด้วย โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ได้
การที่เจ้าพนักงานประเมินหมายเรียกเฉพาะโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นสามีเท่านั้นจะถือเอาว่าเป็นการออกหมายเรียกโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นภริยาด้วยไม่ได้ เพราะตามประมวลรัษฎากรมาตรา 19 และ 23 กำหนดไว้ชัดเจนว่า ให้ออกหมายเรียกตัวผู้นั้นมาไต่สวน ทั้งนี้แม้มาตรา57 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร จะบัญญัติให้กรณีสามีและภริยาที่อยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีที่ล่วงมาแล้วให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามี และให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีก็ตาม ก็เป็นบทบัญญัติในเรื่องการกำหนดตัวผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเสียภาษี แต่ตามมาตรา 19 และ 23 เป็นเรื่องการออกหมายเรียกตรวจสอบการเสียภาษีอันเป็นขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เจ้าพนักงานประเมินปฏิบัติ เพื่อที่จะให้ผู้ถูกประเมินได้รู้ถึงผลของการที่ตนจะต้องถูกบังคับให้รับผิดเพิ่มขึ้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโดยไม่ออกหมายเรียกโจทก์ที่ 2 มาไต่สวนก่อนตามขั้นตอนของประมวลรัษฎากร มาตรา 19และ 23 การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 จึงเป็นการไม่ชอบ และย่อมส่งผลให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พลอยไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย
กำหนดเวลาห้าปีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 มิใช่บทบัญญัติเรื่องอายุความในการเรียกร้องให้ชำระภาษี แต่เป็นบทบัญญัติกำหนดระยะเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกมาตรวจสอบไต่สวน เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมิได้ใช้อำนาจในกำหนดเวลาดังกล่าว อำนาจออกหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 19จึงหมดไป อำนาจที่จะประเมินตามมาตรา 20 ก็ดี และอำนาจที่จะกำหนดเงินได้สุทธิตามมาตรา 49 ก็ดี จึงไม่อาจมีขึ้นได้ และปัญหาข้อนี้แม้โจทก์ที่ 1 จะมิได้ยกขึ้นอ้างในฎีกาแต่เมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควรที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
บทบัญญัติมาตรา 49 แห่งประมวลรัษฎากรที่กำหนดให้ต้องขอนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรก่อนนั้น หมายถึงเฉพาะกรณีที่จะกำหนดเงินได้สุทธิเท่านั้น ส่วนกรณีการออกหมายเรียกเพื่อไต่สวนเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินที่จะทำได้ตามมาตรา 19 และ23 ซึ่งทั้งสองมาตรานี้กฎหมายมิได้กำหนดไว้ให้ต้องขออนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรก่อนแต่อย่างใด
การประเมินโดยวิธีการกำหนดเงินได้สุทธิของโจทก์นั้น เจ้าพนักงานประเมินได้รวบรวมรายได้ของโจทก์ทั้งสองจากทรัพย์สินต่าง ๆ คือ เงินฝากในธนาคารที่ดิน บ้าน รถยนต์ และรายจ่าย แล้วนำเงินได้นั้นมาหักเงินทีได้รับยกเว้นภาษี หักค่าใช้จ่ายให้ตามกฎหมาย และหักค่าลดหย่อนแล้ว จึงกำหนดส่วนที่เหลือเป็นเงินได้สุทธิ เช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นวิธีการคำนวณกำหนดเงินได้สุทธิที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ ++
++
บทบัญญัติของมาตรา 21 และ 25 แห่งประมวลรัษฎากรอันเป็นบทบัญญัติห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินนั้น กฎหมายมิได้กำหนดเป็นเด็ดขาดว่า ถ้าไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกจะต้องห้ามอุทธรณ์ในทุกกรณี แต่จะต้องห้ามอุทธรณ์ก็ต่อเมื่อไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่มีเหตุอันสมควรเท่านั้นเมื่อปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองจำต้องอยู่ต่างประเทศตามความจำเป็นของสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้นซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่า โจทก์ทั้งสองไม่อาจกลับเข้ามาดำเนินการอย่างใด ๆ ในประเทศไทยได้ เพราะหากเข้ามาจะก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยของบ้านเมือง จึงถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองมีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจจะปฏิบัติตามหมายเรียกได้ และโจทก์ทั้งสองได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด อีกทั้งได้ฟ้องคดีต่อศาลภายในกำหนดนับแต่วันรับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ด้วย โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ได้
การที่เจ้าพนักงานประเมินหมายเรียกเฉพาะโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นสามีเท่านั้นจะถือเอาว่าเป็นการออกหมายเรียกโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นภริยาด้วยไม่ได้ เพราะตามประมวลรัษฎากรมาตรา 19 และ 23 กำหนดไว้ชัดเจนว่า ให้ออกหมายเรียกตัวผู้นั้นมาไต่สวน ทั้งนี้แม้มาตรา57 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร จะบัญญัติให้กรณีสามีและภริยาที่อยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีที่ล่วงมาแล้วให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามี และให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีก็ตาม ก็เป็นบทบัญญัติในเรื่องการกำหนดตัวผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเสียภาษี แต่ตามมาตรา 19 และ 23 เป็นเรื่องการออกหมายเรียกตรวจสอบการเสียภาษีอันเป็นขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เจ้าพนักงานประเมินปฏิบัติ เพื่อที่จะให้ผู้ถูกประเมินได้รู้ถึงผลของการที่ตนจะต้องถูกบังคับให้รับผิดเพิ่มขึ้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโดยไม่ออกหมายเรียกโจทก์ที่ 2 มาไต่สวนก่อนตามขั้นตอนของประมวลรัษฎากร มาตรา 19และ 23 การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 จึงเป็นการไม่ชอบ และย่อมส่งผลให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พลอยไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย
กำหนดเวลาห้าปีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 มิใช่บทบัญญัติเรื่องอายุความในการเรียกร้องให้ชำระภาษี แต่เป็นบทบัญญัติกำหนดระยะเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกมาตรวจสอบไต่สวน เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมิได้ใช้อำนาจในกำหนดเวลาดังกล่าว อำนาจออกหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 19จึงหมดไป อำนาจที่จะประเมินตามมาตรา 20 ก็ดี และอำนาจที่จะกำหนดเงินได้สุทธิตามมาตรา 49 ก็ดี จึงไม่อาจมีขึ้นได้ และปัญหาข้อนี้แม้โจทก์ที่ 1 จะมิได้ยกขึ้นอ้างในฎีกาแต่เมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควรที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
บทบัญญัติมาตรา 49 แห่งประมวลรัษฎากรที่กำหนดให้ต้องขอนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรก่อนนั้น หมายถึงเฉพาะกรณีที่จะกำหนดเงินได้สุทธิเท่านั้น ส่วนกรณีการออกหมายเรียกเพื่อไต่สวนเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินที่จะทำได้ตามมาตรา 19 และ23 ซึ่งทั้งสองมาตรานี้กฎหมายมิได้กำหนดไว้ให้ต้องขออนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรก่อนแต่อย่างใด
การประเมินโดยวิธีการกำหนดเงินได้สุทธิของโจทก์นั้น เจ้าพนักงานประเมินได้รวบรวมรายได้ของโจทก์ทั้งสองจากทรัพย์สินต่าง ๆ คือ เงินฝากในธนาคารที่ดิน บ้าน รถยนต์ และรายจ่าย แล้วนำเงินได้นั้นมาหักเงินทีได้รับยกเว้นภาษี หักค่าใช้จ่ายให้ตามกฎหมาย และหักค่าลดหย่อนแล้ว จึงกำหนดส่วนที่เหลือเป็นเงินได้สุทธิ เช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นวิธีการคำนวณกำหนดเงินได้สุทธิที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3802-3803/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากขาดอำนาจและไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน รวมถึงการพิจารณาหลักฐานและรายได้ที่ถูกต้อง
บทบัญญัติของมาตรา 21 และ 25 แห่งประมวลรัษฎากรอันเป็นบทบัญญัติห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมิน กฎหมายมิได้กำหนดเป็นเด็ดขาดว่า ถ้าไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกจะต้องห้ามอุทธรณ์ในทุกกรณี แต่จะต้องห้ามอุทธรณ์ก็ต่อเมื่อไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่มีเหตุอันสมควรเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองจำต้องอยู่ต่างประเทศตามความจำเป็นของสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้นซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่า โจทก์ทั้งสองไม่อาจกลับเข้ามาดำเนินการอย่างใด ๆ ในประเทศไทยได้ เพราะหากเข้ามาจะก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยของบ้านเมืองจึงถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองมีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจจะปฏิบัติตามหมายเรียกได้ และโจทก์ทั้งสองได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด อีกทั้งได้ฟ้องคดีต่อศาลภายในกำหนดนับแต่วันรับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ด้วยโจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ได้ การที่เจ้าพนักงานประเมินหมายเรียกเฉพาะโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นสามีเท่านั้นจะถือเอาว่าเป็นการออกหมายเรียกโจทก์ที่ 2ซึ่งเป็นภริยาด้วยไม่ได้ เพราะตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และ 23กำหนดไว้ชัดเจนว่า ให้ออกหมายเรียกตัวผู้นั้นมาไต่สวน ทั้งนี้แม้มาตรา 57 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร จะบัญญัติให้กรณีสามีและภริยาที่อยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีที่ล่วงมาแล้วให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามีและภริยาที่อยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีที่ล่วงมาแล้วให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามีและให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีก็ตาม ก็เป็นบทบัญญัติในเรื่อง กำหนดตัวผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเสียภาษี แต่ตามมาตรา 19 และ 23 เป็นเรื่องการออกหมายเรียกตรวจสอบการเสียภาษีอันเป็นขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เจ้าพนักงานประเมินปฏิบัติ เพื่อที่จะให้ผู้ถูกประเมินได้รู้ถึงผลของการที่ตนจะต้องถูกบังคับให้รับผิดเพิ่มขึ้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโดยไม่ออกหมายเรียกโจทก์ที่ 2 มาไต่สวนก่อนตามขั้นตอนของประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และ 23 การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 จึงเป็นการไม่ชอบและย่อมส่งผลให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พลอยไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย กำหนดเวลาห้าปีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 มิใช่บทบัญญัติเรื่องอายุความในการเรียกร้องให้ชำระภาษี แต่เป็นบทบัญญัติกำหนดระยะเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกมาตรวจสอบไต่สวน เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมิได้ใช้อำนาจในกำหนดเวลาดังกล่าว อำนาจออกหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 19จึงหมดไป อำนาจที่จะประเมินตามมาตรา 20 ก็ดี และอำนาจที่จะกำหนดเงินได้สุทธิตามมาตรา 49 ก็ดี จึงไม่อาจมีขึ้นได้ และปัญหาข้อนี้แม้โจทก์ที่ 1 จะมิได้ยกขึ้นอ้างในฎีกาแต่เมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควรที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ บทบัญญัติมาตรา 49 แห่งประมวลรัษฎากรที่กำหนดให้ต้องขออนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรก่อนนั้น หมายถึงเฉพาะกรณีที่จะกำหนดเงินได้สุทธิเท่านั้น ส่วนกรณีการออกหมายเรียกเพื่อไต่สวนเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินที่จะทำได้ตามมาตรา 19 และ 23 ซึ่งทั้งสองมาตรานี้กฎหมายมิได้กำหนดไว้ให้ต้องขออนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรก่อนแต่อย่างใด การประเมินโดยวิธีกำหนดเงินได้สุทธิของโจทก์นั้น เจ้าพนักงานประเมินได้รวบรวมรายได้ของโจทก์ทั้งสองจากทรัพย์สินต่าง ๆ คือเงินฝากในธนาคาร ที่ดิน บ้าน รถยนต์ และรายจ่าย แล้วนำเงินได้นั้นมาหักเงินที่ได้รับยกเว้นภาษี หักค่าใช้จ่ายให้ตามกฎหมาย และหักค่าลดหย่อนแล้ว จึงกำหนดส่วนที่เหลือเป็นเงินได้สุทธิ เช่นนี้ถือได้ว่าเป็นวิธีการคำนวณกำหนดเงินได้สุทธิที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2231/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีตามมาตรา 49 ต้องตรวจสอบรายได้และรายจ่ายที่แท้จริงก่อน มิใช่แค่ผู้เสียภาษีไม่ยื่นหรือยื่นต่ำ
การที่เจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีโจทก์ผู้มีหน้าที่เสียภาษี โดยวิธีการตามมาตรา 49 แห่ง ป.รัษฎากรได้ จะต้องเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินไม่สามารถทราบได้ว่าโจทก์มีรายได้และรายจ่ายที่แท้จริงเพียงใด หาใช่เพียงแต่เจ้าพนักงานประเมินเห็นว่าผู้มีเงินได้มิได้ยื่นรายการเงินได้หรือยื่นรายการเงินได้ต่ำกว่าจำนวนที่ควรต้องยื่น ก็มีอำนาจกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิตามอำนาจพิเศษที่กำหนดไว้ใน มาตรา 49 โดยอนุมัติของอธิบดีกรมสรรพากรได้ทันทีไม่ดัง จะเห็นได้จากมาตรา 49 ที่ให้นำมาตรา 19 ถึง 26 มาใช้บังคับโดยอนุโลมซึ่งหมายความว่าเจ้าพนักงานประเมินจะต้องทำการตรวจสอบไต่สวนโดยวิธีการปกติตามอำนาจในมาตรา 19 และ 23 จนไม่อาจจะทราบได้ว่าผู้มีเงินได้นั้นมีรายได้และรายจ่ายที่แท้จริงเพียงใดแล้ว จึงชอบที่จะใช้อำนาจตาม มาตรา 49 ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3113/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี: การไม่จัดทำบัญชีและสละสิทธิในการแสดงหลักฐานค่าใช้จ่าย ทำให้การประเมินของเจ้าพนักงานชอบแล้ว
โจทก์มีรายได้จากการค้ามันอัดเม็ด โจทก์เสียภาษีประจำปีพ.ศ.2519 ไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินหมายเรียกให้โจทก์ส่งบัญชีและหลักฐานเอกสารประกอบการลงบัญชีเพื่อตรวจสอบเงินได้ประจำปีโจทก์ให้การต่อเจ้าพนักงานประเมินว่า ไม่สามารถส่งหลักฐานเพราะไม่ได้จัดทำบัญชีไว้ เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีเงินได้ที่โจทก์ต้องเสียเพิ่มสำหรับปี พ.ศ. 2519 โดยคิดหักค่าใช้จ่ายเทียบเคียงกับการหักค่าใช้จ่ายแบบการเหมาในอัตราร้อยละ85 ตามมาตรา 8 ข้อ 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 โจทก์ก็ยอมรับโดยไม่โต้แย้ง ถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิในการที่จะนำหลักฐานไปแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมินเพื่อที่จะพิสูจน์ว่าโจทก์มีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นและสมควรมากกว่าที่ถูกหัก การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงถือได้ว่าเป็นการหักค่าใช้จ่ายให้ตามความจำเป็นและสมควรและเป็นการประเมินที่ชอบแล้ว