พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6489/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค่าสิทธิจาก Licensing Agreement: สำนักงานสาขาทำหน้าที่ประกอบกิจการในไทย เสียภาษีตาม ม.66 มิใช่ ม.70
โจทก์ทำสัญญาให้ใช้สิทธิ (LicensingAgreement) กับบริษัท ช.ซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศแคนาดา โดยบริษัทช. อนุญาตให้โจทก์มีสิทธิผลิตสินค้าเครื่องสำอางและเครื่องหอมภายใต้เครื่องหมายการค้าซึ่งบริษัทมีสิทธิอนุญาตให้ผู้อื่นใช้ ทั้งจะให้คำแนะนำแก่โจทก์ในข้อปฏิบัติและกรรมวิธีในการผลิตสินค้าตามเครื่องหมายการค้าดังกล่าว รวมทั้งการจัดซื้อและติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์ ตลอดจนจัดส่งผู้เชี่ยวชาญมาดูแลและให้คำแนะนำแก่โจทก์เป็นครั้งคราว โดยโจทก์ต้องจ่ายค่าตอบแทนคิดคำนวณจากยอดขายของโจทก์ให้บริษัท สัญญานี้โจทก์ทำกับสำนักงานใหญ่ของบริษัทโดยตรง แต่หลังจากทำสัญญาแล้วสำนักงานสาขาประเทศไทยของบริษัท เป็นตัวแทนปฏิบัติตามพันธะ ดังกล่าว รวมทั้งการตรวจสอบยอดขายและการเปลี่ยนแปลงราคาขายของโจทก์สำนักงานสาขาประเทศไทยอันเป็นนิติบุคคลเดียวกันกับบริษัทจึงเป็นผู้กระทำกิจการอันเป็นเหตุให้บริษัทได้รับเงินค่าสิทธิในประเทศไทย และมีหน้าที่เสียภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 66กรณีมิใช่เงินได้ของนิติบุคคลต่างประเทศที่มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยตามมาตรา 70 โจทก์ผู้จ่ายเงินค่าสิทธิจึงไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่ง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6489/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบหมายให้สำนักงานสาขาเป็นตัวแทนปฏิบัติตามสัญญา ทำให้สำนักงานสาขาเป็นผู้เสียภาษี
สัญญาให้ใช้สิทธิยินยอมให้โจทก์มีสิทธิผลิตสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของบริษัทผู้ให้สิทธิ และบริษัทดังกล่าวจะให้คำแนะนำในข้อปฏิบัติกรรมวิธีการผลิตสินค้า รวมทั้งการช่วยเหลืออื่น ๆ ตลอดจนส่งผู้เชี่ยวชาญมาแนะนำโจทก์เป็นครั้งคราว ซึ่งในทางปฏิบัติโจทก์ได้ขอคำแนะนำผ่านสำนักงานสาขาในประเทศไทยของบริษัทดังกล่าว บางครั้งบริษัทดังกล่าวส่งผู้เชี่ยวชาญมาประจำสำนักงานสาขา โจทก์ก็ได้ขอคำแนะนำจากสำนักงานสาขาโดยตรง ดังนี้แม้โจทก์จะทำสัญญาให้ใช้สิทธิกับบริษัทดังกล่าวโดยตรง สำนักงานสาขาไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำสัญญาก็ตาม แต่บริษัทมอบหมายให้สำนักงานสาขาเป็นตัวแทนในการปฏิบัติตามข้อสัญญา คือให้ความช่วยเหลือ แนะนำ ตรวจสอบยอดขายและการเปลี่ยนแปลงราคาขาย ต้องถือว่าสำนักงานสาขาเป็นนิติบุคคลเดียวกันกับบริษัทดังกล่าวได้กระทำกิจการอันเป็นเหตุให้ได้เงินค่าสิทธิในประเทศสำนักงานสาขาในไทยเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 66 กรณีจึงไม่ใช่เงินได้ของนิติบุคคลต่างประเทศที่มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยตามมาตรา 70 โจทก์จึงไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1535/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้นิติบุคคลต่างประเทศประกอบกิจการในไทย การจำหน่ายเงินกำไรออกนอกประเทศ และอากรแสตมป์
โจทก์จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดที่สหรัฐอเมริกาและมีสาขาที่กรุงเทพดังนี้โจทก์และสาขามีฐานะตามกฎหมายเป็นนิติบุคคลเดียวกัน ประมวลรัษฏากรมาตรา 76ทวิ ให้ถือว่าโจทก์ประกอบกิจการในประเทศไทย เมื่อบริษัท ส. ในประเทศไทยกู้เงินจากโจทก์ที่สหรัฐอเมริกาและส่งดอกเบี้ยเงินกู้ไปให้ ดอกเบี้ยที่ส่งออกไปจากประเทศไทยดังกล่าวไม่ว่าด้วยวิธีการใดๆเมื่อโจทก์ได้รับเงินนั้นแล้วถือว่าโจทก์ได้รับเงินได้ในประเทศไทย โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีตามประมวลรัษฎากร
ประมวลรัษฎากร มาตรา 66 วรรคสองให้นิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและกระทำกิจการในประเทศไทยเสียภาษีในกำไรสุทธิ การคำนวณกำไรสุทธิให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับมาตรา 65 และ 65ทวิ ถ้าไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้ให้นำบทบัญญัติเรื่องการประเมินภาษีตามมาตรา 71(1) มาบังคับโดยอนุโลม แต่บทบัญญัติในมาตรา 65 และ 65ทวิดังกล่าวไม่ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้ของโจทก์โดยวิธีเทียบเคียงกับกำไรสุทธิตาม ภ.ง.ด.5ของสาขากรุงเทพฯแต่ละปี ดังนั้นที่เจ้าพนักงานประเมินอาศัยอำนาจตามมาตรา 71 วรรคสองทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้โดยใช้วิธีดังกล่าวจึงไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของโจทก์ในประเทศไทยการส่งดอกเบี้ยเงินกู้ออกไปจากประเทศไทยในกรณีนี้ ถ้าเงินดอกเบี้ยนั้นเป็นเงินกำไรก็เป็นการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย ซึ่งแม้ธนาคารโจทก์สาขากรุงเทพฯจะเป็นผู้ส่งหรือบริษัทจะเป็นผู้ส่งโดยผ่านธนาคารพาณิชย์ใดก็ตามแต่เมื่อธนาคารโจทก์เป็นผู้รับเงินดังกล่าวในต่างประเทศก็ถือว่าธนาคารโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินนั้น โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้อัตราร้อยละ 15 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 70ทวิ โจทก์ได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รวม 4 ปีคิดเป็นเงินไทย 28,621,195.78 บาท เจ้าพนักงานประเมินมิได้คิดภาษีจากจำนวนเงินดังกล่าว ได้คำนวณกำไรสุทธิให้ก่อนเป็นเงิน 16,145,964.22 บาท แล้วคิดภาษีจากเงินจำนวนนี้ เมื่อโจทก์ไม่ได้โต้แย้งการคำนวณกำไรสุทธิดังกล่าวจึงต้องคิดภาษีไปตามนี้
เมื่อโจทก์ซึ่งมีสาขาในประเทศไทยได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รายนี้จากประเทศไทยก็เป็นการรับเงินในประเทศไทย โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับเงินจะต้องเสียอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฏากรมาตรา 105 เมื่อโจทก์ไม่ได้ออกใบรับตามความในมาตรา 105 ก็ต้องเสียเงินเพิ่มอากร 6 เท่าของเงินอากรตามมาตรา 114 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 111 หรือข้อยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีอากรตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28 ญเพราะมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องการทำตราสารและออกใบรับเงินในต่างประเทศต่างกับบทกรณีนี้
ประมวลรัษฎากร มาตรา 66 วรรคสองให้นิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและกระทำกิจการในประเทศไทยเสียภาษีในกำไรสุทธิ การคำนวณกำไรสุทธิให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับมาตรา 65 และ 65ทวิ ถ้าไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้ให้นำบทบัญญัติเรื่องการประเมินภาษีตามมาตรา 71(1) มาบังคับโดยอนุโลม แต่บทบัญญัติในมาตรา 65 และ 65ทวิดังกล่าวไม่ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้ของโจทก์โดยวิธีเทียบเคียงกับกำไรสุทธิตาม ภ.ง.ด.5ของสาขากรุงเทพฯแต่ละปี ดังนั้นที่เจ้าพนักงานประเมินอาศัยอำนาจตามมาตรา 71 วรรคสองทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้โดยใช้วิธีดังกล่าวจึงไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของโจทก์ในประเทศไทยการส่งดอกเบี้ยเงินกู้ออกไปจากประเทศไทยในกรณีนี้ ถ้าเงินดอกเบี้ยนั้นเป็นเงินกำไรก็เป็นการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย ซึ่งแม้ธนาคารโจทก์สาขากรุงเทพฯจะเป็นผู้ส่งหรือบริษัทจะเป็นผู้ส่งโดยผ่านธนาคารพาณิชย์ใดก็ตามแต่เมื่อธนาคารโจทก์เป็นผู้รับเงินดังกล่าวในต่างประเทศก็ถือว่าธนาคารโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินนั้น โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้อัตราร้อยละ 15 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 70ทวิ โจทก์ได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รวม 4 ปีคิดเป็นเงินไทย 28,621,195.78 บาท เจ้าพนักงานประเมินมิได้คิดภาษีจากจำนวนเงินดังกล่าว ได้คำนวณกำไรสุทธิให้ก่อนเป็นเงิน 16,145,964.22 บาท แล้วคิดภาษีจากเงินจำนวนนี้ เมื่อโจทก์ไม่ได้โต้แย้งการคำนวณกำไรสุทธิดังกล่าวจึงต้องคิดภาษีไปตามนี้
เมื่อโจทก์ซึ่งมีสาขาในประเทศไทยได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รายนี้จากประเทศไทยก็เป็นการรับเงินในประเทศไทย โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับเงินจะต้องเสียอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฏากรมาตรา 105 เมื่อโจทก์ไม่ได้ออกใบรับตามความในมาตรา 105 ก็ต้องเสียเงินเพิ่มอากร 6 เท่าของเงินอากรตามมาตรา 114 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 111 หรือข้อยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีอากรตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28 ญเพราะมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องการทำตราสารและออกใบรับเงินในต่างประเทศต่างกับบทกรณีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1535/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีของบริษัทต่างชาติมีสาขาในไทย: ดอกเบี้ยเงินกู้, การจำหน่ายกำไร, และอากรแสตมป์
โจทก์ไปจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดที่สหรัฐอเมริกา และมีสาขาที่กรุงเทพ ดังนี้โจทก์และสาขามีฐานะตามกฎหมายเป็นนิติบุคคลเดียวกัน ประมวลรัษฎากรมาตรา 76 ทวิ ให้ถือว่าโจทก์ประกอบกิจการในประเทศไทย เมื่อบริษัท ส. ในประเทศไทยกู้เงินจากโจทก์ที่สหรัฐอเมริกาและส่งดอกเบี้ยเงินกู้ไปให้ ดอกเบี้ยที่ส่งออกไปจากประเทศไทยดังกล่าวไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ เมื่อโจทก์ได้รับเงินนั้นแล้วถือว่าโจทก์ได้รับเงินได้ในประเทศไทย โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีตามประมวลรัษฎากร
ประมวลรัษฎากร มาตรา 66 วรรคสองให้นิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและกระทำกิจการในประเทศไทย เสียภาษีในกำไรสุทธิ การคำนวณกำไรสุทธิให้บัญญัติเช่นเดียวกับมาตรา 65 และ 65 ทวิ ถ้าไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้ ให้นำบทบัญญัติเรื่องการประเมินภาษีตามมาตรา 71 (1) มาบังคับโดยอนุโลม แต่บทบัญญัติในมาตรา 65 และ 65 ทวิ ดังกล่าวไม่ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้ของโจทก์โดยวิธีเทียบเคียงกับกำไรสุทธิตาม ภ.ง.ด.5 ของสาขากรุงเทพฯ แต่ละปี ดังนั้น ที่เจ้าพนักงานประเมินอาศัยอำนาจตามมาตรา 71 วรรคสอง ทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้โดยวิธีดังกล่าวจึงไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของโจทก์ในประเทศไทย การส่งดอกเบี้ยเงินกู้ออกไปจากประเทศไทยในกรณีนี้ ถ้าเงินดอกเบี้ยนั้นเป็นเงินกำไรก็เป็นจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย ซึ่งแม้ธนาคารโจทก์สาขากรุงเทพฯ จะเป็นผู้ส่งหรือบริษัทจะเป็นผู้ส่งโดยผ่านธนาคารพาณิชย์ใดก็ตาม แต่เมื่อธนาคารโจทก์เป็นผู้รับเงินดังกล่าวในต่างประเทศ ก็ถือว่าธนาคารโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินนั้น โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้อัตราร้อยละ 15 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 70 ทวิ โจทก์ได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รวม 4 ปี คิดเป็นเงินไทย 28,621,195.78 บาท เจ้าพนักงานประเมินมิได้คิดภาษีจากจำนวนเงินดังกล่าว ได้คำนวณกำไรสุทธิให้ก่อนเป็นเงิน 16,145,964.22 บาท แล้วคิดภาษีจากเงินจำนวนนี้ เมื่อโจทก์ไม่ได้โต้แย้งการคำนวณกำไรสุทธิดังกล่าว จึงต้องคิดภาษีไปตามนี้
เมื่อโจทก์ซึ่งมีสาขาในประเทศไทยได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รายนี้จากประเทศไทยก็เป็นการรับเงินในประเทศไทย โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับเงินจะต้องเสียอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 105 เมื่อโจทก์ไม่ได้ออกใบรับตามความในมาตรา 105 ก็ต้องเสียเงินเพิ่มอากร 6 เท่าของเงินอากร ตามมาตรา 114 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 111 หรือข้อยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีอากรตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28 ญ เพราะบทมาตราดังกล่าวเป็นเป็นเรื่องการทำตราสารและออกใบรับเงินในต่างประเทศต่างกับกรณีนี้
ประมวลรัษฎากร มาตรา 66 วรรคสองให้นิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและกระทำกิจการในประเทศไทย เสียภาษีในกำไรสุทธิ การคำนวณกำไรสุทธิให้บัญญัติเช่นเดียวกับมาตรา 65 และ 65 ทวิ ถ้าไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้ ให้นำบทบัญญัติเรื่องการประเมินภาษีตามมาตรา 71 (1) มาบังคับโดยอนุโลม แต่บทบัญญัติในมาตรา 65 และ 65 ทวิ ดังกล่าวไม่ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้ของโจทก์โดยวิธีเทียบเคียงกับกำไรสุทธิตาม ภ.ง.ด.5 ของสาขากรุงเทพฯ แต่ละปี ดังนั้น ที่เจ้าพนักงานประเมินอาศัยอำนาจตามมาตรา 71 วรรคสอง ทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้โดยวิธีดังกล่าวจึงไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของโจทก์ในประเทศไทย การส่งดอกเบี้ยเงินกู้ออกไปจากประเทศไทยในกรณีนี้ ถ้าเงินดอกเบี้ยนั้นเป็นเงินกำไรก็เป็นจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย ซึ่งแม้ธนาคารโจทก์สาขากรุงเทพฯ จะเป็นผู้ส่งหรือบริษัทจะเป็นผู้ส่งโดยผ่านธนาคารพาณิชย์ใดก็ตาม แต่เมื่อธนาคารโจทก์เป็นผู้รับเงินดังกล่าวในต่างประเทศ ก็ถือว่าธนาคารโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินนั้น โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้อัตราร้อยละ 15 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 70 ทวิ โจทก์ได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รวม 4 ปี คิดเป็นเงินไทย 28,621,195.78 บาท เจ้าพนักงานประเมินมิได้คิดภาษีจากจำนวนเงินดังกล่าว ได้คำนวณกำไรสุทธิให้ก่อนเป็นเงิน 16,145,964.22 บาท แล้วคิดภาษีจากเงินจำนวนนี้ เมื่อโจทก์ไม่ได้โต้แย้งการคำนวณกำไรสุทธิดังกล่าว จึงต้องคิดภาษีไปตามนี้
เมื่อโจทก์ซึ่งมีสาขาในประเทศไทยได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รายนี้จากประเทศไทยก็เป็นการรับเงินในประเทศไทย โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับเงินจะต้องเสียอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 105 เมื่อโจทก์ไม่ได้ออกใบรับตามความในมาตรา 105 ก็ต้องเสียเงินเพิ่มอากร 6 เท่าของเงินอากร ตามมาตรา 114 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 111 หรือข้อยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีอากรตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28 ญ เพราะบทมาตราดังกล่าวเป็นเป็นเรื่องการทำตราสารและออกใบรับเงินในต่างประเทศต่างกับกรณีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้ ภาษีการค้า และภาษีเทศบาลของตัวแทนบริษัทต่างประเทศที่ประกอบกิจการในไทย
ภาษีเงินได้นั้น ประมวลรัษฎากรมิได้บัญญัติมุ่งถึงการรับตัวเงินในที่ใดเลย หากให้พิเคราะห์ถึงผลที่ว่าบริษัทในต่างประเทศนั้นได้รับเงินหรือผลกำไรในประเทศไทยหรือไม่ คำว่าเงินได้หรือผลกำไรนั้น มิใช่ตัวเงินสด บริษัทในต่างประเทศจะได้รับในทางเครดิตหรือทางอื่นใดก็ตาม ถ้าเป็นเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทยแล้วก็ย่อมอยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
ข้อความในประมวลรัษฎากรที่ว่าในประเทศไทย นั้น หมายถึงกิจการที่ประกอบอันเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรนั้นได้กระทำในประเทศไทย หาใช่เงินได้หรือผลกำไรที่บริษัทต่างประเทศได้รับในประเทศไทยไม่
ภาษีการค้านั้น เมื่อบริษัทที่อยู่ต่างประเทศได้ประกอบหรือดำเนินการค้าในประเทศไทย โจทก์ซึ่งเป็นผู้กระทำการแทนจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบการค้าตามความหมายของประมวลรัษฎากรด้วย ฉะนั้น ผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าอย่างไร โจทก์ก็ต้องมีหน้าที่เสียอย่างนั้น
ภาษีเทศบาลนั้น เมื่อโจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรแล้ว โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเทศบาลด้วย
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2504)
ข้อความในประมวลรัษฎากรที่ว่าในประเทศไทย นั้น หมายถึงกิจการที่ประกอบอันเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรนั้นได้กระทำในประเทศไทย หาใช่เงินได้หรือผลกำไรที่บริษัทต่างประเทศได้รับในประเทศไทยไม่
ภาษีการค้านั้น เมื่อบริษัทที่อยู่ต่างประเทศได้ประกอบหรือดำเนินการค้าในประเทศไทย โจทก์ซึ่งเป็นผู้กระทำการแทนจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบการค้าตามความหมายของประมวลรัษฎากรด้วย ฉะนั้น ผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าอย่างไร โจทก์ก็ต้องมีหน้าที่เสียอย่างนั้น
ภาษีเทศบาลนั้น เมื่อโจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรแล้ว โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเทศบาลด้วย
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2504)