พบผลลัพธ์ทั้งหมด 59 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1426/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายที่ดินบางส่วนไม่ทำให้ภารจำยอมเดิมสิ้นสุดลง หากยังถือครองกรรมสิทธิ์ร่วมกัน
เจ้าของที่ดินซึ่งมีทางภารจำยอมโดยอายุความอยู่ก่อนแล้วโอนขายที่ดินบางส่วนให้แก่ผู้ซื้อโดยเติมชื่อผู้ซื้อลงในโฉนดร่วมกับตนดังนี้ ไม่เป็นเหตุทำให้ภารจำยอมซึ่งมีอยู่แต่เดิมสิ้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1426/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในที่ดินร่วมไม่กระทบสิทธิภารจำยอมเดิม
เจ้าของที่ดินที่ซึ่งมีทางภารจำยอมโดยอายุความอยู่ก่อนแล้ว โอนขายที่ดินบางส่วนให้แก่ผู้ซื้อโดยเติมผู้ซื้อลงในโฉนดร่วมกับตน ดังนี้ ไม่เป็นเหตุทำให้การจำยอมซึ่งมีอยู่แต่เดิมสิ้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความ: สิทธิในการใช้ทางเดินแม้ไม่มีการจดทะเบียน
โจทก์ใช้ตรอกพิพาทเป็นทางเดินเข้าออกจากที่ดินโจทก์สู่ทางสาธารณะมากว่าสิบปีแล้วตรอกพิพาทจึงตกอยู่ในภารจำยอมโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 และมิใช่เป็นการได้มาโดยนิติกรรมอันจะต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299
อายุความ 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1374เป็นเรื่องผู้ครอบครองถูกรบกวนในการครอบครองทรัพย์สินเพราะมีผู้สอดเข้าเกี่ยวข้อง มิใช่อายุความบังคับแก่เรื่องภารจำยอมซึ่งจะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1399
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 เป็นเรื่องให้เจ้าของที่ดินที่แบ่งแยกซึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินจากเจ้าของที่ดินที่แบ่งแยกไปได้เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีตรอกพิพาทเป็นทางภารจำยอมออกสู่ทางสาธารณะได้อยู่ก่อนแล้วจึงนำเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 มาปรับไม่ได้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันล้อมรั้วปิดตรอกพิพาทแม้จำเลยที่ 1 จะได้แบ่งขายที่ดินรวมทั้งตรอกพิพาทให้จำเลยร่วมอีกคนหนึ่งไปแล้วและจำเลยที่ 2 มิได้มีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมาก่อนโจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องจำเลยทั้งสองได้
อายุความ 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1374เป็นเรื่องผู้ครอบครองถูกรบกวนในการครอบครองทรัพย์สินเพราะมีผู้สอดเข้าเกี่ยวข้อง มิใช่อายุความบังคับแก่เรื่องภารจำยอมซึ่งจะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1399
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 เป็นเรื่องให้เจ้าของที่ดินที่แบ่งแยกซึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินจากเจ้าของที่ดินที่แบ่งแยกไปได้เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีตรอกพิพาทเป็นทางภารจำยอมออกสู่ทางสาธารณะได้อยู่ก่อนแล้วจึงนำเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 มาปรับไม่ได้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันล้อมรั้วปิดตรอกพิพาทแม้จำเลยที่ 1 จะได้แบ่งขายที่ดินรวมทั้งตรอกพิพาทให้จำเลยร่วมอีกคนหนึ่งไปแล้วและจำเลยที่ 2 มิได้มีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมาก่อนโจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความ: สิทธิใช้ทางเดินแม้ไม่ได้จดทะเบียน
โจทก์ใช้ตรอกพิพาทเป็นทางเดินเข้าออกจากที่ดินโจทก์สู่ทางสาธารณะมากกว่าสิบปีแล้วตรอกพิพาทจึงตกอยู่ในภารจำยอมโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 และมิใช่เป็นการได้มาโดยนิติกรรมอันจะต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299
อายุความ 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1374 เป็นเรื่องผู้ครอบครองถูกรบกวนในการครอบครองทรัพย์สินเพราะมีผู้สอดเข้าเกี่ยวข้อง มิใช่อายุความบังคับแก่เรื่องภารจำยอมซึ่งจะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1399
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1350 เป็นเรื่องให้เจ้าของที่ดินที่แบ่งแยกซึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินจากเจ้าของที่ดินที่แบ่งแยกไปได้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีตรอกพิพาทเป็นทางภารจำยอมออกสู่ทางสาธารณะได้อยู่ก่อนแล้ว จึงนำเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 มาปรับไม่ได้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันล้อมรั้วปิดตรอกพิพาท แม้จำเลยที่ 1 จะได้แบ่งขายที่ดินรวมทั้งตรอกพิพาทให้จำเลยร่วมอีกคนหนึ่งไปแล้ว และจำเลยที่ 2 มิได้มีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมาก่อน โจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องจำเลยทั้งสองได้
อายุความ 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1374 เป็นเรื่องผู้ครอบครองถูกรบกวนในการครอบครองทรัพย์สินเพราะมีผู้สอดเข้าเกี่ยวข้อง มิใช่อายุความบังคับแก่เรื่องภารจำยอมซึ่งจะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1399
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1350 เป็นเรื่องให้เจ้าของที่ดินที่แบ่งแยกซึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินจากเจ้าของที่ดินที่แบ่งแยกไปได้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีตรอกพิพาทเป็นทางภารจำยอมออกสู่ทางสาธารณะได้อยู่ก่อนแล้ว จึงนำเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 มาปรับไม่ได้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันล้อมรั้วปิดตรอกพิพาท แม้จำเลยที่ 1 จะได้แบ่งขายที่ดินรวมทั้งตรอกพิพาทให้จำเลยร่วมอีกคนหนึ่งไปแล้ว และจำเลยที่ 2 มิได้มีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมาก่อน โจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 178/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมสิ้นสุดลงเมื่อถูกปิดกั้นการใช้ประโยชน์นานเกินกว่า 15 ปี แม้จะกลับมาใช้ประโยชน์อีกก็ไม่ฟื้นคืนสภาพ
ทางซึ่งเคยตกเป็นภารจำยอมขนาดเกวียนเดินผ่านได้ แต่เจ้าของที่ปลูกกั้นไม่ให้เกวียนเดินมาช้านานถึง 15-16ปีย่อมสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1399คงเหลือแต่ภารจำยอมเฉพาะคนเดินเท่านั้น เมื่อสภาพแห่งภารจำยอมที่จะใช้เกวียนสิ้นไปแล้ว แม้จะกลับใช้เกวียนใหม่อีกเพียง 3 ปี ก็ไม่ทำให้ภารจำยอมกลับมีขึ้นอีกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1400 หรือ 1401และการวินิจฉัยข้อกฎหมายที่ว่า ภารจำยอมสิ้นไปแล้วโดยอายุความนี้ เป็นอายุความได้สิทธิและเสียสิทธิ ไม่ใช่อายุความฟ้องคดี ศาลจึงยกขึ้นเป็นประเด็นวินิจฉัยเองได้ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 193
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 178/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมสิ้นสุดลงเมื่อมีการหยุดใช้ทางเป็นระยะเวลานาน และขนาดทางไม่เอื้อต่อการใช้ประโยชน์เดิม
ทางซึ่งเคยตกเป็นภาระจำยอมขนาดเกวียนเดินผ่านได้แต่เจ้าของที่ปลูกกั้นไม่ให้เกวียนเดินมาช้านานถึง 15-16 ปี ย่อมสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1399 คงเหลือแต่ภาระจำยอมเฉพาะคนเดินเท่านั้น เมื่อสภาพแห่งภาระจำยอมที่จะใช้เกวียนสิ้นไปแล้ว แม้จะกลับใช้เกวียนใหม่อีกเพียง 3 ปี ก็ไม่ทำให้ภาระจำยอมกลับมีขึ้นอีก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1400 หรือ 1401
และการวินิจฉัยข้อกฎหมายที่ว่า ภาระจำยอมสิ้นไปแล้วโดยอายุความนี้เป็นอายุความได้สิทธิและเสียสิทธิ ไม่ใช่อายุความฟ้องคดี ศาลจึงยกขึ้นเป็นประเด็นวินิจฉัยเองได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 193
และการวินิจฉัยข้อกฎหมายที่ว่า ภาระจำยอมสิ้นไปแล้วโดยอายุความนี้เป็นอายุความได้สิทธิและเสียสิทธิ ไม่ใช่อายุความฟ้องคดี ศาลจึงยกขึ้นเป็นประเด็นวินิจฉัยเองได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 193
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมไม่สิ้นสุดแม้ผู้รับโอนได้กรรมสิทธิ์โดยสุจริต หากภารยทรัพย์ยังอยู่และมีการใช้สิทธิอย่างต่อเนื่อง
ภาระจำยอมจะสิ้นไปก็แต่เมื่อภารยทรัพย์หรือสามยทรัพย์สลายไปทั้งหมดหรือมิได้ใช้สิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1397,1399 และในลักษณะซื้อขายตาม มาตรา 480 ก็ยังบัญญัติว่า"ถ้าอสังหาริมทรัพย์ต้องแสดงว่าตกอยู่ในบังคับแห่งภาระจำยอมโดยกฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้ขายไม่ต้องรับผิด เว้นแต่ผู้ขายจะได้รับรองไว้ในสัญญาว่าทรัพย์นั้นปลอดจากภาระจำยอมอย่างใดๆ ทั้งสิ้นหรือปลอดจากภาระจำยอมอันนั้น"
ตาม มาตรา 1299 หมายถึงแต่กรณีที่บุคคลได้มาโดยสุจริตซึ่งทรัพย์สิทธิอันเดียวกันกับสิทธิที่ยังไม่ได้จดทะเบียน ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งมีภาระจำยอมติดอยู่ หาได้สิทธิในภาระจำยอมไปด้วยแต่อย่างไรไม่ สำหรับที่ดินอันเป็นภารยทรัพย์นั้น ภาระจำยอมที่มีอยู่เป็นแต่การรอนสิทธิตาม มาตรา 480 เท่านั้น ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภาระจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินนั้นต้องสิ้นไปหาได้ไม่ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2502)
ตาม มาตรา 1299 หมายถึงแต่กรณีที่บุคคลได้มาโดยสุจริตซึ่งทรัพย์สิทธิอันเดียวกันกับสิทธิที่ยังไม่ได้จดทะเบียน ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งมีภาระจำยอมติดอยู่ หาได้สิทธิในภาระจำยอมไปด้วยแต่อย่างไรไม่ สำหรับที่ดินอันเป็นภารยทรัพย์นั้น ภาระจำยอมที่มีอยู่เป็นแต่การรอนสิทธิตาม มาตรา 480 เท่านั้น ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภาระจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินนั้นต้องสิ้นไปหาได้ไม่ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมไม่สิ้นสุดแม้ผู้รับโอนซื้อโดยสุจริต หากภารยทรัพย์ยังคงอยู่และมีการใช้ต่อเนื่อง
ภาระจำยอมจะสิ้นไปก็แต่เมื่อภารยทรัพย์หรือสามยทรัพย์สลายไปทั้งหมดหรือมิได้ใช้สิบปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1397, 1399 และในลักษณะซื้อขายตาม มาตรา 480 ก็ยังบัญญัติว่า "ถ้าอสังหาริมทรัพย์ต้องแสดงว่าตกอยู่ในบังคับแห่งภาระจำยอมโดยกฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้ขายไม่ต้องรับผิด เว้นแต่ผู้ขายจะได้รับรองไว้ในสัญญาว่า ทรัพย์นั้นปลอดจากภาระจำยอมอย่างใด ๆ ทั้งสิ้นหรือปลอดจากภาระจำยอมอันนั้น"
ตาม มาตรา 1299 หมายถึงแต่กรณีที่บุคคลได้มาโดยสุจริตซึ่งทรัพย์สิทธิอันเดียวกันกับสิทธิที่ยังไม่ได้จดทะเบียน ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งมีภาระจำยอมติดอยู่ หาได้สิทธิในภาระจำยอมไปด้วย แต่อย่างไรไม่ สำหรับที่ดินอันเป็นภารยทรัพย์นั้น ภาระจำยอมที่มีอยู่เป็นแต่การรอนสิทธิตาม มาตรา 480 เท่านั้น ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภาระจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินนั้นต้องสิ้นไปหาได้ไม่
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2502)
ตาม มาตรา 1299 หมายถึงแต่กรณีที่บุคคลได้มาโดยสุจริตซึ่งทรัพย์สิทธิอันเดียวกันกับสิทธิที่ยังไม่ได้จดทะเบียน ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งมีภาระจำยอมติดอยู่ หาได้สิทธิในภาระจำยอมไปด้วย แต่อย่างไรไม่ สำหรับที่ดินอันเป็นภารยทรัพย์นั้น ภาระจำยอมที่มีอยู่เป็นแต่การรอนสิทธิตาม มาตรา 480 เท่านั้น ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภาระจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินนั้นต้องสิ้นไปหาได้ไม่
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 889/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมยังคงมีผลแม้มีทางอื่น หากทางอื่นไม่สะดวกเท่าเดิม
ทางอันเป็นภารจำยอมนั้นเมื่อยังถูกใช้เป็นทางเดินอยู่ แม้จะมีทางอื่นออกสู่ทางสาธารณะได้ก็ดี เมื่อปรากฏว่า ทางใหม่นี้ คับแคบไม่สะดวกแก่การไปมา เท่าทางภารจำยอมแล้ว ทางภารจำยอมนั้น จึงยังต้องเป็นทางภารจำยอมอยู่ หาใช่หมดสิ้นไปตามมาตรา 1400 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 889/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมยังคงมีอยู่แม้มีทางอื่น หากทางอื่นไม่สะดวกเท่า
ทางอันเป็นภาระจำยอมนั้นเมื่อยังถูกใช้เป็นทางเดินอยู่ แม้จะมีทางอื่นออกสู่ทางสาธารณะได้ก็ดี เมื่อปรากฏว่า ทางใหม่นี้ คับแคบไม่สดวกแก่การไปมา เท่าทางภาระจำยอมแล้ว ทางภาระจำยอมนั้น จึงยังต้องเป็นทางภาระจำยอมอยู่ หาใช่หมดสิ้นไปตามมาตรา 1400 แห่ง ป.ม.แพ่งฯ ไม่