พบผลลัพธ์ทั้งหมด 133 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6636/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมคบกันฉ้อฉลและยักย้ายทรัพย์มรดก ทำให้การซื้อฝากเป็นโมฆะ และตัดสิทธิการยกอายุความ
จำเลยที่ 2 รับซื้อฝากที่ดินพิพาทไว้จากจำเลยที่ 1 ผู้จัดการมรดกของ บ. โดยรู้อยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมรดกที่ยังมิได้แบ่งแก่โจทก์ทั้งหกผู้เป็นทายาทของ บ. อันเป็นการรับซื้อฝากไว้โดยไม่สุจริต เป็นการทำให้โจทก์ทั้งหกผู้เป็นทายาทซึ่งอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการสมคบกันทำการฉ้อฉลโจทก์ทั้งหก โจทก์ทั้งหกชอบที่จะร้องขอให้เพิกถอนการขายฝากระหว่างจำเลยทั้งสองได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237
จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ บ. อ้างว่าบ. มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเพียงคนเดียวคือ ย. ซึ่งไม่เป็นความจริง ความจริงบ. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันอีก 3 คน คือ ด. จ. และ ย. และเมื่อได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ได้โอนที่ดินพิพาทเป็นของตนเองแต่ผู้เดียว ไม่จัดการแบ่งปันแก่ทายาท โดยปกปิดเจ้าพนักงานที่ดินผู้ทำหน้าที่รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมว่าไม่มีทายาทอื่น การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการปิดบังและยักย้ายทรัพย์มรดก จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ต้องถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกของ บ. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1605
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ปิดบังและยักย้ายทรัพย์มรดก จำเลยที่ 1เป็นผู้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดก จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะยกอายุความมาตัดสิทธิโจทก์ทั้งหก สำหรับจำเลยที่ 2 นั้น ไม่ใช่บุคคลซึ่งเป็นทายาท จึงไม่อาจยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งหก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1755 ได้เช่นกัน
จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ บ. อ้างว่าบ. มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเพียงคนเดียวคือ ย. ซึ่งไม่เป็นความจริง ความจริงบ. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันอีก 3 คน คือ ด. จ. และ ย. และเมื่อได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ได้โอนที่ดินพิพาทเป็นของตนเองแต่ผู้เดียว ไม่จัดการแบ่งปันแก่ทายาท โดยปกปิดเจ้าพนักงานที่ดินผู้ทำหน้าที่รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมว่าไม่มีทายาทอื่น การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการปิดบังและยักย้ายทรัพย์มรดก จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ต้องถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกของ บ. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1605
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ปิดบังและยักย้ายทรัพย์มรดก จำเลยที่ 1เป็นผู้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดก จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะยกอายุความมาตัดสิทธิโจทก์ทั้งหก สำหรับจำเลยที่ 2 นั้น ไม่ใช่บุคคลซึ่งเป็นทายาท จึงไม่อาจยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งหก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1755 ได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6636/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมคบกันฉ้อฉลในการซื้อขายฝากที่ดินมรดก และการกำจัดทายาทออกจากกองมรดก
จำเลยที่2รับซื้อฝากที่ดินพิพาทไว้จากจำเลยที่1ผู้จัดการมรดกของบ. โดยรู้อยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมรดกที่ยังมิได้แบ่งแก่โจทก์ทั้งหกผู้เป็นทายาทของบ. อันเป็นการรับซื้อฝากไว้โดยไม่สุจริตเป็นการทำให้โจทก์ทั้งหกผู้เป็นทายาทซึ่งอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบการกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการสมคบกันทำการฉ้อฉลโจทก์ทั้งหกโจทก์ทั้งหกชอบที่จะร้องขอให้เพิกถอนการขายฝากระหว่างจำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237 จำเลยที่1ได้ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของบ.อ้างว่าบ. มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเพียงคนเดียวคือย.ซึ่งไม่เป็นความจริงความจริงบ. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันอีก3คนคือด.จ.และย. และเมื่อได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกแล้วจำเลยที่1ก็ได้โอนที่ดินพิพาทเป็นของตนเองแต่ผู้เดียวไม่จัดการแบ่งปันแก่ทายาทโดยปกปิดเจ้าพนักงานที่ดินผู้ทำหน้าที่รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมว่าไม่มีทายาทอื่นการกระทำของจำเลยที่1จึงเป็นการปิดบังและยักย้ายทรัพย์มรดกจำเลยที่1จึงเป็นผู้ต้องถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกของบ. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1605 จำเลยที่1เป็นผู้ปิดบังและและยักย้ายทรัพย์มรดกจำเลยที่1เป็นผู้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกจึงไม่อยู่ในฐานะที่จะยกอายุความมาตัดสิทธิโจทก์ทั้งหกสำหรับจำเลยที่2นั้นไม่ใช่บุคคลซึ่งเป็นทายาทจึงไม่อาจยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งหกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1755ได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1205/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และสิทธิในการยกอายุความของผู้ซื้อฝากจากทายาทเจ้ามรดก
แม้โจทก์จะไม่ใช่ทายาทของเจ้ามรดก แต่โจทก์เป็นผู้ซื้อฝากทรัพย์พิพาทจากจำเลยซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดก โจทก์จึงย่อมมีสิทธิที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้กับผู้ร้องสอดที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกเช่นกันได้ แม้ผู้ร้องสอดที่ 2 ถึงที่ 5 จะไม่ทราบเรื่องจำเลยนำทรัพย์พิพาทไปขายฝากให้โจทก์ก็ไม่ทำให้สิทธิดังกล่าวของโจทก์เสียไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4254/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์มรดก: บุคคลภายนอกครอบครองทรัพย์สิน ไม่ใช่ทายาท ไม่ติดอายุความมรดก ต้องคืนหนังสือรับรองการทำประโยชน์
เมื่อปรากฏว่าจำเลยมิใช่ทายาทและไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายเป็นเพียงแต่บุคคลอื่นที่ครอบครองทรัพย์สินของผู้ตาย โจทก์ซึ่งเป็นทายาทไม่จำต้องเรียกร้องเอาทรัพย์คืนภายใน 1 ปีตามอายุความมรดก เมื่อจำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของผู้ตาย จำเลยทั้งสองก็ไม่มีสิทธิที่จะยึดหน่วงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินพิพาทได้จึงต้องคืนให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3683/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายทรัพย์มรดกและสินสมรส, อายุความมรดก, สิทธิของทายาทและผู้รับโอน
การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภริยาที่อยู่กินกันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ต้องแบ่งกันตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย เมื่อต่างฝ่ายต่างไม่มีสินเดิม ฝ่ายชายได้ 2 ส่วนฝ่ายหญิงได้ 1 ส่วน
การยกให้ที่ดินที่ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นการไม่ปฏิบัติตามแบบที่กฎหมายกำหนด จึงไม่สมบูรณ์ สำหรับปัญหาการครอบครองปรปักษ์นั้น มิใช่เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาในศาลล่าง ต้องห้ามมิให้ฎีกา จึงไม่รับวินิจฉัย
สินสมรสในส่วนของ ป. นั้น แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้จัดการมรดกของ ท. สามีของป. จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิที่จะจัดการจำหน่ายจ่ายโอนได้เพราะมิใช่มรดกของ ท. การที่จำเลยที่ 1โอนทรัพย์สินส่วนนี้ของ ป.ให้แก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 โอนให้จำเลยที่ 3 ต่อมา จึงไม่มีผลให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนนี้เปลี่ยนแปลงไป โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่
สำหรับสินสมรสส่วนของ ท.นั้น เป็นมรดกของ ท. ซึ่ง ป.ภริยาของ ท. กับจำเลยที่ 1 น้องของ ท.มีสิทธิได้รับคนละกึ่งหนึ่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1635 (2) จำเลยที่ 1ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ท.มีสิทธิและหน้าที่ในการจัดการทรัพย์มรดกของ ท.โดยทายาทย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันผู้จัดการมรดกได้ทำไปภายในขอบอำนาจตามป.พ.พ. มาตรา 1724 การขายทรัพย์มรดกเป็นเรื่องอยู่ภายในขอบอำนาจของผู้จัดการมรดกอย่างหนึ่งดังที่ ป.พ.พ. มาตรา 1736 และมาตรา 1740 บัญญัติให้อำนาจไว้ แต่ถ้าผู้จัดการมรดกโอนขายทรัพย์มรดกให้แก่ผู้อื่นโดยไม่สุจริตหรือโดยสมยอมกัน ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกซึ่งอยู่ในฐานะเจ้าหนี้และเป็นฝ่ายต้องเสียเปรียบ ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237
จำเลยที่ 3 รับโอนที่ดิน น.ส.3 ก. ซึ่งเป็นสินสมรสของ ท.และ ป.จากจำเลยที่ 2 โดยไม่ปรากฏว่าได้สมรู้หรือคบคิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 หรือรับโอนโดยไม่สุจริตอย่างไร ทั้งเป็นการรับโอนโดยมีค่าตอบแทน แม้การโอนก่อนหน้านี้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จะไม่สุจริต ก็ไม่อาจเพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ในส่วนที่เป็นมรดกของ ท.ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 238 คงต้องเพิกถอนเฉพาะการโอนในส่วนที่เป็นสินสมรสส่วนของ ป. 1 ส่วน เท่านั้น
จำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินมีโฉนดซึ่งเป็นสินสมรสของ ท.และ ป. จากจำเลยที่ 1 โดยทราบว่ายังมีผู้อื่นนอกจากจำเลยที่ 1 ที่มีสิทธิรับมรดกของ ท. และจำเลยที่ 1ยังมิได้จัดการแบ่งปันให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิ จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต โจทก์ผู้รับมรดกแทนที่ของทายาทจึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนได้ แต่อย่างไรก็ตามจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้โอนในฐานะผู้จัดการมรดกมีส่วนได้ทรัพย์มรดกรายนี้ในฐานะทายาทด้วยครึ่งหนึ่ง จึงให้เพิกถอนการโอนเฉพาะในส่วนที่เกินสิทธิของจำเลยที่ 1 เท่านั้น ซึ่งจำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินโฉนดนี้ไม่เต็มทั้งแปลงโดยรับโอนเพียง 16 ไร่เศษ ในจำนวน 22 ไร่เศษ กล่าวคือต้องเพิกถอนการโอนเฉพาะส่วนที่เกิน 1 ใน 3 ส่วน ของที่ดิน และเมื่อนำส่วนที่เพิกถอนไปรวมกับส่วนที่จำเลยที่ 1รับโอนไว้เองจำนวน 6 ไร่แล้ว ได้จำนวน 2 ใน 3 ส่วน ครบจำนวนตามสิทธิของโจทก์
จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับโอนทรัพย์มรดกมาจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกจึงเป็นบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของผู้จัดการมรดกยกอายุความมรดกขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1755 แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับสินสมรสส่วนของ ป. 1 ส่วนนั้น ไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ ท.จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่อาจอ้างอายุความมรดกมาตัดสิทธิ ป.เจ้าของหรือโจทก์ซึ่งเป็นทายาทของเจ้าของในการติดตามเอาทรัพย์สินคืน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 เกี่ยวกับสินสมรสส่วนของ ท. 2 ส่วน ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ท.นั้น การที่จำเลยที่ 1 ครอบครองทรัพย์มรดกในระหว่างจัดการ ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาท จำเลยที่ 1 จะยกอายุความ 1 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้ทายาทไม่ได้
การยกให้ที่ดินที่ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นการไม่ปฏิบัติตามแบบที่กฎหมายกำหนด จึงไม่สมบูรณ์ สำหรับปัญหาการครอบครองปรปักษ์นั้น มิใช่เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาในศาลล่าง ต้องห้ามมิให้ฎีกา จึงไม่รับวินิจฉัย
สินสมรสในส่วนของ ป. นั้น แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้จัดการมรดกของ ท. สามีของป. จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิที่จะจัดการจำหน่ายจ่ายโอนได้เพราะมิใช่มรดกของ ท. การที่จำเลยที่ 1โอนทรัพย์สินส่วนนี้ของ ป.ให้แก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 โอนให้จำเลยที่ 3 ต่อมา จึงไม่มีผลให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนนี้เปลี่ยนแปลงไป โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่
สำหรับสินสมรสส่วนของ ท.นั้น เป็นมรดกของ ท. ซึ่ง ป.ภริยาของ ท. กับจำเลยที่ 1 น้องของ ท.มีสิทธิได้รับคนละกึ่งหนึ่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1635 (2) จำเลยที่ 1ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ท.มีสิทธิและหน้าที่ในการจัดการทรัพย์มรดกของ ท.โดยทายาทย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันผู้จัดการมรดกได้ทำไปภายในขอบอำนาจตามป.พ.พ. มาตรา 1724 การขายทรัพย์มรดกเป็นเรื่องอยู่ภายในขอบอำนาจของผู้จัดการมรดกอย่างหนึ่งดังที่ ป.พ.พ. มาตรา 1736 และมาตรา 1740 บัญญัติให้อำนาจไว้ แต่ถ้าผู้จัดการมรดกโอนขายทรัพย์มรดกให้แก่ผู้อื่นโดยไม่สุจริตหรือโดยสมยอมกัน ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกซึ่งอยู่ในฐานะเจ้าหนี้และเป็นฝ่ายต้องเสียเปรียบ ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237
จำเลยที่ 3 รับโอนที่ดิน น.ส.3 ก. ซึ่งเป็นสินสมรสของ ท.และ ป.จากจำเลยที่ 2 โดยไม่ปรากฏว่าได้สมรู้หรือคบคิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 หรือรับโอนโดยไม่สุจริตอย่างไร ทั้งเป็นการรับโอนโดยมีค่าตอบแทน แม้การโอนก่อนหน้านี้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จะไม่สุจริต ก็ไม่อาจเพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ในส่วนที่เป็นมรดกของ ท.ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 238 คงต้องเพิกถอนเฉพาะการโอนในส่วนที่เป็นสินสมรสส่วนของ ป. 1 ส่วน เท่านั้น
จำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินมีโฉนดซึ่งเป็นสินสมรสของ ท.และ ป. จากจำเลยที่ 1 โดยทราบว่ายังมีผู้อื่นนอกจากจำเลยที่ 1 ที่มีสิทธิรับมรดกของ ท. และจำเลยที่ 1ยังมิได้จัดการแบ่งปันให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิ จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต โจทก์ผู้รับมรดกแทนที่ของทายาทจึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนได้ แต่อย่างไรก็ตามจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้โอนในฐานะผู้จัดการมรดกมีส่วนได้ทรัพย์มรดกรายนี้ในฐานะทายาทด้วยครึ่งหนึ่ง จึงให้เพิกถอนการโอนเฉพาะในส่วนที่เกินสิทธิของจำเลยที่ 1 เท่านั้น ซึ่งจำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินโฉนดนี้ไม่เต็มทั้งแปลงโดยรับโอนเพียง 16 ไร่เศษ ในจำนวน 22 ไร่เศษ กล่าวคือต้องเพิกถอนการโอนเฉพาะส่วนที่เกิน 1 ใน 3 ส่วน ของที่ดิน และเมื่อนำส่วนที่เพิกถอนไปรวมกับส่วนที่จำเลยที่ 1รับโอนไว้เองจำนวน 6 ไร่แล้ว ได้จำนวน 2 ใน 3 ส่วน ครบจำนวนตามสิทธิของโจทก์
จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับโอนทรัพย์มรดกมาจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกจึงเป็นบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของผู้จัดการมรดกยกอายุความมรดกขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1755 แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับสินสมรสส่วนของ ป. 1 ส่วนนั้น ไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ ท.จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่อาจอ้างอายุความมรดกมาตัดสิทธิ ป.เจ้าของหรือโจทก์ซึ่งเป็นทายาทของเจ้าของในการติดตามเอาทรัพย์สินคืน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 เกี่ยวกับสินสมรสส่วนของ ท. 2 ส่วน ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ท.นั้น การที่จำเลยที่ 1 ครอบครองทรัพย์มรดกในระหว่างจัดการ ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาท จำเลยที่ 1 จะยกอายุความ 1 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้ทายาทไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2270/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยา และสิทธิในการเพิกถอนนิติกรรมหลังการเสียชีวิต
ขณะโจทก์ที่ 3 ยื่นฟ้องคดีสำนวนหลังปรากฏว่าผู้จัดการมรดกตายไปแล้ว 2 คน คงเหลือผู้จัดการมรดก 3 คน คือจำเลยที่ 1 ก.และ ส.สำหรับก.และส. มิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสามและไม่ได้ปฏิเสธว่าจะไม่จัดการแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ทั้งสามคงมีจำเลยที่ 1 ที่ไม่ยอมแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ทั้งสามถือได้ว่าจำเลยที่ 1 โต้แย้งสิทธิโจทก์ทั้งสาม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์ทั้งสามชอบที่จะฟ้องจำเลยที่ 1 เพียงคนเดียวได้ อายุความตามมาตรา 1754 นั้น จะยกขึ้นต่อสู้ได้ก็แต่โดยบุคคลซึ่งเป็นทายาทหรือบุคคลซึ่งชอบจะใช้สิทธิของทายาทหรือโดยผู้จัดการมรดกตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1755 โจทก์ทั้งสามเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ ท. จำเลยที่ 1 มิใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ ท. เป็นแต่เพียงผู้จัดการมรดกซึ่งมีหน้าที่จัดการมรดกโดยทั่วไปเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก ทั้งยังต้องรับผิดต่อทายาทตามมาตรา 1720 ในลักษณะตัวแทน การที่จำเลยที่ 1 ใส่ชื่อของตนในฐานะผู้จัดการมรดกของ ท. ลงในสารบัญจดทะเบียนที่ดินทรัพย์มรดกก็เพื่อประโยชน์ในการแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาทนั่นเอง จึงเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกของ ท. แทนทายาทด้วยกันทุกคน จำเลยที่ 1หามีสิทธิยกอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของ ท. ไม่ แม้จะถือว่าสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกของ ท. มีหลักฐานเป็นหนังสือและมีลายมือชื่อทายาทบางคน ก็คงมีผลสมบูรณ์และใช้บังคับได้เฉพาะคู่สัญญาที่ลงชื่อไว้ โจทก์ทั้งสามมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญาดังกล่าว จึงไม่ต้องถูกผูกพันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1750 วรรคสอง ท.กับช. เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ขณะสมรสกัน ช. มีสินเดิมอยู่ด้วย ซ. จึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งจากสินสมรส 1 ใน 3 ส่วนตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 ขณะ ท.ได้จำเลยที่2เป็นภริยาคนที่2ท.มีซ. เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายและมีบุตรด้วยกันหลายคนแล้ว ทั้งขณะนั้นท.มีฐานะร่ำรวยมากขึ้นเมื่อจำเลยที่2เป็นภริยาท.ก็ช่วยเหลือทำงานในฐานะแม่บ้าน ไม่ใช่ผู้อยู่ในฐานะเป็นหุ้นส่วนร่วมในการประกอบการค้ากับ ท. ประกอบกับเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าทรัพย์พิพาททั้งหมดมิได้เกิดจากการที่จำเลยที่ 2 ทำมาหาได้ร่วมกับท. จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงมิได้ฎีกาโต้แย้งในข้อนี้ จึงต้องถูกผูกพันตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยที่ 2จึงไม่มีส่วนแบ่งในทรัพย์พิพาท ท. โอนที่ดินแปลงพิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยไม่มีหนี้ต่อกันเมื่อปรากฏว่าที่ดินแปลงพิพาทเป็นสินสมรสระหว่าง ท.กับซ.อันถือได้ว่าเป็นสินบริคณห์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พ.ศ. 2477 มาตรา 1462 แม้ตามปกติสามีจะมีอำนาจจำหน่ายสินบริคณห์ได้ก็ตาม แต่หากเป็นการให้โดยเสน่หาก็ต้องได้รับความยินยอมจากภริยาก่อน เว้นแต่เป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสมาคม ตามมาตรา 1473(3) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พ.ศ. 2477 โดยเฉพาะกรณีนี้เป็นการให้สินบริคณห์ที่เป็นที่ดินมีโฉนดซึ่งตามกฎหมายให้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจาก ซ. ภริยาด้วย ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 1476 การที่ท. โอนที่ดินแปลงพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นภริยาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมทั้งที่ดินแปลงพิพาทมีราคาสูงอันเกินกว่าจะให้ในทางสมาคม ท.จึงไม่มีอำนาจโอนที่ดินแปลงพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และสิทธิของ ซ.ในการขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินแปลงพิพาทดังกล่าวเป็นสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สิน มิใช่การเฉพาะตัว โจทก์ทั้งสามในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ ซ. มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินแปลงพิพาทดังกล่าวทั้งหมดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3741/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองบุตรโดยพฤตินัย อำนาจจัดการสินส่วนตัว และสิทธิในการรับมรดกของทายาท
การที่ ผ. เป็นผู้ไปแจ้งการเกิดของโจทก์โดยระบุว่าตนเองเป็นบิดา ยินยอมรับโจทก์ว่าเป็นบุตรอยู่ในทะเบียนบ้าน และระหว่างสงครามก็พาโจทก์และภรรยาอพยพครอบครัวไปด้วยกัน พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์เป็นบุตรที่ ผ. รับรองแล้ว ทรัพย์มรดกของ ผ. เป็นสินส่วนตัวของโจทก์ การที่โจทก์ฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดกดังกล่าว จึงเป็นการจัดการสินส่วนตัวของโจทก์ ซึ่งโจทก์มีอำนาจจัดการเองได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี ผู้ที่จะยกอายุความ 1 ปี ขึ้นต่อสู้ได้ก็แต่เฉพาะทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นเพียงน้องเจ้ามรดก ไม่มีสิทธิได้รับมรดกเพราะยังมีโจทก์ซึ่งเป็นบุตรและเป็นทายาทลำดับเหนือกว่าอยู่ จำเลยจะยกเอาอายุความมรดกมาต่อสู้โจทก์ผู้เป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกหาได้ไม่ เหตุที่จำเลยฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดกของ ผ.จากอ.ผู้จัดการมรดกเพราะเข้าใจโดยสุจริตว่าโจทก์ได้หายสาบสูญไปจำเลยจึงมีสิทธิที่จะเรียกเอาเงินค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จำเลยต้องออกไปตามความจำเป็นในการจัดการทรัพย์มรดก โดยถือเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหลายอันควรแก่การรักษาทรัพย์สิน รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการทำศพ ผ.ด้วย ส่วนค่าใช้จ่ายและค่าผลประโยชน์ของจำเลยนั้น จำเลยหามีสิทธิทีจะนำมาหักไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนทรัพย์มรดกจากทายาท: เริ่มนับเมื่อรู้ถึงการเสียชีวิตของเจ้ามรดก
โจทก์เป็นบุตรของเจ้ามรดกซึ่งเกิดกับ ส. แต่ขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายโจทก์ยังไม่คลอด คงมีแต่ ม. มารดาของเจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ ม. จึงเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629(2) หลังจาก ส. มารดาโจทก์คลอด โจทก์แล้วโจทก์โดย ส. ซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมได้ฟ้องจำเลยทั้งสี่ว่า ส. มารดาโจทก์กับ ม. มารดาเจ้ามรดก ซึ่งต่างเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล ไม่มีอำนาจทำสัญญาแบ่งมรดกของเจ้ามรดก โจทก์จึงขอเรียกทรัพย์มรดกส่วนที่ ม.รับไปคืนจากจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นผู้รับโอน ดังนี้ เป็นการฟ้องเรียกทรัพย์มรดกคืนจากทายาท ต้องฟ้องภายในกำหนดอายุความ 1 ปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตายหรือนับแต่เมื่อโจทก์ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 เมื่อศาลมีคำสั่งว่าโจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2522 ขณะนั้นโจทก์มี ส.มารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมถือได้ว่าโจทก์โดย ส. ได้รู้หรือควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดกตั้งแต่วันดังกล่าว โจทก์มาฟ้องเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2525 เกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความจำเลยทั้งสี่เป็นผู้รับโอนทรัพย์มรดกจาก ม. ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมย่อมเป็นบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาทยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1755.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนทรัพย์มรดกจากทายาทและผู้รับโอน โดยพิจารณาจากวันที่รู้หรือควรรู้ถึงการเสียชีวิตของเจ้ามรดก
โจทก์ฟ้องว่า มารดาโจทก์กับ ม. ซึ่ง เป็นมารดาของเจ้ามรดกไม่มีอำนาจทำสัญญาแบ่งมรดก จึงขอเรียกทรัพย์มรดกส่วนที่ ม. รับไปคืนจากจำเลยทั้งสี่ซึ่ง เป็นผู้รับโอนเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกคืนจากทายาท ต้อง ฟ้องภายในกำหนดอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754
ในขณะที่ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์เป็นบุตรชอบด้วย กฎหมายของเจ้ามรดกนั้นโจทก์มีมารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม ถือได้ว่าโจทก์โดย มารดารู้หรือควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดกตั้งแต่ วันดังกล่าว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เกิน 1 ปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
จำเลยทั้งสี่เป็นผู้รับโอนทรัพย์มรดกจาก ม. ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก ย่อมเป็นบุคคลซึ่ง ชอบที่จะใช้ สิทธิของทายาทยกอายุความขึ้นต่อสู้ โจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1755
ในขณะที่ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์เป็นบุตรชอบด้วย กฎหมายของเจ้ามรดกนั้นโจทก์มีมารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม ถือได้ว่าโจทก์โดย มารดารู้หรือควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดกตั้งแต่ วันดังกล่าว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เกิน 1 ปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
จำเลยทั้งสี่เป็นผู้รับโอนทรัพย์มรดกจาก ม. ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก ย่อมเป็นบุคคลซึ่ง ชอบที่จะใช้ สิทธิของทายาทยกอายุความขึ้นต่อสู้ โจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1755
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนทรัพย์มรดก: ทายาทผู้รับโอนสิทธิยกอายุความได้
โจทก์ฟ้องว่า มารดาโจทก์กับ ม. ซึ่ง เป็นมารดาของเจ้ามรดกไม่มีอำนาจทำสัญญาแบ่งมรดก จึงขอเรียกทรัพย์มรดกส่วนที่ ม. รับไปคืนจากจำเลยทั้งสี่ซึ่ง เป็นผู้รับโอนเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกคืนจากทายาท ต้อง ฟ้องภายในกำหนดอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ในขณะที่ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์เป็นบุตรชอบด้วย กฎหมายของเจ้ามรดกนั้นโจทก์มีมารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม ถือได้ว่าโจทก์โดย มารดารู้หรือควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดกตั้งแต่ วันดังกล่าว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เกิน 1 ปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ จำเลยทั้งสี่เป็นผู้รับโอนทรัพย์มรดกจาก ม. ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก ย่อมเป็นบุคคลซึ่ง ชอบที่จะใช้ สิทธิของทายาทยกอายุความขึ้นต่อสู้ โจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1755.