คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1755

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 133 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 360/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลบังคับใช้ของสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกและการครอบครองทรัพย์สินตามสัญญา
สัญญาแบ่งทรัพย์มรดกมีผลบังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750.
ฟ้องบรรยายว่าบรรดาทายาทนำพินัยกรรมไปให้เจ้าพนักงานอำเภอเปิดและยินยอมทำบันทึกประนีประนอมแบ่งทรัพย์ตามพินัยกรรมระหว่างทายาท โจทก์ได้ที่ดินแปลงพิพาท ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์. ดังนี้ เป็นการฟ้องขอให้ศาลแสดงว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ตามสัญญาแบ่งทรัพย์. และเมื่อทำสัญญาแล้ว โจทก์ก็ครอบครองที่พิพาทตลอดมา. เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องขอแบ่งมรดก. จำเลยจึงอ้างเอาอายุความมรดกมาบังคับแก่คดีไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1286/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครอง และผลของการเป็นสามีภรรยาไม่ชอบด้วยกฎหมายต่อการอ้างอายุความ
ที่พิพาทเป็นที่ดินมีโฉนด แม้สามีโจทก์ซึ่งตายไปแล้วและโจทก์จะได้รับมรดกและครอบครองมาเกิน 1 ปี แต่เมื่อยังครอบครองไม่ถึง 10 ปี โจทก์ก็ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์และเมื่อปรากฏว่าโจทก์มิได้เป็นภรรยาโดยชอยด้วยกฎหมายด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะยกอายุความมรดก 1 ปีอ้างยันต่อจำเลยซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1286/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการขาดสิทธิในการอ้างอายุความมรดกของบุคคลที่ไม่ได้เป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมาย
ที่พิพาทเป็นที่ดินมีโฉนด แม้สามีโจทก์ซึ่งตายไปแล้ว และโจทก์จะได้รับมรดกและครอบครองมาเกิน 1 ปี แต่เมื่อยังครอบครองไม่ถึง 10 ปี โจทก์ก็ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์และเมื่อปรากฏว่าโจทก์มิได้เป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะยกอายุความมรดก 1 ปีอ้างยันต่อจำเลยซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 787/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ การครอบครองปรปักษ์ และการอ้างสิทธิมรดก
ที่ว่า 'สัญญาเช่าซื้อนั้น ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือท่านว่าเป็นโมฆะ' นั้นหมายถึงว่าคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต้องทำหนังสือสัญญานั้นขึ้นด้วยกันจึงจะผูกพันกันสัญญาเช่าซื้อที่มีแต่ผู้เช่าซื้อลงชื่อเพียงฝ่ายเดียวจึงไม่ผูกพันเจ้าของทรัพย์ที่ถูกอ้างว่าให้เช่าซื้อ
เมื่อฟ้องเรียกทรัพย์มรดกเกินกว่า 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตายทายาทผู้ครอบครองทรัพย์มรดกนั้นอยู่ย่อมยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้ และผู้รับมรดกจากทายาทย่อมอ้างสิทธิของทายาทผู้ครอบครองทรัพย์นั้นเป็นข้อต่อสู้ทายาทผู้ฟ้องเรียกมรดกได้เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 787/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือชัดเจน และผลของการครอบครองทำประโยชน์เกิน 10 ปี ต่อการรับมรดก
ที่ว่า "สัญญาเช่าซื้อนั้น ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือท่านว่าเป็นโมฆะ" นั้น หมายถึงว่า คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต้องทำหนังสือสัญญานั้นขึ้นด้วย จึงจะผูกพันกันสัญญาเช่าซื้อที่มีแต่ผู้เช่าซื้อลงชื่อเพียงฝ่ายเดียวจึงไม่ผูกพันเจ้าของทรัพย์ที่ถูกอ้างว่าให้เช่าซื้อ
เมื่อฟ้องเรียกทรัพย์มรดกเกินกว่า 1 ปีนับแต่เจ้ามรดกตาย ทายาทผู้ครอบครองทรัพย์มรดกนั้นอยู่ย่อมยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้ และผู้รับมรดกจากทายาทย่อมอ้างสิทธิของทายาทผู้ครอบครองทรัพย์นั้นเป็นข้อต่อสู้ทายาทผู้ฟ้องเรียกมรดกได้เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1637/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดก: ทายาทถูกตัดสิทธิมิให้รับมรดก ย่อมไม่อาจยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้
อายุความที่ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นั้น ผู้ที่จะยกขึ้นต่อสู้ได้ก็แต่เฉพาะทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกด้วยเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อจำเลยซึ่งเป็นน้องของเจ้ามรดกถูกโจทก์ซึ่งเป็นบุตรเจ้ามรดกตัดมิให้จำเลยรับมรดกเสียแล้ว จำเลยจึงย่อมยกอายุความมรดกดังกล่าวขึ้นต่อสู้กับโจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1637/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดกและการตัดมรดก: สิทธิในการยกอายุความเฉพาะทายาทผู้มีสิทธิเท่านั้น
อายุความที่ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนด 1 ปีนั้น ผู้ที่จะยกขึ้นต่อสู้ได้ก็แต่เฉพาะทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกด้วยเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อจำเลยซึ่งเป็นน้องของเจ้ามรดก ถูกโจทก์ซึ่งเป็นบุตรเจ้ามรดกตัดมิให้จำเลยรับมรดกเสียแล้ว จำเลยจึงย่อมยกอายุความมรดกดังกล่าวขึ้นต่อสู้กับโจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1569/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันหนี้หลังเจ้ามรดกเสียชีวิต และผลของการสละสิทธิอายุความมรดก
การแปลงหนี้โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 350นั้น ลูกหนี้เดิมจะต้องมีตัวอยู่และจะต้องกระทำโดยไม่ขืนใจลูกหนี้เดิม ถ้าลูกหนี้เดิมตายไปเสียแล้ว กรณีก็ไม่ใช่การแปลงหนี้
เมื่อลูกหนี้เงินกู้ตายไปแล้ว จำเลยได้ทำสัญญาให้โจทก็ไว้ในแบบพิมพ์สัญญาค้ำประกันให้ไว้ต่อเจ้าหนี้ว่า ตามที่ลูกหนี้ได้กู้เงินไปนั้น ลูกหนี้ตายไปแล้ว จำเลยยอมใช้ต้นเงินดอกเบี้ยให้เจ้าหนี้ ดังนี้ เป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่จะค้ำประกันหนี้
การที่จำเลยได้กำหนดเวลาชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาซึ่งเกินกว่า 1 ปีนับแต่วันที่ลูกหนี้ตาย เป็นการสละข้อต่อสู้ในเรื่องอายุความมรดกซึ่งทายาทจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ ฉะนั้น แม้เจ้าหนี้จะหมดสิทธิเรียกร้องจากทายาทเพราะคดีขาดอายุความแล้ว ก็หาทำให้จำเลยยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้หรือหลุดพ้นความรับผิดไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 ด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1569/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต และผลของการสละสิทธิอายุความมรดก
การแปลงหนี้โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 350 นั้น ลูกหนี้เดิมจะต้องมีตัวอยู่และจะต้องกระทำโดยไม่ขืนใจลูกหนี้เดิม ถ้าลูกหนี้เดิมตายไปเสียแล้ว กรณีก็ไม่ใช่การแปลงหนี้
เมื่อลูกหนี้เงินกู้ตายไปแล้ว จำเลยได้ทำสัญญาให้โจทก์ไว้ในแบบพิมพ์สัญญาค้ำประกันด้านหลังสัญญากู้รายนี้ ความว่า ขอทำสัญญาค้ำประกันให้ไว้ต่อเจ้าหนี้ว่า ตามที่ลูกหนี้ได้กู้เงินไปนั้น ลูกหนี้ตายไปแล้ว จำเลยยอมใช้ต้นเงินดอกเบี้ยให้เจ้าหนี้ ดังนี้ เป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่จะค้ำประกันหนี้
การที่จำเลยได้กำหนดเวลาชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาซึ่งเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่ลูกหนี้ตาย เป็นการสละข้อต่อสู้ในเรื่องอายุความมรดกซึ่งทายาทจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ ฉะนั้น แม้เจ้าหนี้จะหมดสิทธิเรียกร้องจากทายาทเพราะคดีขาดอายุความแล้ว ก็หาทำให้จำเลยยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้หรือหลุดพ้นความรับผิดไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา698 ด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1516/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดกและการเสียสิทธิในพินัยกรรม: กรณีที่ทายาทครอบครองมรดกเกิน 10 ปี
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งหมดโดยผู้ตายทำพินัยกรรมยกให้ จำเลยต่อสู้ว่าเป็นของบุตรสาวผู้ตายทั้งหมดและบุตรสาวผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกให้จำเลยครึ่งหนึ่งโจทก์ครึ่งหนึ่ง ถึงแม้จำเลยจะรับรู้สิทธิของโจทก์ว่ามีอยู่ครึ่งหนึ่งของที่ดินตามพินัยกรรมก็ตาม ก็ต้องคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทตามราคาที่ดินทั้งหมด ไม่ใช่เพียงครึ่งหนึ่งเพราะพิพาทกันในชั้นมรดกเดิม ไม่ใช่มรดกตอนหลัง
เมื่อเจ้ามรดกตาย มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาท นั้น ทายาทก็อาจเสียไปซึ่งสิทธิในมรดกได้ตามกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 วรรคท้าย
เจ้าของที่ดินทำพินัยกรรมยกที่ดินให้วัดโจทก์โดยระบุให้ยายและมารดามีสิทธิเก็บกินตลอดชีวิต เมื่อเจ้าของที่ดินตายแล้ว โจทก์มิได้ใช้สิทธิแก่ที่ดินนี้ประการใดปล่อยให้มารดาของเจ้ามรดกครอบครองที่ดินและจดทะเบียนโอนรับมรดกเป็นของตนด้วย ซึ่งเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ดังนี้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในฐานะผู้รับพินัยกรรมจึงขาดอายุความไปแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคท้าย ศาลฎีกาประชุมใหญ่มีมติว่า วัดโจทก์หมดสิทธิตามพินัยกรรมแล้ว (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2503)
of 14