พบผลลัพธ์ทั้งหมด 133 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตัดสิทธิทายาทโดยพินัยกรรม และผลต่อการยกอายุความในคดีแย่งการครอบครอง
มารดาโจทก์ทำพินัยกรรมยกที่พิพาทและทรัพย์สมบัติอื่นให้โจทก์คนเดียว บุตรคนอื่นรวมทั้งจำเลยไม่ได้ เพราะมารดาโจทก์จำเลยต้องการให้โจทก์ได้คนเดียวเช่นนี้เท่ากับจำเลยและบุตรอื่นถูกตัดจากมรดกของมารดาตามมาตรา 1608 วรรคท้ายเสียแล้วจึงมิได้อยู่ในฐานะเป็นทายาทฉะนั้นเมื่อจำเลยถูกฟ้องว่าเข้ารบกวนการครอบครองที่พิพาทจะยกอายุความมรดก 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 645/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกโดยผู้ครอบครองทรัพย์แทนทายาท และผลของการไม่เรียกร้องมรดกต่ออายุความ
โจทก์ฟ้องขอส่วนแบ่ง 1 ใน 4 ศาลตัดสินให้ 1 ใน 7 ไม่มีฝ่ายใดฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
ที่ปกครองทรัพย์มฤดกแทนน้องๆ น้องตายก็ยังคงปกครองต่อมา ทายาทของน้องฟ้องได้ไม่ถือว่าขาดอายุความ
ที่ปกครองทรัพย์มฤดกแทนน้องๆ น้องตายก็ยังคงปกครองต่อมา ทายาทของน้องฟ้องได้ไม่ถือว่าขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 645/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกโดยผู้ปกครองทรัพย์แทนทายาท และอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์ฟ้องขอส่วนแบ่ง 1 ใน 4 ศาลตัดสินให้ 1 ใน 7 ไม่มีฝ่ายใดฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
พี่ปกครองทรัพย์มรดกแทนน้องๆ น้องตายก็ยังคงปกครองต่อมาทายาทของน้องฟ้องได้ไม่ถือว่าขาดอายุความ
พี่ปกครองทรัพย์มรดกแทนน้องๆ น้องตายก็ยังคงปกครองต่อมาทายาทของน้องฟ้องได้ไม่ถือว่าขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 169/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกคืนที่ดินมรดก: ไม่ใช่คดีแบ่งมรดก สิทธิการยกอายุความมรดกจึงใช้ไม่ได้
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินของบิดา(ซึ่งตกเป็นมรดกได้แก่ตน)จากอาผู้ยึดถือที่ดินนั้นไว้ นั้นไม่ใช่เป็นคดีฟ้องขอแบ่งมรดก จำเลยผู้เป็นอาโจทก์และเป็นน้องผู้ตายย่อมไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย จำเลยจึงจะยกอายุความมรดกขึ้นต่อสู้โจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 112/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์มรดกเกิน 1 ปีและอายุความมรดก: สิทธิของผู้ซื้อจากทายาท
ทายาทผู้ครอบครองทรัพย์มรดกของผู้ตายมาแต่ผู้เดียวเกิน1 ปี โดยทายาทอื่นมิได้เรียกร้องมรดกนั้นเสียภายในกำหนด 1 ปีทรัพย์มรดกนั้นย่อมตกเป็นของทายาทผู้ครอบครองและเมื่อทายาทผู้ครอบครองขายทรัพย์นั้นไปแก่บุคคลภายนอกบุคคลภายนอกก็ย่อมจะใช้สิทธิของทายาทผู้นั้นยกอายุความมรดกขึ้นต่อสู้ทายาทอื่นได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1418/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกที่ดินหลังคดีกรรมสิทธิ์สิ้นสุด และผลกระทบต่อทายาทที่รับมรดก
บิดาเป็นความพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินอยู่กับผู้อื่น แล้วบิดาตายในระหว่างคดี บุตรคนหนึ่งเข้ารับมรดกความดำเนินคดีต่อมาอีกราว 2 ปี คดีถึงที่สุดบิดาชนะคดี ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นมรดกตกได้แก่ทายาท และปรากฏด้วยว่าทายาทของบิดาต่างก็มิได้ยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทนี้ดังนี้ทายาทอื่นฟ้องทายาทผู้รับมรดกความ ขอแบ่งมรดกที่ดินแปลงนี้ เมื่อภายหลังที่ศาลชี้ขาดกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทราว 1 เดือนได้ แม้จะเป็นเวลาที่เจ้ามรดกตายแล้วเกิน 1 ปีก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มรดกพระภิกษุ: ตกเป็นของวัด แม้ครอบครองนานเกิน 10 ปี ก็มิอาจอ้างกรรมสิทธิ์ได้
พระภิกษุถึงมรณภาพในขณะที่เป็นพระภิกษุอยู่ โดยมิได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้ใคร มรดกของพระภิกษุนั้นย่อมตกได้แก่วัดที่พระภิกษุนั้นอยู่ แม้ทายาทจะครอบครองที่ดินมรดกของพระภิกษุนั้นเกิน 10 ปีนับแต่วันมรณภาพทายาทนั้นก็จะเอาที่ดินมรดกนั้นไม่ได้ เพราะที่ดินมรดกนั้นเป็นของวัด จะใช้อายุความ 10 ปียันวัดให้เสียสิทธิหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการแบ่งมรดกของทายาทโดยไม่มีพินัยกรรม แม้เวลาผ่านพ้นไปกว่า 1 ปี ก็ยังมีสิทธิฟ้องร้องได้
เจ้ามรดกตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้ มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทตามกฎหมายมรดก และเมื่อไม่มีทายาทคนใดได้ครอบครองมรดก ก็ต้องถือว่าทายาททุกคนมีสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับทรัพย์มรดกร่วมกันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1745 และมีสิทธิฟ้องขอแบ่งมรดกจากกัน แม้จะเป็นเวลาภายหลังเจ้ามรดกตายเกิน 1 ปี ก็ได้ คดีไม่ขาดอายุความมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องแบ่งมรดก: สัญญาประนีประนอมไม่สะดุดอายุความ
เจ้ามรดกตายลง ทายาท 2 คนเป็นความกัน ในที่สุด ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า ทายาทผู้ครอบครองที่ดินแปลงหนึ่ง จะจัดการแบ่งที่ดินแปลงนั้นให้แก่ทายาทคนอื่นดังนี้ เมื่อไม่ได้ระบุตัวบุคคลว่า เป็นใครที่จะแบ่งมรดกให้ไว้ชัดแจ้ง แล้วก็ไม่ทำให้อายุความฟ้องร้องภายใน 1 ปีสะดุดหยุดลง ฉะนั้นผู้ที่เป็นทายาทอื่นจะฟ้องทายาทผู้ครอบครองที่ดิน ให้แบ่งที่ดินให้แก่ตนจะต้องฟ้องภายในอายุความ 1 ปีนับแต่วันเจ้ามรดกถึงแก่กรรมมิฉะนั้นคดีย่อมขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก: เฉพาะทายาทผู้มีสิทธิเท่านั้นที่ยกได้
อายุความ 1 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1755 นั้น ผู้ที่จะยกขึ้นต่อสู้ได้ก็แต่เฉพาะทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกด้วยเท่านั้นทายาทลำดับหลังไม่มีสิทธิได้รับมรดกเพราะยังมีตัวทายาทลำดับเหนือกว่าอยู่ จะยกอายุความมรดกมาต่อสู้ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกไม่ได้