พบผลลัพธ์ทั้งหมด 429 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6645/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท: การซื้อขายจากผู้ครอบครองจริง vs. โฉนดที่ดินที่ไม่ถูกต้อง
ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นของ พ.ที่ขายให้แก่โจทก์หรือไม่หากไม่ใช่โจทก์ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่ในข้อนี้แม้ศาลอุทธรณ์จะฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของ พ. ซึ่งขายให้แก่โจทก์ และจำเลยมิได้ฎีกาโต้แย้งมา ศาลฎีกาก็สามารถฟังข้อเท็จจริงใหม่ที่ถูกต้องได้ เพราะเป็นข้อที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อปลายปี 2521 ว.เจ้าของที่ดินพิพาทได้บอกขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 ก่อนบอกขาย ว.ได้มาดูแลที่ดินพิพาทโดยนำต้นไม้มาปลูกประมาณเดือนละ 2 ครั้ง จำเลยทั้งสองจึงร่วมกันซื้อมาและใช้เป็นที่ปลูกบ้านอยู่อาศัย หลังจากนั้นจึงทราบว่าที่ดินพิพาทเป็นโฉนดเลขที่ 23587 โดยมีชื่อ พ. เป็นเจ้าของ ดังนี้ จำเลยทั้งสองมีเจตนาจะซื้อที่ดินพิพาทมาจากว.ซึ่งในขณะนั้นว.ได้ครอบครองเป็นเจ้าของอยู่เป็นสำคัญยิ่งกว่าที่ดินแปลงตามหน้าโฉนดเลขที่ 23586 ที่จดทะเบียนโอนต่อกัน จึงไม่ทำให้จำเลยทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงโฉนดเลขที่ 23586 แต่อย่างใด และเมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของ ว.ไม่ใช่ของพ.แม้ที่ดินพิพาทจะมีชื่อพ.ในโฉนดดังกล่าวก็หาทำให้ พ. อ้างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งพ. มิได้มีเจตนารับโอนหาได้ไม่และการที่โจทก์รับโอนโฉนดต่อมาจาก พ. โจทก์ก็จะอ้างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทไม่ได้เช่นกัน ที่ดินพิพาทจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสองด้วยการซื้อมาจาก ว. โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์และจำเลยทั้งสองจะว่ากล่าวเป็นคดีเรื่องใหม่และกรณีเช่นนี้จำเลยที่ 1 ก็มิได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยปรปักษ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6645/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดิน: เจตนาซื้อขายกับผู้ครอบครอง vs. โอนจากเจ้าของโฉนด; สิทธิในการฟ้อง
ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นของ พ.ที่ขายให้แก่โจทก์หรือไม่ หากไม่ใช่โจทก์ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่ ในข้อนี้แม้ศาลอุทธรณ์จะฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของ พ.ซึ่งขายให้แก่โจทก์ และจำเลยมิได้ฎีกาโต้แย้งมา ศาลฎีกาก็สามารถฟังข้อเท็จจริงใหม่ที่ถูกต้องได้ เพราะเป็นข้อที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
เมื่อปลายปี 2521 ว.เจ้าของที่ดินพิพาทได้บอกขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 ก่อนบอกขาย ว.ได้มาดูแลที่ดินพิพาทโดยนำต้นไม้มาปลูกประมาณเดือนละ2 ครั้ง จำเลยทั้งสองจึงร่วมกันซื้อมาและใช้เป็นที่ปลูกบ้านอยู่อาศัย หลังจากนั้นจึงทราบว่าที่ดินพิพาทเป็นโฉนดเลขที่ 23587 โดยมีชื่อ พ.เป็นเจ้าของ ดังนี้ จำเลยทั้งสองมีเจตนาจะซื้อที่ดินพิพาทจาก ว. ซึ่งในขณะนั้น ว.ได้ครอบครองเป็นเจ้าของอยู่เป็นสำคัญยิ่งกว่าที่ดินแปลงตามหน้าโฉนดเลขที่ 23586 ที่จดทะเบียนโอนต่อกัน จึงไม่ทำให้จำเลยทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงโฉนดเลขที่ 23586 แต่อย่างใด และเมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของ ว.ไม่ใช่ของ พ. แม้ที่ดินพิพาทจะมีชื่อ พ.ในโฉนดดังกล่าวก็หาทำให้ พ.อ้างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่ง พ.มิได้มีเจตนารับโอนหาได้ไม่และการที่โจทก์รับโอนโฉนดต่อมาจาก พ. โจทก์ก็จะอ้างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทไม่ได้เช่นกัน ที่ดินพิพาทจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสองด้วยการซื้อมาจาก ว.โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์และจำเลยทั้งสองจะว่ากล่าวเป็นคดีเรื่องใหม่และกรณีเช่นนี้จำเลยที่ 1 ก็มิได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยปรปักษ์
เมื่อปลายปี 2521 ว.เจ้าของที่ดินพิพาทได้บอกขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 ก่อนบอกขาย ว.ได้มาดูแลที่ดินพิพาทโดยนำต้นไม้มาปลูกประมาณเดือนละ2 ครั้ง จำเลยทั้งสองจึงร่วมกันซื้อมาและใช้เป็นที่ปลูกบ้านอยู่อาศัย หลังจากนั้นจึงทราบว่าที่ดินพิพาทเป็นโฉนดเลขที่ 23587 โดยมีชื่อ พ.เป็นเจ้าของ ดังนี้ จำเลยทั้งสองมีเจตนาจะซื้อที่ดินพิพาทจาก ว. ซึ่งในขณะนั้น ว.ได้ครอบครองเป็นเจ้าของอยู่เป็นสำคัญยิ่งกว่าที่ดินแปลงตามหน้าโฉนดเลขที่ 23586 ที่จดทะเบียนโอนต่อกัน จึงไม่ทำให้จำเลยทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงโฉนดเลขที่ 23586 แต่อย่างใด และเมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของ ว.ไม่ใช่ของ พ. แม้ที่ดินพิพาทจะมีชื่อ พ.ในโฉนดดังกล่าวก็หาทำให้ พ.อ้างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่ง พ.มิได้มีเจตนารับโอนหาได้ไม่และการที่โจทก์รับโอนโฉนดต่อมาจาก พ. โจทก์ก็จะอ้างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทไม่ได้เช่นกัน ที่ดินพิพาทจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสองด้วยการซื้อมาจาก ว.โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์และจำเลยทั้งสองจะว่ากล่าวเป็นคดีเรื่องใหม่และกรณีเช่นนี้จำเลยที่ 1 ก็มิได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยปรปักษ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5807/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินจากการประนีประนอม แม้ไม่มีชื่อในโฉนดก็มีสิทธิเรียกร้องได้
แม้ผู้คัดค้านที่ 2 ไม่มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินแต่ผู้คัดค้านที่ 2 กับพวกฟ้องขอให้เพิกถอนการซื้อขายที่ดินระหว่าง อ. กับผู้คัดค้านที่ 1 และขอแบ่งที่ดินโฉนดพิพาท ในที่สุดได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งที่ดินออกเป็น 3 ส่วน โดยผู้คัดค้านที่ 2 ได้รับส่วนแบ่งที่ดินด้วย ซึ่งศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมแล้ว ผู้คัดค้านที่ 2 จึงเป็นผู้มีสิทธิจะได้รับส่วนแบ่งในที่ดินโฉนดพิพาท อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนในโฉนดที่ดินได้ จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะคัดค้านคำร้องขอของผู้ร้องและมีสิทธินำพยานเข้าสืบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3090/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดิน: นิติสัมพันธ์และสิทธิของเจ้าหนี้
ต.ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยร่วมที่1ซึ่งเป็นผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินพิพาทและทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่2แต่ต่อมาต.ให้จำเลยร่วมที่1โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยร่วมที่2และจำเลยร่วมที่2โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์โดยรู้อยู่แล้วว่าต.ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่2ก็ตามแต่จำเลยร่วมที่1ไม่ใช่ลูกหนี้ของจำเลยที่2เพราะจำเลยร่วมที่1ไม่มีนิติสัมพันธ์ใดๆกับจำเลยที่2ฉะนั้นการที่จำเลยร่วมที่1โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยร่วมที่2จำเลยที่2จึงไม่มีสิทธิ์ที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237วรรคแรกได้ ต.ซึ่งทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่2โดยไม่มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทต.เพียงแต่ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยร่วมที่1ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทเท่านั้นจำเลยที่2จึงไม่มีนิติสัมพันธ์ใดๆกับจำเลยร่วมที่1จำเลยที่2จึงไม่ใช่เจ้าหนี้ของจำเลยร่วมที่1ทั้งมิใช่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จำเลยร่วมที่1จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยที่2ได้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1300จำเลยที่2จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยร่วมที่2ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3090/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินและสิทธิในการฟ้องเพิกถอนนิติกรรม เมื่อไม่มีนิติสัมพันธ์โดยตรงระหว่างลูกหนี้กับผู้รับประโยชน์
ต.ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยร่วมที่ 1 ซึ่งเป็นผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินพิพาท และทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 แต่ต่อมา ต.ให้จำเลยร่วมที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยร่วมที่ 2 และจำเลยร่วมที่ 2 โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ โดยรู้อยู่แล้วว่า ต.ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2ก็ตาม แต่จำเลยร่วมที่ 1 ไม่ใช่ลูกหนี้ของจำเลยที่ 2 เพราะจำเลยร่วมที่ 1 ไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจำเลยที่ 2 ฉะนั้นการที่จำเลยร่วมที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยร่วมที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนตาม ป.พ.พ.มาตรา 237 วรรคแรกได้
ต.ซึ่งทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยไม่มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาท ต.เพียงแต่ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยร่วมที่ 1 ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทเท่านั้นจำเลยที่ 2 จึงไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจำเลยร่วมที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่เจ้าหนี้ของจำเลยร่วมที่ 1 ทั้งมิใช่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จำเลยร่วมที่ 1จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยที่ 2 ได้ก่อน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1300จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ระหว่างจำเลยร่วมที่ 1 กับจำเลยร่วมที่ 2 ได้
ต.ซึ่งทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยไม่มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาท ต.เพียงแต่ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยร่วมที่ 1 ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทเท่านั้นจำเลยที่ 2 จึงไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจำเลยร่วมที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่เจ้าหนี้ของจำเลยร่วมที่ 1 ทั้งมิใช่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จำเลยร่วมที่ 1จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยที่ 2 ได้ก่อน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1300จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ระหว่างจำเลยร่วมที่ 1 กับจำเลยร่วมที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2975/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการจดทะเบียนโอนที่ดินของผู้ซื้อตามสัญญาจะซื้อขาย แม้มีการยึดก่อนชำระราคาครบถ้วน
ผู้ร้องเข้าครอบครองที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อขายโดยได้ปลูกบ้านอยู่อาศัยและได้ชำระราคาที่ดินครบถ้วนแล้ว ทั้งได้มีคำพิพากษาของศาลบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้องด้วยแล้ว กรณีจึงถือได้ว่าผู้ร้องอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 แม้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะได้นำยึดที่ดินพิพาทไว้ก่อนที่ผู้ร้องจะชำระราคาที่ดินพิพาทครบถ้วน และนำยึดก่อนที่ศาลจะพิพากษาบังคับให้จำเลยโอนขายที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้องศาลก็ไม่อาจปล่อยให้มีการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทได้ เพราะผู้ที่ซื้อได้ไม่มีสิทธิที่จะได้รับโอนเนื่องจากผู้ร้องเท่านั้นที่มีสิทธิจะได้รับโอน อีกทั้งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 287 ก็มีบทบัญญัติไม่ให้การยึดทรัพย์มีผลกระทบถึงสิทธิของผู้ร้อง จึงจำเป็นที่โจทก์จะต้องถอนการยึดที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2975/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการจดทะเบียนโอนที่ดินของผู้ซื้อตามสัญญาจะซื้อขาย แม้มีการยึดก่อนชำระราคาครบถ้วนและการบังคับคดี
การที่ผู้ร้องเข้าครอบครองที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขายโดยปลูกบ้านอยู่อาศัย2หลังและได้ชำระราคาที่ดินครบถ้วนแล้วทั้งได้มีคำพิพากษาของศาลบังคับให้จำเลยโอนที่พิพาทให้แก่ผู้ร้องด้วยถือได้ว่าผู้ร้องอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1300แม้โจทก์จะได้นำยึดที่ดินพิพาทไว้ก่อนที่ผู้ร้องจะชำระราคาที่ดินพิพาทครบถ้วนและก่อนที่ศาลจะพิพากษาบังคับให้จำเลยโอนที่พิพาทแก่ผู้ร้องก็ตามแต่การยึดก็ไม่มีผลกระทบสิทธิของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา287ต้องเพิกถอนการยึด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2686/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีเหนือทรัพย์สินที่ถูกยึดก่อน: สิทธิจากการบังคับตามคำพิพากษา vs. สิทธิของผู้มีสิทธิบังคับตามกฎหมาย
แม้โจทก์ได้นำยึดที่ดินพิพาทไว้ก่อนแต่เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยที่1จดทะเบียนขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องก็ถือว่าผู้ร้องมีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1300โจทก์ไม่มีสิทธินำยึดที่ดินพิพาทผู้ร้องย่อมใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา287ร้องขอให้เพิกถอนการยึดของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 783/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดกที่ไม่ชอบ ผู้รับโอนไม่มีสิทธิเรียกร้องได้
ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ พ. ย่อมตกทอดมาเป็นของโจทก์ซึ่งเป็นทายาทกับทายาทอื่นทันทีเมื่อ พ. ถึงแก่ความตายการที่ ท. ในฐานะผู้จัดการมรดกโอนที่ดินพิพาทให้จำเลยและจำเลยร่วมซึ่งไม่ใช่ทายาทย่อมเป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะต้องดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทและทำให้โจทก์ผู้อยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทได้อยู่ก่อนแล้วเสียเปรียบโจทก์จึงขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนที่ ท. โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยและจำเลยร่วมได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1300
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5256/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาด: สิทธิของผู้รับโอนทรัพย์สินที่ถูกเพิกถอน
ป. ประมูลซื้อทรัพย์พิพาท คือ ที่ดินพร้อมตึกแถวได้จากการขายทอดตลาดในการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาล จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดและขณะที่คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาล ป. ได้โอนขายทรัพย์พิพาทให้ผู้ร้องโดยผู้ร้องได้รับโอนโดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริต ต่อมาศาลพิพากษาให้เพิกถอนการขายทอดตลาดต้องถือเสมือนว่าไม่มีการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทและไม่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทให้แก่ ป. และผู้ร้อง แม้ ป. เองก็ยังไม่ได้รับความคุ้มครอง เพราะกรณีไม่ต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1330 ผู้ร้องไม่อาจอ้างว่าผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกได้ซื้อทรัพย์พิพาทมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริตคำพิพากษาที่เพิกถอนการขายทอดตลาดไม่ผูกพันผู้ร้องได้ เมื่อ ป.ผู้โอนไม่มีสิทธิในทรัพย์สินพิพาทแล้ว ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน และอีกประการหนึ่งการที่มีการโอนทรัพย์พิพาทดังกล่าว ก็เป็นการโอนทรัพย์พิพาทไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 แต่การเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทเป็นเรื่องการเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 วรรคสอง ซึ่งเป็นกรณีอีกเรื่องหนึ่งหาเกี่ยวข้องกันไม่ผู้ร้องจึงไม่ได้รับความคุ้มครอง