คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1300

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 429 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3487/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้มีการโอนกรรมสิทธิ์รวมภายหลัง ผู้รับโอนยังยกข้อต่อสู้ได้
ที่ดินที่มีบุคคลหลายคนเป็นเจ้าของร่วมกัน มีผู้ครอบครองปรปักษ์ ที่ดินบางส่วนจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว แต่ยังมิได้จดทะเบียนการได้มา การที่เจ้าของรวมคนอื่นโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมาเป็นของเจ้าของรวมคนหนึ่งเพียงคนเดียว ไม่ถือว่าเจ้าของรวมผู้รับโอนนั้นเป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299วรรคสองผู้ครอบครองปรปักษ์ยกเอาการได้มาขึ้นต่อสู้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2444/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องขับไล่หลังซื้อที่ดินประมูล แม้ยังไม่โอนกรรมสิทธิ์ แต่ถูกแย่งการครอบครอง
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดของศาลชั้นต้นโดยสุจริตและวางเงินมัดจำไว้บางส่วน แต่ก่อนที่จะมีการโอนกรรมสิทธิ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ดังนี้ แม้โจทก์จะยังมิได้ชำระราคาที่ดินพิพาทครบถ้วนหรือยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยผู้อยู่อาศัยในที่ดินพิพาทได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2444/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ซื้อจากการขายทอดตลาด แม้ยังไม่ชำระราคาครบถ้วนหรือจดทะเบียน ก็มีสิทธิฟ้องขับไล่ผู้ครอบครองปรปักษ์ได้
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดของศาลชั้นต้นโดยสุจริตและวางเงินมัดจำไว้บางส่วน แต่ก่อนที่จะมีการโอนกรรมสิทธิ์ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ดังนี้ แม้โจทก์จะยังมิได้ชำระราคาที่ดินพิพาทครบถ้วนหรือยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยผู้อยู่อาศัยในที่ดินพิพาทได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2387/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำนองย่อมติดไปกับทรัพย์ แม้มีคดีโอนกรรมสิทธิ์ค้างอยู่ การงดบังคับคดีไม่มีประโยชน์
ผู้ร้องทั้งสี่ยื่นคำร้องขอให้งดการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยทั้งสามจำนวน 3 แปลง ที่โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จำนองตามคำพิพากษาได้ดำเนินการบังคับคดีไว้แล้ว แม้ต่อมาคดีของผู้ร้องทั้งสี่จะถึงที่สุดตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้จำเลยทั้งสามกับพวกจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์ที่จำเลยทั้งสามจำนองไว้แก่โจทก์ให้แก่ผู้ร้องทั้งสี่ก็ตาม แต่โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์จำนองนั้นได้ เพราะสิทธิจำนองย่อมตกติดอยู่กับตัวทรัพย์ดังนั้นการงดการบังคับคดีไว้ตามคำร้องของผู้ร้องทั้งสี่จึงไม่เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายใดอีกทั้งผู้ร้องทั้งสี่ก็สามารถที่จะใช้สิทธิตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองได้อยู่แล้ว แต่ผู้ร้องทั้งสี่หาได้ใช้สิทธิดังกล่าวไม่ กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนจนกว่าคดีของผู้ร้องทั้งสี่และจำเลยทั้งสามกับพวกจะถึงที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2387/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำนองย่อมตามติดทรัพย์ แม้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว เจ้าหนี้จำนองยังบังคับคดีได้
ผู้ร้องทั้งสี่ยื่นคำร้องขอให้งดการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยทั้งสามจำนวน 3 แปลง ที่โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จำนองตามคำพิพากษาได้ดำเนินการบังคับคดีไว้แล้ว แม้ต่อมาคดีของผู้ร้องทั้งสี่จะถึงที่สุดตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้จำเลยทั้งสามกับพวกจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์ที่จำเลยทั้งสามจำนองไว้แก่โจทก์ให้แก่ผู้ร้องทั้งสี่ก็ตาม แต่โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์จำนองนั้นได้ เพราะสิทธิจำนองย่อมตกติดอยู่กับตัวทรัพย์ดังนั้น การงดการบังคับคดีไว้ตามคำร้องของผู้ร้องทั้งสี่จึงไม่เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายใดอีกทั้งผู้ร้องทั้งสี่ก็สามารถที่จะใช้สิทธิตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองได้อยู่แล้ว แต่ผู้ร้องทั้งสี่หาได้ใช้สิทธิดังกล่าวไม่ กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนจนกว่าคดีของผู้ร้องทั้งสี่และจำเลยทั้งสามกับพวกจะถึงที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1059/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง และการเพิกถอนการจดทะเบียนที่ดินที่ไม่สุจริต
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายที่ดินพิพาทให้แก่ ท. มารดาโจทก์และ ท.ได้ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมาต่อมาท.ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ แม้การซื้อขายที่ดินระหว่าง ท. กับจำเลยที่ 1 และการที่ ท. ยกที่ดินพิพาทต่อให้โจทก์จะไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่โจทก์ก็ได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของสืบต่อจาก ท. เป็นเวลากว่า 20 ปี โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตร ตามพฤติการณ์ส่อให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองกระทำการโดยไม่สุจริตเป็นทางให้โจทก์ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนเสียเปรียบ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการให้ที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 จำเลยที่ 2 ซึ่งได้มาโดยไม่มีค่าตอบแทน และโดยไม่สุจริต ไม่มีสิทธิฟ้องแย้งขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินพิพาท โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 การที่โจทก์จะมีชื่อในโฉนดที่ดินได้อย่างไร ก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 78 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 7(พ.ศ. 2497) ซึ่งโจทก์สามารถที่จะปฏิบัติตาม และได้รับผลตามความประสงค์ของโจทก์อยู่แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยคำสั่งศาลให้จำเลยทั้งสองส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แต่อย่างใดศาลฎีกายกคำขอในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1059/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง และการเพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนที่ไม่สุจริต
หลังจากทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทแล้วมารดาโจทก์ได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา จำเลยที่ 1 ไม่เคยเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเลย ต่อมามารดาโจทก์ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ แม้การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างมารดาโจทก์กับจำเลยที่ 1และการยกให้ที่ดินพิพาทระหว่างมารดาโจทก์กับโจทก์จะไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่โจทก์ก็ได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของสืบต่อจากมารดาโจทก์เป็นเวลากว่า 20 ปี โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรโดยตามพฤติการณ์ ส่อให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองกระทำการโดยไม่สุจริตเป็นทางให้โจทก์ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนแล้วเสียเปรียบ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการให้ที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 คำขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์นั้นตามบทบัญญัติ ประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 78 และกฎกระทรวงฉบับที่ 7(พ.ศ. 2497) บัญญัติไว้แล้วว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรโจทก์สามารถปฏิบัติตามและได้รับผลตามความประสงค์ของโจทก์อยู่แล้วโดยไม่จำเป็นต้องอาศัยคำสั่งศาลให้จำเลยทั้งสองส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทแต่อย่างใด จึงต้องยกคำขอในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1059/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์โดยครอบครอง & เพิกถอนการจดทะเบียนสิทธิในที่ดินที่ไม่สุจริต
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายที่ดินพิพาทให้แก่ ท. มารดาโจทก์และ ท. ได้ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา ต่อมา ท.ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ แม้การซื้อขายที่ดินระหว่าง ท.กับจำเลยที่ 1 และการที่ ท.ยกที่ดินพิพาทต่อให้โจทก์จะไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่โจทก์ก็ได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของสืบต่อจาก ท.เป็นเวลากว่า20 ปี โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
จำเลยที่ 1 จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตร ตามพฤติการณ์ส่อให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองกระทำการโดยไม่สุจริตเป็นทางให้โจทก์ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนเสียเปรียบ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการให้ที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 จำเลยที่ 2 ซึ่งได้มาโดยไม่มีค่าตอบแทน และโดยไม่สุจริต ไม่มีสิทธิฟ้องแย้งขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินพิพาท
โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 การที่โจทก์จะมีชื่อในโฉนดที่ดินได้อย่างไร ก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 78 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2497) ซึ่งโจทก์สามารถที่จะปฏิบัติตาม และได้รับผลตามความประสงค์ของโจทก์อยู่แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยคำสั่งศาลให้จำเลยทั้งสองส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แต่อย่างใด ศาลฎีกายกคำขอในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3450/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยไม่สุจริตและเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ ศาลเพิกถอนการโอนและให้ชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยที่ 2 มีอาชีพค้าขายที่ดินและบ้านจัดสรรมาหลายปีแล้วทั้งจำเลยที่ 2 เห็นรั้วอิฐบล็อกที่กั้นที่ดินพิพาทจากทางทิศใต้ไปทางทิศเหนือรวม 2 แนวซึ่งไปจดรั้วของบ้านจำเลยที่ 2 และเห็นการถมดินและอาคารซึ่งเทพื้นคอนกรีตโดยมีโครงหลังคาเหล็กก่อสร้างในที่ดินพิพาทเช่นนี้ จำเลยที่ 2 น่าจะรู้ราคาจริงของที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างว่าเป็นเงินเท่าใด และราคาซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยที่ 2 รับซื้อไว้จากจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 900,000 กว่าบาทนั้น ต่ำกว่าราคาซื้อขายที่แท้จริงเพียงใดหรือไม่เพราะตามปกติราคาซื้อขายที่แท้จริงของที่ดินจะสูงกว่าราคาที่เจ้าพนักงานที่ดินประเมินเพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม แต่ได้ความตามคำเบิกความของจำเลยที่ 2 เองว่าราคาซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นเงิน 900,000 กว่าบาท ส่วนราคาที่ดินพิพาทซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินประเมินไว้เป็นเงินถึง 1,480,000 บาทดังนั้นถ้าถือตามราคาที่ดินพิพาทที่ซื้อขายกันดังคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาประเมินมากเมื่อพิเคราะห์ประกอบกับการที่จำเลยที่ 2 รู้จักกับจำเลยที่ 1 มาเป็นเวลาหลายปีและจำเลยที่ 2 มีที่ดินติดต่อกันด้วยแล้ว จึงฟังได้ว่าการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เป็นไปโดยไม่สุจริตโดยจำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาท ให้จำเลยทั้งสองโอนที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ หากโอนไม่ได้จึงให้ชำระค่าเสียหายนั้น ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน ก็ยังถือว่าเป็นการโอนโดยชอบอยู่ จึงถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าว คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1886/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์และการเพิกถอนการจดทะเบียนรับมรดกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยทั้งสามได้ไปจดทะเบียนรับโอนมรดกที่พิพาทอันเป็นเวลาภายหลังที่โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์แล้วจำเลยทั้งสามได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยการรับมรดกต้องรับไปทั้งสิทธิและตลอดจนความรับผิดต่าง ๆ จำเลยทั้งสามจึงมิใช่บุคคลภายนอกผู้ได้กรรมสิทธิ์มาโดยเสียค่าตอบแทนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง โจทก์ผู้ได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยครอบครองปรปักษ์ ซึ่งบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนแล้ว จึงยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้จำเลยทั้งสาม และขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนดังกล่าว ที่ทำให้ตนเสียเปรียบได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300
of 43