คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1300

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 429 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5575/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินยังไม่เปลี่ยนมือจนกว่าจะจดทะเบียน แม้มีสัญญาประนีประนอมยอมความ การโอนที่ดินจึงไม่เป็นยักยอก
จำเลยเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดิน แม้ต่อมาศาลจะพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยยกที่ดินให้ว.ครึ่งหนึ่งโดยใส่ชื่อว. เป็นเจ้าของรวมในโฉนด แต่เมื่อยังไม่มีการจดทะเบียนใส่ชื่อ ว.เป็นเจ้าของรวมว. ก็ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ที่ดินยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยเพียงผู้เดียว การที่จำเลยโอนที่ดินทั้งหมดให้ ถ. จึงไม่เป็นความผิดฐานยักยอก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5433-5434/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายและจำนองที่ดินโดยไม่สุจริต ทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ ศาลมีอำนาจเพิกถอนนิติกรรมได้
การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 รู้อยู่แล้วว่าโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ แต่ก็ยังซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 ก็รู้เช่นเดียวกันแล้วยังรับจำนองที่ดินพิพาทไว้จากจำเลยที่ 2 และที่ 3 แสดงว่าจำเลยทั้งสี่กระทำไปโดยไม่สุจริตเป็นเหตุให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายและจำนองได้ตามป.พ.พ. มาตรา 237
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่โจทก์ แม้โจทก์จะไม่ได้ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนและไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 ก็ตาม แต่ตามฟ้องโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงไว้แล้วว่า จำเลยทั้งสี่สมคบกันทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินและจำนองที่ดินโดยไม่สุจริตเป็นทางให้โจทก์ต้องเสียเปรียบ และมีคำขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนดังกล่าวระหว่างจำเลยทั้งสี่ไว้ด้วย ศาลย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย และพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายและจำนองที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสี่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5039/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ซื้อตามสัญญาสัญญาประนีประนอมยอมความ vs. การบังคับคดี การคุ้มครองสิทธิผู้ซื้อก่อนเจ้าหนี้
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทภายในระยะเวลาที่กำหนดในสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาบังคับตามยอมให้จำเลยซึ่งเป็นคู่ความแทนที่จำเลยในอีกคดีหนึ่ง โอนขายที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นโจทก์คดีนั้น ทำให้การโอนที่ดินพิพาทไม่อาจกระทำได้ การที่ผู้ร้องไม่ชำระราคาที่ดินพิพาทภายในกำหนดเวลาดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นฝ่ายผิดสัญญา
เมื่อศาลได้พิพากษาให้คดีเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยโอนขายที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้องแล้ว ผู้ร้องจึงมีสิทธิตามคำพิพากษาที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 โจทก์จะบังคับคดียึดที่ดินพิพาทให้กระทบกระทั่งสิทธิของผู้ร้องอันอาจขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287
กรณียื่นคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 ถือได้ว่าเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้อง ผู้ร้องอุทธรณ์ขอให้ไต่สวนคำร้องต่อไปและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน แต่สั่งให้ผู้ร้องใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์เกินอัตราขั้นสูงในคดีไม่มีทุนทรัพย์จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3454/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายมีผลผูกพันเมื่อชำระราคาแล้ว การซื้อขายโดยไม่สุจริตกระทบต่อสิทธิโจทก์
จำเลยที่ 1 ได้ตกลงขายที่พิพาทให้โจทก์โดยชำระราคาที่ดินกันเรียบร้อยและจะไปจดทะเบียนโอนให้โจทก์ภายหลัง ซึ่งเป็นลักษณะของสัญญาจะซื้อขาย ไม่ใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด เมื่อได้ชำระราคากันแล้วก็ย่อมมีผลบังคับได้โดยไม่จำต้องทำสัญญาเป็นหนังสือ จำเลยที่ 2 ได้รู้เรื่องการจะซื้อขายที่พิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 แล้วก่อนที่จะจดทะเบียนซื้อขายที่พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง อันเป็นการไม่สุจริต ทำให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์จึงขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมไม่สิ้นสุดแม้เจ้าของภารยทรัพย์เปลี่ยนมือ การอ้างซื้อโดยสุจริตไม่ตัดสิทธิภารจำยอม
ภารจำยอมจะสิ้นไปก็ต่อเมื่อภารยทรัพย์สลายไปทั้งหมดหรือมิได้ใช้สิบปีดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1397 หรือมาตรา 1399ภารจำยอมเป็นทรัพยสิทธิประเภทที่จำกัดตัดทอนกรรมสิทธิ์เป็นทรัพยสิทธิที่ผูกพันอยู่กับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นภารยทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่นอันเป็นสามยทรัพย์ ไม่ใช่ทรัพยสิทธิส่วนตัวบุคคล ดังนั้น แม้เจ้าของภารยทรัพย์จะเปลี่ยนตัวไปก็หาเป็นข้อสำคัญไม่ ตามมาตรา 1299 บัญญัติว่า "สิทธิอันยังมิได้จดทะเบียน นั้นมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอก ผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้ว" นั้น หมายความถึงแต่กรณีที่บุคคลได้มาโดยสุจริตซึ่งทรัพยสิทธิอันเดียวกับทรัพยสิทธิที่ยังไม่ได้จดทะเบียนนั้น กรณีตามที่จำเลยอ้างเป็นการได้สิทธิประเภทกรรมสิทธิ์ในที่ดินภารยทรัพย์ จึงมิใช่การโต้เถียงกันในเรื่องการได้สิทธิในทรัพยสิทธิอันเดียวกันจำเลยจะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยเสียค่าตอบแทนและสุจริตเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภารจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินพิพาทต้องสิ้นไปหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส-สินส่วนตัว-อำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรม-ทรัพย์สินมรดก: การแบ่งทรัพย์สินหลังการเสียชีวิตของคู่สมรสและผู้จัดการมรดก
บิดาโจทก์ยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสของบิดาโจทก์กับผู้ตายเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ไปแล้ว ถือได้ว่าบิดาโจทก์กับผู้ตายได้ตกลงแบ่งที่ดินทั้งแปลงดังกล่าวออกเป็นของแต่ละฝ่ายย่อมทำให้ที่ดินในส่วนที่เหลือหมดสภาพจากการเป็นสินสมรสและตกเป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย ส่วนบ้านนั้นบิดาโจทก์ได้ทำพินัยกรรมยกส่วนของตนครึ่งหนึ่งให้โจทก์แล้วเช่นกัน ส่วนที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งจึงตกเป็นของผู้ตายแต่ผู้เดียว การให้บ้านพิพาทซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์แก่ผู้รับจะสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 ต่อเมื่อได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การที่ผู้ตายได้ยื่นคำขอจดทะเบียนนิติกรรมยกบ้านพิพาทในส่วนของตนให้แก่โจทก์แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนนิติกรรมให้ การให้ดังกล่าวจึงยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทส่วนที่เป็นของผู้ตายยังคงเป็นของผู้ตาย เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย ทรัพย์สินของผู้ตายย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท กรณีนี้ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิได้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 โจทก์ไม่ได้เป็นทายาท ไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดก ย่อมไม่มีอำนาจขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่ผู้จัดการมรดกโอนที่ดินพิพาทและครึ่งหนึ่งของบ้านพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายให้บุคคลอื่นได้ เครื่องทองรูปพรรณ เครื่องเพชร แหวน เข็มขัดนาก และเครื่องประดับอื่น ๆ ตามฟ้องเป็นเครื่องประดับกายซึ่งรวมกันแล้วมีราคาไม่มากเมื่อพิจารณาตามฐานะและรายได้ของบิดาโจทก์และผู้ตายแล้ว เป็นเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะของผู้ตายแม้ผู้ตายได้มาโดยบิดาโจทก์เป็นผู้หามาให้หรือผู้ตายหาเองในระหว่าสมรสก็ตามก็เป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรส การโอนกรรมสิทธิ์ และอำนาจการฟ้องเพิกถอนนิติกรรม
บิดาโจทก์ยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสของบิดาโจทก์กับผู้ตายเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ไปแล้ว ถือได้ว่าบิดาโจทก์กับผู้ตายได้ตกลงแบ่งที่ดินทั้งแปลงดังกล่าวออกเป็นของแต่ละฝ่ายย่อมทำให้ที่ดินในส่วนที่เหลือหมดสภาพจากการเป็นสินสมรสและตกเป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย ส่วนบ้านนั้นบิดาโจทก์ได้ทำพินัยกรรมยกส่วนของตนครึ่งหนึ่งให้โจทก์แล้วเช่นกัน ส่วนที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งจึงตกเป็นของผู้ตายแต่ผู้เดียว ผู้ตายไปยื่นคำขอจดทะเบียนนิติกรรมให้บ้านพิพาทในส่วนของตนให้แก่โจทก์ แต่การให้บ้านพิพาทซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์แก่ผู้รับนั้นจะสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525ก็ต่อเมื่อได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนนิติกรรม การให้ดังกล่าวยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย กรรมสิทธิ์ในบ้านส่วนที่เป็นของผู้ตายยังคงเป็นของผู้ตายเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายก็เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท กรณีนี้ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิได้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1300 โจทก์ไม่ได้เป็นทายาท ไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดก ย่อมไม่มีอำนาจขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่ผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์สินที่ดินพิพาทและครึ่งหนึ่งของบ้านพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายให้บุคคลอื่นได้ เครื่องทองรูปพรรณ เครื่องเพชร แหวน เข็มขัดนาก และเครื่องประดับอื่น ๆ ตามฟ้องเป็นเครื่องประดับกายซึ่งรวมกันแล้วมีราคาไม่มาก เมื่อพิจารณาตามฐานะและรายได้ของบิดาโจทก์และผู้ตายแล้ว เป็นเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะของผู้ตายแม้ผู้ตายได้มาโดยบิดาโจทก์เป็นผู้หามาให้หรือผู้ตายหาเองในระหว่างสมรสก็ตาม ก็เป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส, การแบ่งทรัพย์สิน, มรดก, การโอนกรรมสิทธิ์, สิทธิในทรัพย์สิน
บิดาโจทก์ยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสของบิดาโจทก์กับผู้ตายเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ไปแล้ว ถือได้ว่าบิดาโจทก์กับผู้ตายได้ตกลงแบ่งที่ดินทั้งแปลงดังกล่าวออกเป็นของแต่ละฝ่าย ย่อมทำให้ที่ดินในส่วนที่เหลือหมดสภาพจากการเป็นสินสมรสและตกเป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย ส่วนบ้านนั้นบิดาโจทก์ได้ทำพินัยกรรมยกส่วนของตนครึ่งหนึ่งให้โจทก์แล้วเช่นกัน ส่วนที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งจึงตกเป็นของผู้ตายแต่ผู้เดียว
ผู้ตายไปยื่นคำขอจดทะเบียนนิติกรรมให้บ้านพิพาทในส่วนของตนให้แก่โจทก์ แต่การให้บ้านพิพาทซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์แก่ผู้รับนั้นจะสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 ก็ต่อเมื่อได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนนิติกรรม การให้ดังกล่าวยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย กรรมสิทธิ์ในบ้านส่วนที่เป็นของผู้ตายยังคงเป็นของผู้ตายเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายก็เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท กรณีนี้ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิได้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300
โจทก์ไม่ได้เป็นทายาท ไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดก ย่อมไม่มีอำนาจขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่ผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์สินที่ดินพิพาทและครึ่งหนึ่งของบ้านพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายให้บุคคลอื่นได้
เครื่องทองรูปพรรณ เครื่องเพชร แหวน เข็มขัดนาก และเครื่องประดับอื่น ๆ ตามฟ้องเป็นเครื่องประดับกายซึ่งรวมกันแล้วมีราคาไม่มาก เมื่อพิจารณาตามฐานะและรายได้ของบิดาโจทก์และผู้ตายแล้ว เป็นเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะของผู้ตายแม้ผู้ตายได้มาโดยบิดาโจทก์เป็นผู้หามาให้หรือผู้ตายหาเองในระหว่างสมรสก็ตาม ก็เป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4141-4142/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งที่ดินโดยครอบครองปรปักษ์และการจดทะเบียนสิทธิ การซื้อขายโดยสุจริตย่อมได้รับความคุ้มครอง
ศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ขับไล่จำเลยและบริวาร ผู้ร้องเป็นบุตรของจำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาท ดังนั้นไม่ว่าผู้ร้องจะได้ที่พิพาทมาโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ แต่เมื่อผู้ร้องยังมิได้มีการจดทะเบียนการได้มาเช่นนั้น ผู้ร้องก็ไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้ซื้อที่พิพาทมาโดยเสียค่าตอบแทนโดยสุจริตและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วได้ ทั้งกรณีถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนแล้ว เมื่อผู้ร้องไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ร้องมีอำนาจพิเศษที่จะอยู่ในที่พิพาทได้ ถือได้ว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4141-4142/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการซื้อขายโดยสุจริต ผู้ซื้อสิทธิเหนือผู้ครอบครองที่ไม่จดทะเบียน
ศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ขับไล่จำเลยและบริวาร ผู้ร้องเป็นบุตรของจำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาท ดังนั้นไม่ว่าผู้ร้องจะได้ที่พิพาทมาโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ แต่เมื่อผู้ร้องยังมิได้มีการจดทะเบียนการได้มาเช่นนั้น ผู้ร้องก็ไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้ซื้อที่พิพาทมาโดยเสียค่าตอบแทนโดยสุจริตและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วได้ ทั้งกรณีถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนแล้ว เมื่อผู้ร้องไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ร้องมีอำนาจพิเศษที่จะอยู่ในที่พิพาทได้ ถือได้ว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลย
of 43