พบผลลัพธ์ทั้งหมด 429 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3375/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดิน, การไม่ชำระค่าทำถนน, การครอบครองปรปักษ์, สิทธิในการจดทะเบียน
ในการซื้อขายที่ดินมีโฉนด จำเลยตกลงกับ อ. ฉ. และ ภ. ว่าเมื่อจำเลยผ่อนชำระราคาที่ดินและค่าทำถนนครบถ้วนแล้ว อ. ฉ. และ ภ. จะโอนที่ดินให้แก่จำเลย จึงเข้าลักษณะเป็นสัญญาจะซื้อขาย หลังจากนั้นจำเลยได้รับอนุญาตจาก อ. ให้เข้าไปอยู่ในที่ดินต่อมา อ. ฉ. และ ภ. โอนที่ดินให้แก่โจทก์ร่วมที่ 1 เพื่อให้จัดการเรื่องที่ดินแทนต่อไป จำเลยได้ชำระเฉพาะราคาที่ดิน ส่วนค่าทำถนนไม่ชำระ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ร่วมที่ 1 ย่อมมีสิทธิที่จะไม่โอนที่ดินให้แก่จำเลย ทั้งการที่จำเลยเข้าอยู่ในที่ดินก็เพราะ อ. เจ้าของเดิมอนุญาต จึงเป็นกรณีจำเลยเข้าครอบครองที่ดินแทนเจ้าของ แม้จะครอบครองนานเพียงใดก็จะอ้างการครอบครองปรปักษ์มายันเจ้าของที่ดินเดิมหรือเจ้าของที่ดินผู้รับโอนต่อ ๆ มาหาได้ไม่ จำเลยจึงไม่ใช่ผู้อยู่ในฐานะจดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3375/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดิน, การชำระเงินไม่ครบ, สิทธิในการจดทะเบียน, การครอบครองปรปักษ์
ในการซื้อขายที่ดินมีโฉนด จำเลยตกลงกับ อ. ฉ. และ ภ. ว่าเมื่อจำเลยผ่อนชำระราคาที่ดินและค่าทำถนนครบถ้วนแล้ว อ. ฉ.และ ภ. จะโอนที่ดินให้แก่จำเลย จึงเข้าลักษณะเป็นสัญญาจะซื้อขายหลังจากนั้นจำเลยได้รับอนุญาตจาก อ. ให้เข้าไปอยู่ในที่ดินต่อมา อ. ฉ. และ ภ. โอนที่ดินให้แก่โจทก์ร่วมที่ 1 เพื่อให้จัดการเรื่องที่ดินแทนต่อไป จำเลยได้ชำระเฉพาะราคาที่ดิน ส่วนค่าทำถนนไม่ชำระ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ร่วมที่ 1 ย่อมมีสิทธิที่จะไม่โอนที่ดินให้แก่จำเลย ทั้งการที่จำเลยเข้าอยู่ในที่ดินก็เพราะ อ. เจ้าของเดิมอนุญาต จึงเป็นกรณีจำเลยเข้าครอบครองที่ดินแทนเจ้าของ แม้จะครอบครองนานเพียงใดก็จะอ้างการครอบครองปรปักษ์มายันเจ้าของที่ดินเดิมหรือเจ้าของที่ดินผู้รับโอนต่อ ๆ มาหาได้ไม่ จำเลยจึงไม่ใช่ผู้อยู่ในฐานะจดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3375/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดิน, การชำระเงินไม่ครบ, การครอบครองปรปักษ์, สิทธิในการจดทะเบียน
ในการซื้อขายที่ดินมีโฉนด จำเลยตกลงกับ อ.ฉ.และภ.ว่า เมื่อจำเลยผ่อนชำระราคาที่ดินและค่าทำถนนครบถ้วนแล้ว อ.ฉ.และภ. จะโอนที่ดินให้แก่จำเลย จึงเข้าลักษณะเป็นสัญญาจะซื้อขาย หลังจากนั้นจำเลยได้รับอนุญาตจาก อ. ให้เข้าไปอยู่ในที่ดิน ต่อมา อ.ฉ.และภ. โอนที่ดินให้แก่โจทก์ร่วมที่ 1 เพื่อให้จัดการเรื่องที่ดินแทนต่อไป จำเลยได้ชำระเฉพาะราคาที่ดินส่วนค่าทำถนนไม่ชำระ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์ร่วมที่ 1 ย่อมมีสิทธิที่จะไม่โอนที่ดินให้แก่จำเลย ทั้งการที่จำเลยเข้าอยู่ในที่ดินก็เพราะ อ. เจ้าของเดิมอนุญาต จึงเป็นกรณีจำเลยเข้าครอบครองที่ดินแทนเจ้าของ แม้จะครอบครองนานเพียงใดก็จะอ้างการครอบครองปรปักษ์มายันเจ้าของที่ดินเดิมหรือเจ้าของที่ดินผู้รับโอนต่อ ๆ มาหาได้ไม่ จำเลยจึงไม่ใช่ผู้อยู่ในฐานะจดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1300
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้ร้องตามคำพิพากษา vs. สิทธิของเจ้าหนี้ในการยึดทรัพย์ก่อนมีคำพิพากษา
แม้โจทก์ยึดที่พิพาทก่อนศาลพิพากษาให้จำเลยโอนขายที่พิพาทให้แก่ผู้ร้องก็ตาม แต่ต่อมาเมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยขายที่พิพาทให้แก่ผู้ร้องย่อมถือได้ว่าผู้ร้องมีสิทธิตามคำพิพากษาที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 ตราบใดที่ยังไม่มีการขายทอดตลาดที่ดินพิพาท ผู้ร้องย่อมใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับตามคำพิพากษาหลังยึดทรัพย์ก่อนศาลตัดสิน: ผู้ร้องมีสิทธิจดทะเบียนได้จนกว่าจะมีการขายทอดตลาด
แม้โจทก์ยึดที่พิพาทก่อนศาลพิพากษาให้จำเลยโอนขายที่พิพาทให้แก่ผู้ร้องก็ตาม แต่ ต่อมาเมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยขายที่พิพาทให้แก่ผู้ร้องย่อมถือได้ว่าผู้ร้องมีสิทธิตาม คำพิพากษาที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300ตราบใด ที่ยังไม่มีการขายทอดตลาดที่ดินพิพาท ผู้ร้องย่อมใช้ สิทธิตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ได้(คำพิพากษาฎีกาที่ 738/2511 ประชุมใหญ่).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการยึดทรัพย์ชำระหนี้ vs. สิทธิของผู้ร้องตามคำพิพากษาให้โอนกรรมสิทธิ์
แม้โจทก์ยึดที่พิพาทก่อนศาลพิพากษาให้จำเลยโอนขายที่พิพาทให้แก่ผู้ร้อง แต่เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยขายที่พิพาทให้แก่ผู้ร้องย่อมถือได้ว่าผู้ร้องมีสิทธิตามคำพิพากษาที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 ตราบใดที่ยังไม่มีการขายทอดตลาดที่ดินพิพาท ผู้ร้องย่อมใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 83/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง: การซื้อขาย, การเช่า, และการเพิกถอนสัญญาเช่า
โจทก์ทั้งสามเป็นบุตรของ ส.ส่วนจำเลยที่1เป็นน้องของส.จำเลยที่ 1 ได้ให้ จ. เช่าตึกแถวพิพาทเลขที่ 2-3 ซึ่งปลูกอยู่ในที่พิพาทมีกำหนด 20 ปี เมื่อ จ. อยู่ในตึกแถวพิพาทได้14-15 ปี ก็ได้โอนการเช่าให้จำเลยที่ 2 ด้วยความยินยอมของจำเลยที่ 1 ทั้งจำเลยที่ 1 ได้เข้าทำสัญญาเช่ากับจำเลยที่ 2ณ ที่ว่าการอำเภอด้วยมีกำหนดเวลาเช่า 10 ปี 7 เดือน โจทก์ที่ 2จึงฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในข้อหาฐานแจ้งความเท็จเกี่ยวกับการเช่าตึกแถวระหว่างจำเลยทั้งสอง โดยจำเลยที่ 1 ได้แจ้งความว่าตึกแถวพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 แต่ศาลพิพากษายกฟ้อง และโจทก์ยังได้ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 2 ออกจากตึกแถวพิพาท แต่ได้ถอนฟ้องเสีย ดังนี้การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีแพ่งขอให้เพิกถอนนิติกรรมสัญญาเช่าระหว่างจำเลยทั้งสองให้ส่งมอบที่ดินและตึกแถวพิพาทคืนแก่โจทก์ ห้ามจำเลยทั้งสองเกี่ยวข้องกับตึกแถวเลขที่ 2-3 จึงหาใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาไม่ เพราะมูลเหตุที่ฟ้องเป็นคดีนี้มได้เกิดมาจากหรือเกี่ยวเนื่องกับมูลคดีอาญาที่โจทก์ที่ 2 ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ศาลไม่จำต้องถือตามข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีอาญาดังกล่าว
โจทก์ทั้งสามได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวพิพาทมาเมื่อปี 2519 และพบว่าจำเลยที่ 1 ได้นำเอาตึกแถวพิพาทไปให้จำเลยที่ 2 เช่าเมื่อปี 2520 โจทก์ทั้งสามฟ้องคดีนี้เรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2523 และนับแต่ถูกฟ้องจำเลยที่ 1 ก็ยังคงให้จำเลยที่ 2 เช่าตึกแถวพิพาทอยู่ตลอดมา เช่นนี้ แม้ค่าเสียหายก่อนฟ้องเกิน 1 ปี จะขาดอายุความแล้ว แต่การละเมิดของจำเลยที่ 1 นับแต่วันฟ้องยังไม่ขาดอายุความ
ส.เช่าที่ดินจากท.20 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2500 แล้วมอบให้จำเลยที่ 1 เก็บกินผลประโยชน์ สิทธิของจำเลยที่ 1 หมดลงเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2520 สัญญาเช่าระหว่างจำเลยทั้งสองลงวันที่ 5 กันยายน 2520 เป็นการทำสัญยาเช่าภายหลังจากที่สิทธิของจำเลยที่ 1 หมดไปแล้ว ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสามได้มอบหมายหรือยินยอมในการให้เช่า จึงเป็นการเช่าโดยไม่มีอำนาจ แม้จำเลยที่ 2 จะสุจริตและได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็ไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ทั้งสามผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
โจทก์ทั้งสามได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวพิพาทมาเมื่อปี 2519 และพบว่าจำเลยที่ 1 ได้นำเอาตึกแถวพิพาทไปให้จำเลยที่ 2 เช่าเมื่อปี 2520 โจทก์ทั้งสามฟ้องคดีนี้เรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2523 และนับแต่ถูกฟ้องจำเลยที่ 1 ก็ยังคงให้จำเลยที่ 2 เช่าตึกแถวพิพาทอยู่ตลอดมา เช่นนี้ แม้ค่าเสียหายก่อนฟ้องเกิน 1 ปี จะขาดอายุความแล้ว แต่การละเมิดของจำเลยที่ 1 นับแต่วันฟ้องยังไม่ขาดอายุความ
ส.เช่าที่ดินจากท.20 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2500 แล้วมอบให้จำเลยที่ 1 เก็บกินผลประโยชน์ สิทธิของจำเลยที่ 1 หมดลงเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2520 สัญญาเช่าระหว่างจำเลยทั้งสองลงวันที่ 5 กันยายน 2520 เป็นการทำสัญยาเช่าภายหลังจากที่สิทธิของจำเลยที่ 1 หมดไปแล้ว ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสามได้มอบหมายหรือยินยอมในการให้เช่า จึงเป็นการเช่าโดยไม่มีอำนาจ แม้จำเลยที่ 2 จะสุจริตและได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็ไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ทั้งสามผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4598/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมโดยผลของคำพิพากษา แม้ไม่ได้จดทะเบียนก็มีผลผูกพันต่อผู้รับโอนที่ดิน
โจทก์มีกรณีพิพาทกับ ป. ในที่ดินแปลงพิพาทแล้วตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยโจทก์ยอมโอนที่ดินแปลงพิพาทให้ ป. และป.ยอมให้ที่ดินแปลงพิพาทรับภาระใช้เป็นที่สัญจรของโจทก์ ประชาชนและรถยนต์เข้าออกโรงภาพยนตร์ของโจทก์ศาลพิพากษาตามยอม ต่อมา ป. โอนที่ดินแปลงพิพาทให้จำเลยและจำเลยตั้งแผงขายสินค้าบนที่ดินแปลงพิพาท ทำให้ทางเข้าออกแคบโจทก์และประชาชนไม่ได้รับความสะดวก โจทก์ได้รับความเสียหายดังนี้ แม้โจทก์จะมิได้จดทะเบียนสิทธิในภาระจำยอมดังกล่าวไว้ก็ตาม แต่โจทก์ก็อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิในภาระจำยอมตามคำพิพากษาได้ก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1300 จำเลยซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินแปลงพิพาทจะกระทำการใดให้กระทบกระเทือนต่อสิทธิในภาระจำยอมดังกล่าวหาได้ไม่จึงต้องรื้อถอนแผงขายสินค้าและชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยตั้งแผงขายสินค้าบนที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิใช้เป็นทางสัญจร ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยรื้อถอนแผงสินค้านั้นไป จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ได้ปลูกสร้างหรือตั้งแผงขายสินค้าในที่ดินนั้น แม้จะมีการปลูกสร้างหรือตั้งแผงขายสินค้าในที่ดินดังกล่าวก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายคำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงขัดกันเองและเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งคดีไม่มีประเด็นที่จำเลยจะนำสืบได้ว่าจำเลยไม่ได้ปลูกสร้างหรือตั้งแผงขายสินค้าในที่ดินนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1405/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยรู้อยู่แล้วว่ามีผู้ซื้อก่อน ย่อมเป็นสิทธิไม่สุจริต ไม่สามารถฟ้องขับไล่ได้
เมื่อโจทก์ซื้อและจดทะเบียนรับโอนที่ดินและตึกแถวพิพาทมาจาก ช.โดยรู้อยู่แล้วว่าจำเลยได้ซื้อที่ดินและตึกแถวนั้นจาก ช. ไว้ก่อนแล้ว โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยไม่ได้เพราะเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต ส่วนข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าจำเลยมิได้ฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนระหว่างโจทก์กับ ช.นิติกรรมดังกล่าวย่อมสมบูรณ์อยู่ตลอดไปโจทก์จึงฟ้องขับไล่จำเลยได้นั้น ก็ฟังไม่ขึ้นเพราะ ช. มิได้เป็นโจทก์ในคดีนี้อันจำเลยจะฟ้องแย้งได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1405/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยไม่สุจริต โจทก์ซื้อรู้ว่าจำเลยซื้อก่อน ย่อมฟ้องขับไล่ไม่ได้
โจทก์ซื้อและจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาทจาก ช. โดยรู้อยู่แล้วว่าจำเลยได้ซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทไว้ก่อนเป็นการใช้สิทธิที่ไม่สุจริต โจทก์จึงฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและตึกแถวพิพาทไม่ได้.