พบผลลัพธ์ทั้งหมด 429 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6691/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินจากการฉ้อฉลและไร้ค่าตอบแทน คุ้มครองสิทธิผู้ซื้อเดิม
โจทก์ร่วมขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยเพื่อนำเงินไปไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทแล้วโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลย แต่ธนาคารหาโฉนดที่ดินพิพาทไม่พบ จึงยังไม่ได้ดำเนินการ ต่อมาโจทก์ร่วมย้ายที่อยู่ จำเลยไม่สามารถติดตามโจทก์ร่วมมาดำเนินการได้ กรณีจึงไม่ใช่ปล่อยทิ้งไม่ดำเนินการแต่อย่างใด และการที่โจทก์ร่วมได้รับแจ้งจากธนาคารว่าโฉนดที่ดินสูญหายก็เป็นเรื่องที่โจทก์ร่วมจะต้องดำเนินการเพื่อให้ได้ใบแทนโฉนดที่ดินมาโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลย หาใช่กรณีที่จำเลยจะต้องเป็นผู้ดำเนินการไม่ เมื่อโจทก์ร่วมได้ดำเนินการขอออกใบแทนโฉนดที่ดินใหม่ได้แล้ว โจทก์ร่วมได้โอนขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์โดยคบคิดกันฉ้อฉลเพื่อไม่ต้องจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย ทำให้จำเลยซึ่งอยู่ในฐานะอันจะได้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนเสียเปรียบ จำเลยจึงฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมการโอนดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5088/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการสิ้นสิทธิเรียกร้อง กรณีจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา และโจทก์ละเลยไม่ดำเนินการบังคับคดีภายในกำหนด
ที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่พิพากษาตามยอมเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2538 ให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นจำเลยคดีดังกล่าวโอนที่ดินพิพาทให้ผู้ร้องซึ่งเป็นโจทก์คดีดังกล่าวเข้าถือกรรมสิทธิ์รวมบางส่วน ซึ่งจำเลยที่ 2 จะจัดการโอนให้ภายใน 2 เดือน นับแต่วันที่ทำสัญญา หากไม่โอนให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนานั้น เป็นข้อตกลงที่ให้คู่ความทั้งสองฝ่ายต้องดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนกัน เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา ผู้ร้องต้องดำเนินการบังคับคดีภายใน 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 การที่ผู้ร้องไปดำเนินการเพียงขอออกใบแทนโฉนดที่ดิน แต่ขอให้รอเรื่องไว้ก่อนโดยไม่ยอมชำระเงินค่าธรรมเนียมในการโอนที่ดินตลอดมา จึงยังถือไม่ได้ว่าได้มีการร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาแล้ว เมื่อผู้ร้องไม่ได้ดำเนินการบังคับคดีแก่ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้จนเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด ผู้ร้องจึงสิ้นสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแก่ที่ดินพิพาทและไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 2 ปฏิบัติตามคำพิพากษาได้อีกต่อไป ผู้ร้องจึงไม่อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 และไม่ใช่ผู้ที่อาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามกฎหมายตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 287 จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องเพื่อขอกันส่วนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15964/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของที่ดินประมาทเลินเล่อในการมอบอำนาจ ทำให้ถูกจำนองโดยไม่เจตนา ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
พฤติการณ์ของจำเลยที่เป็นเจ้าของที่ดินได้พิมพ์ลายนิ้วมือในหนังสือมอบอำนาจโดยมิได้กรอกข้อความใดๆ ให้ชัดเจนว่าต้องการจะขายที่ดิน แล้วยังมอบโฉนดที่ดินสำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประชาชนของจำเลยให้ ล. ผู้ติดต่อจะซื้อที่ดินไปดำเนินการนั้นเป็นการเปิดโอกาสให้ ล. และ อ. ผู้รับมอบอำนาจนำไปใช้ในกิจการอื่นด้วยการกรอกเพิ่มเติมข้อความว่า ให้นำที่ดินไปจดทะเบียนจำนองแทนจำเลย ถือได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จำเลยจะยกเอาผลที่เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตนขึ้นให้การต่อสู้โจทก์ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้รับจำนองโดยสุจริตเพื่อให้ตนพ้นความรับผิดหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7880/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเหนือที่ดินตามคำพิพากษาตามยอม การบังคับคดี และผลกระทบต่อเจ้าหนี้รายอื่น
การที่ศาลมีคำพิพากษาตามยอมให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้ผู้ร้องแต่ยังมิได้มีการดำเนินการ ระหว่างนั้นโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยในอีกคดีนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาท ถือว่าผู้ร้องมีสิทธิเหนือที่ดินพิพาทอันจะขอให้จดทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นของตนได้ก่อนบุคคลอื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 แม้จำเลยยังไม่ได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้อง โจทก์ทั้งสองก็ไม่อาจบังคับคดีให้กระทบกระทั่งสิทธิของผู้ร้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287
คดีที่ศาลมีคำพิพากษาตามยอมดังกล่าว ไม่ต้องมีการตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีอีก เมื่อจำเลยไม่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้ผู้ร้องภายในเวลาที่ระบุไว้ในคำพิพากษาตามยอมและผู้ร้องได้ไปยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ขอให้ดำเนินการให้แต่ขัดข้องเพราะบุคคลภายนอกยึดถือโฉนดที่ดินพิพาทไว้ถือว่าผู้ร้องได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาภายใน 10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษา เมื่อการบังคับคดียังมีข้อติดขัด ผู้ร้องก็ดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้จนเสร็จสิ้น
คดีที่ศาลมีคำพิพากษาตามยอมดังกล่าว ไม่ต้องมีการตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีอีก เมื่อจำเลยไม่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้ผู้ร้องภายในเวลาที่ระบุไว้ในคำพิพากษาตามยอมและผู้ร้องได้ไปยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ขอให้ดำเนินการให้แต่ขัดข้องเพราะบุคคลภายนอกยึดถือโฉนดที่ดินพิพาทไว้ถือว่าผู้ร้องได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาภายใน 10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษา เมื่อการบังคับคดียังมีข้อติดขัด ผู้ร้องก็ดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้จนเสร็จสิ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 558/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยที่ 2-3 มีหน้าที่รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการชดใช้ค่าเสียหายจากการขายที่ดินผิดสัญญา แม้จะอ้างอำนาจกรรมการ
ป.พ.พ. มาตรา 1167 บัญญัติว่า ความเกี่ยวพันระหว่างกรรมการและบริษัทและบุคคลภายนอกนั้น ท่านให้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทน ตามบทบัญญัติดังกล่าว หากจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำการในขอบอำนาจกรรมการของจำเลยที่ 1 แล้ว กิจการดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเป็นการส่วนตัว แต่เมื่อได้ความว่า ในการทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 4 นั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ดำเนินการ โดยมอบอำนาจให้ ว. ดำเนินการแทนจำเลยที่ 1 มีการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 4 ในวันที่ 6 พฤษภาคม 2542 ซึ่งขณะนั้นยังอยู่ภายในเงื่อนเวลาที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัติการชำระหนี้ต่อกันอยู่และจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้มีการบอกเลิกสัญญาดังกล่าวจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 เพิ่งมีหนังสือบอกเลิกสัญญากับโจทก์เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2542 อันเป็นเวลาหลังจากจำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 4 แล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 ย่อมทราบดีว่าจะทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย การใช้สิทธิของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์นั้น เป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะอ้างสิทธิอันมิชอบด้วยกฎหมายนี้มาต่อสู้เพื่อให้หลุดพ้นจากความรับผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวหาได้ไม่
จำเลยที่ 4 ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทไว้กับโจทก์อยู่ก่อนแล้ว เมื่อจำเลยที่ 4 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยเสียค่าตอบแทนโดยสุจริตและจดทะเบียนการได้มาโดยสุจริตกับพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว แม้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้และต้องเสียเปรียบจากการจดทะเบียนนั้นก็ตาม โจทก์ก็หามีสิทธิเรียกให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนนั้นได้ไม่
จำเลยที่ 4 ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทไว้กับโจทก์อยู่ก่อนแล้ว เมื่อจำเลยที่ 4 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยเสียค่าตอบแทนโดยสุจริตและจดทะเบียนการได้มาโดยสุจริตกับพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว แม้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้และต้องเสียเปรียบจากการจดทะเบียนนั้นก็ตาม โจทก์ก็หามีสิทธิเรียกให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนนั้นได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 116/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์จากการแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า แม้ไม่จดทะเบียนก็มีสิทธิได้ใช้กรรมสิทธิ์
ข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าระหว่างจำเลยกับ ว. ที่ยกบ้านพิพาทให้แก่ผู้ร้องและบุตรของจำเลยและ ว. อีก 3 คน เป็นผู้รับประโยชน์ จึงเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1532 และสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภารยนอกตามาตรา 374 การที่ผู้ร้องเข้าถือเอาประโยชน์ตามข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นการได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์ แม้จะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทำให้การได้มาไม่บริบูรณ์ตามมาตรา 1299 วรรคหนึ่ง แต่บ้านพิพาทตั้งอยู่บนที่สาธารณประโยชน์และผู้ร้องได้เข้าครอบครองบ้านพิพาทแล้วถือได้ว่าผู้ร้องเป็นบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300 แม้จำเลยยังคงอาศัยอยู่ในบ้านพิพาทแต่จำเลยเป็นมารดาของผู้ร้องจึงอยู่อาศัยกับบุตรของตนได้ มิได้ทำให้สิทธิของผู้ร้องสิ้นไป การยื่นคำร้องขัดทรัพย์ในกรณีนี้จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดตามมาตรา 1359 ผู้ร้องจึงร้องขอให้เพิกถอนการยึดได้ โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะบังคับคดีให้กระทบถึงสิทธิของผู้ร้องไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287ร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 116/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์จากสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างหย่า: สิทธิเจ้าของรวมและการคุ้มครองสิทธิ
ข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าระหว่างจำเลยกับ ว. นอกจากจำเลยกับ ว. จะเป็นคู่สัญญาซึ่งกันและกันแล้วยังมีผู้ร้องและบุตรของจำเลยและ ว. อีก 3 คน เข้ามาเกี่ยวข้องเป็นผู้รับประโยชน์แห่งสัญญาด้วย ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1532 และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 การที่ผู้ร้องเข้าถือเอาประโยชน์ตามข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นการได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์อย่างหนึ่งแม้จะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทำให้การได้มาดังกล่าวย่อมไม่บริบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่บ้านพิพาทตั้งอยู่บนที่สาธารณประโยชน์และผู้ร้องได้เข้าครอบครองบ้านพิพาทแล้วเพียงแต่ผู้ร้องยังมิได้ไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ถือได้ว่าผู้ร้องเป็นบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 แม้จะได้ความว่าจำเลยยังคงอาศัยอยู่ในบ้านพิพาทขณะที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดทรัพย์ก็ตามแต่จำเลยเป็นมารดาของผู้ร้องจึงย่อมอยู่อาศัยกับบุตรของตนได้ ข้อเท็จจริงดังกล่าวมิได้ทำให้สิทธิของผู้ร้องดังกล่าวสิ้นไปแต่อย่างใด เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าบ้านพิพาทตกเป็นสิทธิของผู้ร้องร่วมกับบุตรของจำเลยอีก 3 คน และในคำร้องขัดทรัพย์ผู้ร้องได้ระบุข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้ด้วย การยื่นคำร้องขัดทรัพย์ในกรณีนี้จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 ในกรณีเช่นนี้ ผู้ร้องจึงสามารถร้องขอให้เพิกถอนการยึดได้ โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะบังคับคดีให้กระทบถึงสิทธิของผู้ร้องดังกล่าวไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8779/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการอายัดที่ดินเพื่อฟ้องเลิกหุ้นส่วน-ชำระบัญชี: ผู้มีส่วนได้เสียต้องมีเหตุสมควรและสุจริต
ผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินอันอาจจะฟ้องร้องให้บังคับให้มีการจดทะเบียน หรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนตาม ป.ที่ดิน มาตรา 83 วรรคหนึ่ง หมายถึงผู้ที่จะได้ประโยชน์ตามสิทธิใดๆ ของตนในที่ดินนั้น และอาจจะฟ้องร้องให้บังคับให้มีการจดทะเบียนหรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินได้ตามสิทธิใดๆ ที่ตนมีอยู่และอาจจะเสียประโยชน์ในที่ดินหากมีการจดทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนอย่างหนึ่งอย่างใดในที่ดินนั้นก่อนที่จะไปฟ้องร้องให้บังคับให้มีการจดทะเบียน หรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนตามสิทธิของตน ผู้มีส่วนได้เสียที่มีสิทธิขออายัดที่ดินตาม ป.ที่ดินดังกล่าวจึงไม่จำต้องเป็นผู้มีสิทธิเสมือนหนึ่งผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 และไม่จำต้องมีส่วนได้เสียผูกพันกับที่ดินโดยตรง ทั้งไม่จำต้องฟ้องร้องเอาที่ดินเป็นของตนเองหรือฟ้องร้องให้ศาลบังคับให้ทำการจดทะเบียน หรือให้เปลี่ยนแปลงทางทะเบียนโดยตรง และคำพิพากษาก็ไม่จำต้องบังคับให้มีการจดทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนโดยตรงตามที่โจทก์ฎีกา หากคำขอและผลของคำพิพากษานั้นบังคับให้กระทำการใดอันจะนำไปสู่การจดทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนในที่ดินที่ขออายัดแล้ว ก็ย่อมอยู่ในบังคับบทบัญญัติตามมาตรา 83 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.ที่ดิน ที่ว่า "อันอาจจะฟ้องบังคับให้มีการจดทะเบียนหรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน" ในกรณีของห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องนำเงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงานมาลงหุ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1026 ส่วนกำไรก็ดีส่วนขาดทุนก็ดีของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนย่อมเป็นไปตามส่วนที่ลงหุ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1044 เมื่อหุ้นส่วนเลิกกันและมีการชำระบัญชีจะต้องนำสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนมาชำระหนี้ค้างชำระแก่บุคคลภายนอก ชดใช้เงินทดรองและค่าใช้จ่ายซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนได้ออกของตนไปเพื่อจัดการค้าของห้าง และคืนทุนทรัพย์ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนได้ลงเป็นหุ้นถ้ายังมีทรัพย์สินอยู่อีกเท่าไรก็ให้เฉลี่ยแจกเป็นกำไรในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1062 ดังนั้น การฟ้องร้องขอให้เลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชี ผลของคำพิพากษาที่ให้เลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีจึงอาจมีผลให้ต้องมีการจดทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินอันเป็นสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและคำพิพากษานั้นเองผู้เป็นหุ้นส่วนจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะขออายัดที่ดินของห้างหุ้นส่วนเพื่อไปฟ้องร้องขอให้เลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6026/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายเนื่องจากเจ้าหนี้เสียเปรียบจากข้อมูลที่ผู้ซื้อทราบก่อน และการผิดสัญญาของผู้ขาย
ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและอาคารพิพาทไม่ได้มีข้อสัญญาห้ามมิให้นำสินค้าของโจทก์คือถังแก๊สหุงต้มเข้าไปในอาคารพิพาท อาคารพิพาทเป็นอาคารพาณิชย์โจทก์ซื้อมาเพื่อทำการค้า การขายแก๊สหุงต้มเป็นอาชีพสุจริตไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่เหมือนกับการขายยาเสพติด แม้การขนย้ายถังแก๊สหุงต้มเข้าไปในอาคารพิพาทจะไม่ได้แจ้งต่อทางราชการ ก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้เพราะเป็นคนละส่วนกับสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและอาคารพิพาท จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญา จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาจึงต้องเสียค่าปรับให้โจทก์เป็นเงิน 100,000 บาท
หลังจากโจทก์โอนขายอาคารพาณิชย์ของตนให้แก่จำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์ได้ย้ายเข้าไปอยู่ในอาคารพิพาท และจำเลยที่ 2 รู้ว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและอาคารพิพาทกับจำเลยที่ 1 ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะโอนขายที่ดินและอาคารพิพาทให้แก่ตน จำเลยที่ 2 รู้ถึงความจริงข้อนี้อันเป็นทางให้โจทก์ต้องเสียเปรียบ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จึงมีสิทธิที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินและอาคารพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 แม้โจทก์จะไม่ใช่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 ก็ตาม
หลังจากโจทก์โอนขายอาคารพาณิชย์ของตนให้แก่จำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์ได้ย้ายเข้าไปอยู่ในอาคารพิพาท และจำเลยที่ 2 รู้ว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและอาคารพิพาทกับจำเลยที่ 1 ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะโอนขายที่ดินและอาคารพิพาทให้แก่ตน จำเลยที่ 2 รู้ถึงความจริงข้อนี้อันเป็นทางให้โจทก์ต้องเสียเปรียบ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จึงมีสิทธิที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินและอาคารพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 แม้โจทก์จะไม่ใช่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5572/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้โดยไม่สุจริต ทำให้เจ้าหนี้เดิมเสียเปรียบ และมีสิทธิเพิกถอนการโอนได้
แม้สิทธิการเป็นเจ้าหนี้ของโจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจะเป็นเพียงบุคคลสิทธิ แต่การที่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 5 เพื่อตีใช้หนี้ค่าวัสดุก่อสร้างให้จำเลยที่ 5 ไปโดยจำเลยที่ 5 รู้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้โจทก์และรับชำระราคาบางส่วนจากโจทก์แล้วนั้น เป็นการทำนิติกรรมที่ทำให้โจทก์เสียเปรียบตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 โจทก์จึงมีสิทธิขอเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว แม้การโอนที่ดินพิพาทจะได้มีการจดทะเบียนแล้ว แต่เมื่อจำเลยที่ 5 รับโอนไว้โดยไม่สุจริต จำเลยที่ 5 ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติมาตรา 1300 ซึ่งบัญญัติห้ามมิให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์เฉพาะกรณีผู้รับโอนเสียค่าตอบแทนและรับโอนมาโดยสุจริต เท่านั้น