พบผลลัพธ์ทั้งหมด 429 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2056/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้รับโอนตามคำพิพากษา vs สิทธิเจ้าหนี้บังคับคดี: การเพิกถอนการยึดทรัพย์ก่อนขายทอดตลาด
แม้โจทก์จะนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของจำเลยเพื่อบังคับคดีตามคำพิพากษาแล้วก็ตาม แต่เมื่อยังไม่มีการขายทอดตลาด และต่อมาศาลอีกคดีหนึ่งได้พิพากษาตามยอมให้จำเลยโอนทรัพย์ดังกล่าวแก่ผู้ร้อง ผู้ร้องย่อมมีสิทธิตามคำพิพากษาที่จะบังคับจำเลยให้จดทะเบียนสิทธิเหนือทรัพย์ดังกล่าวได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 และมีสิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนการยึดทรัพย์ดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1591/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์มรดกโดยไม่เป็นธรรม ทายาทมีสิทธิเพิกถอนการโอนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300
โจทก์ จำเลยที่ 1 และทายาทอื่นครอบครองที่ดินทรัพย์มรดกร่วมกันมา การที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งไม่ใช่ทายาทโดยไม่มีค่าตอบแทน โจทก์ย่อมฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนเฉพาะส่วนของโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1591/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น และสิทธิในการขอเพิกถอนการโอนที่ดินโดยไม่มีค่าตอบแทน
โจทก์ จำเลยที่ 1 และทายาทอื่นครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันมา จำเลยที่ 1 โอนที่ดินมรดกให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งไม่ใช่ทายาทโดยไม่มีค่าตอบแทน โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1591/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนมรดกโดยไม่เป็นธรรมแก่ผู้ไม่เป็นทายาท และสิทธิเรียกร้องทรัพย์มรดกของทายาท
โจทก์ จำเลยที่ 1 และทายาทอื่นครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันมา จำเลยที่ 1 โอนที่ดินมรดกให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งไม่ใช่ทายาทโดยไม่มีค่าตอบแทน โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6752/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินจากการบังคับคดีและการกันส่วนทรัพย์สินของผู้รับโอนสิทธิจากคำพิพากษาตามยอม
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาประนีประนอมตกลงยกที่ดินพร้อมบ้านพิพาทส่วนของจำเลยที่ 2 ให้แก่ผู้ร้อง โดยจะโอนกรรมสิทธิ์ให้เมื่อผู้ร้องมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางได้มีคำพิพากษาตามยอมแล้ว ขณะยื่นคำร้องขอกันส่วนผู้ร้องมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์แล้ว คำพิพากษาตามยอมจึงมีผลบังคับให้จำเลยที่ 2 ต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงเป็นผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 คดีนี้เดิมโจทก์บังคับคดียึดที่ดินทั้งแปลงพร้อมกัน ผู้ร้องยื่นคำร้องขอกันส่วนโดยอ้างว่าจะได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์เฉพาะส่วนของตนตามคำพิพากษา มิได้อ้างว่าทรัพย์ที่ถูกยึดทั้งหมดไม่ใช่ของจำเลย จึงเป็นเรื่องร้องขอกันส่วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 มิใช่ร้องขัดทรัพย์ตามมาตรา 288 แม้ว่า ร. ขอกันส่วนที่ดินพร้อมบ้านส่วนของตนครึ่งหนึ่ง และผู้ร้องขอกันส่วนที่ดินพร้อมบ้านพิพาทส่วนนี้จนไม่เหลือส่วนของจำเลยที่ 2 มีผลให้โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาผู้นำยึดไม่อาจจะบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์ที่ยึดและขายทอดตลาดได้ แต่ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้ธนาคาร อ. รับชำระหนี้จำนองเงินขายทอดตลาดได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น และให้เข้าสวมสิทธิเข้ายึดทรัพย์แทนโจทก์ได้ ดังนั้น แม้โจทก์จะบังคับชำระหนี้เอาจากเงินที่ขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไม่ได้ แต่เมื่อธนาคาร อ. มีอำนาจเข้าสวมสิทธิยึดทรัพย์แทนโจทก์ต่อไปได้ โดยเมื่อกันส่วนของ ร. แล้ว ธนาคาร อ. ก็มีสิทธิรับชำระหนี้จำนองจากเงินที่เหลือจากการขายทอดตลาดทรัพย์ในส่วนของจำเลยที่ 2 ที่จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ร้องตามคำร้องตามคำพิพากษาก่อนเจ้าหนี้อื่นได้ เมื่อมีเงินเหลือจึงกันเป็นส่วนของผู้ร้องต่อไปได้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอกันส่วนของตนจากเงินที่ขายททอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3690/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการจดทะเบียนโอนที่ดินก่อนการบังคับคดี: เพิกถอนการขายทอดตลาดเมื่อสิทธิเกิดก่อน
ศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องและคดีถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 โจทก์จะบังคับคดียึดที่ดินดังกล่าวอันเป็นการกระทบกระทั่งสิทธิของผู้ร้องซึ่งมีอยู่ก่อนแล้วไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวได้แม้ที่ดินดังกล่าวจะได้ขายทอดตลาดไปแล้ว เพราะเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิจะบังคับยึดที่ดินอันเป็นการกระทบกระทั่งสิทธิของผู้ร้องดังกล่าว การซื้อขายอันเป็นผลมาจากการยึดที่ต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าวย่อมไม่ชอบด้วยเช่นกันแม้ผู้ร้องจะมิได้คัดค้านว่าการขายทอดตลาดไม่ชอบอย่างไร แต่ในคำร้องของผู้ร้องพอแปลความได้ว่าการยึดที่ดินและการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวไม่ชอบเพราะผู้ร้องมีสิทธิดีกว่าและขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด ผู้ร้องจึงย่อมมีสิทธิที่จะขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5557/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายอาคารที่ไม่จดทะเบียน: กรรมสิทธิ์ยังไม่ตกเป็นของผู้ซื้อจนกว่าจะจดทะเบียน และการบังคับคดี
การซื้อขายอาคารอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่คู่สัญญามีความประสงค์จะทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 นั้น ถ้าตราบใดที่ยังมิได้มีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าทีให้เสร็จเรียบร้อย การได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้นย่อมไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง เว้นแต่จะปรากฏว่าอาคารได้ตกเป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 144 วรรคสอง เมื่อจำเลยมีสิทธิที่จะปลูกสร้างในที่ดินได้ อาคารที่จำเลยปลูกสร้างจึงมิได้ตกเป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 146 ดังนั้น นิติกรรมการซื้อขายระหว่างผู้ร้องและจำเลยคงมีฐานะเป็นเพียงสัญญาจะซื้อขายซึ่งสามารถใช้บังคับกันต่อไปได้เท่านั้น กรรมสิทธิ์ในอาคารพิพาทจึงยังไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดิน ดังเช่นกรณีการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดที่คู่สัญญามิได้มีความประสงค์ที่จะทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และแม้จำเลยจะมอบอาคาให้ผู้ร้องครอบครองก็ถือว่าเป็นการครอบครองแทนจำเลยกรรมสิทธิ์ในอาคารยังคงเป็นของจำเลยอยู่ยังถือไม่ได้ว่าผู้ร้องอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 เพราะยังชำระราคากันไม่ครบผู้ร้องจึงยังไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 287 ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธินำยึดอาคารขายทอดตลาดชำระหนี้ได้ ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3766/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบุคคลสิทธิซื้อขาย vs. บุริมสิทธิภาษีอากร: การยึดทรัพย์หลังสัญญาซื้อขาย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 วางหลักไว้ว่า การบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้นย่อมไม่กระทบถึงบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามกฎหมายนั้น คำว่าสิทธิอื่น ๆต้องเป็นสิทธิที่เทียบเคียงได้กับบุริมสิทธิ แต่กรณีของโจทก์แม้จะได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทกับจำเลยที่ 1 ก่อนที่นายอำเภอจะมีคำสั่งให้ยึดที่ดินพร้อมบ้านดังกล่าว และโจทก์ได้ชำระราคาให้จำเลยที่ 1 ครบถ้วนแล้วก็ตาม แต่สิทธิของโจทก์เป็นเพียงบุคคลสิทธิที่จะบังคับให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้โจทก์ตามสัญญาดังกล่าวได้ก่อนบุคคลอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1300 เท่านั้น ต่างจากหนี้ภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อรัฐ เป็นหนี้บุริมสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 253 ทั้งขณะที่นายอำเภอมีคำสั่งให้ยึดที่ดินและบ้านพิพาทเพื่อนำออกขายทอดตลาดเอาเงินมาชำระภาษีนั้น ที่ดินและบ้านพิพาทยังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 อยู่ ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจจดทะเบียนซื้อขายโอนที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ได้ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 12 ทวิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการยึดที่ดินและบ้านพิพาทดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9652/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยผู้จัดการมรดกเกินอำนาจ และผลกระทบต่อสิทธิของผู้ซื้อทราบข้อจำกัด
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยบางส่วน โดยวินิจฉัยว่าจำเลยจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นการทำนอกขอบอำนาจในฐานะผู้จัดการมรดก เป็นการเสียเปรียบแก่ทายาทของเจ้ามรดกและผู้มีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ในฐานะที่จะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อน ทั้งโจทก์รับซื้อที่ดินพิพาทไว้โดยทราบดีอยู่แล้วว่าทายาทของเจ้ามรดกและผู้มีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทได้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทหลายปีแล้ว และควรจะได้รู้อยู่แล้วว่าจำเลยกระทำในฐานะผู้จัดการมรดก จึงเป็นการไม่สุจริต ดังนี้ ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยถูกรอนสิทธิ แต่โจทก์ทราบถึงสิทธิของผู้ก่อกวนการรบกวนในที่ดินพิพาทแล้วในเวลาซื้อขาย จำเลยซึ่งเป็นผู้ขายจึงไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธิต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 476 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยคืนเงินค่าที่ดินพิพาทแก่โจทก์ตามส่วนที่ถูกเพิกถอนการซื้อขาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9499/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้จำนองเหนือสิทธิอื่นที่ยังมิได้จดทะเบียน การบังคับคดีไม่กระทบสิทธิผู้ซื้อ
โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานำยึดทรัพย์จำนองของจำเลยออกขายทอดตลาด และปรากฏในชั้นการจดทะเบียนโอนที่ดินให้ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดว่า ศาลได้มีคำพิพากษาในอีกคดีหนึ่งให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ ก. พร้อมรับชำระราคา หากไม่จดทะเบียนให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ดังนี้ แม้ ก. จะเป็นผู้อยู่ในฐานะอันจดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 แต่ไม่ปรากฏว่า ก. ได้ร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินเข้ามาในคดี ทั้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 ซึ่งอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 288 และ 289 เจ้าหนี้สามัญจะบังคับคดีให้กระทบกระทั่งถึงสิทธิของเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่นที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินนั้นไม่ได้ โจทก์เป็นเจ้าหนี้จำนองซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีหลักประกันพิเศษและตามมาตรา 287 บุริมสิทธิที่จะใช้ได้ก่อนสิทธิจำนองจะต้องเป็นบุริมสิทธิที่ได้จดทะเบียนตาม ป.พ.พ. มาตรา 285 และ 286 แล้วเท่านั้น การบังคับคดีของโจทก์ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิของ ก. เมื่อโจทก์บังคับคดีโดยชอบ จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการบังคับคดีเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องจ่ายเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดชำระหนี้โจทก์และดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ต่อไป