พบผลลัพธ์ทั้งหมด 429 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1754/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเพิกถอนการโอนมรดก และการโอนทรัพย์โดยสุจริต
โจทก์ไม่ได้ฟ้องผู้จัดการมรดกเป็นจำเลย คงฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดก และจำเลยที่ 3 ที่ 4 ซึ่งไม่ใช่ทายาท ขอให้กำจัดทายาทมิให้รับมรดกเนื่องจากปิดบังยักย้ายทรัพย์มรดก และให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินมรดกที่กระทำโดยมิชอบเพื่อโอนที่ดินกลับมาเป็นของเจ้ามรดกตามเดิม กรณีไม่ต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง จึงไม่อาจนำบทบัญญัติอายุความ 5 ปี มาใช้บังคับแก่คดีได้
ในการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่าง ส. กับจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของ ส. เพื่อให้ลายพิมพ์นิ้วมือนั้นถือเสมือนกับการลงลายมือชื่อ และจำเลยที่ 3 รับโอนที่ดินโฉนดส่วนหนึ่งเนื่องจากได้ซื้อไว้จาก ส. นานแล้ว ไม่ใช่รับโอนที่ดินมาในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกซึ่งเป็นสามีของ ส. เมื่อจำเลยที่ 3 รับโอนที่ดินมาโดยมีค่าตอบแทนและกระทำการโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 โจทก์จึงเรียกให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินระหว่าง ส. กับจำเลยที่ 3 ไม่ได้
ในการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่าง ส. กับจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของ ส. เพื่อให้ลายพิมพ์นิ้วมือนั้นถือเสมือนกับการลงลายมือชื่อ และจำเลยที่ 3 รับโอนที่ดินโฉนดส่วนหนึ่งเนื่องจากได้ซื้อไว้จาก ส. นานแล้ว ไม่ใช่รับโอนที่ดินมาในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกซึ่งเป็นสามีของ ส. เมื่อจำเลยที่ 3 รับโอนที่ดินมาโดยมีค่าตอบแทนและกระทำการโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 โจทก์จึงเรียกให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินระหว่าง ส. กับจำเลยที่ 3 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6655/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ที่ไม่สมบูรณ์และการฟ้องขับไล่: จำเลยยังไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์โดยสมบูรณ์จึงยกข้อต่อสู้ไม่ได้
เดิมจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านพิพาท ต่อมาได้ขายให้แก่ ค. และ ค.ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาทระหว่างพิจารณาคดีค. และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่า จำเลยจะซื้อที่ดินพร้อมบ้านพิพาทคืนและจะชำระเงินให้ภายใน 6 เดือน ซึ่งศาลได้พิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว แต่หลังจากที่จำเลยชำระราคาบ้านและที่ดินให้แก่ ค.ครบถ้วนแล้วค. ได้ขายบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ โดยทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ปรากฏว่าหลังจากจำเลยชำระราคาบ้านและที่ดินให้ ค. แล้วก็ยังไม่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แต่อย่างใด ทำให้บ้านพิพาทดังกล่าวยังไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย จำเลยจึงเป็นเพียงบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 เท่านั้น ซึ่งจำเลยอาจยกเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้ หากการโอนกรรมสิทธิ์ระหว่างโจทก์และ ค. ไม่เสียค่าตอบแทนหรือกระทำการโดยไม่สุจริต แต่เมื่อคำให้การของจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์รับโอนบ้านพิพาทโดยไม่มีค่าตอบแทนหรือโดยไม่สุจริตอย่างไรคดีจึงไม่มีประเด็นที่จำเลยจะนำสืบเพื่อยกเป็นข้อต่อสู้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 ได้แม้ก่อนหน้านี้จำเลยจะเคยแถลงต่อศาลทำนองว่า โจทก์รับโอนบ้านพิพาทมาโดยไม่สุจริต แต่การตั้งประเด็นในคดีต้องตั้งด้วยคำคู่ความ จะตั้งด้วยคำแถลงของคู่ความเพียงฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหาได้ไม่ ดังนั้น เมื่อโจทก์ได้รับโอนบ้านพิพาทมาจาก ค. ตามสัญญาซื้อขายที่สมบูรณ์และมีผลบังคับโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์จึงเป็นเจ้าของบ้านพิพาทมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5640/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเลือกชำระหนี้แทนการโอนทรัพย์สิน การรับโอนทรัพย์สินโดยสุจริต และผลของการรับรองจากศาล
คำสั่งศาลจังหวัดสกลนครในคดีก่อนเป็นการสั่งเกี่ยวกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่ามีการกำหนดวิธีการบังคับคดีไว้อย่างไร จำเลยที่ 1 จะต้องชำระหนี้อย่างไรจึงจะถูกต้อง และมีสิทธิเลือกปฏิบัติตามคำพิพากษาได้หรือไม่นั้น เป็นคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษา มิใช่เป็นคำวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือประเด็นแห่งคดี ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เห็นว่าตนมีสิทธิเลือกปฏิบัติตามคำพิพากษาด้วยการชำระเงินโดยไม่ต้องจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองกับพวกก่อน จำเลยทั้งสองย่อมมีสิทธิที่จะยกข้อดังกล่าวขึ้นต่อสู้ในคดีนี้ได้ ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ซึ่งถึงที่สุดไปแล้วนั้น บังคับให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองกับพวก หากช. ไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนา หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามให้จำเลยที่ 1 กับ ช. ร่วมกันชำระเงิน137,000 บาท แก่โจทก์ทั้งสองกับพวกนั้น เป็นการกำหนดให้จำเลยที่ 1 กระทำการชำระหนี้ทีละอย่างก่อนหลังตามลำดับ หาใช่เป็นการกระทำหลายอย่างอันลูกหนี้จะพึงเลือกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 198 ไม่ จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิที่จะเลือกนำเงินจำนวน 137,000 บาท มาชำระแก่โจทก์ทั้งสองกับพวก แต่อย่างไรก็ตามเมื่อปรากฏว่าหลังจากได้มีการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวแล้วจำเลยที่ 1 นำเงินค่าที่ดินจำนวน 137,000 บาท พร้อมค่าทนายความและค่าธรรมเนียมใช้แทนโจทก์ทั้งสองมาวางต่อศาลจังหวัดสกลนครและศาลจังหวัดสกลนครมีคำสั่งให้รับเงินในวันนั้นเอง และจำเลยที่ 1 ได้นำที่ดินพิพาทไปยื่นขอแบ่งขายต่อสำนักงานที่ดินอำเภอสว่างแดนดิน ซึ่งต่อมาสำนักงานที่ดินดังกล่าวมีหนังสือถึงศาลจังหวัดสกลนครเพื่อขอให้อธิบายคำพิพากษาซึ่งศาลก็เห็นชอบด้วยกับความเห็นของสำนักงานที่ดินว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะยื่นคำขอแบ่งขายที่ดินพิพาทได้จำเลยที่ 1 จึงได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ฉะนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300จึงไม่อาจเพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ซึ่งถึงที่สุดไปแล้วนั้น บังคับให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองกับพวก หากช. ไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนา หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามให้จำเลยที่ 1 กับ ช. ร่วมกันชำระเงิน137,000 บาท แก่โจทก์ทั้งสองกับพวกนั้น เป็นการกำหนดให้จำเลยที่ 1 กระทำการชำระหนี้ทีละอย่างก่อนหลังตามลำดับ หาใช่เป็นการกระทำหลายอย่างอันลูกหนี้จะพึงเลือกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 198 ไม่ จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิที่จะเลือกนำเงินจำนวน 137,000 บาท มาชำระแก่โจทก์ทั้งสองกับพวก แต่อย่างไรก็ตามเมื่อปรากฏว่าหลังจากได้มีการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวแล้วจำเลยที่ 1 นำเงินค่าที่ดินจำนวน 137,000 บาท พร้อมค่าทนายความและค่าธรรมเนียมใช้แทนโจทก์ทั้งสองมาวางต่อศาลจังหวัดสกลนครและศาลจังหวัดสกลนครมีคำสั่งให้รับเงินในวันนั้นเอง และจำเลยที่ 1 ได้นำที่ดินพิพาทไปยื่นขอแบ่งขายต่อสำนักงานที่ดินอำเภอสว่างแดนดิน ซึ่งต่อมาสำนักงานที่ดินดังกล่าวมีหนังสือถึงศาลจังหวัดสกลนครเพื่อขอให้อธิบายคำพิพากษาซึ่งศาลก็เห็นชอบด้วยกับความเห็นของสำนักงานที่ดินว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะยื่นคำขอแบ่งขายที่ดินพิพาทได้จำเลยที่ 1 จึงได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ฉะนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300จึงไม่อาจเพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1348/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สุจริตของผู้ซื้อฝาก-การเพิกถอนนิติกรรมขายฝาก: แม้มีสัญญาจะซื้อขายก่อน แต่ผู้ซื้อฝากสุจริตและชำระค่าตอบแทนแล้ว โจทก์ไม่อาจเพิกถอนได้
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือสำคัญเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ซึ่งทางราชการออกให้มีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือสิทธิครอบครองต่อมาจำเลยที่ 2นำที่ดินพิพาทไปยื่นคำร้องขอออกโฉนดที่ดินที่สำนักงานที่ดินโดยอ้างว่าซื้อมาจากจำเลยที่ 1 ตามหนังสือสัญญาขายฝากโจทก์ยื่นคำคัดค้านว่า ที่ดินพิพาทจำเลยที่ 1 ได้ขายให้โจทก์ก่อนแล้วตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายดังนี้ แม้โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท กันก่อนที่จำเลยที่ 1 จะทำหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ก็ตามฐานะของโจทก์ก็มีเพียงขอให้ เพิกถอนสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ที่ทำให้โจทก์ต้องเสียเปรียบเท่านั้น แต่ในการจดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาท จำเลยที่ 2 ได้เสียค่าตอบแทนชำระเงินค่าที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ไม่รู้หรือควรได้รู้ว่าโจทก์ได้ซื้อที่ดินพิพาท จากจำเลยที่ 1 แล้ว เมื่อจำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียน ขายฝากรับโอนที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 1 โดยเสียค่าตอบแทน และกระทำการโดยสุจริตแล้วโจทก์ย่อมไม่อาจที่ จะเพิกถอนนิติกรรมขายฝากระหว่างจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1348/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสัญญาขายฝากที่ดิน: สิทธิของโจทก์ผู้ทำสัญญาจะซื้อขายก่อน และผลของการจดทะเบียนโดยสุจริต
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3) มีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือสิทธิครอบครองต่อมาจำเลยที่ 2 นำที่ดินพิพาทไปยื่นคำร้องขอออกโฉนดที่ดินที่สำนักงานที่ดิน โดยอ้างว่าซื้อมาจากจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2515 ตามหนังสือสัญญาขายฝาก การที่โจทก์ยื่นคำคัดค้านอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ โดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ก่อนแล้วตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม 2515 ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายก่อนที่จำเลยที่ 1 จะทำหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 1ได้สละและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ดังนี้ ฐานะของโจทก์ย่อมมีเพียงขอให้เพิกถอนสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ที่ทำให้โจทก์ต้องเสียเปรียบเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1จดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2ได้เสียค่าตอบแทนชำระเงินค่าที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1และโดยจำเลยที่ 2 ไม่รู้หรือควรได้รู้ว่าโจทก์ได้ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนขายฝากรับโอนที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 1 โดยเสียค่าตอบแทนและกระทำการโดยสุจริตแล้ว โจทก์ก็ไม่อาจที่จะเพิกถอนนิติกรรมขายฝากระหว่างจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1348/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในที่ดินแก่บุคคลที่สามโดยสุจริต แม้มีสัญญาจะซื้อขายก่อนหน้านี้ ผู้ซื้อรายแรกไม่อาจเพิกถอนได้
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือสำคัญเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ซึ่งทางราชการออกให้มีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือสิทธิครอบครองต่อมา จำเลยที่ 2 นำที่ดินพิพาทไปยื่นคำร้องขอออกโฉนดที่ดินที่สำนักงานที่ดิน โดยอ้างว่าซื้อมาจากจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2515 ตามหนังสือสัญญาขายฝากแต่โจทก์ยื่นคำคัดค้านอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 ได้ขายที่ดินพิพาทให้โจทก์แล้วตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม 2515 ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายแม้โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกันเมื่อวันที่ 30 มกราคม2515 ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะทำหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ก็ตามฐานะของโจทก์ก็มีเพียงขอให้เพิกถอนสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ที่ทำให้โจทก์ต้องเสียเปรียบเท่านั้น แต่การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ได้เสียค่าตอบแทนชำระเงินค่าที่ดิน-พิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ไม่รู้หรือควรได้รู้ว่า โจทก์ได้ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 แล้ว ดังนี้เมื่อจำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนขายฝากรับโอนที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 1 โดยเสียค่าตอบแทนและกระทำการโดยสุจริตแล้ว โจทก์ก็ไม่อาจที่จะเพิกถอนนิติกรรมขายฝากระหว่างจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4420/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์เป็นผลให้ได้กรรมสิทธิ์เมื่อจดทะเบียนแล้ว ผู้สอดร้องขอไม่มีสิทธิ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นคดีนี้โดยอ้างการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทนั้นไปแล้ว คดีได้เสร็จสิ้นกระบวนการสมบูรณ์แล้วตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการจดทะเบียนให้ผู้ร้องเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามคำสั่งศาลชั้นต้น ตั้งแต่ก่อนวันที่ผู้ร้องสอดร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความเกิน 10 ปีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นก็ไม่มีอีกต่อไป ผู้ร้องสอดจึงไม่มีส่วนได้เสียและไม่มีสิทธิร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (1)ในคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4420/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเป็นคู่ความและการหมดอายุสิทธิร้องสอดคดี การครอบครองปรปักษ์ และผลของการจดทะเบียนสิทธิ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นคดีนี้โดยอ้างการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทนั้นไปแล้ว คดีได้เสร็จสิ้นกระบวนการสมบูรณ์แล้วตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการจดทะเบียนให้ผู้ร้องเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามคำสั่งศาลชั้นต้นตั้งแต่ก่อนวันที่ผู้ร้องสอดร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความเกิน10 ปี การบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นก็ไม่มีอีกต่อไป ผู้ร้องสอดจึงไม่มีส่วนได้เสียและไม่มีสิทธิร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(1) ในคดนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3800/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องเปลี่ยนลักษณะการยึดถือจากเดิมที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของ
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าได้ครอบครองที่ดินและตึกแถวที่พิพาทโดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเกินสิบปีจึงได้กรรมสิทธิ์ แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยเข้าอยู่อาศัยในที่ดินและตึกแถวพิพาทโดย ป.ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อนุญาต จึงเป็นการที่จำเลยยึดถือครอบครองแทน ป. เมื่อมิใช่ ป.ได้ยกที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้จำเลยยึดถือครอบครองในฐานะเป็นเจ้าของ และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 ดังนั้นไม่ว่า ว.และโจทก์ได้ซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยสุจริตหรือไม่จำเลยก็ไม่อาจอ้างการครอบครองปรปักษ์ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ โจทก์ฎีกาว่า ที่ดินและตึกแถวพิพาทมีอัตราค่าเช่าไม่น้อยกว่าเดือนละ 15,000 บาท แต่ปรากฏว่าในชั้นอุทธรณ์โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวเพียงแต่แก้อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายเพิ่มขึ้น ปัญหาเรื่องค่าเสียหายจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะหยิบยกปัญหานี้ขึ้นมาให้ศาลฎีกาวินิจฉัยได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3800/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องไม่เป็นการครอบครองแทนเจ้าของเดิม หากเจ้าของเดิมให้ความยินยอม
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าได้ครอบครองที่ดินและตึกแถวที่พิพาทโดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเกินสิบปีจึงได้กรรมสิทธิ์ แต่ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยเข้าอยู่อาศัยในที่ดินและตึกแถวพิพาทโดย ป.ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อนุญาต จึงเป็นการที่จำเลยยึดถือครอบครองแทน ป.เมื่อมิใช่ ป.ได้ยกที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้จำเลยยึดถือครอบครองในฐานะเป็นเจ้าของ และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตาม ป.พ.พ.มาตรา 1381 ดังนั้นไม่ว่า ว.และโจทก์ได้ซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยสุจริตหรือไม่ จำเลยก็ไม่อาจอ้างการครอบครองปรปักษ์ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
โจทก์ฎีกาว่า ที่ดินและตึกแถวพิพาทมีอัตราค่าเช่าไม่น้อยกว่าเดือนละ 15,000 บาท แต่ปรากฏว่าในชั้นอุทธรณ์โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวเพียงแต่แก้อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายเพิ่มขึ้น ปัญหาเรื่องค่าเสียหายจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะหยิบยกปัญหานี้ขึ้นมาให้ศาลฎีกาวินิจฉัยได้อีก
โจทก์ฎีกาว่า ที่ดินและตึกแถวพิพาทมีอัตราค่าเช่าไม่น้อยกว่าเดือนละ 15,000 บาท แต่ปรากฏว่าในชั้นอุทธรณ์โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวเพียงแต่แก้อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายเพิ่มขึ้น ปัญหาเรื่องค่าเสียหายจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะหยิบยกปัญหานี้ขึ้นมาให้ศาลฎีกาวินิจฉัยได้อีก