พบผลลัพธ์ทั้งหมด 429 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องชำระหนี้ของผู้รับจำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ แม้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจำนองมีการโอน
เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้แก่โจทก์ ก่อนที่ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์รวมในส่วนของจำเลยที่ 2 บางส่วนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับจำนองจึงชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากที่ดินพิพาทก่อนเจ้าหนี้สามัญโดยมิพักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจำนองจะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 702 วรรคสองดังนั้นผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอกันส่วนที่ดินของตนจากที่ดินที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 นำยึดไว้ แต่ชอบที่ผู้ร้องจะขอกันส่วนของตนจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้จำนองเหนือทรัพย์สินที่มีการถือกรรมสิทธิ์รวม และสิทธิเรียกร้องเงินจากการบังคับคดี
เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้แก่โจทก์ตั้งแต่ก่อนที่ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์รวมในส่วนของจำเลยที่ 2 บางส่วน ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับจำนองจึงชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากที่ดินพิพาทก่อนเจ้าหนี้สามัญโดยมิพักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจำนองจะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 702 วรรคสอง ดังนั้น ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอกันส่วนที่ดินของตนจากที่ดินที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 นำยึดไว้ แต่ชอบที่ ผู้ร้องจะขอกันส่วนของตนจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลล่างทั้งสองที่ให้ยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสี่ให้ผู้ร้องทั้งสี่มีสิทธิได้รับเงินที่เหลือจากการขายทอดตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5113/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบุคคลสิทธิ vs. ทรัพย์สิทธิ: อำนาจฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายที่ดิน
ตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าจำเลยที่1ทำสัญญาจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายบ้านพร้อมที่ดินเอกสารท้ายฟ้องต่อมาจำเลยที่1กลับจดทะเบียนโอนขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่4โดยความยินยอมของจำเลยที่2และที่3ผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นทางให้เสียเปรียบแก่โจทก์ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่4นั้นเมื่อสิทธิของโจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวเป็นเพียงบุคคลสิทธิซึ่งมีสิทธิเพียงที่จะบังคับให้จำเลยที่1ไปทำการโอนขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ให้แก่โจทก์ตามสัญญาเท่านั้นโจทก์หามีทรัพย์สิทธิที่จะไปบังคับแก่จำเลยที่4ผู้ซื้อที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์จากจำเลยที่1แต่อย่างใดไม่ดังนี้โจทก์จึงมิใช่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1300จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5113/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบุคคลสิทธิ vs. ทรัพย์สิทธิ: การเพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ดินเมื่อมีสัญญาจะซื้อจะขายก่อน
ตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ให้แก่โจทก์ ตามสัญญาจะซื้อจะขายบ้านพร้อมที่ดินเอกสารท้ายฟ้องต่อมาจำเลยที่ 1 กลับจดทะเบียนโอนขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 4 โดยความยินยอมของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้ใช้อำนาจปกครอง เป็นทางให้เสียเปรียบแก่โจทก์ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 นั้น เมื่อสิทธิของโจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวเป็นเพียงบุคคลสิทธิซึ่งมีสิทธิเพียงที่จะบังคับให้จำเลยที่ 1 ไปทำการโอนขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ให้แก่โจทก์ตามสัญญาเท่านั้น โจทก์หามีทรัพย์สิทธิที่จะไปบังคับแก่จำเลยที่ 4 ผู้ซื้อที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์จากจำเลยที่ 1 แต่อย่างใดไม่ ดังนี้โจทก์จึงมิใช่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1300 จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5113/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบุคคลสิทธิ vs. ทรัพย์สิทธิ และอำนาจฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียน
ตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ให้แก่โจทก์ ตามสัญญาจะซื้อจะขายบ้านพร้อมที่ดินเอกสารท้ายฟ้อง ต่อมาจำเลยที่ 1 กลับจดทะเบียนโอนขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 4โดยความยินยอมของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นทางให้เสียเปรียบแก่โจทก์ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 นั้น เมื่อสิทธิของโจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวเป็นเพียงบุคคลสิทธิซึ่งมีสิทธิเพียงที่จะบังคับให้จำเลยที่ 1 ไปทำการโอนขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ให้แก่โจทก์ตามสัญญาเท่านั้น โจทก์หามีทรัพย์สิทธิที่จะไปบังคับแก่จำเลยที่ 4 ผู้ซื้อที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์จากจำเลยที่ 1 แต่อย่างใดไม่ ดังนี้โจทก์จึงมิใช่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5023/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนนิติกรรมฉ้อฉลและการโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นเวลานานเกือบ 5 ปี นับจากวันฟ้อง และเลื่อนคดีจากวันนัดเดิมเป็นระยะเวลาห่างกันถึง 41 วัน ทั้งศาลชั้นต้นยังกำหนดให้นัดสืบพยานไว้เต็มวันและได้กำชับทนายความจำเลยที่ 3 และที่ 4 ให้นำพยานมาสืบให้พร้อมตามนัด ทนายความจำเลยที่ 3 และที่ 4 ย่อมมีโอกาสติดต่อตระเตรียมให้จำเลยที่ 3 มาเบิกความเป็นพยานได้ล่วงหน้าเป็นเวลานานถึง 1 เดือนเศษ ซึ่งทนายความจำเลยที่ 3และที่ 4 ตลอดทั้งตัวจำเลยที่ 3 ย่อมทราบดีอยู่แล้วว่าคดีนี้ได้ค้าง การพิจารณามาเกือบ 5 ปี และการที่ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานคราวละหลายวันโดยกำหนดให้สืบพยานตลอดทั้งวัน ทั้งได้กำชับให้นำพยานมาสืบตามนัดก็เพื่อเร่งรัดการพิจารณาคดีมิให้ล่าช้าต่อไป การที่ตัวจำเลยที่ 3 ทราบวันนัดล่วงหน้าและมีโอกาสเตรียมตัวเป็นพยานนับเดือน แต่จำเลยที่ 3 ไม่มาตามนัดกลับไปอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์โดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือติดต่อให้ทนายความของตนทราบจนกระทั่งทนายความต้องติดต่อทางโทรศัพท์ไปที่บ้านของจำเลยที่ 3 ในวันนัด ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะออกนั่งพิจารณาเพียงเล็กน้อย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 มิได้ใส่ใจในการเป็นพยานเพื่อประโยชน์ของตนเองการกระทำของจำเลยที่ 3 ถือได้ว่ามีเจตนาประวิงคดีให้ล่าช้าทั้งการที่ตัวจำเลยที่ 3 มาศาลชั้นต้นไม่ได้เพราะฝนตกหนักก็มิใช่เหตุสุดวิสัย หรือเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้แต่อย่างใดศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจงดสืบตัวจำเลยที่ 3 ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองบรรยายสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า เดิมจำเลยที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโฉนดเลขที่ 25452 จากจำเลยที่ 3 ที่ดินโฉนดเลขที่ 25453จากจำเลยที่ 4 และที่ดินบางส่วนของโฉนดเลขที่ 1377จากจำเลยที่ 3 และที่ 4 แล้ว ต่อมาจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโฉนดเลขที่ 29097 ของจำเลยที่ 1 และที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวข้างต้นให้แก่โจทก์ทั้งสอง โดยให้โจทก์ทั้งสองเข้าสวมสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาดังที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 แต่ภายหลังจำเลยทั้งหกร่วมกันฉ้อฉลโจทก์ทั้งสองด้วยการโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 25452 และ 25453 ให้แก่จำเลยที่ 5และจำเลยที่ 5 โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 25453 ให้แก่จำเลยที่ 6อีกทอดหนึ่งซึ่งจำเลยทั้งหกรู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้โจทก์ทั้งสองเสียเปรียบและไม่มีการชำระเงินค่าตอบแทนกัน นอกจากนี้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังใช้อุบายเพื่อให้โจทก์ทั้งสองตกเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ทั้งสองจึงฟ้องเรียกค่าเสียหายและมีคำขอบังคับขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างจำเลยที่ 3 และที่ 4ที่ 5 และที่ 6 แล้วบังคับให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4โอนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองหรือบุคคลหรือนิติบุคคลที่โจทก์ทั้งสองเป็นผู้กำหนดให้เป็นผู้รับโอน โดยโจทก์ทั้งสองจะชำระค่าตอบแทนการโอนตามสัญญา และให้จำเลยทั้งหกร่วมกันชำระค่าเสียหายหากสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้โจทก์ทั้งสองได้รับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 25452,25453 และ 1377 ก็ให้จำเลยทั้งหกร่วมกันชำระเงินมัดจำ ค่าปรับ และค่าเสียหาย พร้อมด้วยดอกเบี้ย ให้แก่โจทก์ทั้งสอง คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองเช่นนี้ย่อมเข้าใจได้ว่า โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลของจำเลยทั้งหกเนื่องจากจำเลยทั้งหกร่วมกันโอนที่ดินซึ่งโจทก์ทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายไว้แล้วไปอีกหลายทอดโดยจำเลยทั้งหกรู้อยู่แล้วว่าการกระทำดังกล่าวเป็นทางให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ จึงขอให้บังคับไปตามสัญญา แต่ถ้าสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องเกี่ยวกับการรับโอนที่ดินบางแปลงดังกล่าวแล้ว ก็ให้จำเลยทั้งหกร่วมกันชำระเงินมัดจำ ค่าปรับ และค่าเสียหายพร้อมด้วยดอกเบี้ยแทนอันเป็นการขอให้บังคับเป็นขั้นเป็นตอนตามลำดับ คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ หาได้เคลือบคลุมไม่ แม้ขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจำเลยที่ 1 และที่ 2จะมิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2ก็สามารถทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองได้เพราะเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทนั้นในภายภาคหน้า ไม่จำเป็นที่ในขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทอยู่ก่อนแล้วส่วนข้อความในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทข้อ 2 ที่ระบุว่า "ผู้จะขายตกลงให้ผู้จะซื้อเข้าสวมสิทธิและหน้าที่ในการซื้อขายที่ดินตาม "สัญญา ก." แทนผู้จะขายได้ตามเงื่อนไขและข้อกำหนดในสัญญานั้นทุกประการ นับแต่วันทำสัญญาฉบับนี้"และข้อ 5 ระบุว่า "ส่วนสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทเฉพาะ2 ใน 11 ส่วน ตาม "สัญญา ก." ซึ่งผู้จะขายมีอยู่อย่างไรก็ให้ผู้จะซื้อรับไปซึ่งสิทธิและหน้าที่นั้น ๆ โดยผู้จะซื้อจะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องหรือบังคับใด ๆ และอื่นใดแก่ผู้จะขายไม่ว่ากรณีใด ๆนับแต่วันทำสัญญาฉบับนี้" ย่อมแปลความหมายได้ว่า จำเลยที่ 2 ย้ำเจตนาของจำเลยที่ 2 ที่จะขายที่ดินพิพาทดังกล่าวตามสิทธิที่จำเลยที่ 2 มีอยู่ต่อจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองรวมกับที่ดินแปลงอื่น ข้อความที่ว่านี้หาได้หมายถึงการโอนสิทธิเรียกร้องหรือการแปลงหนี้ใหม่เพื่อให้หนี้เดิมระงับไปไม่ เหตุที่โจทก์ทั้งสองไม่สามารถจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทได้เนื่องจากการกระทำของ น. ผู้รับมอบอำนาจของจำเลยที่ 1 ปฏิเสธการรับชำระหนี้จากโจทก์ทั้งสองด้วยการพยายามบ่ายเบี่ยงอ้างเหตุต่าง ๆ นานาเพื่อมิให้โจทก์ทั้งสองปฏิบัติการชำระหนี้และดำเนินการจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงดังกล่าวได้ทัน พฤติการณ์ของ น. บ่งบอกได้ว่าความจริงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะคู่สัญญาฝ่ายผู้ขายไม่ประสงค์จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสอง ดังนั้นการที่ น. ปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้ตามที่โจทก์ทั้งสองขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบ จึงถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเพียงฝ่ายเดียว โจทก์ทั้งสองหาได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายเอาแก่โจทก์ทั้งสองและโจทก์ทั้งสองชอบจะฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้จะขายร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองได้แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงนั้นด้วยก็ตาม ก่อนโจทก์ทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโฉนดเลขที่25452,25453 เอกสารหมาย จ.1 กับจำเลยที่ 1 และที่ 2โจทก์ทั้งสองได้ไปพบกับจำเลยที่ 3 แจ้งเรื่องที่โจทก์ทั้งสองจะซื้อที่ดินทั้งสามแปลงที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.2 ให้แก่จำเลยที่ 2 ไว้ให้จำเลยที่ 3 ทราบ และนัดให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ไปทำสัญญากับโจทก์ทั้งสองโดยตรงซึ่งจำเลยที่ 3 และที่ 4 ก็ตกลง ต่อมาโจทก์ทั้งสองทราบจากจำเลยที่ 3 ว่า ช. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้พาคนอื่นมาซื้อที่ดินแปลงโฉนดเลขที่25452 และ 25453 จากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไปแล้ว ทั้งการโอนขายที่ดินทั้งสองแปลงนั้นก็โอนขายกันในราคาที่ต่ำกว่าสัญญาจะซื้อ จะขายที่ทำไว้กับจำเลยที่ 2 มาก ซึ่งจำเลยที่ 3 และที่ 4ก็ทราบดีว่าที่ดินทั้งสามแปลงทำสัญญาจะขายให้แก่จำเลยที่ 2โดยจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาจะขายให้แก่โจทก์ทั้งสองแล้วแสดงว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นลูกหนี้ของจำเลยที่ 2ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน เอกสารหมาย จ.2 ได้ทำการโอนที่ดินให้แก่ จำเลยที่ 5 และที่ 6 ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าจะเป็นทางให้โจทก์ทั้งสอง ผู้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 2 ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเอกสารหมาย จ.1 เสียเปรียบโจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 3ที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ให้เพิกถอนการโอนที่ดินแปลงโฉนดเลขที่ 25452และ 25453 ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 วรรคหนึ่งเมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้เพิกเฉยไม่ใช้สิทธิฟ้องร้องเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียประโยชน์โจทก์ทั้งสองจึงใช้สิทธิเรียกร้องในนามของตนเองแทนจำเลยที่ 2เพื่อป้องกันสิทธิของโจทก์ทั้งสองในมูลหนี้นั้นได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 233 ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองยกบทบัญญัติในมาตรา 233 และ 237 วรรคหนึ่ง มาปรับใช้แก่คดีนี้ชอบแล้วหาได้เป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นไม่ การที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ขายที่ดินแปลงโฉนดเลขที่ 25452และ 25453 ให้แก่จำเลยที่ 5 ในราคาแปลงละ 1,000,000 บาทและจำเลยที่ 5 ขายที่ดินแปลงโฉนดเลขที่ 25453 ให้แก่จำเลยที่ 6ในราคา 1,500,000 บาท เป็นการซื้อขายที่ดินในราคาที่ต่ำกว่าราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดโดยทั่วไป ทั้งต่ำกว่าราคาที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำสัญญาจะขายให้แก่จำเลยที่ 2ไว้ก่อนแล้วอย่างมาก เมื่อนำราคาซื้อขายที่ต่ำกว่าราคาปกติดังกล่าวมาพิจารณาร่วมกับการที่จำเลยที่ 5 ไม่เคยไปดูสภาพที่ตั้งของที่ดินที่จะซื้อก่อนว่ามีสภาพอย่างไรมีทางเข้าออกทางสาธารณะหรือไม่ ย่อมบ่งบอกได้ว่าจำเลยที่ 5 รับโอนที่ดินแปลงโฉนดเลขที่25452 และ 25453 จากจำเลยที่ 3 และที่ 4 มาโดยไม่สุจริตอีกทั้งจำเลยที่ 5 และที่ 6 เกี่ยวข้องเป็นญาติกับ ช.กรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 1 และที่ 3 ด้วยแล้วจึงมีเหตุให้เชื่อได้ว่า จำเลยที่ 5 และที่ 6 ทราบดีอยู่ก่อนที่จะทำการจดทะเบียนโอนแล้วว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแปลงโฉนดเลขที่ 25452 และ 25453 ให้แก่จำเลยที่ 2 ก่อนแล้ว อันเป็นอีกเหตุหนึ่งที่สนับสนุนให้เชื่อว่าจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวและดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันโดยไม่สุจริตโจทก์ทั้งสองผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตน ได้อยู่ก่อนชอบที่จะใช้สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินทั้งสองแปลงนั้นเสียได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 จำเลยทั้งหกร่วมกันฉ้อฉลมิให้โจทก์ทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงโฉนดเลขที่ 25452,25453 และ 1377 ที่โจทก์ทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายไว้กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังนี้ หากสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้โจทก์ทั้งสองหรือบุคคลหรือนิติบุคคลที่โจทก์ทั้งสองกำหนดให้เป็นผู้รับโอนสามารถรับโอนได้ จำเลยที่ 1 ที่ 2ที่ 3 และที่ 4 ก็จะต้องร่วมกันรับผิดคืนเงินมัดจำจำนวน2,760,800 บาท และเบี้ยปรับ 2 เท่าของเงินมัดจำจำนวน5,521,600 บาท รวมเป็นเงิน 8,282,400 บาท ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าว พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่โจทก์ทั้งสอง การกำหนดค่าทนายความแก่คู่ความผู้ชนะคดีเป็นดุลพินิจของศาลในแต่ละศาล คดีนี้เป็นคดีที่มีจำนวนทุนทรัพย์สูงถึง73,282,400 บาทและเป็นคดีที่มีข้อยุ่งยากสลับซับซ้อน ทั้งต้องใช้เวลาในการพิจารณาในศาลชั้นต้นนานถึง 5 ปีเศษ หากเปรียบเทียบอัตราค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งหกร่วมกันใช้แทน โจทก์ทั้งสอง 1,000,000 บาท และศาลอุทธรณ์กำหนด 500,000 บาท กับอัตราตามที่กฎหมายกำหนดให้ตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แล้ว อัตราที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กำหนดดังกล่าวยังต่ำกว่าอัตราขั้นสูงที่กฎหมายให้อำนาจศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กำหนดได้อยู่มาก นับได้ว่าศาลล่างทั้งสองได้ใช้ดุลพินิจกำหนดค่าทนายความให้จำเลยทั้งหกร่วมกันใช้แทนโจทก์ทั้งสองเหมาะสมแก่รูปคดีและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3011/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการจดทะเบียนที่ดินหลังการขายทอดตลาด แม้มีคำสั่งห้ามทำนิติกรรมจากศาลคดีแพ่ง
การที่จำเลยทั้งสามนำที่ดินจำนวน23แปลงของจำเลยที่2ที่ผู้ร้องซื้อจากการขายทอดตลาดรวมอยู่ด้วยมาเป็นหลักประกันการทุเลาการบังคับโดยจำเลยที่2ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันไว้ต่อศาลชั้นต้นและศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานที่ดินมิให้ทำนิติกรรมใดๆเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นนั้นแม้หนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่2ทำไว้ต่อศาลชั้นต้นดังกล่าวจะมีผลจนกว่าจำเลยที่2จำชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์จนครบถ้วนก็ตามแต่ที่ดินที่จำเลยที่2นำมาเป็นหลักประกันศาลชั้นต้นเพียงแต่มีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานที่ดินมิให้ทำนิติกรรมใดๆเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นที่ดินดังกล่าวยังมิได้ถูกยึดหรืออายัดตามบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหรือกฎหมายอื่นจึงไม่ต้องห้ามมิให้กรมสรรพากรยึดที่ดินดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา290กรมสรรพากรย่อมมีอำนาจยึดที่ดินของจำเลยที่2ที่นำมาเป็นหลักประกันไวต่อศาลออกขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ค่าภาษีได้ การที่ผู้ร้องซื้อที่ดินที่กรมสรรพากรขายทอดตลาดและได้ชำระราคาครบถ้วนแล้วผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะจะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1300และเมื่อกรมสรรพากรมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่ผู้ร้องแต่เจ้าพนักงานที่ดินมิอาจดำเนินการให้ได้เพราะศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามมิให้ทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวเช่นนี้ย่อมเห็นได้ชัดแจ้งว่าผู้ร้องมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ได้สั่งห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ผู้ร้องซื้อมาผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ผู้ร้องซื้อมาจากการขายทอดตลาดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(1)กรณีไม่มีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมายในการที่จะไม่เพิกถอนคำสั่งห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3011/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการจดทะเบียนที่ดินหลังการขายทอดตลาด แม้มีคำสั่งห้ามทำนิติกรรมจากคดีแพ่ง ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกร้องให้เพิกถอนคำสั่ง
การที่จำเลยทั้งสามนำที่ดินจำนวน 23 แปลง ของจำเลยที่ 2ที่ผู้ร้องซื้อจากการขายทอดตลาดรวมอยู่ด้วยมาเป็นหลักประกันการทุเลาการบังคับโดยจำเลยที่ 2 ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันไว้ต่อศาลชั้นต้นและศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานที่ดินมิให้ทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นนั้น แม้หนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อศาลชั้นต้นดังกล่าวจะมีผลจนกว่าจำเลยที่ 2 จำชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์จนครบถ้วนก็ตามแต่ที่ดินที่จำเลยที่ 2 นำมาเป็นหลักประกันศาลชั้นต้นเพียงแต่มีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานที่ดินมิให้ทำนิติกรรมใด ๆเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นที่ดินดังกล่าวยังมิได้ถูกยึดหรืออายัดตามบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หรือกฎหมายอื่นจึงไม่ต้องห้ามมิให้กรมสรรพากรยึดที่ดินดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 กรมสรรพากรย่อมมีอำนาจยึดที่ดินของจำเลยที่ 2 ที่นำมาเป็นหลักประกันไวต่อศาลออกขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ค่าภาษีได้ การที่ผู้ร้องซื้อที่ดินที่กรมสรรพากรขายทอดตลาดและได้ชำระราคาครบถ้วนแล้ว ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะจะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300และเมื่อกรมสรรพากรมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่ผู้ร้อง แต่เจ้าพนักงานที่ดินมิอาจดำเนินการให้ได้เพราะศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามมิให้ทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวเช่นนี้ ย่อมเห็นได้ชัดแจ้งว่าผู้ร้องมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ได้สั่งห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ผู้ร้องซื้อมาผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ผู้ร้องซื้อมาจากการขายทอดตลาดได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)กรณีไม่มีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมายในการที่จะไม่เพิกถอนคำสั่งห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3011/2540 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการจดทะเบียนที่ดินจากการซื้อขายทอดตลาด แม้มีคำสั่งห้ามทำนิติกรรมชั่วคราว
การที่จำเลยทั้งสามนำที่ดินจำนวน 23 แปลง ของจำเลยที่ 2ที่ผู้ร้องซื้อจากการขายทอดตลาดรวมอยู่ด้วยมาเป็นหลักประกันการทุเลาการบังคับโดยจำเลยที่ 2 ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันไว้ต่อศาลชั้นต้นและศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานที่ดินมิให้ทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นนั้น แม้หนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อศาลชั้นต้นดังกล่าวจะมีผลจนกว่าจำเลยที่ 2 จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์จนครบถ้วนก็ตาม แต่ที่ดินที่จำเลยที่ 2 นำมาเป็นหลักประกันศาลชั้นต้นเพียงแต่มีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานที่ดินมิให้ทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ที่ดินดังกล่าวยังมิได้ถูกยึดหรืออายัดตามบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ.หรือกฎหมายอื่น จึงไม่ต้องห้ามมิให้กรมสรรพากรยึดที่ดินดังกล่าวตาม ป.วิ.พ.มาตรา 290 กรมสรรพากรย่อมมีอำนาจยึดที่ดินของจำเลยที่ 2 ที่นำมาเป็นหลักประกันไว้ต่อศาลออกขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ค่าภาษีได้
การที่ผู้ร้องซื้อที่ดินที่กรมสรรพากรขายทอดตลาดและได้ชำระราคาครบถ้วนแล้ว ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะจะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1300 และเมื่อกรมสรรพากรมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่ผู้ร้อง แต่เจ้าพนักงานที่ดินมิอาจดำเนินการให้ได้เพราะศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามมิให้ทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวเช่นนี้ ย่อมเห็นได้ชัดแจ้งว่าผู้ร้องมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ได้สั่งห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ผู้ร้องซื้อมา ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ผู้ร้องซื้อมาจากการขายทอดตลาดได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา57 (1) กรณีไม่มีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมายในการที่จะไม่เพิกถอนคำสั่งห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว
การที่ผู้ร้องซื้อที่ดินที่กรมสรรพากรขายทอดตลาดและได้ชำระราคาครบถ้วนแล้ว ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะจะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1300 และเมื่อกรมสรรพากรมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่ผู้ร้อง แต่เจ้าพนักงานที่ดินมิอาจดำเนินการให้ได้เพราะศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามมิให้ทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวเช่นนี้ ย่อมเห็นได้ชัดแจ้งว่าผู้ร้องมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ได้สั่งห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ผู้ร้องซื้อมา ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ผู้ร้องซื้อมาจากการขายทอดตลาดได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา57 (1) กรณีไม่มีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมายในการที่จะไม่เพิกถอนคำสั่งห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2971/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการฟ้องแบ่งมรดก: เริ่มนับเมื่อจัดการมรดกเสร็จสิ้น แม้ผู้จัดการมรดกไม่ยกอายุความ
เจ้ามรดกมิได้ทำพินัยกรรมไว้ มรดกของเจ้ามรดกจึงตกได้แก่ทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1620 วรรคหนึ่ง และมาตรา 1629 เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว จำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลย่อมมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายในอันที่จะรวบรวมทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันแก่ทายาทต่อไป ทั้งไม่ปรากฎว่าโจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดพิพาทมาก่อนแต่อย่างใด เมื่อโจทก์และจำเลยทั้งสองต่างเป็นทายาท การฟ้องคดีของโจทก์จึงเป็นเรื่องขอแบ่งมรดกของเจ้ามรดกโดยมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอกเช่นนี้ จึงไม่อาจนำพระราชบัญญัติมาตรา 1300 มาใช้กับกรณีตามฟ้องของโจทก์คดีนี้ได้ เจ้ามรดกมีทรัพย์มรดกคือที่ดินโฉนดพิพาทและที่ดินโฉนดเลขที่2027 เพียง 2 แปลง โดยไม่มีทรัพย์มรดกอื่นใด จำเลยที่ 1ได้จัดการโอนที่ดินโฉนดพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2527 โดยทายาทอื่นบางคนก็ทราบและจำเลยที่ 1 จัดการขายที่ดินโฉนดเลขที่ 2027เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2530 นำเงินมาทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ามรดกและแบ่งเงินที่เหลือให้ทายาทบางคนโดยการขายที่ดินนี้ทายาททุกคนซึ่งรวมทั้งโจทก์ด้วยก็ให้ความยินยอม ดังนี้ถือได้ว่าการครอบครองที่ดินโฉนดพิพาทของจำเลยที่ 2นับแต่ได้รับโอนต่อมาเป็นการครอบครองเพื่อตนมิใช่การครอบครองแทนทายาทอื่น ทั้งมีการแบ่งปันมรดกให้แก่ทายาทและการจัดการมรดกสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2530 ซึ่งถือว่าเป็นวันเริ่มนับอายุความในการใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการฟ้องขอแบ่งมรดก จำเลยที่ 3 ในฐานะทายาทและเป็นผู้รับโอนที่ดินโฉนดพิพาทมาจากจำเลยที่ 2 ในเวลาต่อมา จึงอยู่ในฐานะผู้สืบสิทธิจากจำเลยที่ 2 อีกฐานะหนึ่งด้วยย่อมยกอายุความหนึ่งปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754,1755ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2536เป็นระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี ไม่ว่าจะนับแต่วันที่ถือว่าจำเลยที่ 2 ครอบครองเพื่อตนหรือวันที่จัดการมรดกสิ้นสุดลงดังนี้คดีของโจทก์จึงเป็นอันขาดอายุความตามบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวข้างต้นและแม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะมิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ แต่มูลความแห่งคดีมิอาจแบ่งแยกได้เมื่อจำเลยที่ 3 ยกอายุความขึ้นต่อสู้ ถือว่าจำเลยที่ 1และที่ 2 ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้เช่นกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59(1)