พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 280/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สนับสนุนการจำหน่ายยาเสพติด: ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 แม้ข้อกล่าวหาในฟ้องไม่ตรงกับพฤติการณ์
โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานยืนยันว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกับ บ. และจำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนแก่สายลับ จึงมิอาจถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 และ บ. ในลักษณะแบ่งหน้าที่กันทำ แต่การติดต่อซื้อขายเมทแอมเฟตามีนคดีนี้ บ. เป็นตัวการสำคัญมีอำนาจตัดสินใจในการขายเมทแอมเฟตามีน ในขณะเจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับกุมจำเลยที่ 1 บ. ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ติดต่อมายังโทรศัพท์เคลื่อนที่ของจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 1 โอนเงินเข้าบัญชีของ ส. ตามที่เคยทำมาก่อน แต่จำเลยที่ 1 ปฏิเสธเนื่องจากเครื่องไม่รับ บ. จึงบอกว่าจะมอบให้จำเลยที่ 2 มารับเงินแทน บ. ที่บริเวณปากซอยเชื่อมสัมพันธ์ 24 อันถือได้ว่าเป็นการกระทำเกี่ยวเนื่องกับการชำระค่าเมทแอมเฟตามีนให้แก่ บ. นั่นเอง การจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนยังไม่ขาดตอน เมื่อจำเลยที่ 2 มาจอดรถกระบะรอรับเงินและถูกจับได้ถือว่าเป็นการกระทำด้วยประการใด ๆ หรือเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดก่อนหรือขณะกระทำความผิดอันเป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนผู้อื่นในการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตาม ป.อ. มาตรา 86 ซึ่งศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 2 ได้ แม้ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างจากข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง เพราะข้อแตกต่างนั้นมิใช่ในข้อสาระสำคัญและจำเลยที่ 2 มิได้หลงต่อสู้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225 กับ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5851/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษคดียาเสพติด: โจทก์ต้องอ้างบทบัญญัติมาตรา 7 พ.ร.บ.มาตรการปราบปรามยาเสพติดในคำฟ้องจึงจะปรับบทลงโทษได้
พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 7 เป็นกฎหมายพิเศษที่กำหนดโทษให้ผู้กระทำความผิดฐานพยายามต้องระวางโทษเท่ากับความผิดสำเร็จซึ่งเป็นผลร้ายแก่จำเลยทั้งสามเนื่องจากต้องรับโทษสูงขึ้นกว่าการกระทำความผิดขั้นพยายามทั่วๆ ไป เมื่อโจทก์มิได้อ้างมาตรา 7 ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้อง ย่อมไม่อาจนำมาปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสามโดยต้องถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามบทบัญญัติมาตรานี้ ทั้งยังเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง และวรรคสี่ ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2550 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 30/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดสัญญาประกันคดีเกี่ยวกับยาเสพติด และอำนาจศาลในการพิจารณาคำร้องขอคืนหลักประกัน
การยื่นคำร้องขอคืนหลักประกันคดีนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากผู้ประกันทั้งสองผิดสัญญาประกันไม่ส่งตัวจำเลยต่อศาลตามนัดในคดีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งการจะคืนหลักประกันให้แก่ผู้ประกันทั้งสองหรือไม่ ศาลต้องพิจารณาถึงการนำตัวจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดดังกล่าวมาส่งศาลประกอบด้วย ดังนั้นคำร้องขอคืนหลักประกันถือว่าเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จึงเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด อันอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง ซึ่งให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไปยังศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติด ศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติดจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้
ส่วนที่ผู้ประกันทั้งสองฎีกาว่า การชำระหนี้เป็นการพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันเกิดขึ้นภายหลังการก่อหนี้ซึ่งผู้ประกันทั้งสองไม่ต้องรับผิดชอบเนื่องจากเป็นเหตุเกิดจากศาลเอง ขอให้ศาลฎีกาคืนหลักประกันให้แก่ผู้ประกันนั้นเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับการบังคับตามสัญญาประกันซึ่ง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 119 มาใช้บังคับตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าผู้ประกันทั้งสองไม่สามารถนำตัวจำเลยมาศาลได้ตามกำหนดนัด ย่อมเป็นการผิดสัญญาประกันที่ได้ทำไว้ในคดีนี้ จึงมีคำพิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ผู้ประกันทั้งสองคืนหลักประกันให้แก่ศาลชั้นต้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคหนึ่ง
ส่วนที่ผู้ประกันทั้งสองฎีกาว่า การชำระหนี้เป็นการพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันเกิดขึ้นภายหลังการก่อหนี้ซึ่งผู้ประกันทั้งสองไม่ต้องรับผิดชอบเนื่องจากเป็นเหตุเกิดจากศาลเอง ขอให้ศาลฎีกาคืนหลักประกันให้แก่ผู้ประกันนั้นเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับการบังคับตามสัญญาประกันซึ่ง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 119 มาใช้บังคับตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าผู้ประกันทั้งสองไม่สามารถนำตัวจำเลยมาศาลได้ตามกำหนดนัด ย่อมเป็นการผิดสัญญาประกันที่ได้ทำไว้ในคดีนี้ จึงมีคำพิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ผู้ประกันทั้งสองคืนหลักประกันให้แก่ศาลชั้นต้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1886/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดค่าปรับจากผิดสัญญาประกันตัวในคดีเกี่ยวกับยาเสพติด ศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติดมีอำนาจพิจารณาและคำพิพากษาเป็นที่สุด
การยื่นคำร้องขอลดค่าปรับคดีนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากผู้ประกันผิดสัญญาไม่ส่งตัวจำเลยต่อศาลตามนัดในคดีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งการจะลดค่าปรับให้แก่ผู้ประกันหรือไม่ ศาลต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์ที่จำเลยกระทำความผิด ความหนักเบาแห่งข้อหา การผิดสัญญาประกันประกอบด้วย ดังนั้นคำร้องขอลดค่าปรับถือว่าเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จึงเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด อันอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง ซึ่งให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไปยังศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติด และกรณีผิดสัญญาประกันและขอลดค่าปรับ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 119 มาใช้บังคับตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติดฯ มาตรา 3 เมื่อศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติดพิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ลดค่าปรับให้ผู้ประกันแล้ว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติดย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคหนึ่ง