คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 225

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,295 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1361/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พรากเด็กหญิงเพื่ออนาจาร แม้ผู้เสียหายเต็มใจไปก็เป็นความผิด เจตนาจำเลยสำคัญกว่า
ความผิดฐานพรากเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่ออนาจาร ไม่ว่าผู้เสียหายจะเต็มใจหรือไม่เต็มใจไปกับจำเลยก็เป็นความผิดฐานพรากเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร ถือเจตนาของจำเลยที่พาไปหรือแยกผู้เสียหายออกจากความดูแลของบิดามารดาของผู้เสียหายโดยปราศจากเหตุอันสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1094/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นอุทธรณ์ต้องเคยยกขึ้นในศาลชั้นต้น จึงจะรับฟังได้
อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ว่า โดยสภาพธรรมชาติของเกลือจะมีความชื้นในตัวเอง หากวางทับซ้อนกันเป็นจำนวนมากจะทำให้เกิดปฏิกริยาทางเคมี เมื่อประสบกับความร้อนจากแสงแดดย่อมทำให้สินค้าเกลือเกิดความเสียหาย นอกจากนี้ในระหว่างการขนส่งเรือได้ประสบพายุทำให้น้ำเข้าเรือจึงเป็นเหตุพ้นวิสัย จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดนั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 ประกอบด้วยมาตรา 225 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แม้จำเลยที่ 1 จะได้ให้การว่าความเสียหายของสินค้าพิพาทเกิดจากเหตุสุดวิสัยหรือเกิดจากอุบัติเหตุแห่งท้องทะเลที่ใช้เดินเรือไว้ด้วย ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่ 2 ที่จะหยิบยกขึ้นอุทธรณ์แทนจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 406/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในคดีแรงงาน: จำเลยต้องยกข้อต่อสู้ในศาลชั้นต้นเท่านั้น จึงจะอุทธรณ์ได้
จำเลยผู้เป็นนายจ้างไม่ได้ให้การต่อสู้เกี่ยวกับค่าจ้างตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง และมิได้ต่อสู้ว่าค่ารับรอง ค่าน้ำมันรถ ค่าอาหาร เงินสะสม ค่าภาษีและเงินสมทบที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์แต่ละเดือนมิใช่ค่าจ้าง อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่าจำนวนเงินตามฟ้องมิใช่ค่าจ้าง จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงาน ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ค่าเสียหาย และการหักกลบลบหนี้ค่าจ้าง
สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์จำเลยไม่ได้กำหนดระยะเวลาจ้างไว้ โจทก์และจำเลยจึงมีสิทธิเลิกสัญญาได้ด้วยการบอกกล่าวให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 วรรคหนึ่ง และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสองการที่จำเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงาน จึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายโดยชอบ ไม่ใช่เป็นการผิดสัญญาและไม่ใช่เป็นการกระทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420ส่วนการบอกกล่าวเลิกสัญญาจ้างที่ไม่ได้กระทำให้ถูกต้องตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดก็เป็นเรื่องที่โจทก์ชอบจะได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541มาตรา 17 วรรคสี่,121 วรรคสอง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 วรรคสอง แล้วแต่กรณี และหากการเลิกจ้างนั้นเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมโจทก์ก็ชอบจะได้รับค่าเสียหายตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 49 มิใช่ได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด
ระหว่างที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยโจทก์ได้กู้ยืมเงินจาก ค. ประธานกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลย โจทก์ตกลงผ่อนชำระโดยให้หักจากค่าจ้างโจทก์แต่ละเดือน โจทก์ยังค้างชำระอยู่ประมาณ330,000 บาท เหตุที่จำเลยไม่จ่ายค่าจ้างและค่าชดเชยให้แก่โจทก์เพราะเมื่อหักกลบลบหนี้เงินกู้แล้วโจทก์ยังเป็นหนี้ ค. อยู่อีกมากและโจทก์ไม่เคยทวงถาม ดังนี้จำเลยจึงเชื่อโดยสุจริตว่าจำเลยสามารถจะหักกลบลบหนี้ค่าจ้างและค่าชดเชยกับเงินกู้ซึ่งโจทก์เป็นหนี้ ค. ได้แม้จำเลยจะไม่อาจหักกลบลบหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มาตรา 76 ก็ตาม แต่ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจไม่จ่ายค่าจ้างและค่าชดเชยแก่โจทก์โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มแก่โจทก์
โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ่ายของเดือนพฤศจิกายน 2541จำนวน 30,300 บาท และของวันที่ 1 ถึง 8 ธันวาคม 2541 จำนวน8,000 บาท ต่อมาโจทก์จำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงกันว่าจำเลยยังคงค้างชำระค่าจ้างโจทก์เป็นเงิน 10,300 บาท ซึ่งศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายให้โจทก์แล้ว ส่วนค่าจ้างของวันที่ 9 ถึง 31ธันวาคม 2541 และเงินโบนัสโจทก์ไม่ได้บรรยายและขอมาในคำฟ้องโจทก์เพิ่งจะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9528/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งนัดพิจารณาคดีล้มละลาย และการอุทธรณ์คำสั่งศาล การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนทำให้ไม่อุทธรณ์ได้
ตามบทบัญญัติมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ การที่จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้ในคดีล้มละลายได้ก็ต่อเมื่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ พระราชบัญญัติล้มละลายฯ และข้อกำหนดคดีล้มละลาย มิได้บัญญัติหรือกำหนดไว้โดยเฉพาะและนำมาใช้โดยอนุโลม ตามสภาพลักษณะของคดีล้มละลายที่ให้พิจารณาเป็นการด่วนเกี่ยวกับการทราบนัดหรือกระบวนพิจารณาของแต่ละนัด พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลาย และวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 15 บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วจึงไม่นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับ ดังนั้น ในวันนัดสืบพยานโจทก์ วันที่ 2 พฤษภาคม ซึ่งศาลล้มละลายกลางสั่งงดสืบพยานจำเลยและนัดฟังคำสั่งหรือคำพิพากษาในวันที่ 12 พฤษภาคมแม้ฝ่ายจำเลยไม่มา ศาลก็ต้องถือว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งศาลล้มละลายกลางดังกล่าวแล้ว ดังนี้ ในวันนัดฟังคำสั่ง หรือคำพิพากษาศาลล้มละลายกลางจึงอ่านคำสั่งหรือคำพิพากษาไปได้โดยไม่จำต้องแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบอีก
ส่วนที่จำเลยฎีกาเกี่ยวกับคำสั่งศาลล้มละลายกลางที่ให้งดสืบพยานโดยอ้างว่าจำเลยมีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้จึงขอให้สืบพยานจำเลยต่อไป คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯมาตรา 14 จำเลยชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ภายในกำหนด1 เดือนนับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดี ในคดีนี้จำเลยมิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวหรือคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแต่จำเลยมากล่าวอ้างเหตุดังกล่าวในคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่และให้สืบพยานจำเลย จึงเป็นการล่วงเลยขั้นตอนแล้ว กรณีจึงถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล้มละลายกลางต้องห้ามมิให้อุทธรณ์และฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9022-9023/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ & การคิดอัตราแลกเปลี่ยนตามสัญญา
การส่งหมายเรียกพยานบุคคล 5 คนซึ่งอยู่ที่ประเทศอังกฤษให้มาเป็นพยานตามคำร้องของผู้คัดค้านต้องใช้เวลานานเกินสมควรไม่ทันกำหนดนัดสืบพยานผู้คัดค้านและผู้ร้องซึ่งศาลชั้นต้น (ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง) ได้กำหนดนัดล่วงหน้าไว้แน่นอนแล้วโดยคู่ความทั้งสองฝ่ายเห็นชอบตามรายงานกระบวนพิจารณา ศาลชั้นต้นจึงไม่อนุญาต อย่างไรก็ตามศาลชั้นต้นก็มิได้ปฏิเสธคำร้องขอของผู้คัดค้านเสียทั้งหมด โดยยังคงเปิดโอกาสให้ผู้คัดค้านส่งบันทึกถ้อยคำแทนการสืบพยานบุคคลของผู้ให้ถ้อยคำซึ่งอยู่ต่างประเทศหรืออาจขอสืบพยานบุคคลที่อยู่นอกศาลโดยระบบการประชุมทางจอภาพตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ ข้อ 31 และข้อ 32 หรือนำพยานบุคคลดังกล่าวมาเป็นพยานเองก็ได้ แต่ผู้คัดค้านก็หาได้กระทำอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ พฤติการณ์ส่อแสดงว่าผู้คัดค้านประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตเช่นนี้ชอบแล้ว
ที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า ร. อนุญาโตตุลาการในประเทศอังกฤษไม่มีอำนาจพิจารณาคดีนี้เพราะผู้คัดค้านได้คัดค้านไว้แล้วตามเอกสารท้ายคำคัดค้าน โดยมิได้อ้างเหตุว่าไม่มีอำนาจพิจารณาคดีอย่างไร จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคหนึ่ง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ผู้คัดค้านชำระหนี้ด้วยเงินตราต่างประเทศคือ เงินดอลล่าร์สหรัฐและเงินปอนด์สเตอร์ลิงเท่านั้น โดยขอให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษากำหนดให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันที่มีคำพิพากษานั้น นอกจากจะไม่เป็นไปตามมาตรา 196 วรรคสองแล้ว ยังเป็นการพิพากษาเกินคำขอบังคับของผู้ร้องโดยกำหนดการคิดอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำร้องขอ ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8404/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงคำให้การขัดแย้งเดิม ไม่สร้างประเด็นใหม่ ศาลไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์โดยซื้อมาจากจำเลยจำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย จำเลยไม่เคยขายให้โจทก์แต่ตอนหลังจำเลยกลับให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน คำให้การจำเลยในตอนหลังจึงขัดกับคำให้การตอนแรกเป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดเป็นประเด็นเรื่องที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดเป็นประเด็นไว้ก็ไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในเรื่องดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7494/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลายมือชื่อปลอมในสัญญากู้ยืม และการยึดโฉนดที่ดินโดยไม่สุจริต ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชนะคดีโดยวินิจฉัยว่าโจทก์รู้เห็นและยินยอมให้ พ. นำโฉนดที่ดินพิพาทไปเป็นประกันการกู้ยืมเงินจากจำเลย เมื่อโจทก์และ พ. ยังไม่ได้ชำระหนี้เงินกู้ยืม จำเลยจึงมีสิทธิยึดหน่วงโฉนดที่ดินพิพาท แต่ศาลชั้นต้นก็ฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหนังสือสัญญากู้เงินที่จำเลยอ้างเป็นพยานหลักฐานว่าลายมือชื่อที่เป็นชื่อโจทก์ในหนังสือสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวไม่ใช่ลายมือชื่อโจทก์ แต่เป็นลายมือชื่อปลอมซึ่งเป็นอันยุติแล้ว แม้ศาลอุทธรณ์จะยกปัญหาว่าลายมือชื่อโจทก์ในหนังสือสัญญากู้เงินเป็นลายมือปลอมหรือไม่ขึ้นวินิจฉัยก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์อันจะทำให้จำเลยมีสิทธิที่จะฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้
ลายมือชื่อผู้กู้ยืมในหนังสือสัญญากู้ยืมเงินไม่ใช่ของโจทก์ จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์กู้ยืมเงินจำเลยแล้วมอบโฉนดที่ดินพิพาทให้จำเลยยึดถือไว้เป็นประกันดังที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินพิพาท
ที่จำเลยฎีกาว่า แม้จะฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทำสัญญากู้ยืมเงินจากจำเลยแต่พยานหลักฐานที่นำสืบมาฟังได้ว่าโจทก์รู้เห็นและยินยอมให้ พ. นำโฉนดที่ดินพิพาทไปเป็นประกันการกู้ยืมเงินจำเลย การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต แต่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ การที่ศาลชั้นต้นยกขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกคำให้การเป็นการไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6826/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับขนส่งกรณีส่งมอบสินค้าผิดมือโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่ง และการแก้ไขคำพิพากษาให้ชำระเป็นเงินไทย
โจทก์ว่าจ้างจำเลยให้ขนส่งสินค้าโดยเรือซินาร์ บาลี และเรือเอ็นวายเคไกจากท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ไปยังเมืองเซาแธมป์ตัน ประเทศอังกฤษ และปลายทางสุดท้ายที่เมืองโคเวนทรี ประเทศอังกฤษ ขณะสินค้ายังขนส่งไปไม่ถึงเมืองเซาแธมป์ตัน โจทก์ได้แจ้งจำเลยไม่ให้ปล่อยสินค้าแก่ผู้ใด ต่อมาเรือเอ็นวายเคไกเดินทางไปถึงเมืองเซาแธมป์ตัน และจำเลยตกลงเก็บสินค้าของโจทก์ไว้ที่คลังสินค้าของบริษัทตัวแทนจำเลย การที่บริษัทดังกล่าวได้ส่งมอบสินค้าของโจทก์ให้แก่บริษัทผู้ซื้อสินค้าจากโจทก์ โดยไม่ได้รับเวนคืนใบตราส่งเนื่องจากใบตราส่งอยู่ที่โจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
สำเนาคำสั่งศาลของประเทศอังกฤษเอกสารหมาย ล.1 ที่จำเลยอ้างเป็นเพียงสำเนา ไม่ปรากฏว่ามีการรับรอง สำเนาเอกสารจากผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องและโจทก์ไม่ได้ตกลงด้วยว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้อง ทั้งจำเลยก็มิได้นำสืบให้เห็นว่าเหตุที่อ้างส่งต้นฉบับไม่ได้เพราะเหตุใด เอกสารที่จำเลยอ้างนี้จึงต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า สินค้าในคดีนี้มีน้ำหนักเบ็ดเสร็จ 9,036.50 กิโลกรัม ซึ่งตามมาตรา 58 แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ให้จำกัดความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งไว้เพียง 27,095 บาท เป็นเรื่องนอกประเด็น เพราะจำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีในเรื่องนี้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัย
โจทก์มีคำขอท้ายคำฟ้องให้จำเลยชดใช้ราคาสินค้าเป็นเงินไทย การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยชำระเป็นเงินต่างประเทศ เป็นการพิพากษานอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง จึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5916/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่โต้แย้งกระบวนการพิจารณาที่ผิดระเบียบ ทำให้ข้ออุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในวันนัดสืบพยานจำเลย จำเลยและจำเลยร่วมยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้น ขอให้มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานศาลนำสำนวนคดีแพ่งมาผูกติดไว้กับสำนวนคดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต ทนายจำเลยและทนายจำเลยร่วมซึ่งเป็นคนเดียวกันได้แถลงต่อศาลชั้นต้นขอเลื่อนคดีอ้างว่าต้องตรวจสอบเอกสารหลายฉบับในสำนวนคดีแพ่งดังกล่าวซึ่งต้องใช้เวลา ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไปนัดสืบพยานจำเลยต่อวันที่ 9 ธันวาคม 2542 เมื่อถึงวันนัดสืบพยานจำเลย เจ้าพนักงานศาลมิได้นำสำนวนคดีแพ่งมาผูกไว้ในคดีนี้ จำเลยและจำเลยร่วมทราบแล้วก็ไม่ได้โต้แย้งคัดค้าน ทั้งยังนำพยานเข้าเบิกความต่อจนเสร็จสิ้นและแถลงติดใจสืบพยานจำเลยเพียงเท่านี้ จนศาลชั้นต้นพิพากษาคดีในวันที่ 30 ธันวาคม 2542 การที่จำเลยและจำเลยร่วมมิได้โต้แย้งว่าศาลชั้นต้นพิจารณาผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง ดังนั้น ข้อที่ว่าศาลชั้นต้นมิได้สั่งให้เจ้าพนักงานศาลนำสำนวนคดีแพ่งมาผูกติดไว้ทำให้จำเลยและจำเลยร่วมไม่มีโอกาสใช้สำนวนดังกล่าวซักค้านพยานโจทก์เป็นการพิจารณาผิดระเบียบหรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้ชอบแล้ว
of 130