คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 145

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะเจ้าพนักงานของเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และการพิจารณาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 145
ฟ้องของให้ลงโทษตาม ก.ม.อาญา ม.145 จะต้องได้ความว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงาน โดยปกติผู้ที่จะเป็นพนักงานจะต้องเป็นข้าราชการตาม ก.ม.เว้นแต่จะมีก.ม.บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้เป็นเจ้าพนักงาน จำเลยเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตั้งแต่ พ.ศ. 2494 ในปัจจุบันเป็นเลขาธิการก็ตาม ตามตำแหน่งนี้ก็ไม่อยู่ในความหมายของ พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน ม.23 ส่วนใน พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2495 ม.50 ถึง 54 บัญญัติให้สิทธิต่าง ๆ แก่เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยบางประการเหมือนกับข้าราชการพลเรือนสามัญทุกประการก็ตาม แต่ก็มิได้มีบทบัญญัติใดให้ผู้ที่ทำงานโดยมหาวิทยาลัยเป็นเจ้าพนักงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 56/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทต้องเจาะจงตัวบุคคลชัดเจน การกล่าวถึงพรรคการเมืองรวมไม่ถือเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์
การที่จะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามกฏหมายนั้นถ้อยคำที่กล่าวจะต้องมุ่งเจาะจงตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยฉะเพาะ
กล่าวความว่า คำโฆษณาของพวกและพรรคประชาธิปัตย์เป็นการหลอกลวงราษฎรให้หลงเชื่อ ดังนี้ แม้โจทก์จะแสดงได้ว่า โจทก์เป็นพรรคประชาธิปัตย์ด้วยคนหนึ่ง ก็ไม่ถือว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายในคดีหมิ่นประมาทเพราะถ้อยคำนั้นมิได้มุ่งหมายถึงโจทก์โดยเฉพาะ
ฟ้องรัฐมนตรีหาว่าใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ทางทุจจริตและผิด พ.ร.บ.การเลือกตั้งโดยออกคำสั่งกล่าวถึงการกระทำของคณะประชาธิปัตย์บางคนกระทำการไม่ชอบต่างๆ แต่มิได้เจาะจงตัวผู้ใดนั้น ไม่ถือว่าเป็นการเจาะจงตัวบุคคลหนึ่งบุคคลใดในคณะประชาธิปัตย์ ฉนั้นคนหนึ่งคนใดในคณะนั้น จึงไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 54/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้อำนาจของผู้พิพากษาในการถอนประกันและสั่งขังต้องไม่เจตนาละเมิดอำนาจหน้าที่
ผู้พิพากษาสั่งถอนประกันแล้วสั่งขังจำเลยโดยไม่ปรากฏว่ามีเจตนาร้ายละเมิดอำนาจและหน้าที่ ย่อมไม่มีมูลเป็นความผิดทางอาญา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501-1502/2482

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมผู้ค้างรัชชูปการโดยไม่มีหมายจับ: เจ้าพนักงานกระทำผิด และผู้ถูกจับขัดขวางการจับกุมได้
คำสั่งกรมการอำเภอที่ให้กำนันจับผู้ไม่เสียรัชชูปการโดยไม่มีหมายจับเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยต่อสู้ขัดขวางก็ไม่มีความผิดตามมาตรา 119 เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายไม่ได้ เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามประมวลวิธีพิจารณาอาญา ม.78
กำนันไปทำการจับกุมคนค้างเงินรัชชูปการตามคำสั่งอำเภอโดยไม่มีหมายจับโดยเชื่อว่าเป็นคำสั่งชอบด้วยกฎหมาย แม้จะได้ใช้กำลังในการจับกุมนั้นด้วย ก็ไม่มีความผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 747/2471

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้อำนาจโดยมิชอบของนายอำเภอและการกักขังโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย
นายอำเภอสั่งขังราษฎรเกินอำนาจโดยเจตนาร้ายทำตามคำสั่งผู้มีอำนาจเหนือ
of 5