คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 337

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1250/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองโคที่หลงฝูง และการเรียกค่าไถ่ ไม่เข้าข่ายความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร
โจทก์ฟ้องว่า มีผู้ลักโคของผู้เสียหายไป ต่อมาเจ้าทรัพย์และพวกพบโคที่ถูกคนร้ายลักไปอยู่ในความครอบครองของจำเลย โดยจำเลยนำโคนั้นมาให้เจ้าทรัพย์ และเอาเงินจำนวน 800 บาทจากเจ้าทรัพย์เป็นค่าไถ่ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335,337
ทางพิจารณาฟังได้ว่าโคของผู้เสียหายนั้นตามโคตัวเมียในฝูงของจำเลยไป จำเลยบอกผู้เสียหายให้ไปเอาโคคืน โดยขอเงินค่าไถ่จากผู้เสียหายแล้วจำเลยคืนโคให้ ไม่มีพยานหลักฐานว่าจำเลยลักโค ดังนี้ จะลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ย่อมไม่ได้ และการที่จำเลยรับเงินค่าไถ่โคจากผู้เสียหาย แม้จะด้วยเจตนาทุจริตและคืนโคให้ผู้เสียหายไป ก็ไม่เป็นความผิดฐานรับของโจรเพราะฟังไม่ได้เสียแล้วว่าโคของผู้เสียหายถูกคนร้ายลักไปแล้วจำเลยรับไว้ ศาลก็ต้องยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1250/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับเงินค่าไถ่โคโดยไม่มีหลักฐานการลักทรัพย์ ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร
โจทก์ฟ้องว่า มีผู้ลักโคของผู้เสียหายไป ต่อมาเจ้าทรัพย์และพวกพบโคที่ถูกคนร้ายลักไปอยู่ในความครอบครองของจำเลย โดยจำเลยนำโคนั้นมาให้เจ้าทรัพย์ และเอาเงินจำนวน 800 บาทจากเจ้าทรัพย์เป็นค่าไถ่ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335,337
ทางพิจารณาฟังได้ว่าโคของผู้เสียหายนั้นตามโคตัวเมียในฝูงของจำเลยไปจำเลยบอกผู้เสียหายให้ไปเอาโคคืนโดยขอเงินค่าไถ่จากผู้เสียหายแล้วจำเลยคืนโคให้ไม่มีพยานหลักฐานว่าจำเลยลักโค ดังนี้ จะลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ย่อมไม่ได้ และการที่จำเลยรับเงินค่าไถ่โคจากผู้เสียหาย แม้จะด้วยเจตนาทุจริตและคืนโคให้ผู้เสียหายไป ก็ไม่เป็นความผิดฐานรับของโจร เพราะฟังไม่ได้เสียแล้วว่าโคของผู้เสียหายถูกคนร้ายลักไปแล้วจำเลยรับไว้ ศาลก็ต้องยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1123/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนใจเรียกทรัพย์ - การกระทำเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 337 ประมวลกฎหมายอาญา
ศาลเชื่อว่า จำเลยได้ถูกบันทึกเสียงไว้ถึง 6 ครั้ง ยากที่จะมีใครมาเลียนเสียงที่จำเลยพูดได้เป็นชั่วโมง ๆ ไม่ใช่ว่าศาลชั้นต้นจะรับฟังลำพังแต่เทปอัดเสียงของจำเลยมาลงโทษจำเลยก็หาไม่ ศาลเชื่อว่าโจทก์ร่วมได้อัดเสียงจำเลยไว้จริง จึงไม่ขัดประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 226
โจทก์ไม่ทราบว่ามีเอกสาร ล.1ที่จำเลยอ้างเมื่อจำเลยนำมาแสดงชั้นพิจารณา โจทก์เห็นว่าน่าจะเป็นเอกสารปลอม โจทก์ย่อมมีสิทธิขออนุญาตศาลส่งไปให้ตรวจพิสูจน์ได้ตามมาตรา 125 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประกอบด้วยมาตรา 15 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
จำเลยอ้างสำนวนความของศาลจังหวัดปัตตานีเพื่อแสดงว่าจำเลยมีฐานที่อยู่ เพราะจำเลยปฏิบัติงานอยู่ ดังนั้น การที่ศาลจับพิรุธที่ปรากฏได้ในบางสำนวนแล้วไม่เชื่อว่าเป็นความจริงว่าจำเลยได้อยู่ปฏิบัติงานในวันนั้น ๆ ก็เป็นอำนาจของศาลที่จะชั่งน้ำหนักคำพยาน หาใช่ทำการพิสูจน์โต้แย้งแทนโจทก์ไม่
จำเลยนำเอกสารมาซักค้านพยานโจทก์ก่อนเวลาที่จำเลยอ้างและนำสืบ เพื่อสะดวกแก่การจด ศาลให้จำเลยส่งเอกสารนั้นทั้งหมดโดยศาลจดรายงานไม่ให้โจทก์คัดจนกว่าจำเลยจะอ้าง ก็เห็นได้ชัดว่าไม่เสียความยุติธรรมแต่อย่างใด
การที่โจทก์ร่วมจ่ายเงินให้จำเลยรับไปแล้วห้าแสนบาท จำเลยตั้งข้อเรียกร้องเอาเงินค่าวิ่งเต้นให้โจทก์ร่วมจ่ายเพิ่มอีก โดยพูดขู่ด้วยวาจาและลายลักษณ์อักษรว่า ถ้าไม่ตกลงจ่ายเงินตามที่จำเลยเรียกร้อง ก็ให้เตรียมตัวเข้าคุก ดังนี้ เป็นการข่มขืนใจให้โจทก์ร่วมยอมจะจ่ายเงินเพิ่มให้อีกจนโจทก์ร่วมผู้ถูกข่มขืนใจยอมจะให้เพิ่มขึ้นตามคำขู่ของจำเลยเพราะเกรงว่าถ้าไม่ยอมทำตามจะต้องได้รับโทษจำคุก ซึ่งเป็นอันตรายต่อเสรีภาพ ชื่อเสียง ของโจทก์ร่วม เป็นความผิดตามมาตรา 337.
(ปัญหาสุดท้ายพิจารณาโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 19/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1123/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานี้ตัดสินว่าการข่มขู่เรียกเงินหลังรับเงินไปแล้ว และการขู่ว่าจะทำให้ถูกจำคุก ถือเป็นความผิดฐานกรรโชกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337
ศาลเชื่อว่า จำเลยได้ถูกบันทึกเสียงไว้ถึง 6 ครั้ง ยากที่จะมีใครมาเลียนเสียงที่จำเลยพูดได้เป็นชั่วโมงๆ ไม่ใช่ว่าศาลชั้นต้นจะรับฟังลำพังแต่เทปอัดเสียงของจำเลยมาลงโทษจำเลยก็หาไม่ ศาลเชื่อว่าโจทก์ร่วมได้อัดเสียงจำเลยไว้จริง จึงไม่ขัดประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226
โจทก์ไม่ทราบว่ามีเอกสาร ล.1 ที่จำเลยอ้าง เมื่อจำเลยนำมาแสดงชั้นพิจารณา โจทก์เห็นว่าน่าจะเป็นเอกสารปลอม โจทก์ย่อมมีสิทธิขออนุญาตศาลส่งไปให้ตรวจพิสูจน์ได้ตามมาตรา 125 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบด้วยมาตรา 15 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
จำเลยอ้างสำนวนความของศาลจังหวัดปัตตานีเพื่อแสดงว่าจำเลยมีฐานที่อยู่เพราะจำเลยปฏิบัติงานอยู่ ดังนั้น การที่ศาลจับพิรุธที่ปรากฏได้ในบางสำนวนแล้วไม่เชื่อว่าเป็นความจริงว่าจำเลยได้อยู่ปฏิบัติงานในวันนั้นๆ ก็เป็นอำนาจของศาลที่จะชั่งน้ำหนักคำพยาน หาใช่ทำการพิสูจน์โต้แย้งแทนโจทก์ไม่
จำเลยนำเอกสารมาซักค้านพยานโจทก์ก่อนเวลาที่จำเลยอ้างและนำสืบเพื่อสะดวกแก่การจด ศาลให้จำเลยส่งเอกสารนั้นทั้งหมดโดยศาลจดรายงานไม่ให้โจทก์คัดจนกว่าจำเลยจะอ้าง ก็เห็นได้ชัดว่าไม่เสียความยุติธรรมแต่อย่างใด
การที่โจทก์ร่วมจ่ายเงินให้จำเลยรับไปแล้วห้าแสนบาท จำเลยตั้งข้อเรียกร้องเอาเงินค่าวิ่งเต้นให้โจทก์ร่วมจ่ายเพิ่มอีก โดยพูดขู่ด้วยวาจาและลายลักษณ์อักษรว่าถ้าไม่ตกลงจ่ายเงินตามที่จำเลยเรียกร้อง ก็ให้เตรียมตัวเข้าคุก ดังนี้ เป็นการข่มขืนใจให้โจทก์ร่วมยอมจะจ่ายเงินเพิ่มให้อีก จนโจทก์ร่วมผู้ถูกข่มขืนใจยอมจะให้เพิ่มขึ้นตามคำขู่ของจำเลย เพราะเกรงว่าถ้าไม่ยอมทำตามจะต้องได้รับโทษจำคุก ซึ่งเป็นอันตรายต่อเสรีภาพชื่อเสียง ของโจทก์ร่วม เป็นความผิดตามมาตรา 337 (ปัญหาสุดท้ายพิจารณาโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 19/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานแสดงตนเท็จ ร่วมกับผู้อื่นเรียกเงินจากผู้เสียหาย โดยอ้างอำนาจหน้าที่
จำเลยที่ 1 เป็ฯเจ้าพนักงานประจำหน่วยสืบสวนกองปราบปราม กรมสรรพสามิต จำเลยที่ 2 เป็ฯพลตำรวจ ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นราษฎรร่วมกันกระผิดโดยจำเลยที่ 3 แกล้งกล่าวหาว่าผู้เสียหายมีเฮโรอีนแล้วอ้างตนว่าเป็นตำรวจจับตัวผู้เสียหายไปพบกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จำเลยที่ 1 บอกผู้เสียหายว่าตนเป็นผู้บังคับหมวดตำรวจ ให้เอาเงินมาให้จำเลย 5,000 บาทแล้วไม่ต้องไปโรงพัก สามีของผู้เสียหายไปหาเงินจำเลยก็คุมตัวผู้เสียหายรออยู่ จนเมื่อหาเงินมาได้และให้จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยจึงปล่อยตัว ดังนี้ จำเลยที่ 1 และที่ 3 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 145,337,148 ประกอบกับมาตรา 86 จำเลยที่ 2 มีความผิดตามมาตรา 148 และ 337 แต่การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฏหมายหลายบท ตามมาตรา 90 ให้ใช้บทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษ และถึงแม้จะมิได้ใช้มาตรา 337 เป็นบทลงโทษเช่นนี้ ศาลก็ย่อมพิพากษาให้จำเลยคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหายตามที่อัยการโจทก์ขอด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานแสดงตนเท็จ ร่วมกับผู้อื่นข่มขู่เรียกเงินจากประชาชน
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานประจำหน่วยสืบสวนกองปราบปรามกรมสรรพสามิต จำเลยที่ 2 เป็นพลตำรวจ ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นราษฎรร่วมกันกระทำผิด โดยจำเลยที่ 3แกล้งกล่าวหาว่าผู้เสียหายมีเฮโรอีน แล้วอ้างตนว่าเป็นตำรวจจับตัวผู้เสียหายไปพบกับ จำเลยที่ 1 และที่2 จำเลยที่ 1 บอกผู้เสียหายว่าตนเป็นผู้บังคับหมวดตำรวจ ให้เอาเงินมาให้จำเลย 5,000 บาทแล้วไม่ต้องไปโรงพัก สามีของผู้เสียหายไปหาเงินจำเลยก็คุมตัวผู้เสียหายรออยู่ จนเมื่อหาเงินมาได้และให้จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยจึงปล่อยตัว ดังนี้จำเลยที่ 1 และที่ 3 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 145,337,148 ประกอบกับมาตรา 86 จำเลยที่ 2 มีความผิดตามมาตรา 148, และ 337 แต่การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ตามมาตรา 90ให้ใช้บทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษและถึงแม้จะมิได้ใช้มาตรา 337 เป็นบทลงโทษเช่นนี้ ศาลก็ย่อมพิพากษาให้จำเลยคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหายตามที่อัยการโจทก์ขอด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1080/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานกรรโชกข่มขืนใจเอาทรัพย์สินและการสนับสนุนความผิด
ป.กับส. ไปหลอกลวงผู้เสียหายว่าเป็นเจ้าพนักงาน ขอค้นบ้าน และค้นได้แป้งเชื้อสุรา แล้วคุมตัวผู้เสียหายไปมอบให้ ด. ที่บ้านของ ป. ด.หลอกลวงผู้เสียหายว่าเป็นเจ้าพนักงานสรรพสามิต บอกให้ผู้เสียหายเสียค่าปรับ ถ้าไม่เอาเงินมาเสียจะจับส่งอำเภอ แล้วผู้เสียหายถูกคุมไปหายืมเงิน พบข. ซึ่งเป็นกำนัน ได้เล่าเรื่องให้ฟัง ข. พูดส่งเสริมให้ผู้เสียหายเสียเงินให้ที่นั่น ผู้เสียหายเอาเงินให้ ช. รับเงินเอาไว้แล้วบอกให้ผู้เสียหายกลับได้ วันนั้นเอง ช. ไปร่วมรับประทานอาหารและแบ่งเงินให้ ป. ส. และ ด. การกระทำของ ป. ส. และด. เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 145, 310 และ 337 ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341 ด้วย และการกระทำของ ช. ก็ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 341 เช่นเดียวกัน
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้ง 4 ฐานฉ้อโกง ด. กับ ช. จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยไม่ใช่ความผิดฐานฉ้อโกงด้วย ก็เป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะพิพากษายกฟ้องความผิดฐานนี้ตลอดถึงจำเลยที่ไม่ได้อุทธรณ์ด้วย
โจทก์ฟ้องจำเลยฐานแสดงตนเป็นเจ้าพนักงาน ทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพและฉ้อโกง กับขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินที่จำเลยรับไปจากผู้เสียหายด้วย เมื่อวินิจฉัยว่าจำเลยไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงแล้ว ศาลย่อมพิพากษาให้ยกคำขอให้คืนหรือใช้เงินนี้เสียด้วย (แม้โจทก์จะฎีกาฝ่ายเดียว ขอให้ลงโทษฐานฉ้อโกง จำเลยไม่ได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในข้อนี้)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนใจเรียกทรัพย์และการสนับสนุนการกระทำผิด ไม่เข้าข่ายฉ้อโกง
ป.กับส. ไปหลอกลวงผู้เสียหายว่าเป็นเจ้าพนักงาน ขอค้นบ้าน และค้นได้แป้งเชื้อสุรา แล้วคุมตัวผู้เสียหายไปมอบให้ ด. ที่บ้านของ ป. ด.หลอกลวงผู้เสียหายว่าเป็นเจ้าพนักงานสรรพสามิต บอกให้ผู้เสียหายเสียค่าปรับ ถ้าไม่เอาเงินมาเสียจะจับส่งอำเภอ แล้วผู้เสียหายถูกคุมไปหายืมเงิน พบข. ซึ่งเป็นกำนัน ได้เล่าเรื่องให้ฟัง ข. พูดส่งเสริมให้ผู้เสียหายเสียเงินให้ที่นั่น ผู้เสียหายเอาเงินให้ ช. รับเงินเอาไว้แล้วบอกให้ผู้เสียหายกลับได้ วันนั้นเอง ช. ไปร่วมรับประทานอาหารและแบ่งเงินให้ ป. ส. และ ด. การกระทำของ ป. ส. และด. เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 145, 310 และ 337 ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341 ด้วย และการกระทำของ ช. ก็ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 341 เช่นเดียวกัน
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้ง 4 ฐานฉ้อโกง ด. กับ ช. จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยไม่ใช่ความผิดฐานฉ้อโกงด้วย ก็เป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะพิพากษายกฟ้องความผิดฐานนี้ตลอดถึงจำเลยที่ไม่ได้อุทธรณ์ด้วย
โจทก์ฟ้องจำเลยฐานแสดงตนเป็นเจ้าพนักงาน ทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพและฉ้อโกง กับขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินที่จำเลยรับไปจากผู้เสียหายด้วย เมื่อวินิจฉัยว่าจำเลยไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงแล้ว ศาลย่อมพิพากษาให้ยกคำขอให้คืนหรือใช้เงินนี้เสียด้วย (แม้โจทก์จะฎีกาฝ่ายเดียว ขอให้ลงโทษฐานฉ้อโกง จำเลยไม่ได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในข้อนี้)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานกรรโชกและการสนับสนุนความผิด ไม่ใช่ฉ้อโกง ศาลแก้ฟ้องฐานฉ้อโกงและยกคำขอคืนเงิน
ป.กับส. ไปหลอกลวงผู้เสียหายว่าเป็นเจ้าพนักงาน ขอค้นบ้าน และค้นได้แป้งเชื้อสุราแล้วคุมตัวผู้เสียหายไปมอบให้ ด. ที่บ้านของป. ด.หลอกลวงผู้เสียหายว่าเป็นเจ้าพนักงานสรรพสามิต บอกให้ผู้เสียหายเสียค่าปรับ ถ้าไม่เอาเงินมาเสียจะจับส่งอำเภอ แล้วผู้เสียหายถูกคุมไปหายืมเงิน พบ ช.ซึ่งเป็นกำนันได้เล่าเรื่องให้ฟังช.พูดส่งเสริมให้ผู้เสียหายเสียเงินให้ที่นั่น ผู้เสียหายเอาเงินให้ ช. รับเงินไว้แล้วบอกให้ผู้เสียหายกลับได้ วันนั้นเอง ช. ไปร่วมรับประทานอาหารและแบ่งเงินให้ ป.ส.และด. การกระทำของป.ส.และด. เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 145,310 และ 337 ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341 ด้วย และการกระทำของช. ก็ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 341 เช่นเดียวกัน
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้ง 4 ฐานฉ้อโกง ด. กับช. จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่ใช่ความผิดฐานฉ้อโกงด้วย ก็เป็นเหตุในลักษณะคดีศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะพิพากษายกฟ้องความผิดฐานนี้ตลอดถึงจำเลยที่ไม่ได้อุทธรณ์ด้วย
โจทก์ฟ้องจำเลยฐานแสดงตนเป็นเจ้าพนักงาน ทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพและฉ้อโกงกับขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินที่จำเลยรับไปจากผู้เสียหายด้วย เมื่อวินิจฉัยว่าจำเลยไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงแล้ว ศาลย่อมพิพากษาให้ยกคำขอให้คืนหรือใช้เงินนี้เสียด้วย (แม้โจทก์จะฎีกาฝ่ายเดียวขอให้ลงโทษฐานฉ้อโกง จำเลยไม่ได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในข้อนี้)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1278/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การข่มขืนใจเรียกค่าไถ่ แม้ผู้ถูกข่มขืนใจจะเกี่ยวข้องกับผู้กระทำผิด ก็ยังถือเป็นบุคคลที่สามตามกฎหมาย
การที่จำเลยร่วมเขียนจดหมายไปขู่เข็ญเพื่อหลอกลวงเอาเงินจากบิดาบุคคลผู้มีชื่อ แม้จะฟังว่า ผู้มีชื่อนั้นวานให้จำเลยเขียนหรือให้ไปรับเงินก็ตาม ก็หาทำให้จำเลยพ้นผิดฐานกรรโชกไปได้ไม่ เพราะในแง่ของบิดาผู้มีชื่อซึ่งถูกข่มขืนใจ ก็ยังคงต้องถือว่า ผู้มีชื่อดังกล่าวเป็นบุคคลที่สามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337 วรรคต้น (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17/2503)
of 17