พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10843/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนใจเรียกทรัพย์โดยขู่ทำลายชื่อเสียง แม้ข้อกล่าวหาไม่เป็นจริง แต่เข้าข่ายกรรโชก
แม้เรื่องที่จำเลยนำไปขู่เข็ญผู้เสียหายซึ่งเป็นภิกษุว่า ผู้เสียหายมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงจะไม่เป็นความจริง จึงไม่ถือเป็นความลับอันเป็นความผิดฐานรีดเอาทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 338 ดังที่โจทก์ฟ้องก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยดังกล่าวก็เป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายให้ยอมให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชื่อเสียงของผู้เสียหายผู้ถูกขู่เข็ญจนผู้เสียหายผู้ถูกข่มขืนใจยอมใช้เงินแก่จำเลยอันเป็นความผิดฐานกรรโชก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337 วรรคแรก ซึ่งแม้ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจะแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง แต่ก็เป็นเพียงข้อแตกต่างกันในรายละเอียดเท่านั้น มิใช่ข้อแตกต่างในข้อสาระสำคัญ ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณานั้นเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ จึงลงโทษจำเลยในความผิดฐานกรรโชกได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 192 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10616/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษทางอาญา: ศาลอุทธรณ์ปรับลดโทษและวรรคของบทความผิด จำเลยฎีกาไม่ได้ในข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 148, 157 ประกอบมาตรา 86, 83 และมาตรา 337 ประกอบมาตรา 83 การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 148 ประกอบมาตรา 86, 83 อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 จำคุก 10 ปี กับให้จำเลยใช้เงิน 70,000 บาทแก่ผู้เสียหาย ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 148 ประกอบมาตรา 86 และมาตรา 337 วรรคแรก ประกอบมาตรา 83 ให้จำคุก 5 ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น เป็นการปรับบทลงโทษจำเลยในความผิดฐานสนับสนุนให้เจ้าพนักงานตำรวจใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ข่มขืน หรือจูงใจให้บุคคลใดมอบให้ หรือหามาให้ซึ่งทรัพย์สินแก่ตนเองหรือผู้อื่น และระบุวรรคในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337 เป็นการแก้ไขเพียงแต่ปรับบทกำหนดโทษและปรับวรรคของบทความผิดให้ถูกต้อง โดยมิได้แก้ฐานความผิดแต่อย่างใด แม้จะแก้โทษด้วยก็ถือเป็นการแก้ไขเล็กน้อย เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2263/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขู่เข็ญเรียกเก็บเงินค่าจอดรถที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเข้าข่ายพยายามกรรโชก
ผู้เสียหายนำรถยนต์เข้าไปจอดในบริเวณสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ซึ่งจำเลยไม่มีสิทธิเรียกเก็บเงินค่าจอดรถจากผู้เสียหาย การที่จำเลยพูดกับผู้เสียหายว่าถ้าไม่จ่ายค่าจอดรถจะตบและจำเลยนำเก้าอี้ขวางกั้นมิให้ผู้เสียหายขับรถยนต์ออกไป ถือได้ว่าเป็นการขู่เข็ญข่มขืนใจผู้เสียหายให้ยอมให้หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน เมื่อผู้เสียหายไม่ยอมให้เงินแก่จำเลย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามกรรโชกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337 วรรคแรก ประกอบมาตรา 80
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5889/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรโชกทรัพย์ด้วยการข่มขู่ใช้ปืน ทวงหนี้แทนเจ้าหนี้ แม้มีหนี้สิน แต่ไม่ทำให้การกระทำเป็นความผิด
ผู้เสียหายเป็นหนี้มารดาของจำเลย และผิดนัดไม่ชำระหนี้อันเป็นกรณีที่มารดาของจำเลยถูกโต้แย้งสิทธิและต้องใช้สิทธิทางศาลเพื่อบังคับให้ผู้เสียหายให้ชำระหนี้ตามที่บัญญัติในมาตรา 55 และบทบัญญัติทั้งปวงแห่ง ป.วิ.พ.ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยในการข่มขืนใจผู้เสียหายให้ยอมหรือจะยอมชำระหนี้นั้นให้มารดาจำเลย และไม่ทำให้การกระทำของจำเลยที่เป็นความผิดฐานกรรโชกตาม ป.อ. มาตรา 337 กลายเป็นการกระทำที่ไม่เป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5889/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การข่มขืนใจเรียกทรัพย์จากผู้มีหนี้สินของมารดา ไม่เป็นเหตุให้การกระทำไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก
แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่าผู้เสียหายเป็นหนี้มารดาของจำเลยและผิดนัดไม่ชำระหนี้ ก็เป็นกรณีที่มารดาของจำเลยถูกโต้แย้งสิทธิและต้องใช้สิทธิทางศาลเพื่อบังคับผู้เสียหายให้ชำระหนี้ตามที่บัญญัติในมาตรา 55 และบทบัญญัติทั้งปวงแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหาก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยในการข่มขืนใจผู้เสียหายยอมหรือจะยอมชำระหนี้นั้นไม่ และไม่ทำให้การกระทำของจำเลยที่เป็นความผิดฐานกรรโชกตาม ป.อ. มาตรา 337 กลายเป็นการกระทำที่ไม่เป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7086/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดแสดงตนเป็นเจ้าพนักงานและกรรโชกทรัพย์: การกระทำเป็นกรรมต่างกัน
จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพวก เป็นผู้คุมหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้งภายในสำนักสงฆ์ถ้ำกระบอกได้ตั้งด่านตรวจที่ริมถนนทางเข้าสำนักสงฆ์ถ้ำกระบอก การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพวกแสดงตนเป็นเจ้าพนักงานและกระทำการเป็นเจ้าพนักงานโดยขอตรวจค้นรถของผู้เสียหายเป็นความผิดแล้วกรรมหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพวก พบสุกรบรรทุกมาโดยไม่มีใบอนุญาตก็ขู่เข็ญว่าจะจับกุมผู้เสียหายทั้งสองส่งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์เพื่อดำเนินคดีและร่วมกันเรียกร้องเอาเงินจากผู้เสียหายทั้งสองเป็นความผิดฐานกรรโชก โดยความผิดดังกล่าวเป็นการกระทำที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพวก มีเจตนาและกระทำการคนละขั้นตอนกับความผิดฐานแสดงตนเป็นเจ้าพนักงาน และกระทำการเป็นเจ้าพนักงาน การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพวก จึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6520/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรวมให้เช่าทรัพย์สินโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมรายอื่น ไม่ถือเป็นการใช้สิทธิเกินขอบเขต
โจทก์กับจำเลยร่วมทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอาคารพิพาทร่วมกัน เดิมโจทก์ให้บริษัทจำเลยใช้อาคารพิพาทประกอบการค้า ต่อมาโจทก์แจ้งให้จำเลยออกจากอาคารพิพาท แต่หลังจากนั้นจำเลยร่วมทั้งสองให้จำเลยเช่าอาคารพิพาท แม้การทำหนังสือสัญญาเช่าระหว่างจำเลยร่วมทั้งสองจำเลยดังกล่าวโจทก์จะไม่ทราบ แต่การให้เช่าอาคารพิพาทถือเป็นการจัดการธรรมดาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1358 วรรคสอง ซึ่งตรงตามวัตถุประสงค์ของเจ้าของรวมและนอกจากจะไม่เสียหายแล้วกลับมีประโยชน์ยิ่งกว่า เพราะเดิมโจทก์เพียงให้จำเลยอาศัยโดยไม่มีค่าตอบแทน แต่จำเลยร่วมทั้งสองให้จำเลยเช่าอาคารพิพาทโดยคิดค่าเช่า กรณีไม่เป็นการใช้ทรัพย์สินในทางขัดต่อสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1360 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์จะไม่ตกลงยินยอมด้วยก็ตามแต่จำเลยร่วมทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของรวมย่อมมีสิทธิใช้สอยทรัพย์สินได้เช่นกันจึงมีสิทธิทำสัญญาให้จำเลยเช่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1484/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขู่เข็ญเรียกค่าไถ่ทรัพย์สินเข้าข่ายความผิดกรรโชกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 337
จำเลยขู่เข็ญให้ผู้เสียหายที่ 1 นำเงินจำนวน 5,500 บาท มามอบให้เป็นค่าไถ่โทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายที่ 1 และหากไม่นำมาให้จะไม่ได้รับโทรศัพท์คืน จำเลยจะนำไปขายให้แก่บุคคลอื่น เข้าลักษณะเป็นการขู่เข็ญผู้เสียหายที่ 1 โดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญคือขายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายที่ 1 ไป ซึ่งทำให้ผู้เสียหายที่ 1 เกิดความกลัวและยินยอมจะนำเงินจำนวน 5,500 บาท ไปให้จำเลย การกระทำของจำเลยจึงเข้าลักษณะความผิดฐานกรรโชก ตาม ป.อ. มาตรา 337
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1484/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขู่กรรโชกทรัพย์ด้วยการข่มขู่จะทำลายทรัพย์สินของผู้เสียหาย ถือเป็นความผิดฐานกรรโชก
จำเลยขู่เข็ญให้ผู้เสียหายนำเงิน 5,500 บาท มามอบให้เป็นค่าไถ่โทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายที่จำเลยรับมาจากคนร้ายที่ลักทรัพย์ และหากไม่นำมาให้จะไม่ได้รับโทรศัพท์คืนจำเลยจะนำไปขายให้แก่บุคคลอื่น เข้าลักษณะเป็นการขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญคือขายโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปซึ่งทำให้ผู้เสียหายเกิดความกลัวและยินยอมจะนำเงิน 5,500 บาท ไปให้จำเลยจึงเข้าลักษณะความผิดฐานกรรโชก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 614/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีอาญาเยาวชนที่ศาลชั้นต้นยกฟ้อง โดยมีประเด็นเรื่องความชอบด้วยกฎหมายในการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ และการพิสูจน์ความผิดฐานกรรโชกทรัพย์
ความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 มีอัตราโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ประกอบกับโจทก์บรรยายฟ้องข้อหาตามมาตรา 371 กับความผิดฐานร่วมกันกรรโชกทรัพย์ตามมาตรา 337 เป็นกรณีต่างกรรมกัน มิใช่เป็นเรื่องกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวรับพิจารณาความผิดตามมาตรา 337 จึงไม่มีเหตุที่จะต้องรับพิจารณาความผิดตามมาตรา 371 ซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์และยุติไปแล้ว ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 371 จึงไม่ชอบ