พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7994/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมกันหน่วงเหนี่ยวและกรรโชกทรัพย์ ความผิดสองกรรมต่างกัน
จำเลยที่ 2 กับพวกใช้กำลังประทุษร้ายโดยล็อกคอผู้เสียหายทั้งสองให้เข้าไปนั่งในรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 เป็นคนขับ แล้วจำเลยที่ 1 พูดบังคับ ขู่เข็ญให้ผู้เสียหายทั้งสองมอบเงินให้จำเลยที่ 1 กับพวกคนละ 1,000 บาท หากไม่ให้จะอยู่ในอำเภอหาดใหญ่ไม่ได้ ผู้เสียหายทั้งสองเกรงกลัวจึงยอม ตามที่จำเลยที่ 1 ขู่บังคับ และได้มอบเงิน 500 บาท ให้จำเลยที่ 3 ไป วันเดียวกัน ผู้เสียหายที่ 1 โทรศัพท์นัดหมายให้จำเลยที่ 1 มารับเงิน ส่วนที่เหลืออีก 1,500 บาท เมื่อจำเลยที่ 1 มารับเงินจึงถูกเจ้าพนักงาน ตำรวจจับกุมได้ แล้วจำเลยที่ 1 นำเจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุมจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ในวันเดียวกัน แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะไม่ได้มารับเงิน ส่วนที่เหลือจากผู้เสียหายทั้งสองด้วยก็ตาม แต่ตามพฤติการณ์แสดง ให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ร่วมกันวางแผนและกระทำความผิด ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการเรียกร้องเงินจากผู้เสียหายทั้งสองตั้งแต่ต้น ทั้งยังร่วมกับจำเลยที่ 1 นำเงิน 500 บาท ที่ผู้เสียหายมอบให้ในวันเกิดเหตุไปใช้ในการรับประทานอาหารกันการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 กับพวกดังกล่าวครบองค์ประกอบความผิดโดยร่วมกันเป็นตัวการในการกระทำความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวผู้เสียหายทั้งสองให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายและกรรโชกผู้เสียหายทั้งสอง และการที่จำเลยทั้งสามกับพวกเอาตัวผู้เสียหายทั้งสองไปหน่วงเหนี่ยวไว้ในรถยนต์โดยเจตนาทำให้ผู้เสียหายทั้งสองปราศจากเสรีภาพในร่างกายเป็นความผิดสำเร็จกรรมหนึ่งแล้ว เมื่อมีการขู่เรียกเอาเงินโดยเจตนากรรโชกเอาทรัพย์จนผู้เสียหายทั้งสองยินยอมให้เงินก็เป็นความผิดฐานกรรโชกอีกกรรมหนึ่งจึงเป็นความผิดสองกรรม ไม่ใช่กระทำกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5432/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานตำรวจกลั่นแกล้งจับกุมและเรียกรับเงินจากผู้เสียหาย เข้าข่ายความผิดฐานกรรโชก, หน่วงเหนี่ยวกักขัง, และปฏิบัติหน้าที่มิชอบ
คดีอาญา แม้ผู้เสียหายไม่ได้มาเบิกความตอบคำถามค้านของทนายจำเลยก็ตาม แต่ศาลย่อมนำคำเบิกความของผู้เสียหายตอบคำถามโจทก์มาประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์และรับฟังลงโทษจำเลยได้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 กระทำความผิดเป็นเหตุเฉพาะตัวของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ย่อมไม่ทำให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ที่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่ากระทำความผิด จำเลยที่ 1 จึงไม่หลุดพ้นความผิด
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ มีหน้าที่จับผู้กระทำผิดกฎหมายวันเกิดเหตุจำเลยกลั่นแกล้งจับผู้เสียหายแล้วเรียกเอาเงินจากผู้เสียหายเพื่อจะได้ปล่อยผู้เสียหายจนผู้เสียหายยอมให้เงินแก่จำเลย จึงเป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังกับกรรโชกผู้เสียหายและปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต
โจทก์บรรยายฟ้องข้อหาหน่วงเหนี่ยวกักขังว่า จำเลยกับพวกร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายโดยใส่กุญแจมือเป็นเหตุให้ผู้เสียหายปราศจากเสรีภาพในร่างกายแต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงว่า ได้ให้ผู้เสียหายกระทำการใดให้แก่จำเลยกับพวกหรือบุคคลอื่นอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 310 ทวิ แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะระบุมาตราดังกล่าวมาด้วย ก็ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้ศาลลงโทษตามบทมาตรา 310 ทวิ นี้
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยต่อผู้เสียหายในแต่ละข้อหารวมกันมาในข้อเดียวกัน แสดงว่า โจทก์ประสงค์ให้ศาลลงโทษสำหรับความผิดที่จำเลยกระทำต่อผู้เสียหายในแต่ละข้อหาเพียงกระทงเดียวการที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลย รวม 2 กระทง เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 กระทำความผิดเป็นเหตุเฉพาะตัวของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ย่อมไม่ทำให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ที่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่ากระทำความผิด จำเลยที่ 1 จึงไม่หลุดพ้นความผิด
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ มีหน้าที่จับผู้กระทำผิดกฎหมายวันเกิดเหตุจำเลยกลั่นแกล้งจับผู้เสียหายแล้วเรียกเอาเงินจากผู้เสียหายเพื่อจะได้ปล่อยผู้เสียหายจนผู้เสียหายยอมให้เงินแก่จำเลย จึงเป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังกับกรรโชกผู้เสียหายและปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต
โจทก์บรรยายฟ้องข้อหาหน่วงเหนี่ยวกักขังว่า จำเลยกับพวกร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายโดยใส่กุญแจมือเป็นเหตุให้ผู้เสียหายปราศจากเสรีภาพในร่างกายแต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงว่า ได้ให้ผู้เสียหายกระทำการใดให้แก่จำเลยกับพวกหรือบุคคลอื่นอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 310 ทวิ แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะระบุมาตราดังกล่าวมาด้วย ก็ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้ศาลลงโทษตามบทมาตรา 310 ทวิ นี้
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยต่อผู้เสียหายในแต่ละข้อหารวมกันมาในข้อเดียวกัน แสดงว่า โจทก์ประสงค์ให้ศาลลงโทษสำหรับความผิดที่จำเลยกระทำต่อผู้เสียหายในแต่ละข้อหาเพียงกระทงเดียวการที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลย รวม 2 กระทง เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5432/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติหน้าที่มิชอบของเจ้าพนักงานตำรวจ, การหน่วงเหนี่ยวกักขัง, กรรโชกทรัพย์, และขอบเขตการลงโทษ
คดีอาญา แม้ผู้เสียหายไม่ได้มาเบิกความตอบคำถามค้านของทนายจำเลยก็ตาม แต่ศาลย่อมนำคำเบิกความของผู้เสียหายตอบคำถามโจทก์มาประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์และรับฟังลงโทษจำเลยได้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 กระทำความผิดเป็นเหตุเฉพาะตัวของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ย่อมไม่ทำให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ที่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่ากระทำความผิด จำเลยที่ 1 จึงไม่หลุดพ้นความผิด
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ มีหน้าที่จับผู้กระทำผิดกฎหมายวันเกิดเหตุจำเลยกลั่นแกล้งจับผู้เสียหายแล้วเรียกเอาเงินจากผู้เสียหายเพื่อจะได้ปล่อยผู้เสียหายจนผู้เสียหายยอมให้เงินแก่จำเลย จึงเป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังกับกรรโชกผู้เสียหาย และปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต
โจทก์บรรยายฟ้องข้อหาหน่วงเหนี่ยวกักขังว่า จำเลยกับพวกร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายโดยใส่กุญแจมือเป็นเหตุให้ผู้เสียหายปราศจากเสรีภาพในร่างกาย แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงว่า ได้ให้ผู้เสียหายกระทำการใดให้แก่จำเลยกับพวกหรือบุคคลอื่นอันเป็นองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ.มาตรา 310 ทวิ แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะระบุมาตราดังกล่าวมาด้วย ก็ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้ศาลลงโทษตามบทมาตรา 310 ทวิ นี้
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยต่อผู้เสียหายในแต่ละข้อหารวมกันมาในข้อเดียวกัน แสดงว่า โจทก์ประสงค์ให้ศาลลงโทษสำหรับความผิดที่จำเลยกระทำต่อผู้เสียหายในแต่ละข้อหาเพียงกระทงเดียวการที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลย รวม 2 กระทง เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 กระทำความผิดเป็นเหตุเฉพาะตัวของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ย่อมไม่ทำให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ที่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่ากระทำความผิด จำเลยที่ 1 จึงไม่หลุดพ้นความผิด
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ มีหน้าที่จับผู้กระทำผิดกฎหมายวันเกิดเหตุจำเลยกลั่นแกล้งจับผู้เสียหายแล้วเรียกเอาเงินจากผู้เสียหายเพื่อจะได้ปล่อยผู้เสียหายจนผู้เสียหายยอมให้เงินแก่จำเลย จึงเป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังกับกรรโชกผู้เสียหาย และปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต
โจทก์บรรยายฟ้องข้อหาหน่วงเหนี่ยวกักขังว่า จำเลยกับพวกร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายโดยใส่กุญแจมือเป็นเหตุให้ผู้เสียหายปราศจากเสรีภาพในร่างกาย แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงว่า ได้ให้ผู้เสียหายกระทำการใดให้แก่จำเลยกับพวกหรือบุคคลอื่นอันเป็นองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ.มาตรา 310 ทวิ แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะระบุมาตราดังกล่าวมาด้วย ก็ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้ศาลลงโทษตามบทมาตรา 310 ทวิ นี้
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยต่อผู้เสียหายในแต่ละข้อหารวมกันมาในข้อเดียวกัน แสดงว่า โจทก์ประสงค์ให้ศาลลงโทษสำหรับความผิดที่จำเลยกระทำต่อผู้เสียหายในแต่ละข้อหาเพียงกระทงเดียวการที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลย รวม 2 กระทง เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถจักรยานยนต์ในความผิดฐานกรรโชกทรัพย์: พิจารณาบทบาทยานพาหนะ vs. ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิด
จำเลยกับพวกขับรถจักรยานยนต์ของกลางแล่นตามรถยนต์ ผู้เสียหายจนทันแล้วแซงขึ้นหน้าไปจอดขวางให้หยุด กับขู่เข็ญ ผู้เสียหายจนยอมมอบเงินแก่จำเลยกับพวกรถจักรยานยนต์ของกลาง จึงเป็นเพียงยานพาหนะที่จำเลยกับพวกใช้ก่อนที่จะกระทำความผิด ฐานกรรโชก อีกทั้งจำเลยกับพวกก็ร่วมกันขู่เข็ญผู้เสียหายว่า หากไม่ยอมให้เงินจำเลยกับพวกจะทำการระเบิดและพังรถยนต์ ของผู้เสียหายเท่านั้น รถจักรยานยนต์ของกลางจึงหาใช่ทรัพย์ ที่จำเลยกับพวกได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกรรโชกทรัพย์ไม่ ไม่เข้าหลักเกณฑ์ในเรื่องทรัพย์สินที่ศาลมีอำนาจสั่งริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การข่มขืนใจเพื่อให้ได้ประโยชน์โดยการข่มขู่ชื่อเสียงเข้าข่ายความผิดฐานกรรโชก แม้จะเกี่ยวข้องกับการผิดสัญญา
โจทก์และจำเลยทั้งเก้าต่างเป็นกรรมการสุขาภิบาลด้วยกันแต่เดิมเมื่อปี 2536 สุขาภิบาลว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ห.ให้ขุดลอกอ่างเก็บน้ำในเขตสุขาภิบาล ตกลงค่าจ้างเป็นเงิน 100,000 บาท แต่ยังไม่มีการจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวเพราะมีเงื่อนไขว่า ในปีต่อไปหากห้างหุ้นส่วนจำกัด ห.ประมูลงานจากสุขาภิบาลได้ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห.ก็จะไม่รับเงินจำนวน 100,000 บาท ตามที่ตกลงจ้าง ต่อมาปี 2537 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว.ซึ่งมีโจทก์เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้รับการว่าจ้างในกรณีพิเศษจากนายอำเภอประธานคณะกรรมการสุขาภิบาล ให้ก่อสร้างถนน ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห.จึงไม่ได้รับงาน ทางคณะกรรมการสุขาภิบาลจะต้องจ่ายเงิน 100,000 บาท ให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห.การที่จำเลยทั้งเก้าเรียกร้องให้โจทก์จ่ายเงิน 100,000 บาท แก่ตน มิฉะนั้นโจทก์จะถูกร้องเรียนกล่าวหาต่อผู้ว่าราชการจังหวัดในเรื่องโจทก์ก่อสร้างถนนผิดไปจากสัญญา อันเป็นเหตุให้สัญญาดังกล่าวระงับ และโจทก์ต้องถูกขับออกจากกรรมการสุขาภิบาล เมื่อปรากฏว่าโจทก์ต้องจ่ายเงินจำนวน 100,000 บาท ให้จำเลยทั้งเก้าไปโดยกลัวต่อการข่มขู่ของจำเลยทั้งเก้า ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งเก้าใช้สิทธิโดยชอบ เพราะแม้ว่าโจทก์จะมีส่วนบกพร่องในการก่อสร้างถนนอันผิดไปจากสัญญา ก็เป็นเรื่องของผู้มีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ว่ากล่าว ส่วนจำเลยทั้งเก้าเป็นบุคคลภายนอกย่อมไม่มีสิทธิสอดเข้าเกี่ยวข้องโดยหวังผลประโยชน์เป็นที่ตั้ง การที่โจทก์ต้องจ่ายเงินให้จำเลยทั้งเก้าโดยกลัวต่อการข่มขู่ดังกล่าว การกระทำของจำเลยทั้งเก้าจึงเป็นการข่มขืนใจโจทก์ให้ยอมให้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชื่อเสียงของโจทก์ซึ่งครบถ้วนตามองค์ประกอบความผิดฐานกรรโชกแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการสุขาภิบาลเรียกรับเงินจากผู้รับเหมาโดยข่มขู่ ทำให้เกิดความกลัวและจ่ายเงินให้ ถือเป็นกรรโชกทรัพย์
โจทก์และจำเลยทั้งเก้าต่างเป็นกรรมการสุขาภิบาลด้วยกัน แต่เดิมเมื่อปี 2536 สุขาภิบาลว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดห.ให้ขุดลอกอ่างเก็บน้ำในเขตสุขาภิบาล ตกลงค่าจ้างเป็นเงิน100,000 บาท แต่ยังไม่มีการจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวเพราะมีเงื่อนไขว่า ในปีต่อไปหากห้างหุ้นส่วนจำกัดห.ประมูลงานจากสุขาภิบาลได้ ห้างหุ้นส่วนจำกัดห. ก็จะไม่รับเงินจำนวน 100,000 บาท ตามที่ตกลงจ้าง ต่อมาปี 2537 ห้างหุ้นส่วนจำกัดว. ซึ่งมีโจทก์เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้รับการว่าจ้างในกรณีพิเศษ จากนายอำเภอประธานคณะกรรมการสุขาภิบาล ให้ก่อสร้าง ถนน ห้างหุ้นส่วนจำกัดห. จึงไม่ได้รับงานทางคณะกรรมการสุขาภิบาลจะต้องจ่ายเงิน 100,000 บาทให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดห. การที่จำเลยทั้งเก้าเรียกร้องให้โจทก์จ่ายเงิน 100,000 บาท แก่ตน มิฉะนั้นโจทก์จะถูกร้องเรียนกล่าวหาต่อผู้ว่าราชการจังหวัดในเรื่องโจทก์ก่อสร้างถนนผิดไปจากสัญญา อันเป็นเหตุให้สัญญา ดังกล่าวระงับ และโจทก์ต้องถูกขับออกจากกรรมการสุขาภิบาลเมื่อปรากฏว่าโจทก์ต้องจ่ายเงินจำนวน 100,000 บาทให้จำเลยทั้งเก้าไปโดยกลัวต่อการข่มขู่ของจำเลยทั้งเก้าย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งเก้าใช้สิทธิโดยชอบ เพราะแม้ว่าโจทก์จะมีส่วนบกพร่องในการก่อสร้างถนนอันผิดไปจากสัญญาก็เป็นเรื่องของผู้มีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ว่ากล่าวส่วนจำเลยทั้งเก้าเป็นบุคคลภายนอกย่อมไม่มีสิทธิสอดเข้าเกี่ยวข้องโดยหวังผลประโยชน์เป็นที่ตั้งการที่โจทก์ต้องจ่ายเงินให้จำเลยทั้งเก้าโดยกลัวต่อการ ข่มขู่ดังกล่าว การกระทำของจำเลยทั้งเก้าจึงเป็น การข่มขืนใจโจทก์ให้ยอมให้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชื่อเสียงของโจทก์ซึ่งครบถ้วน ตามองค์ประกอบความผิดฐานกรรโชกแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1796/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรโชกทรัพย์: การข่มขู่เพื่อให้จ่ายเงินเพื่อป้องกันความเสียหายต่อรถยนต์ ถือเป็นความผิดสำเร็จ
พฤติการณ์ของจำเลยที่ขับรถจักรยานยนต์เข้าไปสอบถามโจทก์ร่วมเกี่ยวกับการเฝ้ารถ เมื่อโจทก์ร่วมไม่ยอมให้เฝ้าจำเลยกลับเร่ง เครื่องยนต์ให้ดังกว่าปกติและพูดในลักษณะไม่รับรองความเสียหายของรถยนต์ของโจทก์นั้น ย่อมชี้ชัดให้เห็นถึงเจตนาของจำเลยที่ต้องการจะข่มขืนใจโจทก์ร่วมให้ยอมให้ซึ่งค่าจอดรถแก่จำเลยนั่นเอง แม้ในครั้งแรกโจทก์ร่วม จะปฏิเสธไม่ให้จำเลยเฝ้ารถแต่เมื่อโจทก์ร่วมถูกจำเลยข่มขู่ ในภายหลังจนเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมเกิดความกลัวว่าจะเกิด ความเสียหายแก่รถยนต์ของตน โจทก์ร่วมจึงยินยอมจ่ายเงิน ให้แก่ ศ. พวกของจำเลยไป นับได้ว่าเป็นผลต่อเนื่องโดยตรง จากการถูกจำเลยข่มขู่ ซึ่งเหตุที่เกิดขึ้นยังไม่ขาดตอน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดสำเร็จในข้อหากรรโชกแล้ว แม้โจทก์และโจทก์ร่วมจะมิได้ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหา ความผิดสำเร็จ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยได้เองโดยลงโทษ ไม่เกินกว่าโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดไว้ เงินที่โจทก์ร่วมจ่ายให้แก่จำเลยมีจำนวนเพียง 10 บาทนับว่าเป็นจำนวนเล็กน้อยทั้งได้ความว่าโจทก์ร่วมไม่ประสงค์ที่จะให้จำเลยรับโทษถึงจำคุก เนื่องจากหลังเกิดเหตุคดีนี้แล้วจำเลยได้แก้ไขพฤติกรรมของตนเองให้ดีขึ้น ไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยรับโทษจำคุกมาก่อน เพื่อให้โอกาสแก่จำเลยในการ ประพฤติตนเป็นพลเมืองดีต่อไป ศาลฎีกาเห็นสมควรรอการลงโทษให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3058/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขู่กรรโชกทรัพย์ด้วยการข่มขู่ทำร้ายร่างกายเพื่อเรียกเงินค่าจอดรถ ไม่เข้าข่ายชิงทรัพย์
จำเลยขอเงินค่าจอดรถจากผู้เสียหายทั้งสองคนละ10บาทแต่ผู้เสียหายทั้งสองไม่ให้จำเลยจึงพูดขู่จะต่อยผู้เสียหายที่1และนำเอาอาวุธมีดปลายแหลมมาจ่อห่างจากไหล่ผู้เสียหายที่2ประมาณ7ถึง8นิ้วแล้วพูดขู่ให้ส่งเงินให้ผู้เสียหายทั้งสองเกิดความกลัวจึงมอบเงินให้จำเลยคนละ10บาทแม้จำเลยจะไม่มีอำนาจเรียกเก็บเงินค่าจอดรถจากผู้เสียหายทั้งสองแต่การกระทำของจำเลยดังกล่าวก็มิได้ขู่เข็ญผู้เสียหายทั้งสองตั้งแต่ต้นแสดงว่าจำเลยมิได้มุ่งหมายขู่บังคับเอาเงินค่าจอดรถจากผู้เสียหายทั้งสองโดยตรงมาแต่แรกเงินที่จำเลยเรียกเก็บเป็นเงิน10บาทเท่ากันทุกรายและมิได้ขู่เข็ญเอาเงินจากผู้ขับรถมากเกินไปจากนี้เพียงแต่ว่าหากผู้ขับรถรายใดไม่ให้ค่าจอดรถก็ต้องนำรถไปจอดที่อื่นหรือหากยืนยันจะจอดรถในบริเวณที่เกิดเหตุจำเลยจึงขู่เข็ญจะทำร้ายซึ่งผู้ขับรถและผู้เสียหายทั้งสองยังสามารถตัดสินใจได้ว่าจะให้เงินจำเลยหรือไม่ก็ได้หากไม่ให้เงินก็นำรถไปจอดที่อื่นมิฉะนั้นอาจถูกทำร้ายตามที่จำเลยขู่การขู่เข็ญของจำเลยจึงเป็นการขู่โดยมีเงื่อนไขดังกล่าวจำเลยจึงมิได้มีเจตนาแย่งการครอบครองเงินของผู้เสียหายทั้งสองโดยตรงการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์และไม่อาจเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ได้แต่การกระทำของจำเลยเป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายทั้งสองให้ยอมให้หรือยอมจะให้เงินค่าจอดรถแก่จำเลยโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิตร่างกายของผู้เสียหายทั้งสองจนผู้เสียหายทั้งสองยอมตามจึงเป็นความผิดฐานกรรโชกสำเร็จตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา337
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3058/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขู่กรรโชกเรียกเก็บค่าจอดรถ แม้ไม่มีอำนาจ แต่มีเงื่อนไข ไม่เป็นชิงทรัพย์
จำเลยตระเวนเก็บค่าจอดรถจากผู้ที่นำรถยนต์มาจอดโดยไม่มีสิทธิ ย.ขับรถยนต์สามล้อมาจอด เมื่อจำเลยขอเงินจำนวน 10 บาท เป็นค่าจอดรถ ย. ไม่ให้ จำเลยขู่ว่าถ้าจะจอดที่นี่ต้องเสียเงินถ้าไม่ให้เงินจะต่อย ย. จึงให้เงิน10 บาท แก่จำเลย ส่วนบ.ขับรถยนต์แท็กซี่มาจอดจำเลยเข้ามาขอเงินจำนวน 10 บาท เป็นค่าจอดรถ บ.ไม่ยอมให้ จำเลยบอกว่าถ้าไม่ให้ก็ไม่ต้องจอดและ นำมีดปลายแหลมออกมาจ่อที่ไหล่ แล้วพูดขู่ให้ส่งเงิน การที่ ย.กลัวว่าจะถูกต่อยจึงมอบเงินให้จำเลยไปก็ดีและบ.ยอมจ่ายเงินให้จำเลยเนื่องจากกลัวว่าจำเลยจะใช้มีดแทง แต่จำเลยยังไม่ได้เงินจากบ.ก็ดี แม้จำเลยจะไม่มีอำนาจเรียกเก็บค่าจอดรถแต่จำเลยก็มิได้ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายตั้งแต่ต้นเงินที่จำเลยเรียกเก็บเท่ากันทุกรายและมิได้ขู่เข็ญเอาเงินเกินไปจากนี้ เพียงแต่ว่าหากไม่ให้ก็ต้องนำรถไปจอดที่อื่นหรือ หากยืนยันจะจอดจำเลยจึงขู่เข็ญจะทำร้ายผู้ที่ไม่ยอมจ่ายเงินให้เท่านั้น ย. และบ. ยังสามารถตัดสินใจได้ว่าจะให้เงินจำเลยหรือไม่ การขู่เข็ญจึงมีเงื่อนไขมิได้มีเจตนาแย่งการครอบครองเงินของ ย. และบ.โดยตรง จึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ และไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ได้ แต่เป็นการข่มขืนใจให้ยอมมอบให้หรือยอมจะให้เงินค่าจอดรถ แก่จำเลยโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกายของ ย. และบ. จนยอมตามจึงเป็นความผิดฐานกรรโชกสำเร็จตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 337
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753-758/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดอาญาเกี่ยวกับการครอบครองอาวุธ, การใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ และกรรโชกทรัพย์
พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯพ.ศ.2490มาตรา5(1)(ก)ได้บัญญัติยกเว้นมิให้ใช้บังคับแก่อาวุธปืนเครื่องกระสุนปืนวัตถุระเบิดดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืนของราชการทหารและตำรวจที่มีหรือใช้ในราชการเมื่ออาวุธปืนของกลางเป็นของกรมตำรวจและจำเลยที่1เบิกมาใช้ในราชการโดยชอบจำเลยที่1จึงไม่มีความผิดฐานมีอาวุธปืนของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตแม้จะได้ความว่าจำเลยที่1เบิกอาวุธปืนของกลางมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน2532และมิได้ส่งคืนเพื่อตรวจสอบในกำหนด1เดือนก็ตามก็เป็นเรื่องผิดระเบียบภายในของกรมตำรวจหาทำให้การกระทำที่ไม่เป็นความผิดกลับกลายเป็นความผิดขึ้นไม่ จำเลยที่1รับราชการตำแหน่งรองสารวัตรแผนก5กองกำกับการ2กองปราบปรามกรมตำรวจที่กรุงเทพมหานครจำเลยที่1ได้ยื่นใบลาขอหยุดพักผ่อนประจำปีตั้งแต่วันที่22ถึงวันที่29กันยายน2532และได้เดินทางไปที่อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาสต่อมาถูกจับและยึดอาวุธปืนของกลางได้ในวันที่3ตุลาคม2532ที่ห้องพักโรงแรมพลาซ่า อำเภอสุไหงโก-ลก และจำเลยที่1พาอาวุธปืนของกลางติดตัวไปโดยไม่ได้รับใบอนุญาตถือได้ว่าจำเลยที่1พาอาวุธปืนของกลางไปในเมืองหมู่บ้านทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและโดยไม่มีเหตุสมควรทั้งการพาอาวุธปืนของกลางดังกล่าวไปในเมืองหมู่บ้านทางสาธารณะนั้นจำเลยที่1มิได้อยู่ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ราชการเนื่องจากจำเลยที่1มิได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติราชการในท้องที่ดังกล่าวจำเลยที่1จึงมีความผิดฐานพาอาวุธปืนของกลางไปในเมืองหมู่บ้านทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและโดยไม่มีเหตุอันควรด้วย จำเลยที่1กับพวกอีกหนึ่งคนมาที่บ้านผู้เสียหายแนะนำตัวว่าชื่อร้อยตำรวจโทอ. มาจากกองปราบปรามมาทำงานโดยขอความช่วยเหลือค่าใช้จ่ายและถามผู้เสียหายว่าจะให้เท่าใดผู้เสียหายเป็นนักการพนันเข้าใจว่าเจ้าพนักงานตำรวจกองปราบปรามมาขอเงินกลับจะถูกจับกุมเพราะในบ้านของผู้เสียหายมีการลักลอบเล่นการพนันเป็นประจำจึงบอกว่าจะให้10,000บาทจำเลยที่1ขอ15,000บาทผู้เสียหายจึงให้เงินจำนวนดังกล่าวจากข้อเท็จจริงดังกล่าวเห็นได้ว่าจำเลยที่1มิได้แกล้งกล่าวหาผู้เสียหายในข้อหาใดทั้งจำเลยที่1มิได้ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบแต่ประการใดจำเลยที่1เพียงแต่พูดขอเงินค่าใช้จ่ายเป็นส่วนตัวซึ่งผู้เสียหายจะให้หรือไม่ก็ได้จำเลยที่1มิได้กระทำการอันใดอันเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งข่มขืนใจผู้เสียหายให้มอบเงินจำเลยที่1ยังไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา148 จำเลยที่1เรียกร้องเงินจากส. และอ. ผู้เสียหายแต่ละรายหากไม่ยอมให้เงินจะจับกุมจนผู้เสียหายทั้งสองรายกลัวจึงยอมให้เงินแก่จำเลยที่1แม้ผู้เสียหายทั้งสองเป็นเจ้ามือสลากกินรวบซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการพนันแต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่1มีหลักฐานยืนยันการกระทำผิดของผู้เสียหายทั้งสองรายนี้ทั้งตามพฤติการณ์ที่จำเลยที่1เรียกร้องเงินจากผู้เสียหายหลายรายในเวลาไล่เลี่ยกันแสดงว่าจำเลยมีเจตนามาแต่แรกที่จะใช้อำนาจในตำแหน่งเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจจับกุมผู้กระทำผิดข่มขืนใจและจูงใจให้ผู้เสียหายทั้งสองมอบเงินให้แก่จำเลยที่1โดยขู่ว่าถ้าไม่ให้เงินก็จะจับกุมการกระทำดังกล่าวจึงเป็นการแกล้งกล่าวหาผู้เสียหายเพื่อเรียกร้องเอาเงินเท่านั้นดังนั้นการที่จำเลยที่1เรียกร้องเงินจากผู้เสียหายทั้งสองรายหากไม่ยอมให้จะจับกุมจึงเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา148และเป็นการข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้ทรัพย์สินแก่จำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา337 จำเลยที่1เรียกร้องเงินจากพ. ผู้เสียหายโดยกล่าวในทำนองว่าถ้าไม่ให้เงินจะทำการจับกุมหญิงที่รับจ้างค้าประเวณีพ.ตกลงให้เงินแก่จำเลยที่1เพราะพ.เป็นหัวหน้าผู้อำนวยการคุมผู้หญิงที่ประกอบอาชีพค้าประเวณีในเขตอำเภอสุไหงโก-ลกและพ. ตกลงให้เงินเพราะไม่ต้องการให้เกิดความวุ่นวายในพวกสมาชิกหญิงที่มีอาชีพรับจ้างค้าประเวณีดังนั้นการที่จำเลยที่1เรียกร้องเงินจากพ.ผู้เสียหายหากไม่ยอมให้จะจับกุมหญิงที่รับจ้างค้าประเวณีซึ่งอยู่ในความดูแลของพ. ผู้เสียหายโดยพฤติการณ์ตามที่ได้วินิจฉัยมาแล้วจำเลยที่1มีเจตนามาแต่แรกที่จะใช้อำนาจในตำแหน่งเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิดข่มขืนใจให้พ.ผู้เสียหายมอบเงินให้แก่จำเลยที่1โดยขู่ว่าถ้าไม่ให้เงินก็จะจับกุมหญิงค้าประเวณีซึ่งอยู่ในความดูแลของพ. ผู้เสียหายทั้งที่ไม่ปรากฏว่าขณะข่มขู่ดังกล่าวมีการค้าประเวณีกันจริงกรณีจึงเป็นการแกล้งกล่าวหาขึ้นเพื่อจะเรียกเอาเงินเท่านั้นเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา148และเป็นการข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้ทรัพย์สินแก่จำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา337 ความผิดกระทงที่หนักที่สุดที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่1นั้นเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา148ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน10ปีขึ้นไปกรณีจึงต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา91(3)ซึ่งเมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วโทษจำคุกทั้งสิ้นจะต้องไม่เกินกำหนด50ปี