คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 337

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2688/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินการของห้างสรรพสินค้าต่อผู้ที่สงสัยว่าลักทรัพย์ ไม่ถือเป็นการข่มขืนใจหรือกรรโชก หากมีเหตุเชื่อโดยสุจริต
จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่าผู้เสียหายได้ลักเอาสติกเกอร์ของห้างซึ่งจำเลยมีหน้าที่ช่วยดูแลกิจการอยู่ไป การที่จำเลยบอกให้ผู้เสียหายเสียค่าปรับให้ห้าง 30 บาท ถ้าไม่ยอมจะส่งตัวให้เจ้าพนักงานตำรวจนั้นยังถือไม่ได้ว่าเป็นการข่มขืนใจหรือขู่เข็ญผู้เสียหายให้ยอมให้เงิน 30 บาทเพราะจำเลยมีหน้าที่ดูแลกิจการของห้างชอบที่จะใช้สิทธิตามกฎหมายดำเนินคดีแก่ผู้เสียหายทางอาญาในความผิดฐานลักทรัพย์ได้การที่จำเลยให้ผู้เสียหายเสียค่าปรับเท่ากับเสนอให้ชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นข้อแลกเปลี่ยนเพื่อตกลงเลิกคดีกัน จำเลยไม่มีความผิดฐานกรรโชก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2688/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิดำเนินคดีอาญา vs. กรรโชก: การเสนอค่าชดใช้เพื่อเลิกคดีไม่เป็นความผิด
จำเลยเชื่อ โดยสุจริตว่าผู้เสียหายลักสติกเกอร์ ราคา 1 บาท ของห้างฯ ซึ่งจำเลยมีหน้าที่ดูแล กิจการอยู่ไป การที่จำเลยเรียกให้ผู้เสียหายเสียค่าปรับแก่ห้างฯ จำนวน 30 บาท มิฉะนั้นจะส่งตัวให้เจ้าพนักงานตำรวจนั้น เป็นกรณีที่จำเลยชอบที่จะใช้สิทธิตามกฎหมายดำเนินคดีแก่ผู้เสียหายในทางอาญาได้ คำพูดของจำเลยดังกล่าวเท่ากับเป็นข้อเสนอให้ชดใช้ค่าเสียหายเพื่อตกลงเลิกคดีตามที่ห้างฯถือปฏิบัติ จึงไม่เป็นการข่มขืนใจหรือขู่เข็ญผู้เสียหาย จำเลยไม่มีความผิดฐานกรรโชก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2688/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิดำเนินคดีอาญา vs. กรรโชก: การเสนอให้ชดใช้ค่าเสียหายเพื่อเลิกคดีไม่ใช่การข่มขืนใจ
จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่าผู้เสียหายได้ลักเอาสติกเกอร์ของห้างซึ่งจำเลยมีหน้าที่ช่วยดูแลกิจการอยู่ไป การที่จำเลยบอกให้ผู้เสียหายเสียค่าปรับให้ห้าง 30 บาท ถ้าไม่ยอมจะส่งตัวให้เจ้าพนักงานตำรวจนั้นยังถือไม่ได้ว่าเป็นการข่มขืนใจหรือขู่เข็ญผู้เสียหายให้ยอมให้เงิน 30 บาท เพราะจำเลยมีหน้าที่ดูแลกิจการของห้างชอบที่จะใช้สิทธิตามกฎหมายดำเนินคดี แก่ผู้เสียหายทางอาญาในความผิดฐานลักทรัพย์ได้ การที่จำเลยให้ผู้เสียหายเสียค่าปรับเท่ากับเสนอให้ชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นข้อแลกเปลี่ยนเพื่อตกลงเลิกคดีกัน จำเลยไม่มีความผิดฐานกรรโชก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1743/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมจ่ายเงินตามคำขู่กรรโชกถือเป็นความผิดสำเร็จ ไม่ใช่พยายาม แม้แจ้งความขอความคุ้มครอง
เมื่อผู้เสียหายได้อ่านจดหมายกรรโชกของจำเลยแล้วจึงตกลงยอมจะให้เงินตามที่เรียกร้องเนื่องจากเกรงจะได้รับอันตราย การที่ผู้เสียหายไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนให้ทราบถึงเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้นแก่ตนก็เป็นการแจ้งเพื่อขอความคุ้มครองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่ประชาชนกระทำกันตามปกติมิใช่ผู้เสียหายไม่ยอมทำตามการขู่เข็ญ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดสำเร็จ ไม่ใช่อยู่ในชั้นพยายาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1743/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกรรโชกทรัพย์: การยอมจ่ายเงินตามคำขู่เป็นความผิดสำเร็จ แม้แจ้งความเพื่อขอความคุ้มครอง
เมื่อผู้เสียหายได้อ่านจดหมายกรรโชกของจำเลยแล้วจึงตกลงยอมจะให้เงินตามที่เรียกร้องเนื่องจากเกรงจะได้รับอันตราย การที่ผู้เสียหายไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนให้ทราบถึงเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้นแก่ตนก็เป็นการแจ้งเพื่อขอความคุ้มครองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่ประชาชนกระทำกันตามปกติมิใช่ผู้เสียหายไม่ยอมทำตามการขู่เข็ญ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดสำเร็จ ไม่ใช่อยู่ในชั้นพยายาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3679/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ ขู่เข็ญเรียกเงินจากผู้ประกอบการ และข่มขู่เรียกเงินซ้ำ
การที่ผู้บังคับบัญชามีคำสั่งให้นายตรวจสรรพสามิตแยกกันออกตรวจร้านค้าสุราในท้องที่ตามเขตที่กำหนดนั้นเป็นเรื่องของการแบ่งงานเพื่อความเหมาะสมในการปฏิบัติราชการเท่านั้น หาเป็นการจำกัดอำนาจหน้าที่ในการตรวจร้านค้าสุราในท้องที่เขตอื่นไม่และการตรวจร้านค้าสุราก็มิใช่การปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่ราชการ ซึ่งโดยปกติจะกระทำในระหว่างเวลาราชการทั้งไม่ปรากฏว่านายตรวจสรรพสามิตจะต้องปฏิบัติหน้าที่เฉพาะเวลาราชการดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3ซึ่งเป็นนายตรวจสรรพสามิตได้ไปที่ร้านค้าสุราของผู้เสียหายซึ่งอยู่นอกเขตท้องที่ที่ตนได้รับมอบหมายให้ไปตรวจและไปหลังเวลาราชการ โดยเรียกผู้เสียหายออกจากร้านมาพบที่รถยนต์ แล้วพูดว่าจะจับสุราของผู้เสียหายไปนั้น ก็ต้องถือว่าเป็นการกระทำของเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่นั่นเองหาใช่เป็นการกระทำส่วนตัวไม่และเมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกันเรียกร้องให้ผู้เสียหายจ่ายเงินเป็นค่าตอบแทนเพื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จะไม่จับ ทั้งที่ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายทำผิดกฎหมายอย่างไรนั้น ย่อมเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 148 แล้ว
ส่วนที่พวกจำเลยพูดกับผู้เสียหายว่า ถ้าไม่จ่ายเงินจะจับสุราที่ร้านค้าของผู้เสียหายและจะจับเดือนละ 2 ครั้งโดยได้ความว่าก่อนเกิดเหตุพวกของจำเลยได้มาขู่เอาเงินไปแล้ว 2 ครั้งและผู้เสียหายพูดต่อรองไม่ให้จับ เพราะกลัวลูกค้าจะเข้าใจผิดว่าขายสุราผิดกฎหมายแล้วผู้เสียหายจ่ายเงินให้พวกจำเลยไปนั้นเป็นการจ่ายเงินให้ไปด้วยความกลัวที่เกิดจากถูกพวกจำเลยขู่เข็ญว่าจะแกล้งจับสุราในร้านนั่นเองมิใช่ผู้เสียหายจะไม่มีมูลเหตุต้องกลัวเพราะไม่ได้มีสุราผิดกฎหมาย การกระทำของพวกจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3679/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ ข่มขู่เรียกรับเงินจากผู้ประกอบการ
การที่ผู้บังคับบัญชามีคำสั่งให้นายตรวจสรรพสามิตแยกกันออกตรวจร้านค้าสุราในท้องที่ตามเขตที่กำหนดนั้นเป็นเรื่องของการแบ่งงานเพื่อความเหมาะสมในการปฏิบัติราชการเท่านั้นหาเป็นการจำกัดอำนาจหน้าที่ในการตรวจร้านค้าสุราในท้องที่เขตอื่นไม่และการตรวจร้านค้าสุราก็มิใช่การปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่ราชการซึ่งโดยปกติจะกระทำในระหว่างเวลาราชการทั้งไม่ปรากฏว่านายตรวจสรรพสามิตจะต้องปฏิบัติหน้าที่เฉพาะเวลาราชการดังนั้นการที่จำเลยที่1ถึงที่3ซึ่งเป็นนายตรวจสรรพสามิตได้ไปที่ร้านค้าสุราของผู้เสียหายซึ่งอยู่นอกเขตท้องที่ที่ตนได้รับมอบหมายให้ไปตรวจและไปหลังเวลาราชการโดยเรียกผู้เสียหายออกจากร้านมาพบที่รรถยนต์แล้วพูดว่าจะจับสุราของผู้เสียหายไปนั้นก็ต้องถือว่าเป็นการกระทำของเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่นั่นเองหาใช่เป็นการกระทำส่วนตัวไม่และเมื่อจำเลยที่1ถึงที่3ร่วมกันเรียกร้องให้ผู้เสียหายจ่ายเงินเป็นค่าตอบแทนเพื่อจำเลยที่1ถึงที่3จะไม่จับทั้งที่ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายทำผิดกฎหมายอย่างไรนั้นย่อมเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา148แล้ว ส่วนที่พวกจำเลยพูดกับผู้เสียหายว่าถ้าไม่จ่ายเงินจะจับสุราที่ร้านค้าของผู้เสียหายและจะจับเดือนละ2ครั้งโดยได้ความว่าก่อนเกิดเหตุพวกของจำเลยได้มาขู่เอาเงินไปแล้ว2ครั้งและผู้เสียหายพูดต่อรองไม่ให้จับเพราะกลัวลูกค้าจะเข้าใจผิดว่าขายสุราผิดกฎหมายแล้วผู้เสียหายจ่ายเงินให้พวกจำเลยไปนั้นเป็นการจ่ายเงินให้ไปด้วยความกลังที่เกิดจากถูกพวกจำเลยขู่เข็ญว่าจะแกล้งจับสุราในร้านนั่นเองมิใช่ผู้เสียหายจะไม่มีมูลเหตุต้องกลัวเพราะไม่ได้มีสุราผิดกฎหมายการกระทำของพวกจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา337.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3679/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ ข่มขู่เรียกรับเงินจากผู้ประกอบการค้าสุรา
การที่ผู้บังคับบัญชามีคำสั่งให้นายตรวจสรรพสามิตแยกกันออกตรวจร้านค้าสุราในท้องที่ตามเขตที่กำหนดนั้น เป็นเรื่องของการแบ่งงานเพื่อความเหมาะสมในการปฏิบัติราชการเท่านั้น หาเป็นการจำกัดอำนาจหน้าที่ในการตรวจร้านค้าสุราในท้องที่เขตอื่นไม่และการตรวจร้านค้าสุราก็มิใช่การปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่ราชการ ซึ่งโดยปกติจะกระทำในระหว่างเวลาราชการ ทั้งไม่ปรากฏว่านายตรวจสรรพสามิตจะต้องปฏิบัติหน้าที่เฉพาะเวลาราชการ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ซึ่งเป็นนายตรวจสรรพสามิตได้ไปที่ร้านค้าสุราของผู้เสียหายซึ่งอยู่นอกเขตท้องที่ที่ตนได้รับมอบหมายให้ไปตรวจและไปหลังเวลาราชการ โดยเรียกผู้เสียหายออกจากร้านมาพบที่รถยนต์แล้วพูดว่าจะจับสุราของผู้เสียหายไปนั้น ก็ต้องถือว่าเป็นการกระทำของเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่นั่นเอง หาใช่เป็นการกระทำส่วนตัวไม่ และเมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกันเรียกร้องให้ผู้เสียหายจ่ายเงินเป็นค่าตอบแทนเพื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จะไม่จับ ทั้งที่ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายทำผิดกฎหมายอย่างไรนั้น ย่อมเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 148 แล้ว
ส่วนที่พวกจำเลยพูดกับผู้เสียหายว่า ถ้าไม่จ่ายเงินจะจับสุราที่ร้านค้าของผู้เสียหายและจะจับเดือนละ 2 ครั้ง โดยได้ความว่าก่อนเกิดเหตุพวกของจำเลยได้มาขู่เอาเงินไปแล้ว 2 ครั้ง และผู้เสียหายพูดต่อรองไม่ให้จับ เพราะกลัวลูกค้าจะเข้าใจผิดว่าขายสุราผิดกฎหมาย แล้วผู้เสียหายจ่ายเงินให้พวกจำเลยไปนั้น เป็นการจ่ายเงินให้ไปด้วยความกลัวที่เกิดจากถูกพวกจำเลยขู่เข็ญว่าจะแกล้งจับสุราในร้านนั่นเอง มิใช่ผู้เสียหายจะไม่มีมูลเหตุต้องกลัวเพราะไม่ได้มีสุราผิดกฎหมาย การกระทำของพวกจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2786/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของคำฟ้องข่มขืนใจกรรโชกและการรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในคดีอาญา
ฟ้องโจทก์บรรยายว่าจำเลยกับพวกได้บังอาจร่วมกันใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบข่มขืนใจกรรโชกให้ผู้เสียหายมอบเนื้อกระบือชำแหละแล้ว140กิโลกรัมให้แก่จำเลยกับพวกมิฉะนั้นจำเลยกับพวกจะยึดเนื้อกระบือชำแหละแล้ว500กิโลกรัมไปตรวจสอบอันจะเป็นเหตุให้เนื้อดังกล่าวเสียหายและจะจับกุมผู้เสียหายกับพวกทำให้ปราศจากเสรีภาพผู้เสียหายกับพวกจึงยอมมอบเนื้อ140กิโลกรัมให้จำเลยกับพวกไปเป็นการบรรยายข้อเท็จจริงที่เป็นการกระทำของจำเลยที่กระทำต่อผู้เสียหายโดยละเอียดครบถ้วนในลักษณะความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา148และมาตรา337แล้วทั้งบทบัญญัติแห่งกฎหมาย2มาตราดังกล่าวก็ไม่ได้ระบุองค์ประกอบความผิดว่าผู้กระทำต้องมีเจตนาทุจริตด้วยคำบรรยายฟ้องจึงชอบด้วยกฎหมาย จำเลยกับพวกร่วมกันกระทำความผิดตามฟ้องและได้ทรัพย์สินจากผู้เสียหายคิดเป็นเงิน6,000บาทกรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา432คือจำเลยกับพวกต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นคำว่า'ร่วมกันรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน'หมายความว่าแต่ละคนจะต้องชำระหนี้ทั้งหมดโดยสิ้นเชิงอันมีฐานะเช่นเดียวกับลูกหนี้ร่วม ฎีกาขอให้รอการลงโทษเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2786/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำโดยเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ ข่มขืนใจ กรรโชกทรัพย์ และความรับผิดทางแพ่งในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ฟ้องโจทก์บรรยายว่าจำเลยกับพวกได้บังอาจร่วมกันใช้อำนาจ ในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ ข่มขืนใจ กรรโชกให้ผู้เสียหายมอบเนื้อกระบือชำแหละแล้ว 140 กิโลกรัม ให้แก่จำเลยกับพวก มิฉะนั้นจำเลยกับพวกจะยึดเนื้อกระบือชำแหละแล้ว 500 กิโลกรัม ไปตรวจสอบอันจะเป็นเหตุให้เนื้อดังกล่าวเสียหาย และจะจับกุมผู้เสียหาย กับพวก ทำให้ปราศจากเสรีภาพ ผู้เสียหายกับพวกจึงยอมมอบเนื้อ140 กิโลกรัม ให้จำเลยกับพวกไป เป็นการบรรยายข้อเท็จจริงที่เป็นการกระทำของจำเลย ที่กระทำต่อผู้เสียหายโดยละเอียดครบถ้วนในลักษณะความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 และมาตรา 337 แล้ว ทั้งบทบัญญัติแห่งกฎหมาย 2 มาตราดังกล่าวก็ไม่ได้ระบุองค์ประกอบความผิดว่า ผู้กระทำต้องมีเจตนาทุจริตด้วยคำบรรยายฟ้องจึงชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยกับพวกร่วมกันกระทำความผิดตามฟ้องและได้ทรัพย์สิน จากผู้เสียหายคิดเป็นเงิน 6,000 บาทกรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 432 คือจำเลยกับพวก ต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้น คำว่า 'ร่วมกันรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน' หมายความว่า แต่ละคน จะต้องชำระหนี้ทั้งหมดโดยสิ้นเชิง อันมีฐานะเช่นเดียวกับลูกหนี้ร่วม
ฎีกาขอให้รอการลงโทษ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
of 17