คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 50 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6368/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้คำนวณภาษีแบบเหมาจ่าย แม้ไม่มีกฎหมายรองรับ แต่ผูกพันเมื่อโจทก์ยินยอมแล้ว
โจทก์ยินยอมให้เจ้าพนักงานประเมินคิดคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นการเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 3 ของเงินได้ของคนงานตามมติของคณะกรรมการพิจารณาภาษีอากร (กพอ.) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นแล้วโจทก์จะกลับมาอ้างภายหลังว่าการคำนวณภาษีด้วยวิธีนี้ไม่ถูกต้องโดยต้องคำนวณตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากรนั้น เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินไม่อาจคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายดังที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวได้ เพราะโจทก์ไม่สามารถนำสืบฐานะทางครอบครัวของคนงานของโจทก์ว่า มีภริยาและบุตรหรือไม่ ทั้งโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าคนงานที่ปรากฏชื่อในใบสำคัญการจ่ายเงินมีตัวตนอยู่หรือไม่ และโจทก์ได้จ่ายค่าจ้างไปจริงหรือไม่ เช่นนี้แม้มติของคณะกรรมการพิจารณาภาษีอากรเป็นเพียงแนวทางปฏิบัติในการคำนวณภาษีและไม่มีกฎหมายรับรอง โจทก์ได้ให้ความยินยอมในการคำนวณภาษีตามแนวทางปฏิบัตินั้นแล้ว การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6368/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้ประเมินภาษีแบบเหมาจ่าย แม้ไม่มีกฎหมายรองรับ แต่หากยินยอมแล้วจะมาอ้างภายหลังไม่ได้
โจทก์ยินยอมให้เจ้าพนักงานประเมินคิดคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นการเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 3 ของเงินได้ของคนงานตามมติของคณะกรรมการพิจารณาภาษีอากร (กพอ.) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นแล้วโจทก์จะกลับมาอ้างภายหลังว่าการคำนวณภาษีด้วยวิธีนี้ไม่ถูกต้องโดยต้องคำนวณตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากรนั้นเมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินไม่อาจคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายดังที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวได้ เพราะโจทก์ไม่สามารถนำสืบฐานะทางครอบครัวของคนงานของโจทก์ว่ามีภริยาและบุตรหรือไม่ ทั้งโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าคนงานที่ปรากฏชื่อในใบสำคัญการจ่ายเงินมีตัวตนอยู่หรือไม่ และโจทก์ได้จ่ายค่าจ้างไปจริงหรือไม่ เช่นนี้แม้มติของคณะกรรมการพิจารณาภาษีอากรเป็นเพียงแนวทางปฏิบัติในการคำนวณภาษีและไม่มีกฎหมายรับรอง โจทก์ก็ได้ให้ความยินยอมในการคำนวณภาษีตามแนวทางปฏิบัตินั้นแล้ว การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3608/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณภาษีเงินได้หักณที่จ่ายสำหรับพนักงานที่เข้าทำงานระหว่างปี: เกณฑ์การคำนวณจากเงินได้ที่ได้รับจริง
ตามประมวลรัษฎากรมาตรา39เงินได้อันจะนำมาคำนวณภาษีนั้นไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นก็ต้องเป็นสิ่งที่ผู้มีเงินได้ได้รับมาแล้ว. การคำนวณภาษีเงินได้หักณที่จ่ายกฎหมายมุ่งประสงค์ให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินหักภาษีไว้เท่าจำนวนที่ผู้มีเงินได้จะต้องเสียเท่านั้นคือต้องคำนวณจากเงินได้ที่ผู้มีเงินได้รับแล้วหรือเป็นที่แน่ชัดว่าควรจะได้รับต่อไปจนถึงเดือนสุดท้ายของปีเท่านั้นดังนั้นวิธีคำนวณภาษีเงินได้หักณที่จ่ายสำหรับผู้มีเงินได้ที่เข้าทำงานระหว่างปีที่ถูกต้องคือให้นำเงินเดือนเริ่มตั้งแต่เดือนที่จ่ายคำนวณล่วงหน้าจนถึงสิ้นปีเป็นเงินได้พึงประเมินสำหรับคำนวณภาษีตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้แล้วหารด้วยจำนวนเดือนที่จ่ายหักไว้เป็นภาษีแต่ละเดือน. ฟ้องของโจทก์ขอให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยและเพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยเฉพาะ2รายการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยและเพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยทั้งหมดจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3608/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร โดยพิจารณาจากเงินได้ที่ได้รับจริง
ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 39 เงินได้อันจะนำมาคำนวณภาษีนั้นไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นก็ต้องเป็นสิ่งที่ผู้มีเงินได้ได้รับมาแล้ว
การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายกฎหมายมุ่งประสงค์ให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินหักภาษีไว้เท่าจำนวนที่ผู้มีเงินได้จะต้องเสียเท่านั้น คือต้องคำนวณจากเงินได้ที่ผู้มีเงินได้รับแล้วหรือเป็นที่แน่ชัดว่าควรจะได้รับต่อไปจนถึงเดือนสุดท้ายของปีเท่านั้นดังนั้นวิธีคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายสำหรับผู้มีเงินได้ที่เข้าทำงานระหว่างปีที่ถูกต้องคือให้นำเงินเดือนเริ่มตั้งแต่เดือนที่จ่ายคำนวณล่วงหน้าจนถึงสิ้นปีเป็นเงินได้พึงประเมินสำหรับคำนวณภาษีตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ แล้วหารด้วยจำนวนเดือนที่จ่ายหักไว้เป็นภาษีแต่ละเดือน
ฟ้องของโจทก์ขอให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยและเพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยเฉพาะ 2 ราย การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยและเพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยทั้งหมดจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่า หรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3206/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายสำหรับพนักงานที่เข้าทำงาน/ได้ขึ้นเงินเดือนระหว่างปี ต้องคำนวณจากเงินได้ที่ได้รับจริงเท่านั้น
วิธีการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามประมวลรัษฎากรมาตรา 50(1) สำหรับผู้มีเงินได้ที่เข้าทำงานระหว่างปีหรือได้รับเงินเดือนขึ้นระหว่างปีนั้น ให้นำเงินเดือนเริ่มตั้งแต่เดือนที่จ่ายคำนวณล่วงหน้าจนถึงสิ้นปี เป็นเงินได้พึงประเมินสำหรับคำนวณภาษีตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ หากมีการจ่ายเงินโบนัสก็จะนำเงินโบนัสรวมกับเงินเดือนที่จ่ายเป็นเงินได้พึงประเมินสำหรับคำนวณภาษีด้วย แล้วหารด้วยจำนวนเดือนที่จ่ายหักไว้เป็นภาษีแต่ละเดือน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3206/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วิธีคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายสำหรับผู้เข้าทำงาน/ได้เงินเดือนขึ้นระหว่างปี ต้องคำนวณจากเงินได้ที่ได้รับจริง
วิธีการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามประมวลรัษฎากรมาตรา 50(1) สำหรับผู้มีเงินได้ที่เข้าทำงานระหว่างปี หรือได้รับเงินเดือนขึ้นระหว่างปีนั้น ให้นำเงินเดือนเริ่มตั้งแต่เดือนที่จ่ายคำนวณล่วงหน้าจนถึงสิ้นปี เป็นเงินได้พึงประเมินสำหรับคำนวณภาษีตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ หากมีการจ่ายเงินโบนัสก็จะนำเงินโบนัสรวมกับเงินเดือนที่จ่ายเป็นเงินได้พึงประเมินสำหรับคำนวณภาษีด้วย แล้วหารด้วยจำนวนเดือนที่จ่ายหักไว้เป็นภาษีแต่ละเดือน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2316/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาออกของลูกจ้าง นายจ้างอนุมัติก่อนกำหนดเป็นเหตุให้ลูกจ้างขาดค่าจ้างและเสียหายได้
ภายใต้ระเบียบของนายจ้างซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างลูกจ้างมีสิทธิจะลาออกจากงานเมื่อใดก็ได้ เมื่อลูกจ้างยื่นใบลาออกถูกต้องตามระเบียบแล้ว ทั้งเป็นสิทธิของลูกจ้างที่กำหนดวันลาออกได้ นายจ้างไม่ชอบที่จะอนุมัติเป็นประการอื่น การที่นายจ้างอนุมัติให้ลูกจ้างลาออกตั้งแต่วันที่ลูกจ้างยื่นใบลาอันเป็นการให้ลาออกก่อนวันที่ลูกจ้างกำหนดไว้ ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าลูกจ้างขาดค่าจ้างที่จะได้รับนับแต่วันยื่นใบลาจนถึงวันที่ลูกจ้างประสงค์จะลาออกอย่างแท้จริงและยัง ความเสียหายให้แก่ลูกจ้าง
ศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยแล้วว่าโจทก์มีสิทธิได้รับรางวัลชนะเลิศ การขายเป็นเงิน 12,000 บาท เป็นเรื่องสิทธิที่จะได้รับ เมื่อจำเลยมีสิทธิ และหน้าที่จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามประมวลรัษฎากรอย่างไร คงเหลือจ่ายจริงให้โจทก์เท่าใด จำเลยย่อมกระทำได้ตามกฎหมายดังกล่าว หาจำต้องกล่าวไว้ในคำพิพากษาไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2316/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้างลาออกตามระเบียบ นายจ้างอนุมัติก่อนกำหนดทำให้เกิดความเสียหาย และสิทธิในการรับเงินรางวัลขายหลังหักภาษี
ภายใต้ระเบียบของนายจ้างซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ลูกจ้างมีสิทธิจะลาออกจากงานเมื่อใดก็ได้ เมื่อลูกจ้างยื่นใบลาออกถูกต้องตามระเบียบแล้ว ทั้งเป็นสิทธิของลูกจ้างที่กำหนดวันลาออกได้นายจ้างไม่ชอบที่จะอนุมัติเป็นประการอื่น การที่นายจ้างอนุมัติให้ลูกจ้างลาออกตั้งแต่วันที่ลูกจ้างยื่นใบลาอันเป็นการให้ลาออกก่อนวันที่ลูกจ้างกำหนดไว้ ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าลูกจ้างขาดค่าจ้างที่จะได้รับนับแต่วันยื่นใบลาจนถึงวันที่ลูกจ้างประสงค์จะลาออกอย่างแท้จริง และยังความเสียหายให้แก่ลูกจ้าง
ศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยแล้วว่าโจทก์มีสิทธิได้รับ รางวัลชนะเลิศ การขายเป็นเงิน 12,000 บาท เป็นเรื่องสิทธิที่จะได้รับ เมื่อจำเลยมีสิทธิ และหน้าที่จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามประมวลรัษฎากรอย่างไร คงเหลือจ่ายจริงให้โจทก์เท่าใด จำเลยย่อมกระทำได้ตามกฎหมายดังกล่าว หาจำต้องกล่าวไว้ในคำพิพากษาไม่
of 2