พบผลลัพธ์ทั้งหมด 99 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5290/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจถอนฟ้องหลังจำเลยให้การ และผลกระทบจากการโอนสิทธิเรียกร้อง
การถอนคำฟ้องภายหลังจำเลยที่ 3 ยื่นคำให้การแล้ว ป.วิ.พ. มาตรา 175 วรรคสอง (1) บัญญัติให้โจทก์เป็นผู้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้น และห้ามไม่ให้ศาลให้อนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยก่อน ดังนี้ แม้โจทก์ได้โอนสิทธิเรียกร้องทั้งหมดที่มีต่อจำเลยทั้งสามในคดีนี้ให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. ไปแล้วในระหว่างดำเนินคดีนี้ดังที่จำเลยที่ 3 อ้างก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำสั่งอนุญาตให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ โจทก์ยังคงมีสถานะเป็นคู่ความในคดีเช่นเดิมและมีอำนาจดำเนินคดีเพื่อขอให้รับรอง คุ้มครอง บังคับตามสิทธิของตน โจทก์จึงมีอำนาจถอนฟ้องคดีนี้ได้
การที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล ซึ่งนอกจากพิจารณาถึงความสุจริตในการดำเนินคดีของโจทก์แล้วยังต้องคำนึงถึงความได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันในเชิงคดีด้วย การที่โจทก์ขอถอนฟ้องเพราะโจทก์ได้โอนหนี้สินในคดีนี้ไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. แล้ว ย่อมมีเหตุผลและเป็นสิทธิของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่สุจริตเพื่อมุ่งเอาเปรียบในเชิงคดีแต่อย่างใด
การที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล ซึ่งนอกจากพิจารณาถึงความสุจริตในการดำเนินคดีของโจทก์แล้วยังต้องคำนึงถึงความได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันในเชิงคดีด้วย การที่โจทก์ขอถอนฟ้องเพราะโจทก์ได้โอนหนี้สินในคดีนี้ไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. แล้ว ย่อมมีเหตุผลและเป็นสิทธิของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่สุจริตเพื่อมุ่งเอาเปรียบในเชิงคดีแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4582/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้บัตรเครดิต: การสะดุดหยุดของอายุความจากการชำระหนี้และการฟ้องคดี
จำเลยชำระหนี้ตามบัตรซิตี้แบงก์วีซ่าให้แก่โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2541 อายุความย่อมสะดุดหยุดลงในวันดังกล่าว และต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2541 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) และมาตรา 193/15 แม้การฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้จะเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (2) แต่คดีก่อนซึ่งโจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2542 นั้น ถึงที่สุดโดยศาลมีคำพิพากษาให้ยกคำฟ้อง จึงต้องถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลงเพราะเหตุที่ได้ฟ้องคดีก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคหนึ่ง อายุความสำหรับการฟ้องคดีใหม่จึงยังคงต้องเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2541 ซึ่งครบกำหนดในวันที่ 11 ธันวาคม 2543 ทั้งนี้ โดยไม่มีเหตุที่ต้องพิจารณาตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง เพราะมิใช่เป็นกรณีที่อายุความได้ครบกำหนดไปแล้วระหว่างการพิจารณา หรือจะครบกำหนดภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คำพิพากษาในคดีก่อนถึงที่สุด ดังนั้น เมื่อโจทก์มาฟ้องจำเลยใหม่เป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2544 เกินกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่เริ่มนับอายุความใหม่เพราะเหตุที่จำเลยชำระหนี้ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้จึงขาดอายุความ
โจทก์แก้ฎีกาว่า ฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรซิตี้แบงก์มาสเตอร์การ์ดไม่ขาดอายุความดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยจึงขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ในส่วนของบัตรดังกล่าว รวมทั้งในส่วนของบัตรซิตี้แบงก์วีซ่าแก่โจทก์เป็นเงินรวม 409,081.12 บาท เต็มจำนวนตามฟ้อง เป็นการขอนอกเหนือเพิ่มเติมจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ต้องกระทำโดยยื่นเป็นคำฟ้องฎีกาจะเพียงแต่ขอมาในคำแก้ฎีกาเช่นนี้หาได้ไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
โจทก์แก้ฎีกาว่า ฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรซิตี้แบงก์มาสเตอร์การ์ดไม่ขาดอายุความดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยจึงขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ในส่วนของบัตรดังกล่าว รวมทั้งในส่วนของบัตรซิตี้แบงก์วีซ่าแก่โจทก์เป็นเงินรวม 409,081.12 บาท เต็มจำนวนตามฟ้อง เป็นการขอนอกเหนือเพิ่มเติมจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ต้องกระทำโดยยื่นเป็นคำฟ้องฎีกาจะเพียงแต่ขอมาในคำแก้ฎีกาเช่นนี้หาได้ไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4021/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความต้องแสดงเหตุแห่งการขาดในคำให้การ ศาลไม่รับวินิจฉัยหากไม่ชัดเจน
ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง กำหนดให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการปฏิเสธนั้นด้วย ดังนั้น นอกจากจำเลยจะต้องให้การโดยชัดแจ้งว่าคดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว จำต้องให้การแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความให้ปรากฏด้วย เมื่อจำเลยให้การเพียงว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วเนื่องจากจำเลยไม่เคยนำเงินต้นและดอกเบี้ยมาชำระให้แก่โจทก์ โดยมิได้กล่าวถึงเหตุแห่งการขาดอายุความให้ปรากฏว่าคดีโจทก์ขาดอายุความเมื่อใดนับแต่วันใดถึงวันฟ้องคดีขาดอายุความไปแล้ว เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวข้างต้น จึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ และถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3964/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการปรับข้อเท็จจริงเข้าบทกฎหมายที่ถูกต้อง แม้ฟ้องอ้างลาภมิควรได้
โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนโดยตั้งข้อหามาในคำฟ้องไว้อย่างไรก็ไม่ผูกมัดให้ศาลต้องนำบทบัญญัติแห่งกฎหมายในเรื่องนั้นมาปรับแก่คดีดังที่โจทก์ตั้งข้อหาเท่านั้น แต่เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลที่จะปรับข้อเท็จจริงเข้ากับบทกฎหมายที่ถูกต้องเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดคดีได้
โจทก์ฟ้องอ้างว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. มีมติให้ถอนหุ้นของ ส. มารดาเลี้ยงของโจทก์ซึ่งถึงแก่ความตาย โดยจะจ่ายเป็นเงินตอบแทนให้แก่โจทก์และ น. น้องสาวโจทก์คนละ 200,000 บาท และได้ฝากเงินไว้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นอาของโจทก์ เพื่อให้นำไปซื้อบ้านให้แก่โจทก์และ น. จำเลยที่ 2 มอบเงินดังกล่าวไว้แก่จำเลยที่ 1 โดยแจ้งวัตถุประสงค์ให้จำเลยที่ 1 ทราบ ต่อมาจำเลยทั้งสองซื้อบ้านและใส่ชื่อ น. เป็นเจ้าของบ้านโดยไม่มีชื่อโจทก์ และจำเลยที่ 1 ยังแจ้งแก่ น. ห้ามมิให้โจทก์เข้าอยู่อาศัยในบ้านโดยเด็ดขาด โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยทั้งสองคืนเงินส่วนของโจทก์ ดังนี้ หากฟ้องโจทก์เป็นความจริง ก็มิใช่เป็นเรื่องลาภมิควรได้ เพราะมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองรับเงินไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมาย แต่เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองรับเงินไว้ในลักษณะเป็นตัวแทนจัดการซื้อบ้านให้แก่โจทก์และ น.
โจทก์ฟ้องอ้างว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. มีมติให้ถอนหุ้นของ ส. มารดาเลี้ยงของโจทก์ซึ่งถึงแก่ความตาย โดยจะจ่ายเป็นเงินตอบแทนให้แก่โจทก์และ น. น้องสาวโจทก์คนละ 200,000 บาท และได้ฝากเงินไว้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นอาของโจทก์ เพื่อให้นำไปซื้อบ้านให้แก่โจทก์และ น. จำเลยที่ 2 มอบเงินดังกล่าวไว้แก่จำเลยที่ 1 โดยแจ้งวัตถุประสงค์ให้จำเลยที่ 1 ทราบ ต่อมาจำเลยทั้งสองซื้อบ้านและใส่ชื่อ น. เป็นเจ้าของบ้านโดยไม่มีชื่อโจทก์ และจำเลยที่ 1 ยังแจ้งแก่ น. ห้ามมิให้โจทก์เข้าอยู่อาศัยในบ้านโดยเด็ดขาด โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยทั้งสองคืนเงินส่วนของโจทก์ ดังนี้ หากฟ้องโจทก์เป็นความจริง ก็มิใช่เป็นเรื่องลาภมิควรได้ เพราะมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองรับเงินไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมาย แต่เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองรับเงินไว้ในลักษณะเป็นตัวแทนจัดการซื้อบ้านให้แก่โจทก์และ น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3802/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้จำนองในการรับชำระหนี้จากการขายทอดตลาด ไม่ต้องบอกกล่าวบังคับจำนองก่อน
เจ้าหนี้จำนองยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองให้เอาเงินที่ได้มานั้นชำระหนี้ตนก่อนเจ้าหนี้อื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวบังคับจำนองก่อน เพราะไม่ใช่เรื่องฟ้องบังคับจำนองโดยตรงที่จะต้องบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 728
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3732/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีจำนองเดิมถึงที่สุดแล้ว ฟ้องใหม่โต้แย้งการมอบอำนาจเดิม ถือเป็นการฟ้องซ้ำ
คดีก่อนจำเลยที่ 1 ฟ้องขอให้บังคับโจทก์คดีนี้ซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 ในคดีก่อน ร่วมกันรับผิดกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. กับพวกรวม 6 คน ในฐานะที่จำเลยที่ 2 (โจทก์คดีนี้) เป็นผู้ค้ำประกันและจำนองที่ดินพิพาทและที่ดินแปลงอื่นพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. และคดีก่อนศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 (โจทก์คดีนี้) ทำสัญญาจำนองที่ดินรวมที่ดินที่พิพาทในคดีนี้ไว้แก่โจทก์ (จำเลยที่ 1 คดีนี้) แล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 2 (โจทก์คดีนี้) และจำเลยอื่นในคดีก่อนร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์ (จำเลยที่ 1 คดีนี้) หากไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองรวมทั้งที่ดินที่พิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 2 (โจทก์คดีนี้) ออกขายทอดตลาดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ (จำเลยที่ 1 คดีนี้) หากได้เงินไม่พอชำระหนี้ให้บังคับเอาแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 2 (โจทก์คดีนี้) และจำเลยที่ 6 ในคดีก่อนจนกว่าจะครบ ส่วนคดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 ในคดีก่อนฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นโจทก์คดีก่อนและจำเลยที่ 2 ที่ 3 ว่า การมอบอำนาจของจำเลยที่ 1 ที่ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำนิติกรรมจำนองที่ดินพิพาทไม่ชอบด้วยกฎหมาย นิติกรรมจำนองที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 ตกเป็นโมฆะ ขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองที่ดินพิพาท ดังนี้ ฟ้องโจทก์คดีนี้ละคดีก่อนจึงมีมูลมาจากสัญญาจำนองฉบับเดียวกัน เพียงแต่โจทก์กล่าวอ้างในคดีก่อนว่า โจทก์ (จำเลยที่ 2 ในคดีนี้) ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาจำนองเพราะห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ไม่ได้เป็นหนี้จำเลยที่ 1 (โจทก์คดีก่อน) และจำเลยที่ 1 (โจทก์คดีก่อน) บอกกล่าวบังคับจำนองไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น แต่หาได้ให้การต่อสู้ว่าการมอบอำนาจของจำเลยที่ 1 ที่ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไปทำนิติกรรมจำนองที่ดินพิพาทกับโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งๆ ที่โจทก์อาจต่อสู้ไว้ในคดีก่อนเพื่อให้เป็นประเด็นข้อพิพาทได้ ฉะนั้น แม้คดีนี้โจทก์จะกล่าวอ้างว่าหนังสือมอบอำนาจของจำเลยที่ 1 ไม่ถูกต้องเนื่องจากไม่มีต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจมาแสดง การทำนิติกรรมจำนองที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 จึงตกเป็นโมฆะ ซึ่งดูประหนึ่งว่าจะมิได้เกี่ยวข้องกับประเด็นในคดีก่อนก็ตาม แต่ตามเนื้อหาแห่งคดีที่โจทก์นำสืบและเนื้อความแห่งฎีกาของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์โต้เถียงความถูกต้องของสัญญาจำนองที่ดินพิพาท และโจทก์ไม่จำต้องผูกพันตามสัญญาจำนองที่ดินพิพาทดังกล่าว คดีทั้งสองจึงมีประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันว่า โจทก์จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทเป็นประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ไว้แก่จำเลยที่ 1 หรือไม่นั่นเอง เมื่อคดีก่อนถึงที่สุดแล้ว โจทก์มาฟ้องจำเลยทั้งสามจึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 จะมิได้เป็นคู่ความในคดีก่อน แต่ก็เป็นบุคคลที่โจทก์อ้างว่ารับมอบอำนาจซึ่งสืบสิทธิมาจากจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3416/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน-การบอกเลิกสัญญาเช่า-อำนาจฟ้อง: กรณีมิสซังถือครองที่ดิน
ที่ดินพิพาทเป็นสิทธิครอบครองของโจทก์ที่ให้จำเลยเช่า การที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทจึงเป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ เป็นการยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์ แม้จะครอบครองทำประโยชน์นานเท่าใดก็ไม่อาจอ้างการแย่งการครอบครองในที่ดินพิพาทได้ นอกจากจะได้มีการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยังโจทก์ว่าจำเลยไม่มีเจตนาจะยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์อีกต่อไป เมื่อคำให้การของจำเลยไม่มีประเด็นเรื่องเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือจำเลยจึงไม่อาจอ้างเหตุแย่งการครอบครองเกิน 1 ปี ตามคำให้การของจำเลยมายันโจทก์ได้ โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท
โจทก์นำสืบส่งภาพถ่ายสำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงเป็นพยานต่อศาล จำเลยไม่ได้คัดค้านหรือนำสืบโต้แย้งว่า โจทก์มิได้ส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจช่วงและนำสำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงมาสืบ การที่ศาลชั้นต้นรับฟังสำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงจึงเท่ากับศาลชั้นต้นอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารนั้นมาสืบได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) จึงรับฟังเป็นพยานเอกสารได้
การรับฟังสำเนาเอกสารเป็นพยานหลักฐานแทนต้นฉบับเอกสาร มิใช่เป็นการรับฟังต้นฉบับเอกสารเป็นพยานหลักฐานอันจะต้องปิดอากรแสตม์ตามประมวลรัษฎากร ทั้งสำเนาเอกสารมิใช่คู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสาร ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ด้วยเช่นกัน จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
พ.ร.บ.ว่าด้วยลักษณะของวัดบาทหลวงโรมันคาธอลิกในกรุงสยามตามกฎหมาย ร.ศ.128 ข้อ 5 และข้อ 18 ไม่ให้มิสซังถือที่ดินแทนผู้อื่น แต่ไม่ได้ห้ามมิให้ผู้อื่นถือกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองแทนมิสซัง เมื่อมิสซังโรมันคาทอลิก กรุงเทพมหานคร โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท แม้ที่ดินพิพาทจะมีชื่อ ว. เป็นผู้ครอบครองตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
คู่ความพิพาทกันในเรื่องสิทธิครอบครองเหนือที่ดินพิพาทซึ่งมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาทส่วนหนึ่ง และเรื่องขับไล่เพราะผิดสัญญาเช่าซึ่งเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้อันเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์อีกส่วนหนึ่งปนกันมาซึ่งแต่ละส่วนแยกจากกันได้ สิทธิที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้หรือไม่จึงต้องแยกพิจารณาตามส่วนดังกล่าว ฎีกาของจำเลยที่อยู่ในประเด็นเรื่องขับไล่ซึ่งเป็นคดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทอันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง
โจทก์นำสืบส่งภาพถ่ายสำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงเป็นพยานต่อศาล จำเลยไม่ได้คัดค้านหรือนำสืบโต้แย้งว่า โจทก์มิได้ส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจช่วงและนำสำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงมาสืบ การที่ศาลชั้นต้นรับฟังสำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงจึงเท่ากับศาลชั้นต้นอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารนั้นมาสืบได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) จึงรับฟังเป็นพยานเอกสารได้
การรับฟังสำเนาเอกสารเป็นพยานหลักฐานแทนต้นฉบับเอกสาร มิใช่เป็นการรับฟังต้นฉบับเอกสารเป็นพยานหลักฐานอันจะต้องปิดอากรแสตม์ตามประมวลรัษฎากร ทั้งสำเนาเอกสารมิใช่คู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสาร ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ด้วยเช่นกัน จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
พ.ร.บ.ว่าด้วยลักษณะของวัดบาทหลวงโรมันคาธอลิกในกรุงสยามตามกฎหมาย ร.ศ.128 ข้อ 5 และข้อ 18 ไม่ให้มิสซังถือที่ดินแทนผู้อื่น แต่ไม่ได้ห้ามมิให้ผู้อื่นถือกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองแทนมิสซัง เมื่อมิสซังโรมันคาทอลิก กรุงเทพมหานคร โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท แม้ที่ดินพิพาทจะมีชื่อ ว. เป็นผู้ครอบครองตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
คู่ความพิพาทกันในเรื่องสิทธิครอบครองเหนือที่ดินพิพาทซึ่งมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาทส่วนหนึ่ง และเรื่องขับไล่เพราะผิดสัญญาเช่าซึ่งเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้อันเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์อีกส่วนหนึ่งปนกันมาซึ่งแต่ละส่วนแยกจากกันได้ สิทธิที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้หรือไม่จึงต้องแยกพิจารณาตามส่วนดังกล่าว ฎีกาของจำเลยที่อยู่ในประเด็นเรื่องขับไล่ซึ่งเป็นคดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทอันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3302/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยคำสั่งระหว่างพิจารณาคดีอุทธรณ์ เนื่องจากคดียังไม่ถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นยังมิได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟัง ถือว่าคดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 140 (3) คำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพิ่มให้ถูกต้อง ไม่ใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งที่ระบุไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 227 และ 228 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อคดียังไม่เสร็จไปจากศาลอุทธรณ์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาคำสั่งนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) ประกอบมาตรา 247
1/1
1/1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3074/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยค้ำจุน, ค่าเสียหายจากการทำละเมิด, สิทธิเรียกร้อง, สัญญาประนีประนอมยอมความ, การชดใช้ค่าเสียหาย
เมื่อจำเลยทำประกันภัยรถยนต์ไว้กับบริษัท ท. ความรับผิดของบริษัท ท. ต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ต้องเสียหายและเป็นบุคคลภายนอก เป็นความรับผิดตามสัญญาที่บริษัท ท. ทำไว้กับจำเลย อันมีลักษณะเป็นสัญญาประกันภัยค้ำจุน ซึ่งโจทก์ชอบที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากบริษัท ท. ได้โดยตรง แต่จะเรียกร้องเกินไปกว่าจำนวนที่บริษัท ท. จะพึงต้องใช้ตามสัญญาไม่ได้ การที่โจทก์กับบริษัท ท. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ย่อมมีผลทำให้หนี้ของบริษัท ท. ที่ต้องรับผิดต่อโจทก์ดังกล่าวระงับสิ้นไปและเกิดหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่หนี้ซึ่งระงับไปเพราะเหตุดังกล่าวนี้คงมีผลทำให้หนี้ในมูลละเมิดที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ระงับไปด้วยเพียงเท่าที่บริษัท ท. ชำระให้แก่โจทก์เท่านั้น เพราะถือว่าเป็นการชำระในนามของจำเลยผู้เอาประกันภัย ดังนั้น หากยังมีความเสียหายในส่วนอื่นอันเกิดจากการกระทำละเมิด โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดได้ หาใช่ว่าสิทธิของโจทก์จะถูกจำกัดให้มีเพียงเท่าที่ปรากฏในสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ได้ทำไว้กับบริษัท ท. เท่านั้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2934/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่: ฟ้องทายาทเจ้าหน้าที่ไม่ได้ หากฟ้องหน่วยงานของรัฐแล้ว
พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 บัญญัติให้ผู้เสียหายฟ้องหน่วยงานของรัฐได้โดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ เมื่อฟ้องเจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐไม่ได้ ย่อมฟ้องเรียกค่าเสียหายในผลแห่งละเมิดจากทายาทของเจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐไม่ได้