พบผลลัพธ์ทั้งหมด 99 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1343/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ค้า: กิจการลูกหนี้เป็นหลักพิจารณาข้อยกเว้นอายุความ 2 ปี
ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบซึ่งอยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี นั้น ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) บัญญัติยกเว้นกรณีที่ไม่อยู่ในบังคับของกำหนดอายุความดังกล่าวไว้ว่า เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดข้อยกเว้นโดยให้พิจารณาถึงกิจการของฝ่ายลูกหนี้เป็นสำคัญ กรณีใดจะเข้าข้อยกเว้นดังกล่าวหรือไม่ จึงไม่จำต้องคำนึงว่าเป็นการที่ได้ทำเพื่อประโยชน์ของฝ่ายเจ้าหนี้ด้วยหรือไม่ การที่จำเลยที่ 1 ซื้อปูนซีเมนต์จากโจทก์นำไปจำหน่ายหรือนำไปผสมเป็นคอนกรีตผสมเสร็จจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไป ย่อมถือได้ว่าเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ อันเป็นกรณีที่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่อยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี แต่มีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (3)
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาบังคับตามฟ้อง และเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความแล้ว มิได้วินิจฉัยประเด็นอื่นต่อไป แต่ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาใหม่ โจทก์ชอบที่จะเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์เป็นเงิน 200 บาท แต่เมื่อศาลอุทธรณ์สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกิน 200 บาท แก่โจทก์ได้
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาบังคับตามฟ้อง และเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความแล้ว มิได้วินิจฉัยประเด็นอื่นต่อไป แต่ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาใหม่ โจทก์ชอบที่จะเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์เป็นเงิน 200 บาท แต่เมื่อศาลอุทธรณ์สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกิน 200 บาท แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1130/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากคอนกรีตผสมเสร็จ: ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ หากเป็นคนละจำนวนและประเด็น
คอนกรีตผสมเสร็จที่จำเลยนำไปอ้างเป็นเหตุฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ในคดีของศาลแพ่งธนบุรี เป็นสินค้าที่จำเลยซื้อจากโจทก์เมื่อวันที่ 12, 16 และ 18 กันยายน 2544 ส่วนคอนกรีตผสมเสร็จที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระราคาในคดีนี้ เป็นสินค้าที่จำเลยซื้อจากโจทก์เมื่อระหว่างวันที่ 11 ถึง 31 มกราคม 2545 และระหว่างวันที่ 1 ถึง 18 กุมภาพันธ์ 2545 สินค้าที่เป็นมูลเหตุให้ฟ้องร้องกันในคดีทั้งสองจึงเป็นคนละจำนวนกัน แม้ว่าสินค้าที่จำเลยซื้อแต่ละคราวในคดีนี้กับคดีก่อนจะสืบเนื่องมาจากใบเสนอราคาของโจทก์ฉบับเดียวกัน ก็ไม่มีผลทำให้ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยเป็นอย่างเดียวกันอันจะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมปล้นทรัพย์: พฤติการณ์ร่วมกันหลบหนีแม้ไม่มีอาวุธ ถือเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ได้ ศาลลดโทษผู้เข้ามอบตัว
พยานโจทก์เบิกความได้สอดคล้องต้องกัน และไม่เคยรู้จักจำเลยที่ 2 และที่ 3 มาก่อน คำเบิกความของพยานโจทก์จึงน่าเชื่อถือ พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพวกมาด้วยกันและหลบหนีไปด้วยกัน แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะไม่มีอาวุธปืนติดตัวไปด้วย และไม่ใช่เจ้าของรถจักรยานยนต์ที่ใช้เป็นยานพาหนะในการกระทำผิดก็ตาม แต่พวกของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เอาทรัพย์สินของผู้เสียหายไป ทั้งจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขับรถจักรยานยนต์และจำเลยที่ 3 นั่งเป็นคนแรกพาคนร้ายมาและพากันหลบหนีไป โดยใช้ถุงพลาสติกครอบปิดป้ายทะเบียนรถไว้ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ดังกล่าวถือได้ว่าร่วมกระทำความผิดด้วยกัน จึงฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ร่วมกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์
การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้ามอบตัวต่อเจ้าพนักงานตำรวจและรับว่าไปในที่เกิดเหตุและหลบหนีไปด้วยกันอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา นับว่ามีเหตุบรรเทาโทษ จึงสมควรลดโทษให้ตาม ป.อ. มาตรา 78 และให้มีผลถึงความผิดฐานมีและพาอาวุธปืนซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงด้วย
การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้ามอบตัวต่อเจ้าพนักงานตำรวจและรับว่าไปในที่เกิดเหตุและหลบหนีไปด้วยกันอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา นับว่ามีเหตุบรรเทาโทษ จึงสมควรลดโทษให้ตาม ป.อ. มาตรา 78 และให้มีผลถึงความผิดฐานมีและพาอาวุธปืนซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 850/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้สืบสิทธิทายาทร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก แม้มิได้เป็นทายาทโดยตรง
ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 ไม่จำต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยเป็นทายาทโดยตรง หากทายาทที่มีสิทธิรับมรดกถึงแก่ความตายเสียก่อนได้รับส่วนแบ่งมรดก ผู้สืบสิทธิของทายาทก็เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตายมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 850/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้สืบสิทธิทายาทร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก แม้ไม่ใช่ทายาทโดยตรง
ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 ไม่จำต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยเป็นทายาทโดยตรง หากทายาทที่มีสิทธิรับมรดกถึงแก่ความตายเสียก่อนได้รับส่วนแบ่งมรดก ผู้สืบสิทธิของทายาทก็เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตายมีสิทธิเรียกร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้
ส. เป็นบิดาของ ศ. เมื่อ ส. ถึงแก่ความตาย ทรัพย์มรดกของ ศ. ย่อมตกทอดได้แก่ทายาทของ ศ. ซึ่งรวมทั้ง ส. ด้วย แต่ ส. ถึงแก่ความตายเสียก่อนที่จะมีการแบ่งปันทรัพย์มรดกดังกล่าว สิทธิในทรัพย์มรดกของ ศ. ส่วนที่ตกได้แก่ ส. จึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของ ส. ซึ่งรวมทั้ง ภ. บิดาผู้ร้อง ต่อมา ภ. ถึงแก่ความตายอีก ทรัพย์มรดกส่วนนี้ย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของ ภ. ผู้ร้องเป็นผู้สืบสิทธิของทายาทโดยเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ภ. ย่อมมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ศ. ด้วยตามส่วน ถือได้ว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ศ. ได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. และ ภ. อ้างว่าเนื่องจากมีเหตุขัดข้องในการจัดการหรือแบ่งปันทรัพย์มรดกเกี่ยวกับที่ดิน ซึ่งมีชื่อ ศ. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เท่านั้น และ ภ. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ศ. ตามคำสั่งศาลถึงแก่ความตายไป อันเป็นผลทำให้ไม่มีผู้จัดการทรัพย์มรดกของ ศ. และการจัดการทรัพย์มรดกของ ศ. ยังไม่เสร็จสิ้น เมื่อผู้ร้องมีสิทธิร้องขอจัดการทรัพย์มรดกคือที่ดินของ ศ. แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นที่จะมาร้องขอจัดการทรัพย์มรดกของ ส. และ ภ. ในที่ดินแปลงเดียวกันนั้นอีก
ส. เป็นบิดาของ ศ. เมื่อ ส. ถึงแก่ความตาย ทรัพย์มรดกของ ศ. ย่อมตกทอดได้แก่ทายาทของ ศ. ซึ่งรวมทั้ง ส. ด้วย แต่ ส. ถึงแก่ความตายเสียก่อนที่จะมีการแบ่งปันทรัพย์มรดกดังกล่าว สิทธิในทรัพย์มรดกของ ศ. ส่วนที่ตกได้แก่ ส. จึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของ ส. ซึ่งรวมทั้ง ภ. บิดาผู้ร้อง ต่อมา ภ. ถึงแก่ความตายอีก ทรัพย์มรดกส่วนนี้ย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของ ภ. ผู้ร้องเป็นผู้สืบสิทธิของทายาทโดยเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ภ. ย่อมมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ศ. ด้วยตามส่วน ถือได้ว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ศ. ได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. และ ภ. อ้างว่าเนื่องจากมีเหตุขัดข้องในการจัดการหรือแบ่งปันทรัพย์มรดกเกี่ยวกับที่ดิน ซึ่งมีชื่อ ศ. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เท่านั้น และ ภ. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ศ. ตามคำสั่งศาลถึงแก่ความตายไป อันเป็นผลทำให้ไม่มีผู้จัดการทรัพย์มรดกของ ศ. และการจัดการทรัพย์มรดกของ ศ. ยังไม่เสร็จสิ้น เมื่อผู้ร้องมีสิทธิร้องขอจัดการทรัพย์มรดกคือที่ดินของ ศ. แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นที่จะมาร้องขอจัดการทรัพย์มรดกของ ส. และ ภ. ในที่ดินแปลงเดียวกันนั้นอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 686/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าหนี้มีอำนาจฟ้องได้หากไม่ใช่หนี้เงิน
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 26 และมาตรา 27 ที่ห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องคดีแพ่งอันเกี่ยวกับหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ได้นั้นห้ามเฉพาะหนี้เงิน ส่วนหนี้ที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่กันซึ่งเจ้าหนี้ไม่อาจขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เพราะมิใช่หนี้เงิน ไม่อยู่ในบังคับที่ห้ามมิให้ฟ้อง และโดยเหตุที่ผู้ล้มละลายไม่มีอำนาจจัดการทรัพย์สินหรือต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตนเองอีกต่อไป แต่เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตามมาตรา 22 (1) (3) ทั้งหนี้ที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินก็เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ โจทก์จึงฟ้องจำเลยในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของผู้ล้มละลายให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแก่โจทก์ได้ การที่จำเลยปฏิเสธสิทธิของโจทก์โดยสั่งยกคำร้องของโจทก์ที่ขอให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน มีผลเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ และการที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นเป็นคดีนี้ก็มิใช่เป็นการร้องขอเพื่อให้กลับคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 146 ทั้งมิใช่เป็นการร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดไว้โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ คดีของโจทก์จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องดำเนินการในคดีล้มละลาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 686/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องบังคับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหลังการล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่ดำเนินการ
พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 26 และมาตรา 27 บัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องคดีแพ่งอันเกี่ยวกับหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ได้ โดยจะต้องขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามวิธีการที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ดังกล่าว แต่ก็ห้ามเฉพาะหนี้เงิน ส่วนหนี้ที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่กันซึ่งเจ้าหนี้ไม่อาจขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ หาอยู่ในบังคับที่ห้ามมิให้ฟ้องแต่อย่างใดไม่ เมื่อหนี้ที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และโดยเหตุที่ผู้ล้มละลายไม่มีอำนาจจัดการทรัพย์สินหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตนเองอีกต่อไป แต่เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตามมาตรา 22 (1) (3) โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องจำเลยในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของผู้ล้มละลายให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแก่โจทก์ได้
การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นมิใช่เป็นการร้องขอเพื่อให้กลับคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 146 ทั้งมิใช่เป็นการร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดไว้โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ คดีของโจทก์จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องไปดำเนินการในคดีล้มละลาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นมิใช่เป็นการร้องขอเพื่อให้กลับคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 146 ทั้งมิใช่เป็นการร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดไว้โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ คดีของโจทก์จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องไปดำเนินการในคดีล้มละลาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 576/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วในชั้นอุทธรณ์ กรณีครอบครองยาเสพติด
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคสอง จำเลยอุทธรณ์ในข้อกฎหมายว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในความครอบครองไม่ถึง 20 กรัม ศาลชั้นต้นปรับบทกฎหมายผิด โดยต้องลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 67 ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน ดังนั้น ข้อเท็จจริงต้องฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองจำนวน 65 เม็ด คำนวณเป็นน้ำหนักสารบริสุทธิ์ 2.595 กรัม ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยถอดเสื้อแจกเกตของจำเลยวางไว้ที่เก้าอี้นั่งในร้านคาราโอเกะ แล้วเดินออกจากร้านโดยลืมเสื้อไว้ในร้าน จำเลยจึงเดินกลับมาที่ร้านสอบถามเจ้าของร้านปรากฏว่ามีเสื้อแจกเกตอยู่ตัวเดียว จำเลยหยิบมาสวมใส่โดยไม่รู้ว่าเป็นเสื้อของผู้อื่นซึ่งมีเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องอยู่ในกระเป๋าเสื้อ เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงทำนองว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิด ซึ่งปัญหาดังกล่าวได้ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 505/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์สินส่วนตัวที่ใช้เป็นหลักประกันหนี้สมรส แม้เป็นสินส่วนตัวก็อาจถูกบังคับคดีได้หากเจ้าของยินยอม
ผู้ร้องบรรยายคำร้องว่าที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3ก.) ที่โจทก์นำยึดมิใช่สินสมรสของจำเลย แต่เป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องได้รับมาจากบุพการี โจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องด้วยจึงไม่มีอำนาจยึดที่ดินพิพาท ขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของผู้ร้องแล้วว่าที่ดินพิพาทที่โจทก์นำยึดนั้นมิใช่ของจำเลยหรือเป็นสินสมรสแต่เป็นสินส่วนตัวของผู้ร้อง และมีคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ส่วนผู้ร้องได้ที่ดินพิพาทมาจากบุพการีโดยวิธีใดและเมื่อใด เป็นเพียงรายละเอียดที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้หาจำต้องบรรยายมาในคำร้องไม่ คำร้องของผู้ร้องจึงไม่เคลือบคลุม
ผู้ร้องรู้เห็นและยินยอมในการที่จำเลยนำที่ดินพิพาทไปเป็นหลักประกันตัวผู้ต้องหา เมื่อจำเลยผิดสัญญาประกันและศาลพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประกันแต่จำเลยไม่ชำระ โจทก์มีอำนาจยึดที่ดินพิพาทบังคับชำระหนี้ได้ไม่ว่าทรัพย์พิพาทเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัว ผู้ร้องจะอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นสินส่วนตัวและจะใช้สิทธิร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทหาได้ไม่ ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นการไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 5
ผู้ร้องรู้เห็นและยินยอมในการที่จำเลยนำที่ดินพิพาทไปเป็นหลักประกันตัวผู้ต้องหา เมื่อจำเลยผิดสัญญาประกันและศาลพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประกันแต่จำเลยไม่ชำระ โจทก์มีอำนาจยึดที่ดินพิพาทบังคับชำระหนี้ได้ไม่ว่าทรัพย์พิพาทเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัว ผู้ร้องจะอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นสินส่วนตัวและจะใช้สิทธิร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทหาได้ไม่ ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นการไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 505/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์สินส่วนตัวที่ใช้เป็นหลักประกันหนี้สมรส ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจยึดได้ แม้เป็นทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ร้อง
ผู้ร้องได้บรรยายคำร้องว่าที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 1906 ที่โจทก์นำยึดนั้นมิใช่สินสมรสของจำเลย แต่เป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องโดยผู้ร้องได้รับมาจากบุพการี คำร้องของผู้ร้องจึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของผู้ร้องแล้วว่าที่ดินพิพาทที่โจทก์นำยึดนั้นมิใช่ของจำเลยหรือเป็นสินสมรสแต่เป็นสินส่วนตัวของผู้ร้อง โดยผู้ร้องแนบเอกสารการได้มาของที่ดินพิพาทมาท้ายคำร้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำร้องและมีคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ส่วนผู้ร้องได้ที่ดินพิพาทมาจากบุพการีโดยวิธีใดและเมื่อใดนั้น เป็นเพียงรายละเอียดที่ผู้ร้องสามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้หาจำต้องบรรยายมาในคำร้องไม่
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ร้องได้รู้เห็นและยินยอมในการที่จำเลยนำที่ดินพิพาทไปเป็นหลักประกันตัวผู้ต้องหา เมื่อจำเลยผิดสัญญาประกันและศาลพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประกันแต่จำเลยไม่ชำระ โจทก์มีอำนาจยึดที่ดินพิพาทบังคับชำระหนี้ได้ไม่ว่าทรัพย์พิพาทจะเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัวก็ตาม ผู้ร้องจะอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นสินส่วนตัวเพื่อไม่ให้บังคับคดีแก่ที่ดินพิพาทหาได้ไม่ ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาท เพราะเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 5 และปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ร้องได้รู้เห็นและยินยอมในการที่จำเลยนำที่ดินพิพาทไปเป็นหลักประกันตัวผู้ต้องหา เมื่อจำเลยผิดสัญญาประกันและศาลพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประกันแต่จำเลยไม่ชำระ โจทก์มีอำนาจยึดที่ดินพิพาทบังคับชำระหนี้ได้ไม่ว่าทรัพย์พิพาทจะเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัวก็ตาม ผู้ร้องจะอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นสินส่วนตัวเพื่อไม่ให้บังคับคดีแก่ที่ดินพิพาทหาได้ไม่ ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาท เพราะเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 5 และปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247