พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1179/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสโมฆะ, การโอนทรัพย์สินแทนกัน, การบังคับจำหน่ายที่ดินของคนต่างด้าว, และขอบเขตคำบังคับคดี
การวินิจฉัยปัญหาว่า คดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวหรือไม่นั้น เป็นอำนาจของประธานศาลฎีกาตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 11 วรรคหนึ่ง (เดิม) และคู่ความต้องร้องขอก่อนวันสืบพยาน แต่กรณีที่ศาลเห็นสมควรให้กระทำได้ก่อนมีคำพิพากษาศาลชั้นต้นตามมาตรา 11 วรรคสอง (เดิม) จำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่อาจส่งปัญหานี้ให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัย และไม่มีอำนาจวินิจฉัยให้
การได้ที่ดินของโจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวโดยจำเลยถือกรรมสิทธิ์แทน เป็นการต้องห้ามตาม ป.ที่ดิน มาตรา 86 แต่นิติกรรมการได้ที่ดินของโจทก์ก็ใช่ว่าจะเสียเปล่าไม่มีผลใด ๆ เสียเลยไม่โจทก์ยังมีสิทธิได้รับผลตาม ป.ที่ดิน มาตรา 94 อันจะจำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนดถ้าไม่จำหน่ายในเวลาที่กำหนด อธิบดีกรมที่ดินก็มีอำนาจจำหน่าย
การได้ที่ดินของโจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวโดยจำเลยถือกรรมสิทธิ์แทน เป็นการต้องห้ามตาม ป.ที่ดิน มาตรา 86 แต่นิติกรรมการได้ที่ดินของโจทก์ก็ใช่ว่าจะเสียเปล่าไม่มีผลใด ๆ เสียเลยไม่โจทก์ยังมีสิทธิได้รับผลตาม ป.ที่ดิน มาตรา 94 อันจะจำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนดถ้าไม่จำหน่ายในเวลาที่กำหนด อธิบดีกรมที่ดินก็มีอำนาจจำหน่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 301/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยคนต่างด้าว การถือครองแทน และอำนาจจำหน่ายที่ดินตามกฎหมาย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา97ให้สิทธิคู่ความฝ่ายหนึ่งจะอ้างคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็นพยานของตนได้ดังนั้นการที่โจทก์อ้างจำเลยที่2เป็นพยานโจทก์และจะนำสืบเมื่อใดก็ได้แล้วแต่โจทก์จะเห็นสมควรไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จำเลยทั้งสองฎีกาว่าโจทก์กล่าวในคำฟ้องว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากป.ขณะนั้นโจทก์เป็นบุคคลต่างด้าวจึงไม่อาจถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทได้แต่ทางพิจารณาโจทก์นำสืบว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากบริษัทย. จำกัดซึ่งมีจำเลยที่2ถือกรรมสิทธิ์แทนนั้นเป็นการนำสืบเพื่อให้เห็นว่าโจทก์เป็นบุคคลต่างด้าวซื้อที่ดินพิพาทจากบุคคลภายนอกโดยจำเลยที่2เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดแทนโจทก์นั่นเองไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็นส่วนที่ว่าโจทก์ซื้อมาจากใครเป็นรายละเอียดไม่ทำให้การนำสืบของโจทก์ต้องเสียไป ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีโจทก์เป็นบุคคลมีสัญชาติไทยจึงเชื่อว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องเอาคืนที่ดินของโจทก์ที่จำเลยที่2ถือกรรมสิทธิ์แทนได้ส่วนการที่โจทก์อ้างจำเลยที่2เป็นพยานก็เนื่องจากกฎหมายให้สิทธิไว้การฟ้องคดีและการดำเนินคดีของโจทก์ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจกำหนดค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับจึงเหมาะสมแก่รูปคดีแล้ว ในขณะที่โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากบริษัทย. จำกัดโจทก์เป็นบุคคลต่างด้าวนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทจึงต้องห้ามชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา86และตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา113เดิม(มาตรา150ที่แก้ไขใหม่)แต่ผลของการที่นิติกรรมเป็นโมฆะดังกล่าวไม่ทำให้นิติกรรมเสียเปล่าไปยังคงมีผลตามกฎหมายอยู่แต่โจทก์ไม่มีสิทธิถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทต้องจัดการจำหน่ายตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา94และการบังคับให้จำหน่ายดังกล่าวหมายความเฉพาะที่ดินพิพาทเท่านั้นไม่รวมถึงสิ่งปลูกสร้างพิพาทด้วยเพราะคนต่างด้าวไม่ต้องห้ามมิให้ถือกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างแต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 62/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินที่ขัดแย้งกับพินัยกรรมและการได้มาซึ่งที่ดินของมัสยิดต้องได้รับอนุญาต
ผ. ยกที่พิพาทให้มัสยิดโจทก์ โจทก์ครอบครองเก็บค่าเช่าตลอดมาผ. ถึงแก่กรรมโดยไม่ได้จดทะเบียนยกให้ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีเรื่องครอบครองปรปักษ์กรรมการโจทก์จึงประชุมให้จำเลยทั้งสองรับโอนที่ดินพิพาทในฐานะทายาทของ ผ. เสียก่อน แล้วให้จำเลยทั้งสองโอนให้โจทก์ จำเลยทั้งสองรับโอนที่ดินพิพาทในฐานะทายาทแล้วจำเลยที่ 1 ไม่ยอมโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ ดังนี้จำเลยที่ 1 มีชื่อในโฉนดก็เพื่อความสะดวกในการที่จะโอนให้โจทก์ต่อไป ไม่มีสิทธิใดๆ ในที่พิพาทโจทก์ชอบที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการรับโอนของจำเลยที่ 1 ได้
โจทก์เป็นมัสยิดอิสลามการได้ที่ดินมาของโจทก์ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อยังไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตแล้วกรณีก็ไม่อาจบังคับตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาทในโฉนดได้
โจทก์เป็นมัสยิดอิสลามการได้ที่ดินมาของโจทก์ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อยังไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตแล้วกรณีก็ไม่อาจบังคับตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาทในโฉนดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 62/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนมรดกเพื่อหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายทางกฎหมาย และการเพิกถอนนิติกรรมเมื่อสิทธิยังไม่เปลี่ยนมือ
ผ.ยกที่พิพาทให้มัสยิดโจทก์ โจทก์ครอบครองเก็บค่าเช่าตลอดมา ผ.ถึงแก่กรรมโดยไม่ได้จดทะเบียนยกให้ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีเรื่องครอบครองปรปักษ์ กรรมการโจทก์จึงประชุมให้จำเลยทั้งสองรับโอนที่ดินพิพาทในฐานะทายาทของ ผ. เสียก่อน แล้วให้จำเลยทั้งสองโอนให้โจทก์ จำเลยทั้งสองรับโอนที่ดินพิพาทในฐานะทายาทแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ยอมโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ ดังนี้ จำเลยที่ 1 มีชื่อในโฉนดก็เพื่อความสะดวกในการที่จะโอนให้โจทก์ต่อไป ไม่มีสิทธิ์ใดๆ ในที่พิพาท โจทก์ชอบที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนพฤติกรรมการรับโอนของจำเลยที่ 1 ได้
โจทก์เป็นมัสยิดอิสลามการได้ที่ดินมาของโจทก์ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อยังไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตแล้ว กรณีก็ไม่อาจบังคับตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาทในโฉนดได้
โจทก์เป็นมัสยิดอิสลามการได้ที่ดินมาของโจทก์ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อยังไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตแล้ว กรณีก็ไม่อาจบังคับตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาทในโฉนดได้