คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 22

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 717 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6203/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าหุ้น: สิทธิเรียกร้องเกิดเมื่อมีคำบอกกล่าวเรียกชำระจากกรรมการบริษัท และไม่ขาดอายุความหากยังไม่มีการบอกกล่าว
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้ร้องถือหุ้นบริษัท จำเลยจำนวน 100 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1,000 บาท รวมเป็นเงิน 100,000 บาท ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้น ขณะจัดตั้งบริษัทเป็นเงิน 25,000 บาท คงค้างชำระเงินค่าหุ้น อีก 75,000 บาท แต่ในการวินิจฉัยปัญหาข้อที่ว่าสิทธิเรียกร้อง ในมูลหนี้เงินค่าหุ้นที่ผู้ร้องค้างชำระขาดอายุความหรือไม่ ศาลอุทธรณ์กลับฟังข้อเท็จจริงว่ากรรมการบริษัทจำเลย เรียกให้ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 50 ให้ครบมูลค่าของหุ้น อันแสดงว่าผู้ร้องค้างชำระเงินค่าหุ้น เพียง 50,000 บาท เท่านั้น ฉะนั้น ข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาจึงขัดกันไม่เป็นไปในทางเดียวกันว่าผู้ร้อง ยังค้างชำระเงินค่าหุ้นอยู่เพียงใดศาลฎีกาจึงฟังข้อเท็จจริง ใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (3) (ก)ประกอบด้วยมาตรา 247 และพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 153 ตามบทบัญญัติมาตรา 1120 และ 1121 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้อำนาจกรรมการบริษัทจะเรียกผู้ถือหุ้นส่งใช้เงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกในแต่ละคราวเมื่อใดเป็นจำนวนเงินเท่าใดก็ได้ตราบเท่าที่บริษัทยังคงดำรงอยู่ และเมื่อกรรมการบริษัทเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งใช้เงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีก สิทธิเรียกร้องก็เกิดขึ้นในแต่ละคราวที่กรรมการบริษัทส่งคำบอกกล่าวเรียกเงินค่าหุ้นนั้น และเนื่องจากสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้เช่นว่านี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 เมื่อกรรมการบริษัทจำเลยไม่เคยส่งคำบอกกล่าวเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกไปยังผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทจำเลยจึงยังไม่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้เงินค่าหุ้นที่ผู้ร้องค้างชำระอายุความจึงไม่เริ่มนับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12 ดังนั้นเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด ผู้คัดค้านจึงมีอำนาจตาม พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 22 และมาตรา 119 เรียกให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยชำระเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกทั้งหมดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6203/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าหุ้น - การบอกกล่าวเรียกหุ้น - สิทธิเรียกร้องในคดีล้มละลาย
ที่ผู้ร้องฎีกาว่า คดีฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นหนี้ค่าหุ้นบริษัทจำเลยจำนวน 75,000 บาท ตามที่ผู้คัดค้านกล่าวอ้างนั้น ล้วนเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อคดีนี้ราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นฎีกามีจำนวนไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คดีนี้คู่ความฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่งศาลฎีกาจำต้องถือข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน เมื่อปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้ร้องถือหุ้นบริษัทจำเลยจำนวน 100 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1,000 บาทรวมเป็นเงิน 100,000 บาท ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นขณะจัดตั้งบริษัทเป็นเงิน 25,000 บาท คงค้างชำระเงินค่าหุ้นอีก75,000 บาท แต่ในการวินิจฉัยปัญหาข้อที่ว่าสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้เงินค่าหุ้นที่ผู้ร้องค้างชำระขาดอายุความหรือไม่ศาลอุทธรณ์กลับฟังข้อเท็จจริงว่า กรรมการบริษัทจำเลยมีหนังสือบอกกล่าวให้ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นที่ค้างชำระภายในวันที่ 3 กรกฎาคม 2523 ซึ่งปรากฏข้อความว่ากรรมการบริษัทจำเลยเรียกให้ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 50 ให้ครบมูลค่าของหุ้น อันแสดงว่าผู้ร้องค้างชำระเงินค่าหุ้นเพียง 50,000 บาท เท่านั้นข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาจึงขัดกัน ไม่เป็นไปในทางเดียวกันว่าผู้ร้องยังค้างชำระเงินค่าหุ้นอยู่เพียงใดศาลฎีกาย่อมฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(3)(ก)ประกอบด้วยมาตรา 247 และพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 153 บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1120 และ 1121 ให้อำนาจกรรมการบริษัทจะเรียกผู้ถือหุ้นส่งใช้เงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกในแต่ละคราวเมื่อใดเป็นจำนวนเงินเท่าใดก็ได้ตราบเท่าที่บริษัทยังคงดำรงอยู่ และเมื่อกรรมการบริษัทเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งใช้เงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกสิทธิเรียกร้องก็เกิดขึ้นในแต่ละคราวที่กรรมการบริษัทส่งคำบอกกล่าวเรียกเงินค่าหุ้นนั้น สิทธิเรียกร้อง ในมูลหนี้เช่นว่านี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30แต่กรรมการบริษัทจำเลยไม่เคยส่งคำบอกกล่าวเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกไปยังผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น บริษัทจำเลยจึงยังไม่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้เงินค่าหุ้นที่ผู้ร้องค้างชำระ อายุความย่อมไม่เริ่มนับสิทธิเรียกร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านในอันที่จะเรียกให้ผู้ร้องชำระจึงไม่ขาดอายุความ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดผู้คัดค้านจึงมีอำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และมาตรา 119 เรียกให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยชำระเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกทั้งหมดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4509/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดำเนินคดีหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องขอเข้าดำเนินคดีใหม่ หากโจทก์ยังคงดำเนินคดีเอง
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจเข้าว่าคดีนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 22 และ 25 เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยังคงเป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาและเข้าว่าคดีนี้ตลอดมา โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพิ่งยื่นคำร้องขอเข้าว่าคดีแทนโจทก์ในชั้นฎีกา และตามพฤติการณ์แห่งคดีถือได้ว่าโจทก์ทราบถึงข้อที่โจทก์ไม่มีอำนาจดังกล่าวมาตั้งแต่ต้น ดังนั้น การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดเป็นต้นไป รวมตลอดจนคำพิพากษาศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 22 และ 25 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย และให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่แล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี กับให้ยกคำร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังประสงค์จะเข้าดำเนินคดีแทนโจทก์ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอต่อศาลชั้นต้นเสียใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4509/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดำเนินคดีหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจเข้าว่าคดีนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และ 25เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยังคงเป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาและเข้าว่าคดีนี้ตลอดมา โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพิ่งยื่นคำร้องขอเข้าว่าคดีแทนโจทก์ในชั้นฎีกา และตามพฤติการณ์แห่งคดี ถือได้ว่าโจทก์ทราบถึงข้อที่โจทก์ไม่มีอำนาจดังกล่าวมาตั้งแต่ต้น ดังนั้น การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นตั้งแต่วันที่ ศาลมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดเป็นต้นไป รวมตลอดจนคำพิพากษาศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และ 25ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย และให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่แล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดีกับให้ยกคำร้อง ของ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังประสงค์จะเข้าดำเนินคดีแทนโจทก์ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอต่อศาลชั้นต้นเสียใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1970/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบของการพิทักษ์ทรัพย์ต่อคดีเช่า: สิทธิการบังคับคดีและการตรวจสอบรายรับรายจ่าย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดตามสัญญาเช่า ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารกับให้ใช้ค่าเสียหาย เมื่อปรากฎว่าศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราวแล้วตั้งแต่ก่อนโจทก์ยื่นฎีกา ซึ่งเมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจในการเก็บรวบรวมและรับเงิน หรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น แม้แต่คำสั่งของศาลที่ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้ชั่วคราว หรือหมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้นั้นก็จะใช้ยันแก่ จ.พ.ท.ของลูกหนี้ไม่ได้ตาม พ.ร.บ ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (2) และมาตรา 110 วรรคหนึ่ง ดังนั้นโจทก์จึงไม่อาจจะฎีกาขอให้ศาลในคดีนี้มีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์โดยให้เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือตัวแทนของโจทก์เข้าไปตรวจสอบรายรับรายจ่ายของรายได้จากเงินค่าเช่าทรัพย์สินที่พิพาท แล้วให้นำเงินค่าเช่าบางส่วนหลังจากหักค่าใช้จ่ายมาวางศาลในระหว่างการพิจารณาตาม ป.วิ.พ มาตรา 264 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1970/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบของคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ต่อการบังคับคดีและการคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาคดี
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดตามสัญญาเช่า ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารกับให้ใช้ค่าเสียหาย เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราวแล้วตั้งแต่ก่อนโจทก์ยื่นฎีกา ซึ่งเมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจในการเก็บรวบรวมและรับเงิน หรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่นแม้แต่คำสั่งของศาลที่ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้ชั่วคราว หรือหมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้นั้นก็จะใช้ยันแก่ จ.พ.ท.ของลูกหนี้ไม่ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 22(2) และมาตรา 110 วรรคหนึ่ง ดังนั้นโจทก์จึงไม่อาจจะฎีกาขอให้ศาลในคดีนี้มีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์โดยให้เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือตัวแทนของโจทก์เข้าไปตรวจสอบรายรับรายจ่ายของรายได้จากเงินค่าเช่าทรัพย์สินที่พิพาท แล้วให้นำเงินค่าเช่าบางส่วนหลังจากหักค่าใช้จ่ายมาวางศาลให้ระหว่างการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 33/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนที่ดินหลังศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด การดำเนินการของศาลชั้นต้นต้องเป็นไปตามคำพิพากษาเท่านั้น
ในประเด็นแห่งคดีมีเพียงว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อายัดที่ดินพิพาทไว้โดยชอบหรือไม่ ซึ่งต่อมาศาลฎีกามีคำวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวเป็นที่สุดว่าการอายัดที่ดินพิพาทของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ดังนี้มีผลเท่ากับว่าที่ดินพิพาทต้องถูกอายัดต่อไปเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นมีหนังสือแจ้งไปยังเจ้าพนักงานที่ดินให้ดำเนินการออกใบแทน น.ส.3 ก. สำหรับที่ดินพิพาท แล้วจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนชื่อเจ้าของที่ดินจากผู้ร้องเป็นจำเลยที่ 3 ทั้ง ๆที่ผู้ร้องยังโต้แย้งว่าจำเลยที่ 3 มิได้เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้ดำเนินการยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับ ส. ย่อมไม่อาจกระทำได้ เนื่องจากการเพิกถอนการโอนต้องเป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอนก็ยังคงต้องถือว่าการโอนที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับ ส. เป็นไปโดยชอบผู้ร้องซึ่งเป็นผู้มีชื่ออยู่ใน น.ส.3 ก. ของที่ดินพิพาทจึงยังมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินแก้ไขเปลี่ยนแปลงทะเบียนน.ส.3 ก. ของที่ดินพิพาทเป็นชื่อของจำเลยที่ 3 เป็นการไม่ถูกต้อง ทั้งยังไม่มีอำนาจสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการออกใบแทน น.ส.3 ก. สำหรับที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8220/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลายของจำเลยมีผลต่อสิทธิเรียกร้องตามสัญญาซื้อขาย การแจ้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และการทำนิติกรรม
ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดิน โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทภายในกำหนด 3 ปี นับจากวันทำสัญญาคือ ภายในวันที่16 มกราคม 2519 แต่ในวันที่ 2 สิงหาคม 2517 ศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ชั่วคราว และต่อมาวันที่ 19 มีนาคม 2519 ศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาด เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวของจำเลยที่ 1 แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 หรือกระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของจำเลยที่ 1 ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (1) เมื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิที่จะให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดิน ซึ่งอยู่ในช่วงที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์จะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อขอให้ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว เพราะหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาโจทก์ก็มีสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้สำหรับค่าเสียหายของโจทก์ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 122 ประกอบมาตรา 92 เมื่อโจทก์ไม่ได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อขอให้ปฏิบัติตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดิน และล่วงพ้นกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้แล้ว ถือว่าโจทก์ได้ละเสียซึ่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวแล้ว แม้ต่อมาศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยที่ 1 ก็หาเป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งได้ละเสียซึ่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวแล้วกลับมีสิทธิฟ้องขอบังคับให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินได้อีก
ขณะทำสัญญาเพิ่มราคาที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 เป็นบุคคลล้มละลายซึ่งอยู่ในระหว่างที่ศาลพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาด สัญญาดังกล่าวย่อมเป็นนิติกรรมอันฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 22, 24 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483ตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอบังคับให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามหนังสือสัญญาเพิ่มราคาที่ดินพิพาทดังกล่าว
จำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2 ในการทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท และการมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินแทนตน ผู้มอบอำนาจจะต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือมอบอำนาจไว้ด้วย ตามป.พ.พ.มาตรา 798 วรรคสอง เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8220/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายระหว่างบุคคลล้มละลายเป็นโมฆะ, สิทธิเรียกร้องสูญเสียเมื่อไม่แจ้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์, การมอบอำนาจต้องทำเป็นหนังสือ
ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดิน โจทก์และจำเลยที่ 1ตกลงจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทภายในกำหนด 3 ปี นับจากวันทำสัญญาคือ ภายในวันที่ 16 มกราคม 2519 แต่ในวันที่2 สิงหาคม 2517 ศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1ชั่วคราว และต่อมาวันที่ 19 มีนาคม 2519 ศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาด เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวของจำเลยที่ 1 แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 หรือกระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของจำเลยที่ 1 ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไปตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 22(1) เมื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิที่จะให้จำเลยที่ 1 ปฎิบัติ ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดิน ซึ่งอยู่ในช่วงที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์จะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อขอให้ปฎิบัติ ตามสัญญาดังกล่าว เพราะหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาโจทก์ก็มีสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้สำหรับค่าเสียหายของโจทก์ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 122ประกอบมาตรา 92 เมื่อโจทก์ไม่ได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อขอให้ปฎิบัติตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดิน และล่วงพ้นกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้แล้ว ถือว่าโจทก์ได้ละเสียซึ่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวแล้ว แม้ต่อมาศาลมีคำสั่งยกเลิก การล้มละลายของจำเลยที่ 1 ก็หาเป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งได้ละเสียซึ่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวแล้วกลับมีสิทธิฟ้องขอบังคับให้จำเลยที่ 1 ปฎิบัติ ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินได้อีก ขณะทำสัญญาเพิ่มราคาที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 เป็นบุคคลล้มละลายซึ่งอยู่ในระหว่างที่ศาลพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1เด็ดขาด สัญญาดังกล่าวย่อมเป็นนิติกรรมอันฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 22,24 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอบังคับให้จำเลยที่ 1ปฎิบัติ ตามหนังสือสัญญาเพิ่มราคาที่ดินพิพาทดังกล่าว จำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2 ในการทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท และการมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินแทนตน ผู้มอบอำนาจจะต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือมอบอำนาจไว้ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 วรรคสอง เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7334/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าเป็นทรัพย์สิน ยึดขายทอดตลาดได้หากผู้ให้เช่ายินยอม แม้สัญญาเช่าสิ้นสุดแล้ว
สิทธิการเช่าเป็นทรัพย์สินและเป็นการเฉพาะตัวของจำเลยแต่เมื่อ ก. ผู้ให้เช่ายินยอมให้โอนสิทธิการเช่าดังกล่าวโดยยอมให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านยึดและขายทอดตลาดได้เช่นนี้ ผู้คัดค้านจึงมีอำนาจยึดและขายทอดตลาดสิทธิการเช่าอาคารพิพาทของจำเลย ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22
of 72