คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 22

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 717 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4596/2539 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินจากการขายทอดตลาด: การชำระเงินครบถ้วนคือจุดสำคัญของการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์
การขายทอดตลาดแม้จะบริบูรณ์เมื่อผู้ทอดตลาดแสดงความตกลงด้วยการเคาะไม้ก็ตาม แต่ก็มีผลเพียงทำให้ผู้สู้ราคาไม่อาจถอนคำสู้ราคาของตนได้ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 509 เท่านั้น ประกอบกับมาตรา 515ได้บัญญัติให้ผู้สู้ราคาสูงสุดนั้นต้องใช้ราคาเป็นเงินสดเมื่อการซื้อขายบริบูรณ์ และในมาตรา 516 ยังได้บัญญัติต่อไปว่าถ้าผู้สู้ราคาสูงสุดละเลยเสียไม่ใช้ราคาก็ให้เอาทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาดซ้ำอีก หากได้เงินจำนวนสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าทอดตลาดชั้นเดิม ผู้สู้ราคาเดิมคนนั้นต้องรับผิดในส่วนที่ขาด แต่หากขายได้เงินจำนวนสุทธิสูงกว่าที่ผู้สู้ราคาเดิมได้ให้ราคาไว้ในชั้นเดิม ก็หาได้มีบทบัญญัติให้ต้องคืนเงินส่วนที่สูงกว่าดังกล่าวแก่ผู้สู้ราคาเดิมไม่ ฉะนั้น แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดได้เคาะไม้ในการขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้สู้ราคาแล้ว แต่จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลยกเลิกการขายทอดตลาด ซึ่งเป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการขายทอดตลาดอยู่ จนกระทั่งศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ยกคำร้องของจำเลยเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2537 ทำให้ข้อโต้แย้งดังกล่าวถึงที่สุด ทั้งผู้ร้องได้ชำระเงินครบถ้วนเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2537 การขายทอดตลาดจึงเสร็จสมบูรณ์ในวันดังกล่าว เมื่อการขายทอดตลาดยังไม่เสร็จสมบูรณ์ในวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายให้แก่ผู้ร้องทั้งสามเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2533 ผู้ร้องทั้งสามจึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง กรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างยังคงเป็นของจำเลย จำเลยย่อมมีสิทธิได้ซึ่งผลประโยชน์อันเป็นดอกผลในที่ดินดังกล่าว ผู้คัดค้านจึงมีอำนาจเก็บรวบรวมไว้ในกองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายได้ ผู้ร้องทั้งสามไม่มีสิทธิได้รับเงินผลประโยชน์นั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4596/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดเกิดขึ้นเมื่อชำระเงินครบถ้วนและจดทะเบียน ไม่ใช่เมื่อเคาะไม้
การขายทอดตลาดแม้จะบริบูรณ์เมื่อผู้ทอดตลาดแสดงความตกลงด้วยการเคาะไม้ก็ตาม แต่ก็มีผลเพียงทำให้ผู้สู้ราคาไม่อาจถอนคำสู้ราคาของตนได้ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 509 เท่านั้น ประกอบกับมาตรา515 ได้บัญญัติให้ผู้สู้ราคาสูงสุดนั้นต้องใช้ราคาเป็นเงินสดเมื่อการซื้อขายบริบูรณ์และในมาตรา 516 ยังได้บัญญัติต่อไปว่าถ้าผู้สู้ราคาสูงสุดละเลยเสียไม่ใช้ราคาก็ให้เอาทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาดซ้ำอีก หากได้เงินจำนวนสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าทอดตลาดชั้นเดิม ผู้สู้ราคาเดิมคนนั้นต้องรับผิดในส่วนที่ขาด แต่หากขายได้เงินจำนวนสุทธิสูงกว่าที่ผู้สู้ราคาเดิมได้ให้ราคาไว้ในชั้นเดิม ก็หาได้มีบทบัญญัติให้ต้องคืนเงินส่วนที่สูงกว่าดังกล่าวแก่ผู้สู้ราคาเดิมไม่ ฉะนั้นแม้เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดได้เคาะไม้ในการขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้สู้ราคาแล้วแต่จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลยกเลิกการขายทอดตลาดซึ่งเป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการขายทอดตลาดอยู่ จนกระทั่งศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ยกคำร้องของจำเลยเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2537 ทำให้ข้อโต้แย้งดังกล่าวถึงที่สุด ทั้งผู้ร้องได้ชำระเงินครบถ้วนเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2537 การขายทอดตลาดจึงเสร็จสมบูรณ์ในวันดังกล่าว เมื่อการขายทอดตลาดยังไม่เสร็จบริบูรณ์ในวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายให้แก่ผู้ร้องทั้งสามเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2533ผู้ร้องทั้งสามจึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างยังคงเป็นของจำเลย จำเลยย่อมมีสิทธิได้ซึ่งผลประโยชน์อันเป็นดอกผลในที่ดินดังกล่าวผู้คัดค้านจึงมีอำนาจเก็บรวบรวมไว้ในกองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายได้ ผู้ร้องทั้งสามไม่มีสิทธิได้รับเงินผลประโยชน์นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4238/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายและค้ำประกันหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เป็นโมฆะ เจ้าหนี้ไม่อาจบังคับชำระหนี้ได้
จำเลยที่1ทำสัญญาซื้อขายกุ้งจากโจทก์ขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่1เด็ดขาดสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ย่อมเป็นนิติกรรมที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา22,24เพราะเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่1แล้วอำนาจในการจัดการทรัพย์สินย่อมตกเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียวจำเลยที่1ไม่มีอำนาจกระทำการใดๆเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนเว้นแต่จะได้กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นของศาลเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้จัดการทรัพย์หรือที่ประชุมเจ้าหนี้เท่านั้นสัญญาซื้อขายอาหารกุ้งระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา150ไม่มีผลบังคับสัญญาที่โจทก์กับจำเลยที่1ตกลงขยายระยะเวลาชำระราคาค่าอาหารกุ้งที่ทำขึ้นระหว่างนั้นก็ตกเป็นโมฆะเช่นกันสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่2และที่3ที่ค้ำประกันหนี้ที่ขยายเวลาชำระนั้นจึงไม่อาจมีขึ้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา681โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสามรับผิดชำระค่าอาหารกุ้งไม่ได้ คดีเป็นการฟ้องให้ชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้แม้จำเลยที่1มิได้อุทธรณ์ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยและพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่1ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1)ประกอบด้วยมาตรา247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2539 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของลูกหนี้ล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า ที่ดินเป็นของโจทก์และห้ามจำเลยกับบริวารเข้าเกี่ยวข้อง จำเลยให้การว่า ที่ดินเป็นของจำเลย กรณีจึงพิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ฉะนั้นเมื่อจำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย อำนาจในการต่อสู้คดีย่อมเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียว ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายมาตรา 22 เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แถลงไม่ขอเข้าว่าคดีแทนจำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิต่อสู้คดีได้ด้วยตนเอง ซึ่งรวมทั้งสิทธิในการยื่นคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีสิทธิในที่ดินของบุคคลล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า ที่ดินเป็นของโจทก์และห้ามจำเลยกับบริวารเข้าเกี่ยวข้อง จำเลยให้การว่า ที่ดินเป็นของจำเลย กรณีจึงพิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ฉะนั้นเมื่อจำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย อำนาจในการต่อสู้คดีย่อมเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียว ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 22 เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แถลงไม่ขอเข้าว่าคดีแทนจำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิต่อสู้คดีได้ด้วยตนเอง ซึ่งรวมทั้งสิทธิในการยื่นคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจต่อสู้คดีของบุคคลล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินเป็นของโจทก์และห้ามจำเลยกับบริวารเข้าเกี่ยวข้องจำเลยให้การว่าที่ดินเป็นของจำเลยกรณีจึงพิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินฉะนั้นเมื่อจำเลยเป็นบุคคลล้มละลายอำนาจในการต่อสู้คดีย่อมเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียวตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา22เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แถลงไม่ขอเข้าว่าคดีแทนจำเลยจำเลยจึงไม่มีสิทธิต่อสู้คดีได้ด้วยตนเองซึ่งรวมทั้งสิทธิในการยื่นคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีสิทธิในที่ดินของบุคคลล้มละลายเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินเป็นของโจทก์และห้ามจำเลยกับบริวารเข้าเกี่ยวข้องจำเลยให้การว่าที่ดินเป็นของจำเลยกรณีจึงพิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินฉะนั้นเมื่อจำเลยเป็นบุคคลล้มละลายอำนาจในการต่อสู้คดีย่อมเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียวตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายมาตรา22เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แถลงไม่ขอเข้าว่าคดีแทนจำเลยจำเลยจึงไม่มีสิทธิต่อสู้คดีได้ด้วยตนเองซึ่งรวมทั้งสิทธิในการยื่นคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีทรัพย์สินของลูกหนี้ล้มละลาย: อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และกระบวนการคัดค้าน
โจทก์ฟ้องและบังคับคดีแก่จำเลยในระหว่างจำเลยเป็นบุคคลล้มละลายแล้วการจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยจึงอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา22,109และเมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้ศาลชั้นต้นเปิดคดีและขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดไว้ในคดีนี้แล้วโอนเงินที่เหลือภายหลังหักค่าใช้จ่ายส่งเข้ากองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายกรณีถือได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ปฏิบัติการแทนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา22ประกอบกับมาตรา6การยึดทรัพย์สินเพื่อบังคับคดีในคดีนี้จึงมีผลเท่ากับเป็นการยึดทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายซึ่งผู้ใดจะคัดค้านจะต้องยื่นคำคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา158ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขัดทรัพย์ในคดีนี้และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้ไม่มีผู้ใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีทรัพย์สินของลูกหนี้ที่อยู่ในระหว่างล้มละลาย ต้องดำเนินการโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น
โจทก์ฟ้องและขอให้บังคับคดีแก่จำเลยในระหว่างจำเลยเป็นบุคคลล้มละลายแล้ว การจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยจึงอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22,109และเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดไว้ในคดีนี้แล้วโอนเงินที่เหลือภายหลังหักค่าใช้จ่ายส่งเข้ากองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลาย ถือได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ปฎิบัติการแทนตามมาตรา 22ประกอบกับมาตรา 6 จึงมีผลเท่ากับเป็นการยึดทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลาย ซึ่งผู้ใดจะคัดค้านจะต้องยื่นคำคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตามมาตรา 158ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขัดทรัพย์ในคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ล้มละลาย: อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และการยึดทรัพย์
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยและขอให้บังคับคดีแก่จำเลยในระหว่างจำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย จึงเป็นการบังคับแก่ทรัพย์สินซึ่งจำเลยได้มาภายหลังเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลาย ซึ่งอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินนั้นตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 22 และมาตรา 109 และปรากฏตามบันทึกของเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รายงานขอให้ศาลชั้นต้นเปิดคดีและขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดแล้วโอนเงินที่เหลือภายหลังหักค่าใช้จ่ายส่งเข้ากองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลาย อันเป็นกรณีที่ถือได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ปฏิบัติการแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22ประกอบกับมาตรา 6 การบังคับคดีที่โจทก์นำยึดทรัพย์สินต่าง ๆ ของจำเลยในคดีนี้จึงมีผลเท่ากับเป็นการยึดทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลาย ตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา158 บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียคนใดที่เห็นว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีสิทธิยึดทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใด จะต้องยื่นคำคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้วให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนและมีคำสั่ง ซึ่งเป็นกระบวนพิจารณาที่ต้องกระทำในคดีล้มละลาย การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขัดทรัพย์ในคดีนี้จึงเป็นการไม่ชอบผู้ร้องไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขัดทรัพย์ในคดีนี้ได้ และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
of 72