คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 22

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 717 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3518/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินร่วมก่อนล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิจำกัดเฉพาะส่วนของลูกหนี้
แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมีอำนาจจัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลล้มละลายตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 22 แต่เมื่อที่ดินพิพาทซึ่งผู้ร้องมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยที่ 2 มีการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์โดยผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ได้ครอบครองเป็นสัดส่วนแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิเพียงยึดที่ดินได้เท่าที่จำเลยที่ 2 มีกรรมสิทธิ์อยู่ในที่ดินพิพาทนั้นทั้งระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี พ.ศ. 2522 ข้อ 32 ได้กำหนดว่า การที่จะยึดทรัพย์ทั้งหมดกรณีที่ลูกหนี้เป็นเจ้าของรวมกับบุคคลอื่นนั้นต้องเป็นกรณีที่ไม่ปรากฏว่าส่วนใดเป็นของลูกหนี้แต่เมื่อได้มีการแบ่งแยกที่ดินพิพาทเป็นสัดส่วนแน่นอนแล้ว แม้ยังมิได้จดทะเบียนแบ่งแยกโฉนด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็มีสิทธิขายทอดตลาดเฉพาะเพียงส่วนของจำเลยที่ 2 เท่านั้น ไม่มีสิทธิเอาส่วนของผู้ร้องมาขายทอดตลาดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3518/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินก่อนล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิจำกัดเฉพาะส่วนของลูกหนี้
ผู้ร้อง ป. ส. และจำเลยที่ 2 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทรวมกันแต่ได้ตกลงแบ่งแยกเป็นสัดส่วนกันก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2กับพวกเป็นบุคคลล้มละลายและการที่ ป. กับ ส. ขายที่ดินให้แก่ผู้ร้องก็เป็นการขายตามสัดส่วนของตนที่แบ่งแยกไว้แน่นอนแล้ว ผู้ร้องย่อมได้กรรมสิทธิ์ในส่วนที่ดินเป็นเนื้อที่ที่แน่นอนเช่นกัน หาใช่จำเลยที่ 2 ยังคงถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยไม่สามารถระบุโดยชัดแจ้งว่าที่ดินส่วนใดของที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 ไม่ ทั้งข้อตกลงแบ่งแยกที่ดินพิพาทเป็นเป็นสัดส่วนย่อมผูกมัดเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมทุกคนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 แต่เมื่อที่ดินพิพาทมีการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์โดยผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ได้ครอบครองเป็นสัดส่วนแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิเพียงยึดที่ดินได้เท่าที่จำเลยที่ 2 มีกรรมสิทธิ์อยู่ในที่ดินพิพาทนั้น และระเบียบกระทรวงยุติธรรมวาด้วยการบังคับคดี ฯพ.ศ. 2522 ข้อ 32 กำหนดว่า การที่จะยึดทรัพย์ทั้งหมดกรณีที่ลูกหนี้เป็นเจ้าของรวมกับบุคคลอื่นนั้นต้องเป็นกรณีที่ไม่ปรากฎว่าส่วนใดเป็นของลูกนี้ แต่เมื่อผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ได้มีการแบ่งแยกที่ดินพิพาทเป็นสัดส่วนแน่นอนแล้ว แม้ยังมิได้จดทะเบียนแบ่งแยกโฉนด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็มีสิทธิขายทอดตลาดเฉพาะเพียงส่วนของจำเลยที่ 2 เท่านั้น ไม่มีสิทธิเอาส่วนของผู้ร้องมาขายทอดตลาดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3472/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนอมหนี้ก่อนล้มละลายและการขยายเวลาชำระภาษีอากร: การใช้สิทธิประโยชน์จากประกาศกระทรวงการคลัง
เจ้าหนี้ซึ่งมีอยู่เพียงรายเดียวนำค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าซึ่งลูกหนี้ค้างชำระในช่วงปี 2523 ถึง 2525 มายื่นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ต่อมาลูกหนี้ยื่นคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย ที่ประชุมเจ้าหนี้ยอมรับคำขอประนอมหนี้เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2534 และลูกหนี้ได้วางเงินชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ก่อนร้อยละ 35 ของจำนวนเงินที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เป็นเงิน 162,675.50 บาท ต่อเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2535 ปรากฏว่าก่อนที่ประชุมเจ้าหนี้จะยอมรับคำขอประนอมหนี้นั้น ได้มีประกาศกระทรวงการคลังให้ขยายเวลายื่นรายการการชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรให้แก่ผู้มีหน้าที่ยื่นรายการ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรซึ่งยังมิได้ยื่นรายการและชำระภาษีอากร หรือยื่นรายการและชำระภาษีอากรไว้ไม่ครบถ้วน หรือมิได้นำส่งภาษีอากรให้ครบถ้วนให้ขอชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรโดยยื่นรายการและหรือแบบชำระภาษีอากรตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด พร้อมกับชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2534 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2535 โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม กระบวนพิจารณาในการขอประนอมหนี้ดังกล่าวเป็นไปตามมาตรา 45 และ 46 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ซึ่งกระทำภายหลังจากมีประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าวแล้ว และลูกหนี้ก็ได้ชำระหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้ภายในกำหนดเวลาตามประกาศนั้นแล้ว ถือเป็นการชำระหนี้ภาษีอากรตามประกาศกระทรวงการคลังแล้ว แม้จะมิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามประกาศกระทรวงการคลังโดยตรงก็ตาม หรือถึงแม้จะเป็นการดำเนินการในคดีล้มละลายในขั้นตอนของการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายก็ตามแต่ก็ตรงตามวัตถุประสงค์ของประกาศกระทรวงการคลังแล้ว และกรณีนี้จะถือเป็นภาษีอากรค้างอยู่ในศาลซึ่งจะต้องมีการถอนฟ้องก่อนตามคำชี้แจงของกรมสรรพากรเกี่ยวกับประกาศดังกล่าวข้อ 4 (3) ยังไม่ถนัด เพราะเจ้าหนี้ไม่อาจถอนฟ้องได้ และลูกหนี้ก็ไม่อาจร้องขอให้เจ้าหนี้ถอนฟ้องได้เพราะลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ลูกหนี้ย่อมได้รับประโยชน์จากประกาศกระทรวงการคลังโดยไม่ต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3472/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนอมหนี้ก่อนล้มละลายและการชำระหนี้ภาษีอากรตามประกาศกระทรวงการคลัง แม้ไม่ตรงตามหลักเกณฑ์ แต่ถือเป็นการได้รับประโยชน์จากประกาศ
เมื่อลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด อำนาจในการจัดการทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของลูกหนี้ ตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว ลูกหนี้หามีอำนาจดังกล่าวโดยลำพังไม่ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 22 และ มาตรา 24 และการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องจัดการโดยมิให้เกิดความเสียหายแก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ ก่อนที่จะมีประกาศกระทรวงการคลังขยายเวลายื่นรายการชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ลูกหนี้ได้ยื่นคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย โดยระบุว่าจะชำระหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาคำขอประนอมหนี้ ผลการประชุมเจ้าหนี้ยอมรับคำขอประนอมหนี้ดังกล่าว ต่อมาศาลมีคำสั่งเห็นชอบซึ่งเป็นไปตามกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 45 และมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 และเป็นกระบวนพิจารณาที่ได้กระทำภายหลังจากมีประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าวแล้ว ต่อมาลูกหนี้ก็ได้ชำระหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการที่จะรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้ภายในกำหนดเวลาแล้ว ถือเป็นการชำระหนี้ภาษีอากรที่ต้องชำระหรือนำส่งให้เจ้าหนี้ตามประกาศกระทรวงการคลังแล้ว แม้จะมิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขตามประกาศกระทรวงการคลังโดยตรงก็ตาม หรือถึงแม้จะเป็นการดำเนินการในคดีล้มละลายในขั้นตอนของการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3472/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนอมหนี้ก่อนล้มละลายและการขยายเวลาชำระภาษีอากร: ผลกระทบต่อหนี้ภาษีค้างชำระ
เจ้าหนี้ซึ่งมีอยู่เพียงรายเดียวนำค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าซึ่งลูกหนี้ค้างชำระในช่วงปี 2523 ถึง 2525มายื่นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ต่อมาลูกหนี้ยื่นคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย ที่ประชุมเจ้าหนี้ยอมรับคำขอประนอมหนี้เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2534 และลูกหนี้ได้วางเงินชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ก่อนร้อยละ 35 ของจำนวนเงินที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เป็นเงิน 162,675.50บาท ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2535ปรากฏว่าก่อนที่ประชุมเจ้าหนี้จะยอมรับคำขอประนอมหนี้นั้น ได้มีประกาศกระทรวงการคลังให้ขยายเวลายื่นรายการการชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรให้แก่ผู้มีหน้าที่ยื่นรายการ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรซึ่งยังมิได้ยื่นรายการและชำระภาษีอากร หรือยื่นรายการและชำระภาษีอากรไว้ไม่ครบถ้วนหรือมิได้นำส่งภาษีอากรให้ครบถ้วนให้ขอชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรโดยยื่นรายการและหรือแบบชำระภาษีอากรตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด พร้อมกับชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2534 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2535โดยไม่ต้องเสียเบี้ยประกันหรือเงินเพิ่ม กระบวนพิจารณาในการขอประนอมหนี้ดังกล่าวเป็นไปตามมาตรา 45 และ 46 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งกระทำภายหลังจากมีประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าวแล้ว และลูกหนี้ก็ได้ชำระหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้ภายในกำหนดเวลาตามประกาศนั้นแล้วถือเป็นการชำระหนี้ภาษีอากรตามประกาศกระทรวงการคลังแล้ว แม้จะมิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามประกาศกระทรวงการคลังโดยตรงก็ตาม หรือถึงแม้จะเป็นการดำเนินการในคดีล้มละลายในขั้นตอนของการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายก็ตาม แต่ก็ตรงตามวัตถุประสงค์ของประกาศกระทรวงการคลังแล้ว และกรณีนี้จะถือเป็นภาษีอากรค้างอยู่ในศาลซึ่งจะต้องมีการถอนฟ้องก่อนตามคำชี้แจงของกรมสรรพากรเกี่ยวกับประกาศดังกล่าวข้อ 4(3) ยังไม่ถนัดเพราะเจ้าหนี้ไม่อาจถอนฟ้องได้ และลูกหนี้ก็ไม่อาจร้องขอให้เจ้าหนี้ถอนฟ้องได้เพราะลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วลูกหนี้ย่อมได้รับประโยชน์จากประกาศกระทรวงการคลังโดยไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ปรับและเงินเพิ่ม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1561/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: การอายัดที่ดินที่ผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ใส่ชื่อบุคคลอื่นถือครองอยู่
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินของผู้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว แต่ใส่ชื่อบุคคลอื่นถือสิทธิในที่ดินแทนที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 109(1)เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงชอบที่จะมีหนังสือแจ้งเจ้าพนักงานที่ดินมิให้จำหน่ายจ่ายโอนที่ดินพิพาทแก่ผู้ใดจนกว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะแจ้งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้โดยไม่จำต้องทำการเพิกถอนการโอนก่อน หากผู้มีชื่อถือสิทธิในที่ดินแทนผู้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ทำการโอนที่ดินนั้นไปยังบุคคลอื่นภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ต้องถือเสมือนหนึ่งว่าเป็นการกระทำของผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์อันเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ มาตรา 22,24แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ การโอนย่อมตกเป็นโมฆะและใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4584/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย หากราคาต่ำกว่าท้องตลาด จำเลยมีสิทธิคัดค้านได้
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมถือว่า การขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวเป็นการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 คือผู้ล้มละลายย่อมมีอำนาจร้องคัดค้านการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ หากการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้รับความเสียหายตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146 กรณีนี้ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับการจัดกิจการและทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ตาม มาตรา 22
คำร้องของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดและทำการขายทอดตลาดใหม่ โดยอ้างเหตุว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์ผิดพลาดทำให้ขายทอดตลาดได้ในราคาต่ำแม้จะมิได้บรรยายว่าตนได้รับความเสียหายอย่างไรมาในคำร้องก็ถือเป็นคำร้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 146แล้ว กรณีมิใช่เรื่องการดำเนินการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ.จึงไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง มาใช้บังคับแก่การ้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีล้มละลายนี้ได้
แม้การขายทอดตลาดทรัพย์เจ้าพนักงานบังคับคดีจะดำเนินการตามขั้นตอนโดยชอบแล้ว แต่เมื่อพิจารณาถึงที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ขายทอดตลาดราคาที่เจ้าพนักงานบังนับคับคดีตกลงขายให้ผู้ซื้อทรัพย์ แม้จะสูงกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีในขณะยึด แต่ก็ต่ำกว่าราคาที่สำนักงานวางทรัพย์กรมบังคับคดีประเมินไว้ ย่อมแสดงว่า ราคาขายทอดตลาดดังกล่าวตำกว่าราคาขายในท้องตลาดมาก เมื่อการขายทอดตลาดทรัพย์ครั้งนี้ เป็นการขายทอดตลาดครั้งแรกและจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้คัดค้านว่าราคาต่ำไป กรณีจึงไม่ควรด่วนขาย สมควรเลื่อนการขายทอดตลาดไปก่อน เพื่อให้ผู้มีส่วได้เสียและประชาชนจะได้มีโอกาสเข้าสู้ราคาได้อีก หากได้ราคาสูงกว่าเดิมก็จะเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และเจ้าหนี้ทั้งปวงที่จะได้รับชำระหนี้โดยทั่วกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4584/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ล้มละลายคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์สิน หากราคาต่ำกว่าราคาตลาด และการเพิกถอนการขายทอดตลาด
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมถือว่าการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวเป็นการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 คือผู้ล้มละลายย่อมมีอำนาจร้องคัดค้านการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ หากการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้รับความเสียหายตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 กรณีนี้ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับการจัดกิจการและทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ที่ 2ตาม มาตรา 22 คำร้องของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดและทำการขายทอดตลาดใหม่ โดยอ้างเหตุว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์ผิดพลาดทำให้ขายทอดตลาดได้ในราคาต่ำแม้จะมิได้บรรยายว่าตนได้รับความเสียหายอย่างไรมาในคำร้องก็ถือเป็นคำร้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 146 แล้ว กรณีมิใช่เรื่องการดำเนินการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง มาใช้บังคับแก่การร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีล้มละลายนี้ได้ แม้การขายทอดตลาดทรัพย์เจ้าพนักงานบังคับคดีจะดำเนินการตามขั้นตอนโดยชอบแล้ว แต่เมื่อพิจารณาถึงที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ขายทอดตลาดราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีตกลงขายให้ผู้ซื้อทรัพย์แม้จะสูงกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีในขณะยึด แต่ก็ต่ำกว่าราคาที่สำนักงานวางทรัพย์กรมบังคับคดีประเมินไว้ ย่อมแสดงว่าราคาขายทอดตลาดดังกล่าวต่ำกว่าราคาขายในท้องตลาดมาก เมื่อการขายทอดตลาดทรัพย์ครั้งนี้ เป็นการขายทอดตลาดครั้งแรกและจำเลยที่ 1ที่ 2 ได้คัดค้านว่าราคาต่ำไป กรณีจึงไม่ควรด่วนขาย สมควรเลื่อนการขายทอดตลาดไปก่อน เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนจะได้มีโอกาสเข้าสู้ราคาได้อีก หากได้ราคาสูงกว่าเดิมก็จะเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และเจ้าหนี้ทั้งปวงที่จะได้รับชำระหนี้โดยทั่วกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3994/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการคัดค้านการขายทอดตลาดของจำเลยในคดีล้มละลาย
จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้อีกมากน้อยเท่าใดขึ้นอยู่กับการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท จำเลยทั้งสองจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการขาย-ทอดตลาดทรัพย์พิพาท มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทได้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146 จะนำ มาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้ เพราะมาตราดังกล่าวบัญญัติให้ผู้ล้มละลายไม่มีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนเท่านั้น
คำสั่งของกรมบังคับคดี เรื่องการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นเพียงการกำหนดแนวทางในการปฎิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานขายทรัพย์เพื่อให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและรวดเร็วเท่านั้น หาใช่เป็นกฎหมายที่จะต้องปฏิบัติตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3994/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย และความชอบธรรมของการประเมินราคา
การขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทเป็นการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หากการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการขายทอดตลาดไม่ชอบ จำเลยทั้งสองย่อมได้รับความเสียหาย เพราะจำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้อีกมากน้อยเท่าใดขึ้นอยู่กับการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท จำเลยทั้งสองจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทได้ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯ มาตรา 146 จะนำมาตรา 22 มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้ เพราะมาตรา 22 บัญญัติให้ผู้ล้มละลายไม่มีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนเท่านั้น คำสั่งของกรมบังคับคดี เรื่องการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นเพียงการกำหนดแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานขายทรัพย์ เพื่อให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและรวดเร็วเท่านั้น ไม่ใช่เป็นกฎหมายที่ต้องปฏิบัติตาม
of 72