พบผลลัพธ์ทั้งหมด 717 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3994/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยล้มละลายในการคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์สิน และขอบเขตอำนาจของคำสั่งกรมบังคับคดี
จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้อีกมากน้อยเท่าใดขึ้นอยู่กับการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท จำเลยทั้งสองจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 จะนำมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้ เพราะมาตราดังกล่าวบัญญัติให้ผู้ล้มละลายไม่มีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนเท่านั้น คำสั่งของกรมบังคับคดี เรื่องการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นเพียงการกำหนดแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานขายทรัพย์เพื่อให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและรวดเร็วเท่านั้น หาใช่เป็นกฎหมายที่จะต้องปฏิบัติตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3600/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายทรัพย์สินหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เป็นโมฆะ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขอเพิกถอนการจดทะเบียน
การที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทให้ผู้คัดค้านที่ 1 ขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1เด็ดขาดแล้ว สัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 1ย่อมเป็นนิติกรรมที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 22,24 แห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 เพราะตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 แล้ว อำนาจในการจัดการทรัพย์สินย่อมตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนเว้นแต่จะได้กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาลเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือที่ประชุมเจ้าหนี้เท่านั้นดังนั้น สัญญาซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ไม่มีผลบังคับจำเลยที่ 1 ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ย่อมกลับสู่ฐานะเดิมโดยผลแห่งกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้ผู้คัดค้านที่ 1 ภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้วก็ต้องปรับบทตามมาตรา 24 ไม่ใช่ปรับบทตามมาตรา 114,115 เพราะคำว่า"การโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างเวลาสามปีหรือสามเดือนแล้วแต่กรณีก่อนมีการขอให้ล้มละลายหรือภายหลังนั้น"ตามมาตรา 114,115 หมายถึงการโอนหรือการกระทำที่กระทำกันก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ หาใช่การโอนหรือการกระทำหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 ไม่ เมื่อการโอนขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 1 เป็นโมฆะผู้คัดค้านที่ 1 ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพ*พิพาทที่จะโอนขายต่อให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ได้ จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าผู้คัดค้านที่ 2 ซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนอันจะได้รับความคุ้มครอง ตามมาตรา 116 หรือไม่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้ศาลสั่งเจ้าพนักงานที่ดินให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนในสารบัญที่ดินไว้แล้ว ศาลจึงมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนในสารบัญที่ดินได้ และเจ้าพนักงานที่ดินมีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลโดยศาลไม่ต้องสั่งเจ้าพนักงานที่ดินอีก ไม่เกินคำขอแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2830/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการทรัพย์สินในคดีล้มละลาย และสิทธิการเข้าเป็นคู่ความของผู้รับจำนอง
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดแล้วอำนาจในการจัดการทรัพย์สินทั้งปวงตลอดจนการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ อันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ย่อมตกอยู่แก่ผู้คัดค้าน ตามบทบัญญัติมาตรา 22,23,24 และ 25 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 บรรดาเจ้าหนี้ของจำเลยทั้งสองจะขอรับชำระหนี้ได้ แต่โดยปฏิบัติตามวิธีการที่กล่าวไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 เท่านั้น การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลปล่อยทรัพย์พิพาทโดยเหตุที่ผู้คัดค้านไม่ให้ถอนการยึดตามคำคัดค้านของผู้ร้องที่ได้ดำเนินการตามมาตรา 158 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483แล้วนั้น เป็นเรื่องระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านที่จะเข้าเป็นคู่ความในคดี ผู้คัดค้านร่วมหามีสิทธิเจ้ามาต่อสู้คดีด้วยการร้องสอดเพื่อยังให้ได้รับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) แต่อย่างใดไม่ การวางเงินเพื่อประกันความเสียหาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 วรรคสอง (1) นั้นศาลจะมีคำสั่งเช่นนั้นได้ต่อเมื่อมีการร้องขอ เมื่อผู้คัดค้านร่วมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความร่วมกับผู้คัดค้านผู้ร้องก็ไม่ต้องวางเงินประกันความเสียหายตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งตามคำร้องขอของผู้คัดค้านร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2286/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจร้องคัดค้านการขายทอดตลาดหลังพิทักษ์ทรัพย์: จำเลยมีสิทธิคัดค้านการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
การที่จำเลยซึ่งถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์ของตนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าเป็นการขายที่ไม่ชอบ เป็นกรณีที่จำเลยร้องคัดค้านการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 ไม่ใช่เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจจัดการทรัพย์สินของจำเลยซึ่งตกเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไปแล้ว ตามมาตรา 22 จำเลยจึงมีอำนาจร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2286/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีล้มละลาย: จำเลยมีสิทธิคัดค้านหากราคาต่ำกว่าราคาประเมิน
การที่จำเลยในคดีล้มละลายยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีของตน เป็นกรณีที่จำเลยทั้งสองร้องคัดค้านการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 146 ไม่ใช่เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจจัดการทรัพย์สินของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 แม้การขายทอดตลาดจะดำเนินการตามขั้นตอนโดยชอบด้วยกฎหมายแต่การที่ผู้ซื้อทรัพย์เสนอราคาที่ต่ำกว่าราคาที่ซื้อขายในขณะนั้นและต่ำกว่าราคาประเมินของสำนักงานวางทรัพย์กลาง และปรากฏว่าเป็นการขายทอดตลาดครั้งแรกและผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองได้คัดค้านว่าเป็นราคาต่ำไป จึงไม่สมควรที่จะอนุญาตให้ขายไปควรให้เลื่อนการขายทอดตลาดไปก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2215/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการเรียกหนี้จากคู่สัญญาหลังการล้มละลาย: การแจ้งความ vs. การฟ้อง
ผู้ร้อง ทำ สัญญา เช่า โรงงาน ประกอบ รถยนต์ ซึ่ง เป็น ทรัพย์ ใน กอง ทรัพย์สิน ของ จำเลย กับ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ หลังจาก ศาล มี คำสั่ง พิทักษ์ทรัพย์ จำเลย เด็ดขาด แล้ว กรณี จึงเป็น เรื่อง ที่ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ เข้า จัดการ ทรัพย์สิน ของ จำเลย ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22(1) ฉะนั้น เมื่อ มี ข้อโต้แย้ง เกี่ยวกับ สิทธิ และ หน้าที่ อัน เนื่อง มา จาก สัญญา เช่า ระหว่าง เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ กับ ผู้ร้อง เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ก็ ชอบ ที่ จะ ใช้ สิทธิ ฟ้อง ผู้ร้อง ตาม มาตรา 22(3) จะ ใช้ วิธี แจ้งความ เป็น หนังสือ ให้ ผู้ร้อง ชำระเงิน ตาม มาตรา 119 หา ได้ ไม่ เพราะ ไม่ ใช่ กรณี ที่ จำเลย มี สิทธิ เรียกร้อง ต่อ ผู้ร้อง อัน เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ จะ จัด การ รวบ รวม ทรัพย์สิน ของ จำเลย ตาม มาตรา 22(1) ปัญหา นี้ เป็น ปัญหา ข้อกฎหมาย อัน เกี่ยว ด้วย ความ สงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน ผู้ร้อง ยกขึ้น ฎีกา ได้ แม้ จะ ไม่ ได้ ยก ขึ้น ว่า กัน มา แล้ว ใน ศาลล่าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2215/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการจัดการสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
ผู้ร้องทำสัญญาเช่าโรงงานประกอบรถยนต์ซึ่งเป็นทรัพย์ในกองทรัพย์สินของจำเลยจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้ว จึงเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าจัดการทรัพย์สินของจำเลยตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22(1) เมื่อมีข้อโต้แย้งสิทธิระหว่างเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กับผู้ร้อง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบจะใช้สิทธิฟ้องผู้ร้องตาม มาตรา 22(3) จะใช้วิธีแจ้งความเป็นหนังสือตาม มาตรา 119 หาได้ไม่ เพราะไม่ใช่กรณีที่จำเลยมีสิทธิเรียกร้องต่อผู้ร้องอันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะจัดการตาม มาตรา 22(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2215/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการจัดการสัญญาเช่าหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
ผู้ร้องทำสัญญาเช่าโรงงานประกอบรถยนต์ซึ่งเป็นทรัพย์ในกองทรัพย์สินของจำเลยกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้ว กรณีจึงเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าจัดการทรัพย์สินของจำเลยตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (1) ฉะนั้นเมื่อมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่อันเนื่องมาจากสัญญาเช่าระหว่างเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กับผู้ร้อง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ชอบที่จะใช้สิทธิฟ้องผู้ร้องตามมาตรา 22 (3) จะใช้วิธีแจ้งความเป็นหนังสือให้ผู้ร้องชำระเงินตามมาตรา 119 หาได้ไม่ เพราะไม่ใช่กรณีที่จำเลยมีสิทธิเรียกร้องต่อผู้ร้องอันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะจัดการรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยตามมาตรา 22 (2) ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ร้องยกขึ้นฎีกาได้ แม้จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดอำนาจร้องขอเพิกถอนการโอนทรัพย์เมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลาย
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยแล้วผู้ร้องยังคงมีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทอยู่ต่อไปหรือไม่ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหา เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกา มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายของจำเลย จึงมีผลเท่ากับเป็นการยกเลิกการพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลย ไปในตัว อำนาจที่จะร้องขอให้เพิกถอนการโอน ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สิ้นสุดลง ผู้ร้องจึง ไม่มีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินในคดีล้มละลาย: สิทธิครอบครองเป็นของบุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการ
โจทก์อ้างว่ามีกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองในที่ดินตามโฉนดและ น.ส.3 ก. เพียงแต่โจทก์ให้ ศ. ซึ่งเป็นบุคคลล้มละลายถือไว้แทนโจทก์เท่านั้น ดังนั้นเมื่อ ศ. มีชื่อในโฉนดที่ดิน และ น.ส.3 ก.ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ดังนั้น ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลาย ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 109(1) เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะจำหน่ายหรือจัดการทรัพย์สินนั้น ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 22(1)ศ. บุคคลล้มละลายไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 24 ศ. จึงไม่มีอำนาจทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์เป็นตัวแทนโอนที่ดินดังกล่าวเป็นของโจทก์ได้