คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 22

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 717 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดอำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หลังยกเลิกการล้มละลาย และผลกระทบต่อการจัดการทรัพย์สิน
เมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายเนื่องจากหนี้สินของบุคคลล้มละลายได้ชำระเต็มจำนวน โดยบุคคลภายนอกเป็นผู้ชำระแทนจำเลย และคำสั่งดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว ลูกหนี้ผู้ล้มละลายย่อมหลุดพ้นจากการล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมหมดอำนาจในการจัดการรวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินของบุคคลล้มละลายทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะได้ประกาศโฆษณาคำสั่งยกเลิกการล้มละลายในราชกิจจานุเบกษาแล้วหรือไม่ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สิ้นสุดอำนาจในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้แล้วผู้ร้องจึงไม่อาจขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อายัดหรือระงับการจ่ายเงินที่บุคคลภายนอกนำมาชำระหนี้แทนจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 164/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
หนี้ค่าซื้อสินค้าเชื่อของลูกหนี้ขาดอายุความแล้ว แต่ต่อมาลูกหนี้ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ว่าจะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ไว้จึงเป็นการละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192 เดิม ลูกหนี้ไม่อาจยกเหตุการขาดอายุความขึ้นอ้างเพื่อบอกปัดการชำระหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 188 วรรคแรก เดิม เมื่อลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แม้อำนาจการจัดการหรือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้จะตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 22 แต่การจัดการหรือกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องเป็นการกระทำแทนลูกหนี้ตามสิทธิของลูกหนี้ที่มีอยู่ เมื่อลูกหนี้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตามหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวแล้ว ย่อมทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจยกเหตุแห่งการขาดอายุความขึ้นบอกปัดการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ได้ ดังนั้นหนี้ของลูกหนี้จึงมิใช่หนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1)เจ้าหนี้จึงขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2927/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจต่อสู้คดีของลูกหนี้หลังถูกพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และ 24 ได้กล่าวไว้ชัดแจ้งว่า เมื่อลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้วลูกหนี้หามีอำนาจต่อสู้คดีใด ๆ หรือการกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินไม่ ไม่ว่าในชั้นพิจารณาหรือชั้นบังคับคดี การร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์สินเป็นการต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้อย่างหนึ่งอันเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยที่ 3จึงไม่มีอำนาจร้องคัดค้านการขายทอดตลาด เพราะกฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว แม้จำเลยที่ 3จะได้ยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดไว้ก่อนถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและต่อมาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้ขอเข้ามาดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ก็จะดำเนินคดีเองต่อไปไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2927/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจต่อสู้คดีของลูกหนี้หลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่ผู้เดียว
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจตามมาตรา 22 และมาตรา 24 แห่งพ.ร.บ. ล้มละลายฯ ที่จะจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของลูกหนี้ ดังนั้น เมื่อจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้ว จำเลยจึงหามีอำนาจต่อสู้คดีหรือกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินไม่ ไม่ว่าในชั้นพิจารณาหรือชั้นบังคับคดี ฉะนั้น เมื่อการร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์สินเป็นการต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้อย่างหนึ่งอันเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้ขอเข้ามาดำเนินคดีแทน จำเลยก็ไม่มีอำนาจร้องคัดค้านการขายทอดตลาดได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2634/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์: สิทธิเรียกร้องหนี้และการยอมรับสิทธิโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความ หรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22(3) ลูกหนี้ไม่มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับเจ้าหนี้ ทั้งนี้โดย ไม่ต้องคำนึงว่าเจ้าหนี้จะได้ทราบว่าลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วหรือไม่ หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ลูกหนี้ได้ทำขึ้นหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้วจึงไม่สมบูรณ์ เพราะเกิดขึ้นโดย ฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายตามมาตรา 94(1)เจ้าหนี้จึงขอรับชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวไม่ได้ เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่จะบังคับให้ลูกหนี้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่เจ้าหนี้ได้นั้น หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาภายในกำหนดเวลา3 เดือน นับแต่วันที่ทราบตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 122 แล้ว เจ้าหนี้จึงจะมีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับราคาที่ดินที่ได้ชำระแก่ลูกหนี้ไปแล้วและค่าเสียหายที่ได้รับตามมาตรา 92 เจ้าหนี้จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 91 ก่อนพ้นกำหนดดังกล่าวไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1967/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องร้องคดีของลูกหนี้ที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์: คำร้องพิจารณาใหม่เป็นเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สิน อำนาจอยู่ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
จำเลยขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาคดีฝ่ายเดียวให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ แต่ในวันนัดไต่สวนคำร้อง จำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีอื่นแล้ว ดังนี้ คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยย่อมเป็นเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์ของจำเลย อำนาจในการฟ้องร้องต่อสู้คดีของจำเลยจึงอยู่กับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 22(3) จำเลยไม่มีอำนาจที่จะยื่นคำร้องให้พิจารณาคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1967/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องร้องของลูกหนี้ภายหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด การยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่กระทบสิทธิเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
การยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ หากศาลมีคำสั่งตามคำร้องย่อมมีผลทำให้ศาลต้องหยิบยกปัญหาในเรื่องหนี้ของจำเลยที่ 2 ขึ้นพิจารณาใหม่ จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์ของจำเลยที่ 2 อำนาจในการฟ้องร้องต่อสู้คดีของจำเลยที่ 2 ซึ่งศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว จึงอยู่กับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22(3) จำเลยที่ 2จึงไม่มีอำนาจที่จะยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1507/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด อำนาจฟ้องเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
จำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนการบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 3 ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยกคำร้องของจำเลยที่ 3 ก่อนจำเลยที่ 3 ยื่นฎีกา จำเลยที่ 3ถูกศาลชั้นต้นสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลาย ดังนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22,25 ย่อมเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะเข้าว่าคดีและยื่นฎีกาแทนจำเลยที่ 3 การที่จำเลยที่ 3 ยื่นฎีกาด้วยตนเองภายหลังถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ฎีกาของจำเลยที่ 3 จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ ภายหลังจำเลยที่ 3 ยื่นฎีกาคดีนี้แล้ว จำเลยที่ 3 ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พิจารณาคดีล้มละลายใหม่ กับยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีการอฟังผลการไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีล้มละลายใหม่นั้น แม้หากภายหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีล้มละลายใหม่ตามคำร้องของจำเลยที่ 3 ก็มีผลเพียงลบล้างคำพิพากษาและกระบวนพิจารณาในคดีล้มละลายดังกล่าวเท่านั้น หาได้ลบล้างกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบในคดีนี้ด้วย จึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องรอฟังผลการไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีล้มละลายใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6494/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีบำรุงท้องที่หลังถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และสิทธิในการไล่เบี้ยจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้ชำระหนี้ภาษีบำรุงท้องที่ที่จำเลยต้องรับผิดให้แก่โจทก์นั้นหากจำเลยจะมีสิทธิไล่เบี้ยจากเจ้าพนักงานพิทักษ์อย่างใด ก็มิใช่เป็นหนี้เกี่ยวกับภาษีอากร หรือคดีที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจศาลภาษีอากร ศาลภาษีอากรไม่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับสิทธิต่าง ๆ ของจำเลยที่มีต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้จำเลยจึงไม่มีสิทธิจะเรียกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าเป็นจำเลยร่วมพระราชบัญญัติ ญญัติภาษีบำรุงท้องที่ฯ มาตรา 45(4) กำหนดไว้ว่า ถ้าไม่ชำระภาษีบำรุงท้องที่ภายในเวลาที่กำหนดให้เสียเงินเพิ่ม ฯลฯมิได้กำหนดข้อยกเว้นที่ไม่ต้องชำระเงินเพิ่ม ทั้งไม่มีกฎหมายใดกำหนดว่าในระหว่างที่จำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียเงินเพิ่มสำหรับภาษีบำรุงท้องที่ ดังนั้น ตราบใดที่จำเลยยังมิได้ชำระภาษีบำรุงท้องที่ก็ต้องรับผิดเงินเพิ่มอยู่จนกว่าจะชำระจะอ้างว่าถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้วไม่ต้องรับผิดเงินเพิ่มหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6494/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีบำรุงท้องที่ระหว่างถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และสิทธิในการไล่เบี้ยจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ และเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้ชำระหนี้ภาษีบำรุงท้องที่ที่จำเลยต้องรับผิดให้แก่โจทก์ หากจำเลยจะมีสิทธิไล่เบี้ยจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อย่างใด ก็มิใช่เป็นหนี้เกี่ยวกับภาษีอากรหรือคดีที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจศาลภาษีอากร ศาลภาษีอากรกลางไม่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับสิทธิต่าง ๆ ของจำเลยที่มีต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิจะเรียกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าเป็นจำเลยร่วมในคดีภาษีอากร แม้จำเลยจะอยู่ในระหว่างที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อจำเลยยังมิได้ชำระภาษีบำรุงท้องที่ จำเลยก็ต้องรับผิดในเงินเพิ่มร้อยละยี่สิบต่อปีของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่จะอ้างเหตุว่าถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้วไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มหาได้ไม่.
of 72