พบผลลัพธ์ทั้งหมด 717 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2459/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีบำรุงท้องที่หลังล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่ชำระหนี้ตามกฎหมาย
บริษัท ฉ.ถูกศาลพิทักษ์ทรัพย์เด็ด ขาดวันที่ 27 กุมภาพันธ์2530 ประกาศหนังสือพิมพ์ลงวันที่ 24 มีนาคม 2530ประกาศราชกิจจานุเบกษาวันที่ 7 เมษายน 2530 บริษัท ฉ. เป็นหนี้ค่าภาษีบำรุงท้องที่ ปี พ.ศ. 2531 ซึ่งเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังบริษัท ฉ.ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ด ขาดแล้ว โจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ ไม่ทัน แต่ พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ฯ มาตรา 7กำหนดให้ผู้เป็นเจ้าของที่ดินในวันที่ 1 มกราคม ของปีใด มีหน้าที่สำหรับปีนั้นแสดงว่าผู้เป็นเจ้าของที่ดินต้องเสียภาษีที่ดินทุกปีเมื่อบริษัท ฉ. ยังเป็นเจ้าของที่ดินก็ต้องมีหน้าที่เสียภาษีกรณีนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 22 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องเข้าดำเนินการชำระหนี้ภาษี เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โต้แย้งสิทธิของโจทก์ดังนี้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้รับผิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2459/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีบำรุงท้องที่หลังล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่ชำระแทนลูกหนี้ แม้เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นหลังพิทักษ์ทรัพย์
บริษัทลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แต่ยังเป็นเจ้าของที่ดินอยู่ในระหว่างนั้น ย่อมต้องมีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มิได้กำหนดมิให้ฟ้องเกี่ยวกับหนี้ที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายหลังถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่สามารถขอรับชำระหนี้ได้ภายในเวลาตามที่พระราชบัญญัติล้มละลายฯ กำหนดไว้ การเกิดหนี้ขึ้นโดยผลของกฎหมายเช่นนี้เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องดำเนินการแทนลูกหนี้ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการโต้แย้งสิทธิของโจทก์เกี่ยวกับภาษีรายนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องให้รับผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2459/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ภาษีหลังล้มละลาย: เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องได้ แม้เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังพิทักษ์ทรัพย์
บริษัทลูกหนี้ถูก พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แต่ ยังเป็นเจ้าของที่ดินอยู่ในระหว่างนั้น ย่อมต้อง มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มิได้กำหนดมิให้ฟ้องเกี่ยวกับหนี้ที่เกิดขึ้นโดย ผลของกฎหมายหลังถูก พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดซึ่ง เป็นหนี้ที่ไม่สามารถขอรับชำระหนี้ได้ ภายในเวลาตาม ที่พระราชบัญญัติล้มละลายฯ กำหนดไว้ การเกิดหนี้ขึ้นโดย ผลของกฎหมายเช่นนี้เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องดำเนินการแทนลูกหนี้ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการโต้แย้งสิทธิของโจทก์เกี่ยวกับภาษีรายนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องให้รับผิดได้ .
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2300/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการชำระหนี้หลังศาลสั่งให้ลูกหนี้ล้มละลาย และการหักบัญชีเงินฝากเพื่อชำระหนี้
ตามหนังสือสัญญากู้เงินเครดิตเงินสด ข้อ 8 วรรคสอง คู่สัญญาตกลงกันว่า "ผู้กู้ยินยอมให้ธนาคารหักบัญชีเงินฝากของผู้กู้เพื่อชำระดอกเบี้ย หรือต้นเงินกู้ซึ่งถึงกำหนดชำระหรือถูกเรียกคืนตามสัญญา ข้อ 25 โดย ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าแต่ อย่างใด" เห็นได้ว่า เมื่อต้นเงินกู้หรือดอกเบี้ยถึง กำหนดชำระนั้นเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยผู้กู้จะต้องมีอยู่ ธนาคารโจทก์จึงจะหักเงินในบัญชีนั้นชำระหนี้เงินกู้หรือดอกเบี้ย ค้างชำระได้ ส่วนโจทก์จะหักเงินนั้นชำระหนี้เมื่อใดเป็นสิทธิของโจทก์ แต่ถ้าเงินในบัญชีไม่มีหรือมีแต่ได้หักชำระหนี้ต้นเงินกู้หรือดอกเบี้ยที่ถึงกำหนดชำระหมดแล้ว การหักเงินชำระหนี้ตามสัญญาข้อ 8 วรรคสองที่กล่าวแล้วในภายหลังอีกย่อมไม่อาจกระทำได้เพราะไม่มีเงินในบัญชีที่จะให้หัก โจทก์หักเงินในบัญชีทั้งหมดชำระหนี้ที่จำเลยค้างชำระแล้วจึงนำหนี้ที่คงเหลือมาฟ้องขอให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย ฉะนั้น การที่จำเลยส่งเงินเข้าบัญชีเงินฝากภายหลังที่โจทก์ฟ้องและโจทก์นำเงินในบัญชีนั้นไปหักชำระหนี้โจทก์อีก ก็มีผลเป็นอย่างเดียวกับการที่จำเลยนำเงินนั้นไปชำระหนี้ให้โจทก์โดยตรง ดังนั้น การที่จำเลยชำระหนี้ให้โจทก์ด้วยวิธีการข้างต้นโดยที่จำเลยไม่มีเงินพอที่จะชำระหนี้ให้ผู้ร้อง จึงทำให้โจทก์ได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ชอบที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมีคำขอให้เพิกถอนการกระทำเช่นนั้นได้
จำเลยนำเงินไปเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้โจทก์หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้ว ย่อมเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 22 24 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 จึงตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขอให้ศาลเพิกถอนการชำระหนี้นั้นได้
การที่โจทก์ต้องคืนเงินแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพราะการชำระหนี้ได้ถูกเพิกถอนนั้นเป็นไปโดยผลของคำพิพากษา กรณียังถือไม่ได้ว่าได้มีการผิดนัดอันจะเป็นเหตุให้โจทก์ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ย เพราะตราบใดที่การชำระหนี้ระหว่างจำเลยกับโจทก์ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลให้เพิกถอนก็ยังถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยชอบอยู่ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ย
จำเลยนำเงินไปเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้โจทก์หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้ว ย่อมเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 22 24 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 จึงตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขอให้ศาลเพิกถอนการชำระหนี้นั้นได้
การที่โจทก์ต้องคืนเงินแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพราะการชำระหนี้ได้ถูกเพิกถอนนั้นเป็นไปโดยผลของคำพิพากษา กรณียังถือไม่ได้ว่าได้มีการผิดนัดอันจะเป็นเหตุให้โจทก์ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ย เพราะตราบใดที่การชำระหนี้ระหว่างจำเลยกับโจทก์ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลให้เพิกถอนก็ยังถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยชอบอยู่ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2300/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการชำระหนี้หลังล้มละลาย - เจ้าหนี้ได้เปรียบ - การหักบัญชีเงินฝาก
ตาม หนังสือสัญญากู้เงินเครดิตเงินสด ข้อ 8 วรรคสอง คู่สัญญาตกลง กันว่า "ผู้กู้ยินยอมให้ธนาคารหักบัญชีเงินฝากของผู้กู้เพื่อชำระดอกเบี้ย หรือต้นเงินกู้ซึ่งถึงกำหนดชำระหรือถูกเรียกคืนตามสัญญา ข้อ 25 โดย ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าแต่ อย่างใด" เห็นได้ว่าเมื่อต้นเงินกู้หรือดอกเบี้ยถึง กำหนดชำระนั้นเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยผู้กู้จะต้องมีอยู่ ธนาคารโจทก์จึงจะหักเงินในบัญชีนั้นชำระหนี้เงินกู้หรือดอกเบี้ย ค้างชำระได้ ส่วนโจทก์จะหักเงินนั้นชำระหนี้เมื่อใดเป็นสิทธิของโจทก์ แต่ถ้าเงินในบัญชีไม่มีหรือมีแต่ได้หักชำระหนี้ต้นเงินกู้หรือดอกเบี้ย ที่ถึง กำหนดชำระหมดแล้วการหักเงินชำระหนี้ตามสัญญาข้อ 8 วรรคสองที่กล่าวแล้วในภายหลังอีกย่อมไม่อาจกระทำได้เพราะไม่มีเงินในบัญชีที่จะให้หัก โจทก์หักเงินในบัญชีทั้งหมดชำระหนี้ที่จำเลยค้างชำระแล้วจึงนำหนี้ที่คงเหลือมาฟ้องขอให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย ฉะนั้น การที่จำเลยส่งเงินเข้าบัญชีเงินฝากภายหลังที่โจทก์ฟ้องและโจทก์นำเงินในบัญชีนั้นไปหักชำระหนี้โจทก์อีก ก็มีผลเป็นอย่างเดียวกับการที่จำเลยนำเงินนั้นไปชำระหนี้ให้โจทก์โดยตรง ดังนั้น การที่จำเลยชำระหนี้ให้โจทก์ด้วยวิธีการข้างต้นโดย ที่จำเลยไม่มีเงินพอที่จะชำระหนี้ให้ผู้ร้อง จึงทำให้โจทก์ได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ชอบที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมีคำขอให้เพิกถอนการกระทำเช่นนั้นได้ จำเลยนำเงินไปเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้โจทก์หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้ว ย่อมเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 2224 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 จึงตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขอให้ศาลเพิกถอนการชำระหนี้นั้นได้ การที่โจทก์ต้อง คืนเงินแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพราะการชำระหนี้ได้ถูกเพิกถอนนั้นเป็นไปโดยผลของคำพิพากษา กรณียังถือไม่ได้ว่าได้มีการผิดนัดอันจะเป็นเหตุให้โจทก์ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ย เพราะตราบใด ที่การชำระหนี้ระหว่างจำเลยกับโจทก์ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลให้เพิกถอนก็ยังถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยชอบอยู่ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4135/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสลักหลังจำนำตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อประกันหนี้: สิทธิของผู้ทรงตั๋วและผลของการตกลงสละสิทธิ
ผู้ร้องสลักหลังจำนำตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทภ.ไว้แก่จำเลยที่ 1 เพื่อประกันหนี้ของผู้ร้องและตั๋วสัญญาใช้เงินไม่ได้ห้ามเปลี่ยนมือ การสลักหลังดังกล่าวย่อมทำให้จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินเรียกเก็บเงินตามตั๋วได้ในวันถึงกำหนด โดยไม่ต้องบอกกล่าวการจำนำแก่บริษัทภ.และบังคับเอากับบริษัทภ. ผู้ออกตั๋วได้ และการที่จำเลยที่ 1ทำหนังสือตกลงสละสิทธิที่จะไม่เรียกร้องให้ผู้ร้องชำระหนี้อีกหากการบังคับจำนำตั๋วสัญญาใช้เงินแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น จำเลยที่ 1 มุ่งประสงค์จะบังคับชำระหนี้โดยการบังคับจำนำตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัทภ.ออกให้แก่ผู้ร้องเท่านั้นซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องถูกผูกพันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงเรียกให้ผู้ร้องชำระหนี้รายนี้อีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3967/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจดำเนินคดีหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว
เมื่อศาลในคดีล้มละลายมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจเข้าว่าคดีแพ่งทั้งปวงเกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ โจทก์ไม่มี อำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาหรือว่าคดีได้อีก เมื่อปรากฏว่า โจทก์เป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาและว่าคดีนี้มาตลอดจนกระทั่งเสร็จสิ้นในชั้นศาลอุทธรณ์แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงขอเข้าว่าคดีแทนโจทก์ใน ชั้นฎีกา ดังนี้การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นคำสั่ง ของศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลายฯมาตรา 22,25.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3967/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจดำเนินคดีหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลาย
ระหว่างที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายในศาลชั้นต้นล.ได้ฟ้องโจทก์ขอให้เป็นบุคคลล้มละลายและศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดในคดีดังกล่าว ดังนี้นับแต่วันทีศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดเป็นต้นไปเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจเข้าว่าคดีแทนโจทก์โจทก์ไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาหรือว่าคดีที่ตนเป็นโจทก์อีกต่อไป แต่โจทก์กลับดำเนินกระบวนพิจารณาและว่าคดีที่ตนเป็นโจทก์ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตลอดมาจนกระทั่งเสร็จสิ้นในชั้นอุทธรณ์เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงขอเข้าว่าคดีแทนโจทก์ในชั้นฎีกา กรณีถือได้ว่า คำสั่งของศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 22,25 ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาและว่าคดีหลังถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3967/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจดำเนินคดีหลังถูกพิทักษ์ทรัพย์: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดีต่อหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้มีอำนาจ
ระหว่างที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายในศาลชั้นต้น ล.ได้ฟ้องโจทก์ขอให้เป็นบุคคลล้มละลายและศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดในคดีดังกล่าวดังนี้นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดเป็นต้นไป เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจเข้าว่าคดีแทนโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาหรือว่าคดีที่ตนเป็นโจทก์อีกต่อไป แต่โจทก์กลับดำเนินกระบวนพิจารณาและว่าคดีที่ตนเป็นโจทก์ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตลอดมาจนกระทั่งเสร็จสิ้นในชั้นอุทธรณ์เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงขอเข้าว่าคดีแทนโจทก์ในชั้นฎีกากรณีถือได้ว่า คำสั่งของศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22,25 ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาและว่าคดีหลังถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกค่าหุ้นค้างชำระของบริษัทและการบังคับชำระหลังล้มละลาย
การที่จะเรียกเงินค่าหุ้นซึ่ง ยังจะต้อง ส่งอีกในแต่ละคราวนั้นเป็นดุลพินิจ ของกรรมการที่จะเรียกจากผู้ถือหุ้นเมื่อใด เป็นจำนวนเท่าใด ก็ได้ ตราบเท่าที่บริษัทยังคงดำรง อยู่ หาใช่ว่าจะต้อง เรียกภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันจดทะเบียนตั้ง กรรมการบริษัทไม่แม้เมื่อเลิกบริษัท ผู้ชำระบัญชีจะเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งใช้ เงินลงหุ้นอันเป็นส่วนที่ยังค้างชำระอยู่นั้นก็ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1265 ดังนั้นสิทธิเรียกร้องของบริษัทจำเลยในการเรียกเงินค่าหุ้นซึ่ง ยังจะต้อง ส่งอีก จึงเกิดขึ้นในแต่ละคราวที่กรรมการส่งคำบอกกล่าวเรียกเงินค่าหุ้นนั้นและเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์บริษัทจำเลยเด็ดขาดเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจตาม พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 22 และ 119 เรียกให้ผู้ร้องซึ่ง เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยชำระเงินค่าหุ้นซึ่ง ยังจะต้อง ส่งอีกทั้งหมดได้.