พบผลลัพธ์ทั้งหมด 717 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกค่าหุ้นค้างชำระไม่ผูกติดกรอบเวลา 10 ปี แต่เกิดขึ้นเมื่อมีคำบอกกล่าวเรียกชำระจากกรรมการ
การที่จะเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกในแต่ละคราวนั้นเป็นดุลพินิจของกรรมการที่จะเรียกจากผู้ถือหุ้นเมื่อใด เป็นจำนวนเท่าใด ก็ได้ตราบเท่าที่บริษัทยังคงดำรงอยู่ หาใช่ว่าจะต้องเรียกภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันจดทะเบียนตั้งกรรมการบริษัทไม่แม้เมื่อเลิกบริษัท ผู้ชำระบัญชีจะเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งใช้เงินลงหุ้นอันเป็นส่วนที่ยังค้างชำระอยู่นั้นก็ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1265 ดังนั้นสิทธิเรียกร้องของบริษัทจำเลยในการเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีก จึงเกิดขึ้นในแต่ละคราวที่กรรมการส่งคำบอกกล่าวเรียกเงินค่าหุ้นนั้น และเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์บริษัทจำเลยเด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และ 119เรียกให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยชำระเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกทั้งหมดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5744/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้มีประกันมีสิทธิบังคับคดีทรัพย์สินหลักประกัน แม้มีการสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้จำนองของจำเลยได้ฟ้องบังคับจำนองและทำการบังคับคดีโดยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองเพื่อขายทอดตลาดแล้วศาลจึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลย ดังนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีโอนการยึดทรัพย์ดังกล่าวมาไว้ในคดีล้มละลายไม่ได้ เพราะเป็นการกระทบต่อสิทธิของผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันโดยตรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการอุทธรณ์คำสั่งศาลและการปฏิเสธหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นอกจากเป็นเจ้าพนักงานศาลแล้วยังมีหน้าที่รวบรวมทรัพย์สินและฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้รวมทั้งกระทำการต่าง ๆ ในนามลูกหนี้อีกฐานะหนึ่งจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นได้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ร้องถอนคำร้องเพื่อให้ผู้ร้องไปยื่นคำคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 14 วันนั้น ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่จำต้องโต้แย้งคำสั่งไว้แต่ประการใด การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องปฏิเสธหนี้ต่อศาลชั้นต้นโดยปฏิบัติไม่ถูกต้องตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 119 นั้น เมื่อผู้ร้องขอถอนคำร้องเพื่อนำไปยื่นตามขั้นตอนที่ถูกต้องศาลก็เพียงแต่ชอบที่จะอนุญาตให้ถอนคำร้องได้เท่านั้นไม่ชอบที่จะก้าวล่วงไปกำหนดระยะเวลาในการยื่นคำร้องปฏิเสธหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ผิดแผกแตกต่างไปจากบทบัญญัติของกฎหมาย ซึ่งต่างกับกรณีการฟ้องคดีต่อศาลที่ไม่มีเขตอำนาจ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 18 วรรคสาม มาปรับแก่กรณีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการอุทธรณ์คำสั่งศาลและการปฏิบัติตามขั้นตอนการยื่นคำร้องในคดีล้มละลาย
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นอกจากเป็นเจ้าพนักงานศาลแล้วยังมีหน้าที่รวบรวมทรัพย์สินและฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้รวมทั้งกระทำการต่าง ๆ ในนามลูกหนี้อีกฐานะหนึ่งจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นได้
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ร้องถอนคำร้องเพื่อให้ผู้ร้องไปยื่นคำคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 14 วันนั้น ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่จำต้องโต้แย้งคำสั่งไว้แต่ประการใด
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องปฏิเสธหนี้ต่อศาลชั้นต้นโดยปฏิบัติไม่ถูกต้องตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 119 นั้นเมื่อผู้ร้องขอถอนคำร้องเพื่อนำไปยื่นตามขั้นตอนที่ถูกต้อง ศาลก็เพียงแต่ชอบที่จะอนุญาตให้ถอนคำร้องได้เท่านั้นไม่ชอบที่จะก้าวล่วงไปกำหนดระยะเวลาในการยื่นคำร้องปฏิเสธหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ผิดแผกแตกต่างไปจากบทบัญญัติของกฎหมาย ซึ่งต่างกับกรณีการฟ้องคดีต่อศาลที่ไม่มีเขตอำนาจ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 วรรคสาม มาปรับแก่กรณีนี้ได้.
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ร้องถอนคำร้องเพื่อให้ผู้ร้องไปยื่นคำคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 14 วันนั้น ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่จำต้องโต้แย้งคำสั่งไว้แต่ประการใด
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องปฏิเสธหนี้ต่อศาลชั้นต้นโดยปฏิบัติไม่ถูกต้องตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 119 นั้นเมื่อผู้ร้องขอถอนคำร้องเพื่อนำไปยื่นตามขั้นตอนที่ถูกต้อง ศาลก็เพียงแต่ชอบที่จะอนุญาตให้ถอนคำร้องได้เท่านั้นไม่ชอบที่จะก้าวล่วงไปกำหนดระยะเวลาในการยื่นคำร้องปฏิเสธหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ผิดแผกแตกต่างไปจากบทบัญญัติของกฎหมาย ซึ่งต่างกับกรณีการฟ้องคดีต่อศาลที่ไม่มีเขตอำนาจ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 วรรคสาม มาปรับแก่กรณีนี้ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1897-1898/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนดในคดีล้มละลาย และผลกระทบต่อการยกเลิกการล้มละลาย
โจทก์อยู่ในราชอาณาจักร ยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จึงไม่มีสิทธิขอขยายกำหนดเวลาหรือขอรับชำระหนี้ได้อีก ข้ออ้างที่โจทก์ได้ติดต่อกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตลอดมา เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่แจ้งการโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ให้โจทก์ทราบ และเชื่อว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะแจ้งให้ทราบนั้น เป็นแต่เพียงการเข้าใจผิดของโจทก์เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีหน้าที่ที่จะกระทำเช่นนั้น ข้ออ้างที่ว่าหนังสือพิมพ์รายวันที่ประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และหนังสือราชกิจจานุเบกษาไม่มีขายในจังหวัดที่โจทก์อยู่ก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่สมควรหรือเป็นพฤติการณ์พิเศษที่จะยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนดเวลาได้
แม้คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของโจทก์ซึ่งมีอยู่เพียงรายเดียวยังไม่ถึงที่สุด แต่เหตุที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำขอรับชำระหนี้ของโจทก์เป็นเพราะโจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 91 วรรคแรก เท่ากับคดีนี้ไม่มีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ การดำเนินคดีล้มละลายนี้ต่อไปจึงไม่เป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้ ถือได้ว่าเป็นเหตุที่จำเลยไม่สมควรถูกพิพากษาให้ล้มละลาย ศาลชอบที่จะสั่งยกเลิกการล้มละลายได้ ตามมาตรา135 (2)
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายแล้ว คำสั่งมีผลทันทีจำเลยย่อมหลุดพ้นจากการล้มละลาย หลุดพ้นจากคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด กลับคืนสู่ฐานะเดิมเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่จำเลย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจอายัดเงินบำเหน็จและเงินบำนาญของจำเลยต่อไปอีก.
แม้คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของโจทก์ซึ่งมีอยู่เพียงรายเดียวยังไม่ถึงที่สุด แต่เหตุที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำขอรับชำระหนี้ของโจทก์เป็นเพราะโจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 91 วรรคแรก เท่ากับคดีนี้ไม่มีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ การดำเนินคดีล้มละลายนี้ต่อไปจึงไม่เป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้ ถือได้ว่าเป็นเหตุที่จำเลยไม่สมควรถูกพิพากษาให้ล้มละลาย ศาลชอบที่จะสั่งยกเลิกการล้มละลายได้ ตามมาตรา135 (2)
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายแล้ว คำสั่งมีผลทันทีจำเลยย่อมหลุดพ้นจากการล้มละลาย หลุดพ้นจากคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด กลับคืนสู่ฐานะเดิมเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่จำเลย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจอายัดเงินบำเหน็จและเงินบำนาญของจำเลยต่อไปอีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1897-1898/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนดในคดีล้มละลาย และผลกระทบต่อการดำเนินคดีและการอายัดทรัพย์
โจทก์อยู่ในราชอาณาจักร ยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จึงไม่มีสิทธิขอขยายกำหนดเวลาหรือขอรับชำระหนี้ได้อีก ข้ออ้างที่โจทก์ได้ติดต่อกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตลอดมา เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่แจ้งการโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ให้โจทก์ทราบ และเชื่อว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะแจ้งให้ทราบนั้น เป็นแต่เพียงการเข้าใจผิดของโจทก์เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีหน้าที่ที่จะกระทำเช่นนั้น ข้ออ้างที่ว่าหนังสือพิมพ์รายวันที่ประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และหนังสือราชกิจจานุเบกษาไม่มีขายในจังหวัดที่โจทก์อยู่ก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่สมควรหรือเป็นพฤติการณ์พิเศษที่จะยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนดเวลาได้
แม้คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของโจทก์ซึ่งมีอยู่เพียงรายเดียวยังไม่ถึงที่สุด แต่เหตุที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำขอรับชำระหนี้ของโจทก์เป็นเพราะโจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 91 วรรคแรก เท่ากับคดีนี้ไม่มีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ การดำเนินคดีล้มละลายนี้ต่อไปจึงไม่เป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้ ถือได้ว่าเป็นเหตุที่จำเลยไม่สมควรถูกพิพากษาให้ล้มละลาย ศาลชอบที่จะสั่งยกเลิกการล้มละลายได้ ตามมาตรา135(2)
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายแล้ว คำสั่งมีผลทันทีจำเลยย่อมหลุดพ้นจากการล้มละลาย หลุดพ้นจากคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด กลับคืนสู่ฐานะเดิมเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่จำเลย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจอายัดเงินบำเหน็จและเงินบำนาญของจำเลยต่อไปอีก.
แม้คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของโจทก์ซึ่งมีอยู่เพียงรายเดียวยังไม่ถึงที่สุด แต่เหตุที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำขอรับชำระหนี้ของโจทก์เป็นเพราะโจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 91 วรรคแรก เท่ากับคดีนี้ไม่มีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ การดำเนินคดีล้มละลายนี้ต่อไปจึงไม่เป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้ ถือได้ว่าเป็นเหตุที่จำเลยไม่สมควรถูกพิพากษาให้ล้มละลาย ศาลชอบที่จะสั่งยกเลิกการล้มละลายได้ ตามมาตรา135(2)
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายแล้ว คำสั่งมีผลทันทีจำเลยย่อมหลุดพ้นจากการล้มละลาย หลุดพ้นจากคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด กลับคืนสู่ฐานะเดิมเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่จำเลย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจอายัดเงินบำเหน็จและเงินบำนาญของจำเลยต่อไปอีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1573/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเงินบำเหน็จข้าราชการที่ถูกอายัดในคดีล้มละลาย เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิรับเงินบำเหน็จแล้ว
จำเลยเป็นข้าราชการสังกัดหน่วยงานของผู้ร้อง หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และมีคำพิพากษาให้จำเลยล้มละลายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือขออายัดเงินซึ่งอ้างว่าจำเลยมีสิทธิได้รับบำเหน็จจากผู้ร้อง เพื่อรวบรวมไว้ในกองทรัพย์สิน ตามมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ดังนั้นแม้ผู้ร้องได้ส่งเงินดังกล่าวให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โดยมิได้ปฏิเสธสิทธิเป็นหนังสือมายังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ตามมาตรา 119 ก็ไม่ถือว่าผู้ร้องเป็นหนี้กองทรัพย์สินตามจำนวนที่แจ้งไปเป็นการเด็ดขาด เพราะกรณีไม่เข้าข่าย มาตรา 119 การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะรวบรวมเงินบำเหน็จ ของจำเลยได้นั้น ต้องได้ความว่าจำเลยมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ จากผู้ร้อง เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และผู้ร้องได้มีคำสั่งให้ไล่จำเลยออกจากราชการ ซึ่งมีผลให้จำเลย ไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จ ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ส่วนท้องถิ่นฯ เงินบำเหน็จที่ผู้ร้องส่งให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จึงไม่ใช่ทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันอาจแบ่งให้แก่เจ้าหนี้ได้ตาม มาตรา 109 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ไม่มีอำนาจจัดการเก็บรวบรวมและรับเงินไว้ตาม มาตรา 22 และต้องคืนเงินดังกล่าวให้ผู้ร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 92/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายเพิ่มเติมและการเรียกร้องหนี้ในคดีล้มละลาย: สิทธิของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ผู้ร้องทำสัญญาซื้อเรือยนต์จากจำเลย โดยชำระเงินสดบางส่วนหนี้ที่เหลือผู้ร้องชำระด้วยเช็คลงวันที่ล่วงหน้าแต่ละเดือน รวม13 ฉบับ ภายหลังจำเลยได้โอนเช็คดังกล่าวให้แก่บุคคลภายนอกสัญญาระหว่างจำเลยและผู้ร้องเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ซึ่งจำเลยได้โอนกรรมสิทธิ์เรือยนต์ให้แก่ผู้ร้องแล้วและผู้ร้องต้องชำระหนี้ค่าเรือยนต์ให้ครบถ้วนในวันเดียวกัน การที่จำเลยและผู้ร้องตกลงกันให้ผู้ร้องชำระหนี้เป็นรายเดือนตามจำนวนเงินในเช็คเป็นเวลา 1 ปี จึงเป็นสัญญาเพิ่มเติมสัญญาซื้อขายเดิม จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญา จำเลยจะคืนเช็คก่อนถึงกำหนด แล้วขอให้ผู้ร้องชำระหนี้ทั้งหมดทันที หรือขอให้ผู้ร้องชำระหนี้ตามจำนวนเงินในเช็คแต่ละฉบับเมื่อเช็คนั้นยังไม่ถึงกำหนดไม่ได้ แม้จะถือว่ามูลหนี้เดิมตามสัญญาซื้อขายยังไม่ระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคท้าย และต่อมาจำเลยถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลายและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องมีส่วนผิดสัญญา เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่มีสิทธิเรียกให้ผู้ร้องชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขาย ส่วนหนี้ตามเช็คฉบับที่ผู้ร้องนำเงินมาวางศาลแล้วกับเช็คอีก 3 ฉบับที่ผู้ทรงเช็คซึ่งรับโอนไปจากจำเลยได้นำมาขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้น ปรากฏตามอุทธรณ์ของผู้ร้องว่าผู้ร้องยินยอมชำระเงินตามเช็คทั้งสี่ฉบับนี้ให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถือว่าผู้ร้องสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีสิทธิเรียกร้องเงินตามเช็คทั้งสี่ฉบับดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 92/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายเพิ่มเติม, เช็คลงวันที่ล่วงหน้า, การเรียกร้องหนี้ในคดีล้มละลาย, สละสิทธิเงื่อนเวลา
ผู้ร้องทำสัญญาซื้อเรือยนต์จากจำเลย โดยชำระด้วยเงินสดบางส่วนหนี้ที่เหลือผู้ร้องชำระด้วยเช็คลงวันที่ล่วงหน้าแต่ละเดือน รวม 13 ฉบับ ภายหลังจำเลยได้โอนเช็คดังกล่าวให้แก่บุคคลภายนอก สัญญาระหว่างจำเลยและผู้ร้องเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ซึ่งจำเลยได้โอนกรรมสิทธิ์เรือยนต์ให้แก่ผู้ร้องแล้ว และผู้ร้องต้องชำระหนี้ค่าเรือยนต์ให้ครบถ้วนในวันเดียวกัน การที่จำเลยและผู้ร้องตกลงกันให้ผู้ร้องชำระหนี้เป็นรายเดือนตามจำนวนเงินในเช็คเป็นเวลา 1 ปี จึงเป็นสัญญาเพิ่มเติมสัญญาซื้อขายเดิม จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาจำเลยจะคืนเช็คก่อนถึงกำหนด แล้วขอให้ผู้ร้องชำระหนี้ทั้งหมดทันที หรือขอให้ผู้ร้องชำระหนี้ตามจำนวนเงินในเช็คแต่ละฉบับเมื่อเช็คนั้นยังไม่ถึงกำหนดไม่ได้ แม้จะถือว่ามูลหนี้เดิมตามสัญญาซื้อขายยังไม่ระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคท้ายและต่อมาจำเลยถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลายและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องมีส่วนผิดสัญญา เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่มีสิทธิเรียกให้ผู้ร้องชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขาย ส่วนหนี้ตามเช็คฉบับที่ผู้ร้องนำเงินมาวางศาลแล้วกับเช็คอีก 3ฉบับ ที่ผู้ทรงเช็คซึ่งรับโอนไปจากจำเลยได้นำมาขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้น ปรากฏตามอุทธรณ์ของผู้ร้องว่าผู้ร้องยินยอมชำระเงินตามเช็คทั้งสี่ฉบับนี้ให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ถือว่าผู้ร้องสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีสิทธิเรียกร้องเงินตามเช็คทั้งสี่ฉบับดังกล่าวได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 92/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการตกลงผ่อนชำระหนี้ด้วยเช็ค และสิทธิของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย
ผู้ร้องทำสัญญาซื้อเรือยนต์จากจำเลย โดยชำระด้วยเงินสดบางส่วนหนี้ที่เหลือผู้ร้องชำระด้วยเช็คลงวันที่ล่วงหน้าแต่ละเดือน รวม 13 ฉบับ ภายหลังจำเลยได้โอนเช็คดังกล่าวให้แก่บุคคลภายนอก สัญญาระหว่างจำเลยและผู้ร้องเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ซึ่งจำเลยได้โอนกรรมสิทธิ์เรือยนต์ให้แก่ผู้ร้องแล้ว และผู้ร้องต้องชำระหนี้ค่าเรือยนต์ให้ครบถ้วนในวันเดียวกัน การที่จำเลยและผู้ร้องตกลงกันให้ผู้ร้องชำระหนี้เป็นรายเดือนตามจำนวนเงินในเช็คเป็นเวลา 1 ปี จึงเป็นสัญญาเพิ่มเติมสัญญาซื้อขายเดิม จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญา จำเลยจะคืนเช็คก่อนถึงกำหนด แล้วขอให้ผู้ร้องชำระหนี้ทั้งหมดทันที หรือขอให้ผู้ร้องชำระหนี้ตามจำนวนเงินในเช็คแต่ละฉบับ เมื่อเช็คนั้นยังไม่ถึงกำหนดไม่ได้ แม้จะถือว่ามูลหนี้เดิมตามสัญญาซื้อขายยังไม่ระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคท้ายและต่อมาจำเลยถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลายและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องมีส่วนผิดสัญญา เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่มีสิทธิเรียกให้ผู้ร้องชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขาย ส่วนหนี้ตามเช็คฉบับที่ผู้ร้องนำเงินมาวางศาลแล้วกับเช็คอีก 3 ฉบับ ที่ผู้ทรงเช็คซึ่งรับโอนไปจากจำเลยได้นำมาขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้น ปรากฏตามอุทธรณ์ของผู้ร้องว่าผู้ร้องยินยอมชำระเงินตามเช็คทั้งสี่ฉบับนี้ให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ถือว่าผู้ร้องสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีสิทธิเรียกร้องเงินตามเช็คทั้งสี่ฉบับดังกล่าวได้