คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1377

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 427 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1635/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินด้วยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 แม้ไม่ได้ทำประโยชน์ต่อเนื่อง ก็ไม่เสียกรรมสิทธิ์ หากไม่มีผู้อื่นแย่งกรรมสิทธิ์
ที่พิพาทเป็นที่ดินมีโฉนด โจทก์ครอบครองจนได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แล้ว ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้กรรมสิทธิ์สิ้นสุดลงโดยการไม่ใช้ แม้โจทก์จะมิได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทนานเท่าใด ตราบใดที่ยังไม่มีผู้อื่นมาแย่งกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทไปจากโจทก์ โจทก์ก็หาเสียกรรมสิทธิ์ไปไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1635/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินมีโฉนด การครอบครอง และผลของการทิ้งร้าง การไม่ใช้สิทธิไม่ทำให้กรรมสิทธิ์สิ้นสุด
ที่พิพาทเป็นที่ดินมีโฉนด โจทก์ครอบครองจนได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แล้ว ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้กรรมสิทธิ์สิ้นสุดลงโดยการไม่ใช้ แม้โจทก์จะมิได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทนานเท่าใด ตราบใดที่ยังไม่มีผู้อื่นมาแย่งกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทไปจากโจทก์ โจทก์ก็หาเสียกรรมสิทธิ์ไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินจากการครอบครองปรปักษ์ แม้มีสัญญาจะซื้อจะขายแต่สละเจตนาครอบครองแล้ว
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจาก ฉ. เพราะมีวัตถุประสงค์ที่จะใช้ขุดเป็นทางระบายน้ำเข้าที่ดินของโจทก์ แม้โจทก์จะไม่ได้ปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่ดินพิพาท แต่การที่โจทก์ได้เข้าทำประโยชน์โดยปลูกต้นไม้ ขุดคูน้ำ ทำทางเดินไปทำนา และโจทก์คงใช้ประโยชน์ดังกล่าวในที่ดินพิพาทติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน กรณีเช่นนี้ย่อมถือว่าโจทก์มีเจตนายึดถือครอบครองที่ดินพิพาท สัญญาจะซื้อจะขายมีข้อตกลงจะจดทะเบียนโอนเมื่อแบ่งแยกโฉนดเรียบร้อยแล้ว แม้ว่าโจทก์กับ ฉ. จะปล่อยเวลาล่วงเลยไปนานมิได้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดในเวลาอันสมควรเพื่อแบ่งแยกโฉนดโดย ฉ. ยอมให้โจทก์เข้าทำประโยชน์แสดงตนเป็นเจ้าของอย่างเต็มที่แสดงว่าทั้งโจทก์และ ฉ. มิได้คำนึงถึงการที่จะทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้ถูกต้องตามกฎหมายกันต่อไป ถือได้ว่าฉ. สละการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยเด็ดขาด การครอบครองของโจทก์จึงเป็นการครอบครองอย่างเป็นเจ้าของ หาใช่ครอบครองตามสัญญาจะซื้อจะขาย ดังนี้ เมื่อครบสิบปีโจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5549/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินจากการครอบครองหลังการยกให้และเงื่อนไขไม่สมบูรณ์
ห.คงมีแต่เพียงสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเท่านั้นขณะที่ยกที่ดินดังกล่าวให้จำเลย เมื่อ ห.ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้จำเลยเข้าครอบครอง ถือได้ว่าสละเจตนาที่จะครอบครองที่ดินดังกล่าว และการยกให้มีผลสมบูรณ์ทันที ไม่ต้องไปจดทะเบียนทำนิติกรรมการยกให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยย่อมได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท หลังจาก ห.ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยแล้ว ได้มีการออกโฉนดสำหรับที่ดินพิพาทในนามของ ห.แม้ห.ยังมิได้จดทะเบียนโอนให้จำเลย แต่จำเลยได้ครอบครองที่ดินดังกล่าวโดยสงบเปิดเผย และด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาตลอดจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนเป็นเวลากว่า10 ปีแล้ว จำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5549/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการโอนสิทธิครอบครองที่ดิน แม้ไม่มีการจดทะเบียน ก็สามารถทำให้ได้กรรมสิทธิ์
ห.คงมีแต่เพียงสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเท่านั้น ขณะที่ยกที่ดินดังกล่าวให้จำเลย เมื่อ ห.ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้จำเลยเข้าครอบครอง ถือได้ว่าสละเจตนาที่จะครอบครองที่ดินดังกล่าว และการยกให้มีผลสมบูรณ์ทันที ไม่ต้องไปจดทะเบียนทำนิติกรรมการยกให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยย่อมได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท
หลังจาก ห.ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยแล้ว ได้มีการออกโฉนดสำหรับที่ดินพิพาทในนามของ ห. แม้ ห.ยังมิได้จดทะเบียนโอนให้จำเลย แต่จำเลยได้ครอบครองที่ดินดังกล่าวโดยสงบเปิดเผย และด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาตลอดจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้วจำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5225/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิครอบครองที่ดินโดยการสละเจตนา และผลของการซื้อขายที่ดินของผู้เยาว์
การโอนที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เมื่อผู้ขายสละเจตนาครอบครองให้ผู้ซื้อ ผู้ซื้อก็ได้สิทธิครอบครองทันทีโดยไม่ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ บิดาทำสัญญาขายที่ดินของบุตรผู้เยาว์โดยฝ่าฝืน ป.พ.พ.มาตรา 1574(1) สัญญาซื้อขายไม่มีผลผูกพันที่ดินของบุตร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4680-4682/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินจากการซื้อขายและการเพิกถอน น.ส.3ก. ศาลยืนสิทธิผู้ซื้อหากซื้อก่อนการเพิกถอน
ที่ดิน น.ส.3ก. มีชื่อ ย. เป็นเจ้าของ โจทก์ซื้อที่ดินดังกล่าวจาก ย. โดยไม่ได้จดทะเบียน และได้ครอบครองมาโดยตลอดโจทก์จึงได้สิทธิครอบครอง เมื่อจำเลยมีคำสั่งเพิกถอน น.ส.3ก.ดังกล่าว จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3892/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิครอบครองที่ดินโดยการส่งมอบการครอบครองและการเข้าครอบครอง ย่อมเป็นผลให้จำเลยได้สิทธิในที่ดิน
แม้หนังสือสัญญาซื้อขาย ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร แต่จำเลยก็มีพยานบุคคลผู้รู้เห็นการทำสัญญาและเห็นจำเลยจ่ายเงินให้โจทก์และเข้าอยู่อาศัยในบ้านและที่ดินพิพาทส่วนโจทก์ย้ายไปอยู่ที่อื่น จึงฟังได้ว่าโจทก์ได้โอนสิทธิครอบครองเนื่องจากมีการซื้อขายที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1377,1378 ซึ่งไม่ต้องมีแบบ การโอนที่ดินพิพาทโดยข้อเท็จจริงคือโจทก์มอบการครอบครองให้จำเลยและจำเลยก็ได้เข้าครอบครอง ไม่ใช่เป็นการโอนโดยทำตามแบบคือทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โจทก์ไม่มีหน้าที่ในทางนิติกรรมที่จะต้องไปใส่ชื่อจำเลยในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามฟ้องแย้ง ดังนี้ศาลพิพากษาบังคับตามคำขอฟ้องแย้งของจำเลยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3780/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินจากการครอบครองร่วมกันและการสันนิษฐานถึงส่วนแบ่งเมื่อมีผู้สูญหาย
โจทก์ทั้งสามฟ้องเรียกที่ดินพิพาททั้งหมดซึ่งเป็นที่ น.ส.3 อ้างว่าโจทก์ทั้งสามเป็นผู้ใช้สิทธิครอบครองที่ดินร่วมกันมาโดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของจนถึงปัจจุบันเกินกว่า 1 ปีแล้ว ศาลฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และนาย ม. บิดาของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ครอบครองที่พิพาทร่วมกัน แม้ต่อมานาย ม. ออกจากบ้านแล้วหายสาบสูญไปก็ถือไม่ได้ว่า ม. สละการครอบครองที่พิพาท จึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่า โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และนาย ม. มีส่วนในที่พิพาทเท่า ๆ กัน ศาลย่อมพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 ที่ 2 เป็นเจ้าของที่พิพาทส่วนของตนได้
การที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานจัดรูปที่ดิน ได้งดดำเนินการออกโฉนดที่ดินที่จัดรูปใหม่ให้แก่โจทก์ทั้งสามเพราะจำเลยทั้งสามคัดค้านการออกโฉนดโดยอ้างว่าเป็นทายาทของ ม. ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมในที่พิพาท เมื่อมีข้อโต้แย้งและตกลงกันไม่ได้ จำเลยที่ 4 จึงให้คู่กรณีไปดำเนินคดีกันทางศาลก่อน เมื่อศาลมีคำพิพากษาว่าอย่างไรก็จะปฏิบัติไปตามนั้น จึงเป็นการปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่โดยชอบ หาเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แต่อย่างใด โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2371/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์หลังสละสิทธิครอบครองและการเข้าครอบครองโดยสงบและเปิดเผย
ผู้คัดค้านได้ทำหนังสือสัญญายกที่ดินมีโฉนดพร้อมทาวน์เฮาส์พิพาท ซึ่งผู้คัดค้านได้จำนองไว้กับธนาคารให้ผู้ร้อง โดยระบุว่าเมื่อผู้ร้องผ่อนชำระหนี้จำนองต่อธนาคารครบ 120 เดือนแล้วผู้คัดค้านจะโอนโฉนดให้แก่ผู้ร้องทันที เมื่อผู้ร้องได้รับสัญญาให้พร้อมกุญแจเข้าบ้านแล้ว วันรุ่งขึ้นผู้ร้องและครอบครัวได้เข้าไปทำความสะอาดและซ่อมแซมทาวน์เฮาส์ พิพาท ต่อมาผู้ร้องได้เข้าไปอยู่เองบ้างให้ผู้อื่นเช่าบ้างตลอดมา โดยผู้คัดค้านมิได้เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ดังนี้แสดงว่าผู้คัดค้านสละสิทธิครอบครองที่ดินและทาวน์เฮาส์ พิพาทให้ผู้ร้องโดยเด็ดขาดแล้วตั้งแต่วันทำสัญญาให้ แม้ปรากฏว่าหลังจากนั้นผู้คัดค้านได้มีหนังสือยอมให้ผู้ร้องเข้าอยู่อาศัยในทาวน์เฮาส์ ไปถึงนายทะเบียนเขตบางเขนก็ไม่เกี่ยวกับสิทธิครอบครองของผู้ร้องที่มีอยู่แล้ว เพราะเมื่อผู้คัดค้านสละสิทธิครอบครองให้ผู้ร้องแล้ว ผู้ร้องยังไม่มีหลักฐานการเป็นเจ้าของที่ดินและทาวน์เฮาส์ จึงจำเป็นต้องมีหนังสือยินยอมเพื่อย้ายทะเบียนบ้านเข้าไปอยู่เท่านั้น เมื่อผู้ร้องได้เข้าครอบครองที่ดินและทาวน์เฮาส์ พิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเป็นเวลาเกิน 10 ปี ผู้ร้องจึงได้กรรมสิทธิ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382.
of 43