คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1377

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 427 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3372/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินช่วงห้ามโอนเป็นโมฆะ การครอบครองเป็นแทนเจ้าของ และการสละเจตนาครอบครอง
ที่ดินพิพาทมีน.ส.3ก.ที่ทางราชการออกให้แก่มารดาโจทก์โดยมีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน5ปีตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ.2511มาตรา12ก่อนพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวมารดาโจทก์ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยและมอบการครอบครองให้แล้วแต่การซื้อขายมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และเป็นที่ดินที่ทางราชการห้ามโอนภายใน5ปีการซื้อขายจึงไม่ถูกต้องตามแบบและเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามชัดแจ้งตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา113เดิม ส่วนการครอบครองที่ดินพิพาทของผู้รับโอนดังกล่าวต้องถือว่าเป็นการครอบครองไว้แทนเจ้าของแม้พ้นกำหนดเวลาห้ามโอนแล้วก็ยังคงถือว่าการครอบครองไว้แทนตลอดมาจนกว่าจะมีการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1381หรือจนกว่าเจ้าของที่ดินพิพาทจะแสดงเจตนาสละการครอบครองให้ตามมาตรา1377,1379 การที่โจทก์รื้อบ้านไปในระยะเวลาห้ามโอนผลก็เท่ากับการสละเจตนาครอบครองเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายที่ห้ามโอนตกเป็นโมฆะเช่นกัน เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเป็นการครอบครองแทนจึงไม่อยู่ในบังคับต้องฟ้องคดีเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนภายใน1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1374 ฎีกาของจำเลยที่คัดค้านว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับหนังสือมอบอำนาจให้โอนที่ดินไม่ถูกต้องไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค1ว่าไม่ถูกต้องผิดพลาดอย่างไรเป็นฎีกาไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2985/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละมรดกโดยความยินยอมและการขาดอายุความฟ้องร้องสิทธิในที่ดินมรดก
แม้ข้อตกลงที่โจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยเป็นผู้รับมรดกที่ดินมิใช่การสละมรดกเพราะไม่ได้แสดงเจตนาเป็นหนังสือมอบให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1612แต่เมื่อโจทก์ได้แสดงความประสงค์ตามบันทึกถ้อยคำที่ทำขึ้นเมื่อจำเลยไปขอโอนมรดกโดยให้จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินเพียงผู้เดียวถือว่าโจทก์สละสิทธิครอบครองให้แก่จำเลยและจำเลยตกลงรับเอาแล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิขอแบ่งที่ดินนั้นอีก โจทก์เพียงแต่เก็บผลไม้ในที่ดินมรดกโดยจำเลยซึ่งครอบครองและทำประโยชน์อยู่มิได้หวงห้ามยังไม่อาจถือว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์ครอบครองที่ดินร่วมด้วยฉะนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินดังกล่าวเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายคดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2985/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิครอบครองที่ดินหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต และอายุความฟ้องร้อง
โจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยเป็นผู้รับมรดกที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 1016 เพราะจำเลยเป็นผู้ออกเงินไถ่ถอนจำนองที่ดินจากธนาคาร แม้ข้อตกลงดังกล่าวมิใช่เป็นเรื่องการสละมรดก เพราะการสละมรดกต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือต้องทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 ก็ตามเมื่อโจทก์ได้แสดงความประสงค์ตามบันทึกถ้อยคำให้จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินแต่เพียงผู้เดียว ถือได้ว่าโจทก์ได้แสดงเจตนาสละสิทธิครอบครองในที่ดินให้แก่จำเลยและจำเลยตกลงรับเอาแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอแบ่งที่ดินในฐานะที่เป็นทรัพย์มรดกอีก
ข้อเท็จจริงได้ความแต่เพียงว่า โจทก์เก็บมะขามและน้อยหน่าในที่ดิน การที่จำเลยมิได้หวงห้ามยังไม่อาจถือว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์ได้ครอบครองที่ดินร่วมด้วย ที่จำเลยอ้างว่าเจ้ามรดกยกที่ดินให้จำเลยแล้ว แสดงให้เห็นว่าจำเลยครอบครองที่ดินเพื่อตนเอง หาใช่ครอบครองแทนโจทก์ไม่ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย คดีโจทก์สำหรับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 900 และ 1246 จึงขาดอายุความฟ้องร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2757/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินห้ามโอนตามมาตรา 58 ทวิ: สิทธิครอบครองยังไม่เกิด การซื้อขายไม่มีผลผูกพัน
ที่ดินที่จำเลยได้รับมาตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 ทวิ ซึ่งอยู่ระหว่างกำหนดระยะเวลาห้ามโอนภายใน10 ปี เป็นที่ดินที่รัฐยังไม่ได้มอบสิทธิครอบครองให้แก่จำเลย จำเลยคงมีสิทธิเพียงทำประโยชน์ในที่ดินเท่านั้น เมื่อจำเลย ไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินจึงไม่อาจสละหรือโอน สิทธิครอบครองที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1377 หรือ มาตรา 1378 ให้แก่ผู้อื่นได้ การที่จำเลยขายที่ดินให้แก่บิดาโจทก์จึงไม่มีผลตามกฎหมาย โจทก์เป็นผู้สืบสิทธิจากบิดาจึงไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินและไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2757/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินห้ามโอนตามมาตรา 58 ทวิ จำเลยยังไม่มีสิทธิครอบครอง จึงโอนสิทธิให้โจทก์ไม่ได้
ที่ดินที่จำเลยได้รับมาตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา58ทวิซึ่งอยู่ระหว่างกำหนดระยะเวลาห้ามโอนภายใน10ปีเป็นที่ดินที่รัฐยังไม่ได้มอบสิทธิครอบครองให้แก่จำเลยจำเลยคงมีสิทธิเพียงทำประโยชน์ในที่ดินเท่านั้นเมื่อจำเลยไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินจึงไม่อาจสละหรือโอนสิทธิครอบครองที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1377หรือมาตรา1378ให้แก่ผู้อื่นได้การที่จำเลยขายที่ดินให้แก่บิดาโจทก์จึงไม่มีผลตามกฎหมายโจทก์เป็นผู้สืบสิทธิจากบิดาจึงไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินและไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1293/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละการครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวน: การครอบครองแทนและการโอนสิทธิระหว่างราษฎร
แม้ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติไม่อาจจดทะเบียนโอนได้แต่ในระหว่างราษฎรด้วยกันย่อมมีสิทธิสละการครอบครองให้แก่กันได้การที่จำเลยที่1โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้วเช่าจากโจทก์ถือว่าจำเลยสละการครอบครองให้แก่โจทก์แล้วโจทก์และจำเลยที่1ได้บันทึกที่สถานีตำรวจยอมรับกันว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทให้จำเลยที่1เช่าจึงเป็นการครอบครองแทนโจทก์ส่วนจำเลยที่2ที่3เข้ามาเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทโดยจำเลยที่1แบ่งให้ครอบครองเพราะเป็นบุตรซึ่งเป็นการอาศัยสิทธิของจำเลยที่1จึงเป็นการครอบครองแทนโจทก์เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7358/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การส่งมอบการครอบครองตามสัญญาซื้อขายและการพิสูจน์การครอบครองที่แท้จริง
ที่ดินพิพาทจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ขายมี แต่เพียงสิทธิครอบครอง หากมีการส่งมอบที่ดินพิพาทให้ โจทก์แล้ว โจทก์ก็อาจได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1377,1378 มิใช่ได้สิทธิครอบครองตามสัญญาซื้อขาย กรณีจึงมีการสืบพยานถึงการครอบครองที่ดินพิพาทได้ มิใช่เป็นการสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารแต่อย่างใด ปัญหาข้อนี้แม้มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์โจทก์ก็ยกขึ้นฎีกาได้เพราะเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7358/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การได้มาจากการส่งมอบ มิใช่จากสัญญาซื้อขาย
ที่ดินพิพาทจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ขายมีแต่เพียงสิทธิครอบครอง หากมีการส่งมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์แล้ว โจทก์ก็อาจได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1377, 1378 มิใช่ได้สิทธิครอบครองตามสัญญาซื้อขาย กรณีจึงมีการสืบพยานถึงการครอบครองที่ดินพิพาทได้ มิใช่เป็นการสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารแต่อย่างใด ปัญหาข้อนี้แม้มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์โจทก์ก็ยกขึ้นฎีกาได้เพราะเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6972/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีใช้หนี้ด้วยที่ดินและผลของการไม่ตกลงราคาตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่า ส.ได้ยืมเงินโจทก์ไป 30,000 บาท และมอบที่ดินของ ส.ให้โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ จำเลยทั้งสองให้การเพียงแต่ว่า ส.จะเคยยืมเงินโจทก์เมื่อใด จำนวนเท่าไรและมอบที่ดินให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์หรือไม่ จำเลยทั้งสองไม่รับรอง เป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งว่าจำเลยทั้งสองปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน ถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธ อีกทั้งศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ จึงต้องฟังตามที่โจทก์ฟ้องว่า ส.ได้ยืมเงินโจทก์ไป 30,000 บาท และมอบที่ดินของ ส.ให้โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์เพื่อประกันการชำระหนี้
โจทก์นำสืบว่า ปี 2527 โจทก์ทวงถามให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้เงินยืมกับค่าทำบุญศพให้ ส.เป็นเงินทั้งสิ้น 100,000 กว่าบาท จำเลยทั้งสองจึงพูดยกที่ดินของ ส.ให้เป็นการตีใช้หนี้ โดยจำเลยที่ 2 จะไปขออนุญาตต่อศาลเพื่อโอนให้ดังนี้ แม้จะได้ความตามที่โจทก์นำสืบก็ตาม ก็เป็นกรณีที่โจทก์ผู้ให้ยืมยอมรับเอาทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่กู้ยืม แต่ไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงว่าที่ดินที่ตีใช้หนี้เงินยืมมีราคาเท่าใด เท่ากับราคาในท้องตลาดในเวลาและสถานที่ส่งมอบหรือไม่ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นการขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 656 วรรคสอง ตกเป็นโมฆะตามมาตรา 656 วรรคสาม โจทก์จึงไม่อาจจะฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการโอนที่ดินพิพาทตามข้อตกลงดังกล่าวได้
การที่จำเลยทั้งสองพูดยกที่ดินของ ส.ให้เป็นการตีใช้หนี้นั้นยังมีเงื่อนไขต่อไปว่า จำเลยที่ 2 จะต้องไปร้องขออนุญาตต่อศาลเพื่อโอนให้โจทก์เนื่องจากขณะนั้นจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับมรดกของ ส.ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ มิได้เป็นการยกให้โดยเด็ดขาดทันที จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้มีเจตนาสละการครอบครองที่ดินโจทก์ครอบครองที่ดินโดย ส.มอบให้ครอบครองทำประโยชน์เพื่อเป็นประกันการใช้หนี้เงินยืมเป็นการครอบครองแทน ส. เมื่อ ส.ถึงแก่ความตายก็ถือได้ว่าโจทก์ยังครอบครองแทนทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ ส. แม้โจทก์จะครอบครองนานเพียงใดก็หาได้สิทธิครอบครองไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6972/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีใช้หนี้ด้วยที่ดินมรดกต้องมีข้อตกลงราคาชัดเจน และการครอบครองเพื่อประกันหนี้ไม่ทำให้ได้สิทธิครอบครอง
โจทก์ฟ้องว่า ส.ได้ยืมเงินโจทก์ไป 30,000 บาท และมอบที่ดินของส.ให้โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ จำเลยทั้งสองในการเพียงแต่ว่า ส.จะเคยยืมเงินโจทก์เมื่อใด จำนวนเท่าไรและมอบที่ดินให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์หรือไม่จำเลยทั้งสองไม่รับรอง เป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งว่าจำเลยทั้งสองปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วนถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธ อีกทั้งศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ จึงต้องฟังตามที่โจทก์ฟ้องว่าส.ได้ยืมเงินโจทก์ไป 30,000 บาท และมอบที่ดินของส.ให้โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์เพื่อประกันการชำระหนี้ โจทก์นำสืบว่า ปี 2527 โจทก์ทวงถามให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้เงินยืมกับค่าทำบุญศพให้ส.เป็นเงินทั้งสิ้น 100,000 กว่าบาทจำเลยทั้งสองจึงพูดยกที่ดินของ ส.ให้เป็นการตีใช้หนี้โดยจำเลยที่ 2 จะไปขออนุญาตต่อศาลเพื่อโอนให้ดังนี้แม้จะได้ความตามที่โจทก์นำสืบก็ตาม ก็เป็นกรณีที่โจทก์ผู้ให้ยืมยอมรับเอาทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่กู้ยืม แต่ไม่ปรากฎว่าได้มีการตกลงว่าที่ดินที่ตีใช้หนี้เงินยืมมีราคาเท่าใด เท่ากับราคาในท้องตลาดในเวลาและสถานที่ส่งมอบหรือไม่ ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 656 วรรคสองตกเป็นโมฆะตามมาตรา 656 วรรคสาม โจทก์จึงไม่อาจจะฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการโอนที่ดินพิพาทตามข้อตกลงดังกล่าวได้ การที่จำเลยทั้งสองพูดยกที่ดินของส.ให้เป็นการตีใช้หนี้นั้นยังมีเงื่อนไขต่อไปว่า จำเลยที่ 2 จะต้องไปร้องขออนุญาตต่อศาลเพื่อโอนให้โจทก์เนื่องจากขณะนั้นจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับมรดกของ ส.ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ มิได้เป็นการยกให้โดยเด็ดขาดทันทีจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้มีเจตนาสละการครอบครองที่ดินโจทก์ครอบครองที่ดินโดยส.มอบให้ครอบครองทำประโยชน์เพื่อเป็นประกันการใช้หนี้เงินยืมเป็นการครอบครองแทนส.เมื่อส.ถึงแก่ความตายก็ถือได้ว่าโจทก์ยังครอบครองแทนทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของส.แม้โจทก์จะครอบครองนานเพียงใดก็หาได้สิทธิครอบครองไม่
of 43