คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 27

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 121 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6621/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: สิทธิเจ้าหนี้และการจัดการทรัพย์สินในคดีล้มละลาย
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดและขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยได้เงินจำนวน 2,100,000 บาทเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2534 ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2533 การขายทอดตลาดดังกล่าวจึงเป็นการบังคับคดีในระหว่างที่จำเลยถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดซึ่งอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยเพื่อจัดการแบ่งในระหว่างเจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22, 124 เมื่อความปรากฏเช่นนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดดังกล่าวมาเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายได้ตามมาตรา 111 ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับเงินจากการขายทอดตลาดจึงมิใช่เป็นการรับชำระหนี้ไว้ในฐานะเป็นผู้แทนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
แม้โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลย แต่โจทก์จะมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยก็โดยยื่นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27, 91 และมาตรา 94 เท่านั้นเมื่อโจทก์ไม่ได้ยื่นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดโจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะบังคับคดีเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์อีกต่อไป ดังนั้นเมื่อเจ้าหนื้ที่ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้รับชำระหนี้โดยเต็มจำนวนหมดแล้ว เงินที่เหลืออยู่ย่อมค้องคืนให้แก่จำเลยในคดีล้มละลายต่อไปตามมาตรา 132

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5945/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนด หากพ้นกำหนดจะหมดสิทธิ แม้จะทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดช้า
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 91 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขยายกำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ให้อีกไม่เกิน 2 เดือน เฉพาะแต่เจ้าหนี้ที่อยู่นอกราชอาณาจักรเท่านั้น เมื่อเจ้าหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามิได้ยื่นคำขอรับ ชำระหนี้ในกำหนดเวลาตามมาตรา 91 เจ้าหนี้จึงหมดสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้ การที่เจ้าหนี้ไม่ทราบคำสั่ง พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดโดยสุจริตเพราะเหตุจำเลย ได้เปลี่ยนชื่อใหม่ก็ไม่ใช่เหตุที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จะขยายกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ได้และ กรณีก็ไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 10 และมาตรา 23 ประกอบด้วยมาตรา 153 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5945/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขยายเวลาขอรับชำระหนี้เฉพาะเจ้าหนี้ต่างประเทศตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย: เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องยื่นตามกำหนด
พ.ร.บ. ล้มละลาย ฯ มาตรา 91 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขยายกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ให้อีกไม่เกิน 2 เดือน เฉพาะแต่เจ้าหนี้ที่อยู่นอกราชอาณาจักรเท่านั้น เมื่อเจ้าหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในกำหนดเวลาตามมาตรา 91 เจ้าหนี้ย่อมหมดสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้การที่เจ้าหนี้ไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด โดยสุจริตเพราะเหตุจำเลยได้เปลี่ยนชื่อใหม่ ก็ไม่ใช่เหตุที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขยายกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ได้ เพราะมิเช่นนั้นจะเท่ากับเป็นการขยายเวลาตามมาตรา 91 ออกไป ซึ่งไม่มีกฎหมายให้กระทำได้ และกรณีไม่อาจนำ ป.วิ.พ.มาตรา 10 และมาตรา 23 ประกอบด้วยมาตรา 153 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลายพ.ศ.2483 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1519/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ค้ำประกันชำระหนี้หลังหมดกำหนด ยื่นขอรับช่วงสิทธิการรับชำระหนี้ไม่ได้ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันลูกหนี้และได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ไปแล้วหากจะขอรับชำระหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา27,91การที่ผู้ร้องชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เมื่อพ้นกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ดังกล่าวแล้วผู้ร้องจะขอเข้ารับช่วงสิทธิการขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ที่ยื่นไว้แล้วไม่ได้เพราะไม่มีบทบัญญัติในพระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ.2483ให้กระทำได้เมื่อวินิจฉัยดังนี้แล้วปัญหาที่ว่าการถอนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ซึ่งศาลยังมิได้มีคำสั่งอนุญาตมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายหรือไม่จึงไม่ต้องวินิจฉัยเนื่องจากไม่เปลี่ยนแปลงผลแห่งคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1519/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ค้ำประกันไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามกำหนด จึงไม่สามารถรับช่วงสิทธิจากเจ้าหนี้ในคดีล้มละลายได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสองแล้วผู้ร้องในฐานะผู้ค้ำประกันลูกหนี้ที่2เมื่อได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แล้วย่อมได้รับช่วงสิทธิการขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ที่มีต่อกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่2แต่ปรากฏว่าผู้ร้องมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา27และมาตรา91ผู้ร้องจะอ้างว่าได้รับช่วงสิทธิและขอรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1519/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: กำหนดเวลาและสิทธิของผู้ค้ำประกัน
ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันลูกหนี้และได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ไปแล้วหากจะขอรับชำระหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 27, 91 การที่ผู้ร้องชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เมื่อพ้นกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ดังกล่าวแล้ว ผู้ร้องจะขอเข้ารับช่วงสิทธิการขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ที่ยื่นไว้แล้วไม่ได้ เพราะไม่มีบทบัญญัติใน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ให้กระทำได้ เมื่อวินิจฉัยดังนี้แล้ว ปัญหาที่ว่าการถอนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ซึ่งศาลยังมิได้มีคำสั่งอนุญาตมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายหรือไม่จึงไม่จำต้องวินิจฉัย เนื่องจากไม่เปลี่ยนแปลงผลแห่งคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 806/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาละเลยไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ทำให้หมดสิทธิเรียกร้อง
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา27และมาตรา91เจ้าหนี้ทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ก็ตามจะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่1เด็ดขาดเมื่อวันที่19พฤษภาคม2529ในคดีที่ ก. เป็นโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่1เป็นบุคคลล้มละลายแต่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาจนศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยที่1เมื่อวันที่11กันยายน2532เพราะหนี้สินของจำเลยที่1ได้ชำระเต็มจำนวนแล้วตามมาตรา135(3)แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483ซึ่งเป็นผลให้จำเลยที่1หลุดพ้นจากบรรดาหนี้สินทั้งปวงโจทก์จะอ้างว่าไม่ทราบว่าจำเลยที่1ถูกฟ้องคดีล้มละลายไม่ได้เพราะการฟ้องคดีล้มละลายได้กระทำโดยเปิดเผยและมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามที่พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483บัญญัติบังคับไว้แล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 806/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ทำให้สิทธิในการรับชำระหนี้สิ้นสุดลง แม้ไม่ทราบการฟ้องล้มละลาย
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27 และมาตรา 91 เจ้าหนี้ทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ก็ตามจะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลย-ที่ 1 เด็ดขาดเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2529 ในคดีที่ ก. เป็นโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 เป็นบุคคลล้มละลาย แต่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลา จนศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2532 เพราะหนี้สินของจำเลยที่ 1 ได้ชำระเต็มจำนวนแล้วตามมาตรา 135 (3) แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 ซึ่งเป็นผลให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นจากบรรดาหนี้สินทั้งปวง โจทก์จะอ้างว่าไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1 ถูกฟ้องคดีล้มละลายไม่ได้ เพราะการฟ้องคดีล้มละลายได้กระทำโดยเปิดเผย และมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามที่ พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 บัญญัติบังคับไว้แล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 806/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตามกำหนด หากไม่ยื่นสิทธิในการฟ้องบังคับชำระหนี้จะระงับ
เจ้าหนี้ทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา27,91เมื่อโจทก์ไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จนกระทั่งศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายเพราะหนี้สินของจำเลยได้ชำระเต็มจำนวนแล้วตามมาตรา135(3)ซึ่งเป็นผลให้จำเลยหลุดพ้นจากบรรดาหนี้สินทั้งปวงแม้โจทก์จะไม่ทราบว่าจำเลยถูกฟ้องคดีล้มละลายมาก่อนแต่การฟ้องคดีล้มละลายกระทำโดยเปิดเผยและมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483โจทก์จะอ้างว่าไม่ทราบว่าจำเลยถูกฟ้องไม่ได้โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในหนี้ดังกล่าวอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6679/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจยังสมบูรณ์แม้ผู้มอบอำนาจลาออก และการเรียกเก็บเช็คจากผู้ล้มละลายโดยรู้อยู่แล้วถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ขณะที่ ต. ลงชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์มอบอำนาจให้ ซ.ฟ้องคดีแทนโจทก์นั้นต. ยังเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ แม้ภายหลัง ต. จะลาออกหนังสือมอบอำนาจนั้นคงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย เหตุที่ ต. พ้นจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ของโจทก์ หาได้ทำให้ฐานะของผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนโจทก์สิ้นสุดตามไปไม่ ท. ทราบว่า ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ผู้สั่งจ่ายเด็ดขาดก่อนที่จะนำเช็คไปเรียกเก็บเงินจากโจทก์ เมื่อ ท.เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยทราบ จึงถือว่าจำเลยทราบด้วย เมื่อผู้สั่งจ่ายเช็คถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยต้องนำเช็คไปขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 27,91การที่จำเลยนำเช็คของผู้สั่งจ่ายไปเรียกเก็บเงินจากโจทก์ทั้งที่รู้อยู่ว่าผู้สั่งจ่ายถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จำเลยจะอ้างความไม่สุจริตของตนมาเป็นเหตุที่จะไม่คืนเงินตามเช็คที่ได้รับจากโจทก์หาได้ไม่
of 13