พบผลลัพธ์ทั้งหมด 121 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6349/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค้ำประกันก่อนล้มละลาย: การผูกพันตามการประนอมหนี้ และผลของการไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้
ก่อนจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลาย จำเลยที่ 1 ได้เบิกเงินเกินบัญชีตามสัญญาจากโจทก์แล้ว อันทำให้เกิดมูลหนี้ที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิด ต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน หนี้ตามสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 3 จึงเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 เด็ดขาดอยู่ในบังคับที่โจทก์จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้แม้หนี้ตามสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 3 จะยังไม่ถึงกำหนดชำระในขณะที่จำเลยที่ 3 ถูก พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เพราะจำเลยที่ 1 ยังไม่ผิดนัดโจทก์ก็ต้องยื่นขอรับชำระหนี้ตามมูลหนี้สัญญาค้ำประกันในคดีล้มละลายภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 27,91 และ 94 เมื่อโจทก์ไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายดังกล่าว จนได้มีการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายและ ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ของจำเลยที่ 3 แล้วโจทก์ก็ต้องถูกผูกมัดโดยการประนอมหนี้ด้วยตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 56 โจทก์จะนำหนี้ตามสัญญา ค้ำประกันมาฟ้องให้จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดและล้มละลายอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6349/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค้ำประกันก่อนล้มละลาย: โจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนด มิฉะนั้นผูกพันตามการประนอมหนี้
ก่อนจำเลยที่ 3 ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีก่อน จำเลยที่ 1ได้เบิกเงินเกินบัญชีตามสัญญาจากโจทก์แล้ว อันทำให้เกิดมูลหนี้ที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน หนี้ตามสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 3 จึงเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 เด็ดขาด อยู่ในบังคับที่โจทก์จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ แม้หนี้ตามสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 3 จะยังไม่ถึงกำหนดชำระในขณะที่จำเลยที่ 3 ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เพราะจำเลยที่ 1 ยังไม่ผิดนัด โจทก์ก็ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมูลหนี้สัญญาค้ำประกันในคดีล้มละลายคดีก่อนภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 27,91,94 เมื่อโจทก์ไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายดังกล่าวจนได้มีการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายและศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ของจำเลยที่ 3 แล้ว โจทก์ก็ต้องถูกผูกมัดโดยการประนอมหนี้ด้วยตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 56 โจทก์จะนำหนี้ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวมาฟ้องให้จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดและล้มละลายอีกไม่ได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6349/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค้ำประกันก่อนล้มละลาย: การผูกพันตามการประนอมหนี้ และการฟ้องล้มละลายซ้ำ
จำเลยที่ 1 ผู้กู้ได้เบิกเงินเกินบัญชีตามสัญญาจากโจทก์ก่อนที่จำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันถูกพิทักษ์ทรัพย์ในอีกคดีหนึ่ง หนี้ตามสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 3 จึงเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และแม้จะยังไม่ถึงกำหนดในขณะนั้น เพราะจำเลยที่ 1 ยังไม่ผิดนัด ก็อยู่ในบังคับที่โจทก์จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อโจทก์มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จนได้มีการประนอมหนี้และศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแล้ว โจทก์ก็ต้องถูกผูกมัดโดยการประนอมหนี้ด้วยตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 56จึงนำหนี้ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวมาฟ้องให้จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดและล้มละลายอีกไม่ได้ และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6349/2537 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค้ำประกันก่อนล้มละลาย: โจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย หากไม่ยื่นผูกพันตามแผนประนอมหนี้
ก่อนจำเลยที่ 3 ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีก่อน จำเลยที่ 1ได้เบิกเงินเกินบัญชีตามสัญญาจากโจทก์แล้ว อันทำให้เกิดมูลหนี้ที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน หนี้ตามสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 3 จึงเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 เด็ดขาด อยู่ในบังคับที่โจทก์จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ แม้หนี้ตามสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 3 จะยังไม่ถึงกำหนดชำระในขณะที่จำเลยที่ 3 ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เพราะจำเลยที่ 1ยังไม่ผิดนัด โจทก์ก็ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมูลหนี้สัญญาค้ำประกันในคดีล้มละลายคดีก่อนภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามพ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27, 91, 94 เมื่อโจทก์ไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายดังกล่าวจนได้มีการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายและศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ของจำเลยที่ 3 แล้ว โจทก์ก็ต้องถูกผูกมัดโดยการประนอมหนี้ด้วยตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 56 โจทก์จะนำหนี้ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวมาฟ้องให้จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดและล้มละลายอีกไม่ได้ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5440/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดในคดีล้มละลาย แม้มีคดีแพ่งค้างอยู่
แม้จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเป็นเจ้าหนี้ที่ได้ฟ้องคดีแพ่งไว้แล้วแต่คดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาก็ตาม เจ้าหนี้นั้นก็ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27 และ 91
แม้ พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 25 จะบัญญัติให้เจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแพ่งทั้งปวงอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลขณะที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ก็ตาม แต่บทมาตราดังกล่าวก็มิใช่บทบังคับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องเข้าว่าคดีเช่นว่านี้ทุกเรื่องไป การจะเข้าว่าคดีหรือไม่เป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอเป็นประการใดแล้ว ศาลก็มีอำนาจพิจารณาสั่งได้ตามที่เห็นสมควรเช่นกัน
กรณีของโจทก์คดีนี้เมื่อกฎหมายได้ให้สิทธิโจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว แต่โจทก์ไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนด โจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ดังกล่าวเนื่องมาจากความผิดของโจทก์เอง ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ขอเข้าว่าคดีแพ่งแทนจำเลยโดยขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี และศาลชั้นต้นก็ได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ออกจากสารบบความนั้นชอบแล้ว และคำสั่งของศาลดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการตัดสิทธิโจทก์ที่จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 93
แม้ พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 25 จะบัญญัติให้เจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแพ่งทั้งปวงอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลขณะที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ก็ตาม แต่บทมาตราดังกล่าวก็มิใช่บทบังคับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องเข้าว่าคดีเช่นว่านี้ทุกเรื่องไป การจะเข้าว่าคดีหรือไม่เป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอเป็นประการใดแล้ว ศาลก็มีอำนาจพิจารณาสั่งได้ตามที่เห็นสมควรเช่นกัน
กรณีของโจทก์คดีนี้เมื่อกฎหมายได้ให้สิทธิโจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว แต่โจทก์ไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนด โจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ดังกล่าวเนื่องมาจากความผิดของโจทก์เอง ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ขอเข้าว่าคดีแพ่งแทนจำเลยโดยขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี และศาลชั้นต้นก็ได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ออกจากสารบบความนั้นชอบแล้ว และคำสั่งของศาลดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการตัดสิทธิโจทก์ที่จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 93
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5440/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายภายในกำหนด แม้จะเป็นเจ้าหนี้เดิมที่มีคดีแพ่งค้างอยู่
แม้จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเป็นเจ้าหนี้ที่ได้ฟ้องคดีแพ่งไว้แล้วแต่คดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาก็ตามเจ้าหนี้นั้นก็ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 27 และ 91 แม้พระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 25 จะบัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแพ่งทั้งปวงอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลขณะที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ก็ตาม แต่บทมาตราดังกล่าวก็มิใช่บทบังคับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องเข้าว่าคดีเช่นว่านี้ทุกเรื่องไป การจะเข้าว่าคดีหรือไม่เป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอเป็นประการใดแล้ว ศาลก็มีอำนาจพิจารณาสั่งได้ตาม ที่เห็นสมควรเช่นกัน กรณีของโจทก์คดีนี้เมื่อกฎหมายได้ให้สิทธิโจทก์ยื่น คำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว แต่โจทก์ไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนด โจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะ ได้รับชำระหนี้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ดังกล่าวเนื่องมาจากความผิดของโจทก์เอง ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ขอเข้าว่าคดีแพ่งแทนจำเลยโดยขอให้ศาลมี คำสั่งจำหน่ายคดี และศาลชั้นต้นก็ได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ออกจากสารบบความนั้นชอบแล้ว และคำสั่งของศาลดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าเป็นการตัดสิทธิโจทก์ที่จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 93
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3940/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจฟ้องคดีล้มละลายครอบคลุมการขอรับชำระหนี้ หากละเลยการดำเนินการตามกำหนด เจ้าหนี้ใช้สิทธิไม่สุจริต
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่า เจ้าหนี้มอบอำนาจให้ ม. มีอำนาจดำเนินการฟ้องร้องหรือดำเนินการตามกฎหมายทั้งปวง รวมทั้งดำเนินคดีล้มละลายเจ้าหนี้ไม่ได้เจาะจงให้ ม. ดำเนินคดีเรื่องหนึ่งเรื่องใดเป็นการเฉพาะแทน ใบมอบอำนาจเป็นการตั้งตัวแทนเฉพาะการเพื่อให้ฟ้องคดีหาใช่เป็นการตั้งตัวแทนเฉพาะการเพื่อฟ้องร้องดำเนินคดีเรื่องหนึ่งเรื่องใดเป็นการเฉพาะไม่ ส่วนคำว่าให้มีอำนาจดำเนินคดีล้มละลายได้นั้น ก็ไม่ได้เจาะจงว่าคดีล้มละลายเรื่องใด ย่อมหมายถึงคดีล้มละลายทุกคดีที่เกี่ยวกับเจ้าหนี้ ไม่ว่าเจ้าหนี้จะเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ ม. ก็มีอำนาจดำเนินการแทนได้และการดำเนินคดีล้มละลายนั้นหมายความรวมถึงการขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วย เมื่อ ม. เป็นตัวแทนเจ้าหนี้ในการดำเนินคดีล้มละลาย แต่ ม. กลับละเลยมิได้ขอรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้จนพ้นกำหนดสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แล้วจึงให้เจ้าหนี้มอบอำนาจใหม่ให้บุคคลอื่นมาขอรับชำระหนี้แทน และขอขยายกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ นับว่าเจ้าหนี้ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่สมควรที่จะขยายกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ให้ แม้เจ้าหนี้จะอยู่นอกราชอาณาจักรก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2548/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายภายในกำหนด มิฉะนั้นสิทธิเรียกร้องหนี้สิ้นสุด
จำเลยไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีแล้ว ต่อมาจำเลยถูกฟ้องล้มละลายและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด แม้โจทก์มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ก็ตามก็ไม่เป็นเหตุให้เพิกถอนหมายบังคับคดีนั้นได้ โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยในคดีแพ่งแต่มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายสำหรับหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ย่อมหมดสิทธิที่จะเรียกร้องหนี้ ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งจากจำเลยอีกต่อไปตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 27 และมาตรา 91 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่มีสิทธิ ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการ อายัดเงินของจำเลยไปยังบุคคลภายนอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 501/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอรับชำระหนี้จากคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการหลังพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ไม่สามารถอ้างมาตรา 93 พ.ร.บ.ล้มละลายได้
ผู้ที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้ชนะคดี มิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 93 ทั้งบทบัญญัติมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530ก็มิใช่บทยกเว้นหลักการขอรับชำระหนี้ตามกฎหมายล้มละลาย ฉะนั้นเมื่อผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้หลังจากพ้นกำหนด 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้วแม้จะยังไม่พ้นกำหนด2 เดือน นับแต่วันที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดก็ตามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ชอบที่จะไม่รับคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 346/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีล้มละลาย: การพิจารณาข้อห้ามอุทธรณ์ตามกฎหมายที่ใช้บังคับ ณ ขณะยื่นอุทธรณ์ และการส่งสำนวนกลับเพื่อวินิจฉัยสิทธิในการรับชำระหนี้
ทุนทรัพย์ที่พิพาทในศาลชั้นต้น คือ จำนวนเงินที่โจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้ การพิจารณาว่าคดีใดต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่จะต้องพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการยื่นอุทธรณ์ เมื่อโจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นเงินจำนวน 605,830.57 บาทศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้บางส่วนเป็นเงิน590,531.61 บาท โจทก์อุทธรณ์คำสั่งขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์มีสิทธิได้รับชำระหนี้เพิ่มขึ้นอีก11,798.96 บาท คดีนี้จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทในศาลชั้นต้นมีจำนวนเกินกว่าสองหมื่นบาท คดีโจทก์จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง