พบผลลัพธ์ทั้งหมด 121 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3081/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายเพื่อประโยชน์เจ้าหนี้อื่น แม้เจ้าหนี้ผู้ฟ้องไม่ขอรับชำระหนี้ ก็ไม่เป็นเหตุให้ยกฟ้อง
การฟ้องคดีล้มละลายเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ฟ้องเพื่อประโยชน์ของเจ้าหนี้รายอื่น ๆ ด้วย การที่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ไม่ขอรับชำระหนี้ก็เป็นสิทธิของเจ้าหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังมีหน้าที่ดำเนินการให้ได้ผลเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้รายอื่น ๆ และคดีไม่ปรากฎเหตุขัดข้อง แม้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ไม่ยอมชำระค่าธรรมเนียมแต่ที่ประชุมของเจ้าหนี้ก็ได้แต่งตั้งเจ้าหนี้อื่นเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์แทนแล้ว ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา156 ข้อขัดข้องย่อมหมดไปไม่มีเหตุที่จะต้องยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3620/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ไม่ทำให้หนี้ระงับสิ้นสุด ผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิด
คู่ความท้ากันให้ศาลชี้ขาดประเด็นเดียวโดยถือเป็นข้อแพ้ชนะในคดีว่าการถอนคำขอรับชำระหนี้ของจำเลยในคดีล้มละลาย จะทำให้ผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ยังคงต้องรับผิดต่อธนาคารจำเลยต่อไปหรือไม่ กรณีนี้ปรากฏว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้เคยยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายแล้ว แต่ต่อมาได้ถอนคำขอดังกล่าว เท่ากับว่าไม่เคยมีคำขอรับชำระหนี้ และเวลาก็ล่วงเลย2 เดือนไปแล้วย่อมเป็นผลให้จำเลยหมดสิทธิที่จะเรียกร้องหนี้รายนี้จากลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 27 และ 91 แต่ก็เป็นการหมดสิทธิที่จะเรียกร้องจากลูกหนี้มิใช่เป็นการที่หนี้ของลูกหนี้ระงับสิ้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 อันจะทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด ดังนั้นผู้ค้ำประกันจึงยังคงต้องรับผิดต่อธนาคารจำเลยอยู่ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันย่อมต้องแพ้คดีตามคำท้า.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3620/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการถอนคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายต่อความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
คู่ความท้ากันให้ศาลชี้ขาดประเด็นเดียวโดยถือเป็นข้อแพ้ชนะในคดีว่าการถอนคำขอรับชำระหนี้ของจำเลย ในคดีล้มละลาย จะทำให้ผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ยังคงต้องรับผิดต่อธนาคารจำเลยต่อไปหรือไม่ กรณีนี้ปรากฏว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้เคยยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายแล้ว แต่ต่อมาได้ถอนคำขอดังกล่าว เท่ากับว่าไม่เคยมีคำขอรับชำระหนี้ และเวลาก็ล่วงเลย 2 เดือนไปแล้วย่อมเป็นผลให้จำเลยหมดสิทธิที่จะเรียกร้องหนี้รายนี้จากลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 27 และ 91 แต่ก็เป็นการหมดสิทธิที่จะเรียกร้องจากลูกหนี้มิใช่เป็นการที่หนี้ของลูกหนี้ระงับสิ้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 อันจะทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด ดังนั้นผู้ค้ำประกันจึงยังคงต้องรับผิดต่อธนาคารจำเลยอยู่ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันย่อมต้องแพ้คดีตามคำท้า.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3588/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวไม่ทำให้ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้างสิ้นสุด สิทธิเรียกร้องค่าจ้างค้างจ่ายยังคงมี
การที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราวมีผลเพียงทำให้จำเลยไม่สามารถดำเนินกิจการได้ด้วยตนเองต้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ดำเนินการแทนหามีผลทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยผู้เป็นนายจ้างกับโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างต้องสิ้นสุดหรือระงับไปด้วยไม่โจทก์ยังมีฐานะเป็นลูกจ้างจำเลยอยู่การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิดำเนินกิจการแทนจำเลยปฏิเสธไม่ยอมจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยเกี่ยงให้ไปขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483ก็เป็นเพียงแจ้งให้โจทก์ไปขอรับชำระหนี้ตามกฎหมายเท่านั้นหาใช่เป็นการปฏิเสธว่าจะเลิกจ้างหรือไม่ประสงค์จะให้โจทก์ทำงานต่อไปไม่ถือไม่ได้ว่าจำเลยโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เลิกจ้างโจทก์แล้วโจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากจำเลยได้ส่วนค่าจ้างค้างจ่ายซึ่งเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวนั้นไม่ใช่หนี้ที่จะต้องยื่นขอรับชำระหนี้ตามมาตรา94แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483จึงไม่ต้องยื่นคำร้องต่อศาลก่อนตามมาตรา146แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกันเมื่อจำเลยปฏิเสธไม่จ่ายค่าจ้างค้างจ่ายโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยได้ทันที.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3588/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว ไม่ทำให้ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้างสิ้นสุด สิทธิเรียกร้องค่าจ้างค้างจ่ายยังคงมี
การที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราว มีผลเพียงทำให้จำเลยไม่สามารถดำเนินกิจการได้ด้วยตนเอง ต้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ดำเนินการแทน หามีผลทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยผู้เป็นนายจ้างกับโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างต้องสิ้นสุดหรือระงับไปด้วยไม่ โจทก์ยังมีฐานะเป็นลูกจ้างจำเลยอยู่ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิดำเนินกิจการแทนจำเลยปฏิเสธไม่ยอมจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยเกี่ยงให้ไปขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 ก็เป็นเพียงแจ้งให้โจทก์ไปขอรับชำระหนี้ตามกฎหมายเท่านั้น หาใช่เป็นการปฏิเสธว่าจะเลิกจ้างหรือไม่ประสงค์จะให้โจทก์ทำงานต่อไปไม่ ถือไม่ได้ว่าจำเลยโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เลิกจ้างโจทก์แล้ว โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากจำเลยได้ ส่วนค่าจ้างค้างจ่ายซึ่งเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวนั้น ไม่ใช่หนี้ที่จะต้องยื่นขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 จึงไม่ต้องยื่นคำร้องต่อศาลก่อนตาม มาตรา 146 แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน เมื่อจำเลยปฏิเสธไม่จ่ายค่าจ้าง ค้างจ่ายโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยได้ทันที
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2392/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้พลาดกำหนดยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ย่อมหมดสิทธิ แม้ไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายใน กำหนดเวลาตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 91 โจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ จะอ้างว่าไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดโดยสุจริตหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่แจ้งคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ให้โจทก์ทราบหาได้ไม่เพราะจะเท่ากับเป็นการขยายระยะเวลา ตามมาตรา 91 ออกไปโดยไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้ทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2392/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายล้มละลาย แม้ไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายใน กำหนดเวลาตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 91 โจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จะอ้างว่าไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดโดยสุจริตหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่แจ้งคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดให้ โจทก์ทราบหาได้ไม่ เพราะจะเท่ากับเป็นการขยายระยะเวลา ตามมาตรา 91 ออกไปโดยไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้ทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3625/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้หลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามกฎหมายล้มละลาย
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินคืนจากจำเลยที่ 1 โดยขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขาย โอนใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนจำเลยที่ 1 หากไม่สามารถทำได้ให้ใช้ราคาพร้อมค่าเสียหายซึ่งเป็นคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินโดยตรง เมื่อปรากฏว่า ศาลแพ่งได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3625/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินคืนจากจำเลยที่ 1 โดยขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขาย โอนใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนจำเลยที่ 1 หากไม่สามารถทำได้ให้ใช้ราคาพร้อมค่าเสียหายซึ่งเป็นคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินโดยตรง เมื่อปรากฏว่า ศาลแพ่งได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3396/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาในคดีล้มละลาย หากเกินกำหนดจะไม่มีสิทธิ
เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว เจ้าหนี้จะขอรับชำระหนี้ได้ก็โดยปฏิบัติตามวิธีการที่กล่าว ไว้ในกฎหมายล้มละลายเท่านั้น แม้จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเป็นเจ้าหนี้ที่ได้ฟ้องคดีแพ่งไว้แล้วแต่คดียัง อยู่ในระหว่างการพิจารณา หรือเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ ก็ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 2 เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเว้นแต่เจ้าหนี้อยู่นอกราชอาณาจักรเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขยายกำหนดเวลาให้อีกได้ไม่เกิน2 เดือน ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 27 และ 91 เมื่อเจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและมิได้อยู่นอกราชอาณาจักร ได้ ยื่นคำขอรับชำระหนี้รายนี้เกินกำหนดเวลาตามที่กฎหมายระบุ ไว้ถึง 5 เดือนเศษ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยบทบัญญัติ แห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ศาลชั้นต้นสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดโรงงานทำเฟอร์นิเจอร์ของ ลูกหนี้ที่ 2 ที่เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้รายนี้นำยึด ก็ เพราะปรากฏว่าโรงงานแห่งนั้นติดการจำนองโดยลูกหนี้ที่ 2 ได้เอาจำนองไว้แก่ธนาคารมาก่อนที่จะถูกยึด เมื่อ เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการขายทอดตลาดโรงงานที่ว่านี้อย่าง ปลอดจำนองโดยมิได้แจ้งให้ธนาคารผู้รับจำนองทราบ ย่อม เป็นการไม่ชอบ และศาลชั้นต้นคงสั่งเพิกถอนเฉพาะการ ขายทอดตลาดโรงงานดังกล่าว แต่การยึดยังมีผลอยู่ หาถูกเพิกถอนไปแต่อย่างใดไม่ จึงถือไม่ได้ว่า เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้เป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายตามนัยบทบัญญัติมาตรา 115 ที่จะให้สิทธิแก่ เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลายตามมาตรา 92 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ประกาศโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ที่ 2 เด็ดขาดในหนังสือพิมพ์รายวันและใน ราชกิจจานุเบกษาแล้ว เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ก็ต้องผูกพัน ที่จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลา 2 เดือนนับ แต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ถ้าให้เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้เกินกำหนดเวลา ดังกล่าวก็เท่ากับเป็นการขยายกำหนดเวลาตามมาตรา 91 ออกไป อาจทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่บรรดาเจ้าหนี้อื่น และลูกหนี้ ทั้งไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้ทำได้