คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1608 วรรคท้าย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกกรณีพินัยกรรมร่วมและพินัยกรรมฉบับหลัง สิทธิของผู้จัดการมรดก และการเพิกถอนพินัยกรรม
การที่ผู้ตายที่ 2 เคยทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองร่วมกับผู้ตายที่ 1 มาก่อน โดยมีข้อที่ 3 ระบุว่า พินัยกรรมฉบับนี้หากจะมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือผู้ทำพินัยกรรมคนหนึ่งคนใดจะถอนพินัยกรรมฉบับนี้ หรือทำพินัยกรรมฉบับใหม่ขึ้นจะต้องกระทำในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ทั้งสองคนและต้องแจ้งให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบเป็นลายลักษณ์อักษรด้วย ถ้าผู้ทำพินัยกรรมฉบับนี้คนหนึ่งถึงแก่ความตายไปก่อนจะแก้ไข เปลี่ยนแปลง ถอนพินัยกรรมส่วนของตน หรือทำพินัยกรรมฉบับใหม่ไม่ได้ หากทำพินัยกรรมฉบับใหม่ขึ้นจะไม่มีผลทำให้พินัยกรรมฉบับนี้ไม่มีผลบังคับแต่อย่างใด นั้น ย่อมไม่มีผลผูกพันในส่วนของผู้ตายที่ 2 เพราะถือเป็นข้อกำหนดของผู้ตายที่ 1 เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้อื่นคือผู้ตายที่ 2 ซึ่งถึงแก่ความตายภายหลัง ทั้งผู้ตายที่ 2 ผู้ทำพินัยกรรมฉบับแรกก็ได้ทำพินัยกรรมฉบับหลัง ยกทรัพย์สินแก่บุตร 7 คน รวมทั้งผู้คัดค้าน โดยไม่ปรากฏว่ามีทรัพย์สินอื่นของผู้ตายที่ 2 นอกพินัยกรรม จึงเป็นกรณีที่พินัยกรรมฉบับหลังเพิกถอนพินัยกรรมฉบับแรกเฉพาะส่วนของผู้ตายที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1693 และ 1694 ดังนี้ เมื่อผู้ร้องมิได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมฉบับหลัง ถือว่าผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมผู้ที่มิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมของผู้ตายที่ 2 เป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1608 วรรคท้าย ผู้ร้องจึงไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกในส่วนของผู้ตายที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243/2563 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1518/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมสมบูรณ์ ผู้ถูกตัดสิทธิมรดก ไม่มีสิทธิคัดค้านการจัดการมรดก
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอจัดการมรดกของผู้ตายตามพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง ผู้คัดค้านยอมรับว่าผู้ตายทำพินัยกรรมดังกล่าว แต่กล่าวอ้างข้อเท็จจริงใหม่ว่า ผู้ตายทำพินัยกรรมโดยถูกหลอก และมีการสมคบกัน ขณะทำพินัยกรรมผู้ตายมีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ ผู้ตายไม่ได้แจ้งข้อความที่ตนประสงค์ต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตพญาไท พยานในพินัยกรรมมีความสนิทสนมใกล้ชิดกับ ก. ผู้รับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม และพินัยกรรมมีพิรุธ ผู้คัดค้านจึงมีภาระการพิสูจน์ให้เห็นตามข้อกล่าวอ้างของตนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84/1 ผู้ร้องหามีหน้าที่ต้องนำเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดทำพินัยกรรมและแพทย์ผู้ออกใบรับรองแพทย์มาเป็นพยาน เมื่อได้ความว่าผู้ตายแจ้งข้อความที่ตนประสงค์ให้เจ้าหน้าที่จดต่อหน้าพยานสองคน เชื่อว่าเจ้าหน้าที่เห็นแล้วว่าผู้ตายมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์จึงทำพินัยกรรมให้ ฟังได้ว่าขณะทำพินัยกรรมผู้ตายมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ประกอบกับผู้คัดค้านไม่นำพยานหลักฐานมาสืบให้ศาลเห็นตามข้ออ้าง พยานหลักฐานผู้คัดค้านไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานผู้ร้อง เมื่อพินัยกรรมมีรายการถูกต้องครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1658 จึงสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมาย ตามพินัยกรรมข้อ 1 ระบุว่า ผู้ตายยกทรัพย์สินให้แก่ ก. และข้อ 3 ระบุว่า ได้ตัดทายาทโดยธรรมคนอื่น ๆ มิให้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านย่อมเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1608 วรรคท้าย จึงไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องคัดค้านและขอตั้งผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1713

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3738/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมถูกทำลายด้วยเหตุสุดวิสัย และสิทธิของทายาทถูกตัดสิทธิ
ผ.เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินมรดกให้แก่จำเลยเพียงผู้เดียว โจทก์เป็นทายาทโดยธรรมของ ผ. แต่โจทก์มิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมดังกล่าว จึงเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอแบ่งที่ดินมรดกของ ผ.
ผ.ได้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองยกทรัพย์มรดกให้แก่จำเลย ต่อมาพินัยกรรมดังกล่าวถูกปลวกกินทำลายไปโดยเหตุสุดวิสัย จึงชอบที่ศาลจะอนุญาตให้จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 93 (2) ซึ่งไม่อยู่ในบทบังคับที่จะต้องปฏิบัติตามมาตรา 94 วรคหนึ่ง (ก) และ (ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3738/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมถูกทำลาย - ศาลรับฟังพยานบุคคลได้ - ทายาทถูกตัดสิทธิมรดก
ผ. เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินมรดกให้แก่จำเลยเพียงผู้เดียว โจทก์เป็นทายาทโดยธรรมของ ผ. แต่โจทก์มิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมดังกล่าว จึงเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอแบ่งที่ดินมรดกของ ผ. ผ. ได้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองยกทรัพย์มรดกให้แก่จำเลย ต่อมาพินัยกรรมดังกล่าวถูกปลวกกินทำลายไปโดยเหตุสุดวิสัย จึงชอบที่ศาลจะอนุญาตให้จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) ซึ่งไม่อยู่ในบทบังคับที่จะต้องปฏิบัติตาม มาตรา 94 วรรคหนึ่ง (ก)และ(ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4639/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกทรัพย์สินให้องค์การกุศลตัดสิทธิทายาทโดยธรรม มิใช่ผู้มีส่วนได้เสีย
เมื่อข้อกำหนดในพินัยกรรมได้กำหนดให้จัดการทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ตายโดยให้ผู้จัดการมรดกบริจาคทรัพย์สินให้แก่องค์การกุศลใด ๆ ตามแต่ผู้จัดการมรดกจะเห็นสมควรเป็นการชัดแจ้งและทราบได้แน่นอนแล้วว่าต้องมอบทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ตายให้เฉพาะเพื่อองค์การกุศลเท่านั้น ข้อกำหนดพินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1706(3) และเมื่อผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่องค์การกุศลจึงต้องถือว่าผู้คัดค้านทั้งสองซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายถูกตัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย ตามมาตรา 1608 วรรคท้ายผู้คัดค้านทั้งสองย่อมไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในมรดกของผู้ตาย ไม่มีสิทธิร้องขอให้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดก ตามมาตรา 1727 หรือร้องขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1713

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4639/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกทรัพย์สินให้การกุศลตัดสิทธิทายาทโดยธรรม
เมื่อข้อกำหนดในพินัยกรรมได้กำหนดให้จัดการทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ตายโดยให้ผู้จัดการมรดกบริจาคทรัพย์สินให้แก่องค์การกุศลใด ๆ ตามแต่ผู้จัดการมรดกจะเห็นสมควรเป็นการชัดแจ้งและทราบได้แน่นอนแล้วว่าต้องมอบทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ตายให้เฉพาะเพื่อองค์การกุศลเท่านั้น ข้อกำหนดพินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1706 (3) และเมื่อผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่องค์การกุศลจึงต้องถือว่าผู้คัดค้านทั้งสองซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายถูกตัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย ตามมาตรา 1608 วรรคท้ายผู้คัดค้านทั้งสองย่อมไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในมรดกของผู้ตาย ไม่มีสิทธิร้องขอให้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดก ตามมาตรา 1727 หรือร้องขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 2เป็นผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1713

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4499/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกที่ดินให้ผู้อื่น & ผลของการทำพินัยกรรม: ที่ดินที่ยังไม่ได้จดทะเบียนยกให้ยังเป็นมรดก
ที่ดินพิพาทสองแปลงแรกเป็นทรัพย์มรดกของ ด.ผู้ตาย ดังนั้นข้อกำหนดพินัยกรรมเกี่ยวกับที่ดินพิพาททั้งสองแปลงนี้จึงมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ส่วนที่ดินพิพาทอีก 2 แปลงหลังนั้น แม้ผู้ตายจะมีความประสงค์ยกให้แก่จำเลยในปี 2520 โดยการไปยื่นคำร้องต่อสำนักงานที่ดินขอยกที่ดินสองแปลงหลังที่ขณะนั้นยังเป็นที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ซึ่งการยกที่ดินให้แก่กันต้องมีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ในนามผู้ยกให้ซึ่งเป็นเจ้าของเดิมก่อน หลังจากนั้นจึงจะดำเนินการจดทะเบียนการยกให้แก่ผู้รับในภายหลัง เมื่อยังไม่มีการจดทะเบียนยกให้ ถือว่าการยกให้ยังไม่สมบูรณ์ ตามพฤติการณ์ของผู้ตายดังกล่าวแสดงว่าผู้ตายประสงค์จะยกที่ดินพิพาทสองแปลงหลังนี้ให้แก่จำเลย โดยวิธีขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ผู้ตายจึงได้ไปดำเนินการเช่นนั้น หาใช่ผู้ตายเจตนายกให้แก่จำเลยทันทีโดยวิธีส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทแก่จำเลยไม่ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าที่ดินพิพาทสองแปลงหลังนี้ยังไม่ได้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์จนกระทั่งผู้ตายถึงแก่ความตายในปี 2522 ความประสงค์ของผู้ตายที่จะยกที่ดินพิพาทให้จำเลยจึงไม่มีผลตามกฎหมาย ที่ดินพิพาทสองแปลงหลังนี้จึงยังเป็นของผู้ตายในขณะที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย ข้อกำหนดพินัยกรรมเกี่ยวกับที่ดินสองแปลงหลังนี้จึงมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้เช่นเดียวกัน มิได้เป็นอันเพิกถอนไปตามป.พ.พ.มาตรา 1696 วรรคหนึ่ง
ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดรวมทั้งที่ดินพิพาททั้ง 4 แปลงให้แก่ ด.แต่ผู้เดียว เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาททั้ง 4 แปลง ย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ ด.ผู้รับพินัยกรรมทันที ส่วนจำเลยแม้จะเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายแต่ได้ถูกตัดมิให้ได้รับทรัพย์มรดกตาม ป.พ.พ.มาตรา 1608 วรรคท้าย จำเลยจึงไม่อยู่ในฐานะเป็นทายาทของผู้ตายที่มีสิทธิรับทรัพย์มรดก ส่วนจำเลยร่วมเป็นบุตรของ ผ. มิใช่ทายาทโดยธรรมของผู้ตาย ดังนั้น จำเลยและจำเลยร่วมจึงไม่มีสิทธิยกอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1755 ขึ้นต่อสู้ ด.ผู้รับพินัยกรรมรวมทั้งไม่มีสิทธิยกอายุความดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทและเป็นผู้รับมรดกจาก ด.เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4499/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรม, มรดก, การยกทรัพย์สิน, อายุความ, สิทธิทายาท
ที่ดินพิพาทสองแปลงแรกเป็นทรัพย์มรดกของ ด.ผู้ตาย ดังนั้น ข้อกำหนดพินัยกรรมเกี่ยวกับที่ดินพิพาททั้งสองแปลงนี้จึงมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้ตามกฎหมายส่วนที่ดินพิพาทอีก 2 แปลงหลังนั้น แม้ผู้ตายจะมีความประสงค์ยกให้แก่จำเลยในปี 2520 โดยการไปยื่นคำร้องต่อสำนักงานที่ดินขอยกที่ดินสองแปลงหลังที่ขณะนั้นยังเป็นที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ซึ่งการยกที่ดินให้แก่กันต้องมีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ในนามผู้ยกให้ซึ่งเป็นเจ้าของเดิมก่อน หลังจากนั้นจึงจะดำเนินการจดทะเบียนการยกให้แก่ผู้รับในภายหลัง เมื่อยังไม่มีการจดทะเบียนยกให้ ถือว่าการยกให้ยังไม่สมบูรณ์ ตามพฤติการณ์ของผู้ตายดังกล่าวแสดงว่าผู้ตายประสงค์จะยกที่ดินพิพาททั้งสองแปลงหลังนี้ให้แก่จำเลย โดยวิธีขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ผู้ตายจึงได้ไปดำเนินการเช่นนั้น หาใช่ผู้ตายเจตนายกให้แก่จำเลยทันทีโดยวิธีส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทแก่จำเลยไม่ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าที่ดินพิพาททั้งสองแปลงหลังนี้ยังไม่ได้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์จนกระทั่งผู้ตายถึงแก่ความตายในปี 2522ความประสงค์ของผู้ตายที่จะยกที่ดินพิพาทให้จำเลยจึงไม่มีผลตามกฎหมาย ที่ดินพิพาทสองแปลงหลังนี้จึงยังเป็นของผู้ตายในขณะที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย ข้อกำหนดพินัยกรรมเกี่ยวกับที่ดินสองแปลงหลังนี้จึงมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้เช่นเดียวกันมิได้เป็นอันเพิกถอนไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1696 วรรคหนึ่ง ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดรวมทั้งที่ดินพิพาททั้ง 4 แปลง ให้แก่ ด. แต่ผู้เดียว เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาททั้ง 4 แปลง ย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ ด. ผู้รับพินัยกรรมทันที ส่วนจำเลยแม้จะเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายแต่ได้ถูกตัดมิให้ได้รับทรัพย์มรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1608 วรรคท้ายจำเลยจึงไม่อยู่ในฐานะเป็นทายาทของผู้ตายที่มีสิทธิรับทรัพย์มรดก ส่วนจำเลยร่วมเป็นบุตรของ ผ. มิใช่ทายาทโดยธรรมของผู้ตาย ดังนั้น จำเลยและจำเลยร่วมจึงไม่มีสิทธิยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1755 ขึ้นต่อสู้ ด. ผู้รับพินัยกรรมรวมทั้งไม่มีสิทธิยกอายุความดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทและเป็นผู้รับมรดกจาก ด. เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5070/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนมรดกตามพินัยกรรมเกินขนาดที่ดิน และการฟ้องขับไล่จากผู้ซื้อสิทธิในมรดก
คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224วรรคสอง การที่จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ทราบดีว่าที่ดินพิพาทมีคดีจนสู่ศาลฎีกาการรับโอนที่ดินจากการซื้อขายมาเป็นของโจทก์แล้วฟ้องขับไล่จำเลย จึงมิได้เป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตนั้น เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง และการกระทำใดสุจริตหรือไม่เป็นข้อเท็จจริงและมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้จึงชอบแล้ว
พินัยกรรมระบุเนื้อที่ดินตามที่ปรากฏในโฉนด และกำหนดจำนวนเนื้อที่ของผู้รับพินัยกรรมแต่ละคนไว้ชัดแจ้งแน่นอน แม้เจ้ามรดกจะระบุเนื้อที่ที่ดินที่ยกให้โดยพินัยกรรมมากกว่าที่เจ้ามรดกมีอยู่ก็ตาม ก็ยังมีผลในส่วนของเจ้ามรดกโดยส่วนแบ่งของผู้รับพินัยกรรมก็ต้องลดลงตามสัดส่วนที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกให้นั้น พินัยกรรมไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1706 (3) จึงไม่เป็นโมฆะ เมื่อเจ้ามรดกไม่ได้ระบุให้แบ่งให้แก่จำเลย จำเลยย่อมไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกนั้น เมื่อโจทก์ได้ซื้อที่ดินเฉพาะส่วนของ ส. ที่มีสิทธิได้รับตามพินัยกรรมจากส. โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
of 2