พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3292/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกและการตัดสิทธิทายาทโดยธรรมเนื่องจากพินัยกรรม
ตามพินัยกรรมเอกสารหมาย ค.9 และ ค.11 ทั้งสองฉบับกำหนดให้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก และให้ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้รับมรดกทั้งหมดของผู้ตายแต่เพียงผู้เดียว แม้จะฟังว่าพินัยกรรม เอกสารหมาย ค.11 ไม่มีผลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1686 เพราะมีข้อกำหนดในการก่อตั้งทรัสต์ขึ้นก็ตาม พินัยกรรมฉบับนี้ย่อมไม่มีผลเป็นการเพิกถอนพินัยกรรมตามเอกสารหมาย ค.9 ซึ่งไม่มีข้อกำหนดในการก่อตั้งทรัสต์ขึ้น ทั้งไม่ปรากฎว่าคู่ความได้โต้แย้งว่าเป็นพินัยกรรมที่ไม่สมบูรณ์ใช้บังคับไม่ได้แต่อย่างใด พินัยกรรมตามเอกสารหมาย ค.9 จึงสมบูรณ์ใช้บังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อพินัยกรรมดังกล่าวกำหนดให้ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้รับมรดกทั้งหมดของผู้ตายแต่เพียงผู้เดียวเช่นนี้ย่อมต้องถือว่าผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายผู้ที่มิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1608 วรรคท้าย ผู้ร้องทั้งสองจึงเป็นทายาทที่ไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตายย่อมไม่มีอำนาจที่จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้ร้องทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคหนึ่ง จึงมีเหตุสมควรที่จะถอนผู้ร้องทั้งสองออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ตามประมวลกฎหมายแพ่ง-และพาณิชย์ มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง
ปัญหาว่ามีเหตุที่จะตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ ปรากฎว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ได้ดำเนินการโอนเงินของผู้ตายซึ่งมีอยู่ในธนาคารในประเทศไทยไปเข้ากองมรดกของผู้ตายหมดแล้ว และหุ้นของผู้ตายในบริษัทในประเทศไทย บริษัทดังกล่าวก็ถูกพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว จึงไม่มีทรัพย์สินของผู้ตายในประเทศไทยให้จัดการมรดกได้ ผู้คัดค้านที่ 1 เชื่อว่าไม่มีความจำเป็นแล้วที่จะมีผู้จัดการมรดกของผู้ตายในประเทศไทย ดังนี้ เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 ยืนยันชัดแจ้งว่า ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีผู้จัดการมรดกของผู้ตายในประเทศไทย ย่อมไม่มีเหตุที่จะตั้งให้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
ปัญหาว่ามีเหตุที่จะตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ ปรากฎว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ได้ดำเนินการโอนเงินของผู้ตายซึ่งมีอยู่ในธนาคารในประเทศไทยไปเข้ากองมรดกของผู้ตายหมดแล้ว และหุ้นของผู้ตายในบริษัทในประเทศไทย บริษัทดังกล่าวก็ถูกพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว จึงไม่มีทรัพย์สินของผู้ตายในประเทศไทยให้จัดการมรดกได้ ผู้คัดค้านที่ 1 เชื่อว่าไม่มีความจำเป็นแล้วที่จะมีผู้จัดการมรดกของผู้ตายในประเทศไทย ดังนี้ เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 ยืนยันชัดแจ้งว่า ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีผู้จัดการมรดกของผู้ตายในประเทศไทย ย่อมไม่มีเหตุที่จะตั้งให้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3292/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรม, การตัดทายาท, ผู้จัดการมรดก, การไม่มีส่วนได้เสีย, การเพิกถอนคำสั่งศาล
ตามพินัยกรรมเอกสารหมายค.9และค.11ทั้งสองฉบับกำหนดให้ผู้คัดค้านที่1เป็นผู้จัดการมรดกและให้ผู้คัดค้านที่2เป็นผู้รับมรดกทั้งหมดของผู้ตายแต่เพียงผู้เดียวแม้จะฟังว่าพินัยกรรมเอกสารหมายค.11ไม่มีผลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1686เพราะมีข้อกำหนดในการก่อตั้งทรัสต์ขึ้นก็ตามพินัยกรรมฉบับนี้ย่อมไม่มีผลเป็นการเพิกถอนพินัยกรรมตามเอกสารหมายค.9ซึ่งไม่มีข้อกำหนดในการก่อตั้งทรัสต์ขึ้นทั้งไม่ปรากฏว่าคู่ความได้โต้แย้งว่าเป็นพินัยกรรมที่ไม่สมบูรณ์ใช้บังคับไม่ได้แต่อย่างใดพินัยกรรมตามเอกสารหมายค.9จึงสมบูรณ์ใช้บังคับได้ตามกฎหมายเมื่อพินัยกรรมดังกล่าวกำหนดให้ผู้คัดค้านที่2เป็นผู้รับมรดกทั้งหมดของผู้ตายแต่เพียงผู้เดียวเช่นนี้ย่อมต้องถือว่าผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายผู้ที่มิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1608วรรคท้ายผู้ร้องทั้งสองจึงเป็นทายาทที่ไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตายย่อมไม่มีอำนาจที่จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้ร้องทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1713วรรคหนึ่งจึงมีเหตุสมควรที่จะถอนผู้ร้องทั้งสองออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1727วรรคหนึ่ง ปัญหาว่ามีเหตุที่จะตั้งผู้คัดค้านที่1เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านที่1ได้ดำเนินการโอนเงินของผู้ตายซึ่งมีอยู่ในธนาคารในประเทศไทยไปเข้ากองมรดกของผู้ตายหมดแล้วและหุ้นของผู้ตายในบริษัทในประเทศไทยบริษัทดังกล่าวก็ถูกพิพากษาให้ล้มละลายแล้วจึงไม่มีทรัพย์สินของผู้ตายในประเทศไทยให้จัดการมรดกได้ผู้คัดค้านที่1เชื่อว่าไม่มีความจำเป็นแล้วที่จะมีผู้จัดการมรดกของผู้ตายในประเทศไทยดังนี้เมื่อผู้คัดค้านที่1ยืนยันชัดแจ้งว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีผู้จัดการมรดกของผู้ตายในประเทศไทยย่อมไม่มีเหตุที่จะตั้งให้ผู้คัดค้านที่1เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2236/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: ผู้มีสิทธิ vs. ผู้คัดค้าน กรณีพินัยกรรมเป็นข้อพิพาท
คำร้องของผู้ร้องและของผู้คัดค้านที่ขอให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ต่างก็อ้างเหตุว่าเป็นทายาทโดยธรรม โดยเป็นบุตรของผู้ตายเช่นกัน ประเด็นพิพาทจึงมีเพียงว่าสมควรตั้งผู้ร้องหรือผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ คดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าพินัยกรรมเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ จึงไม่สมควรให้ส่งพินัยกรรมของผู้ร้องไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ เมื่อคำร้องของผู้ร้องและผู้คัดค้านไม่ปรากฏว่า นอกจากที่ดินตาม น.ส.3 ก. อันเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ผู้ร้องอ้างว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกให้ พ. แล้ว ผู้ตายยังมีทรัพย์มรดกอื่นอีกหรือไม่การที่ผู้คัดค้านอ้างว่าพินัยกรรมเป็นเอกสารปลอม เมื่อผู้คัดค้านไม่ใช่ฝ่ายเริ่มคดีขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย และศาลไม่ได้ประกาศนัดไต่สวนคำร้องคัดค้านของผู้คัดค้าน ทำให้ พ.ไม่ได้มาเป็นคู่ความในคดี ซึ่ง พ. อาจมีข้อโต้เถียงว่าพินัยกรรมของผู้ตายไม่ใช่เอกสารปลอม และคดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทที่จะให้ศาลวินิจฉัยว่าพินัยกรรมของผู้ตายเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ จึงไม่มีเหตุสมควรตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1921/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมตัดสิทธิทายาทโดยธรรม: ผู้ถือหุ้นบริษัท ส. มีสิทธิรับมรดก ผู้ร้องไม่มีส่วนได้เสีย
พินัยกรรมข้อ 1 ระบุว่า เจ้ามรดกยกอสังหาริมทรัพย์สังหาริมทรัพย์ เงินสดทรัพย์สินอื่น ๆ รวมทั้งสิทธิทั้งหลายให้แก่ผู้มีชื่อถือหุ้นในบริษัท ส. ผู้ร้องไม่มีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ส. ถึงแม้จะเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก ก็ต้องถือว่าถูกตัดมิให้รับมรดกโดยพินัยกรรมดังกล่าว และตามพินัยกรรมข้อ 4 ที่ให้นำเงินปันผลไปทำบุญทำทานและเกื้อกูลบุตรหลานที่ไม่มีชื่อถือหุ้นในบริษัท ส. ก็มิใช่เป็นเรื่องกำหนดให้บุตรหลานที่ไม่มีชื่อถือหุ้นมีสิทธิได้รับมรดกแต่ประการใด จึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียในกองมรดก ดังนั้น ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้ถอนผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1921/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมตัดสิทธิทายาทโดยธรรม: ผู้ถือหุ้นบริษัทส.เท่านั้นที่ได้รับมรดก ผู้ร้องไม่มีสิทธิเรียกร้อง
พินัยกรรมข้อ 1 ระบุว่า เจ้ามรดกยกอสังหาริมทรัพย์ สังหาริมทรัพย์ เงินสดทรัพย์อื่น ๆ รวมทั้งสิทธิทั้งหลาย ให้แก่ผู้มีชื่อถือหุ้นในบริษัท ส. ผู้ร้องไม่มีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ส. ถึงแม้จะเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก ก็ต้องถือว่า ถูกตัดมิให้รับมรดกโดยพินัยกรรมดังกล่าว และตามพินัยกรรมข้อ 4 ที่ให้นำเงินปันผลไปทำบุญทำทานและเกื้อกูลบุตร หลานที่ไม่มีชื่อถือหุ้นในบริษัท ส. ก็มิใช่เป็นเรื่องกำหนดให้บุตรหลานที่ไม่มีชื่อถือหุ้นมีสิทธิได้รับมรดกแต่ประการใด จึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องมีส่วนได้ส่วนเสียในกองมรดก ดังนั้น ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้ถอนผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลพินัยกรรมตัดสิทธิทายาทโดยธรรมและข้อจำกัดเรื่องอายุความเรียกร้อง
ผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินของผู้ตายให้แก่บุคคลอื่นแต่ผู้เดียวทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก จึงถูกตัดมิให้รับมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1608 วรรคท้าย ฉะนั้นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก จึงไม่อยู่ในฐานะที่เป็นทายาทของผู้ตายตาม มาตรา 1755จะอ้างอายุความ 1 ปีตามมาตรา 1754 มายันกับผู้รับพินัยกรรมในทรัพย์สินนั้นไม่ได้
เคยพิพาทกันถึงเรื่องพินัยกรรม ศาลได้พิพากษาว่าพินัยกรรมนั้นสมบูรณ์และคดีถึงที่สุดแล้วต่อมามีข้อพิพาทเกี่ยวกับพินัยกรรมฉบับเดียวกันนั้นศาลต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลได้ชี้ขาดมาแล้วในคดีก่อน
เคยพิพาทกันถึงเรื่องพินัยกรรม ศาลได้พิพากษาว่าพินัยกรรมนั้นสมบูรณ์และคดีถึงที่สุดแล้วต่อมามีข้อพิพาทเกี่ยวกับพินัยกรรมฉบับเดียวกันนั้นศาลต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลได้ชี้ขาดมาแล้วในคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตัดสิทธิทายาทโดยธรรมตามพินัยกรรม และอายุความในการเรียกร้องมรดกของผู้รับพินัยกรรม
ผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินของผู้ตายได้แก่บุคคลอื่น แต่ผู้เดียวทายาทโดยธรรมของเจ้ามฤดกจึงถูกตัดมิให้รับมฤดก ตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1608 วรรคท้าย ฉะนั้นทายาทโดยธรรมของเจ้ามฤดกจึงไม่อยู่ในฐานะที่เป็นทายาทของผู้ตายตาม ม. 1755 จะอ้างอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 1754 มายันกับผู้รับพินัยกรรม์ในทรัพย์สินนั้นไม่ได้
เคยพิพาทกันถึงเรื่องพินัยกรรม์ ศาลได้พิพากษาว่าพินัยกรรม์นั้นสมบูรณ์ และคดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมามีข้อพิพาทเกี่ยวกับพินัยกรรม์ฉะบับเดียวกันนั้น ศาลต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลได้ชี้ขาดมาแล้วในคดีก่อน./
เคยพิพาทกันถึงเรื่องพินัยกรรม์ ศาลได้พิพากษาว่าพินัยกรรม์นั้นสมบูรณ์ และคดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมามีข้อพิพาทเกี่ยวกับพินัยกรรม์ฉะบับเดียวกันนั้น ศาลต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลได้ชี้ขาดมาแล้วในคดีก่อน./