คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 96 (3)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2798/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมรวบรวมทรัพย์สินล้มละลาย: ความรับผิดของผู้ขอรับชำระหนี้ที่ถอนคำขอ
เมื่อผู้ร้องมิได้เป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ แม้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เดิมจะขอถอนคำขอรับชำระหนี้และผู้คัดค้านอนุญาตให้ถอนไปแล้วก็ตาม แต่อยู่ในระหว่างผู้คัดค้านนัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแต่งตั้งเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ใหม่แทนโจทก์เดิม ซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ยังมิได้พิจารณาแต่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ เนื่องจากผู้ร้องขอถอนคำขอรับชำระหนี้ไปเสียก่อนอันเป็นสิทธิของผู้ร้องที่จะกระทำได้ โจทก์เป็นผู้นำผู้คัดค้านไปทำการยึดออกขายทอดตลาดในการรวบรวมทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย ผู้ร้องมิได้เป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์และมีส่วนได้เสียโดยตรงในการนำยึดที่ดินดังกล่าวแต่ประการใด ผู้ร้องจึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียม
ส่วนทรัพย์หลักประกันของผู้ร้อง ในการขอรับชำระหนี้ผู้ร้องขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 96 (3) โดยขอให้ผู้คัดค้านขายทอดตลาดทรัพย์อันเป็นหลักประกันดังกล่าวก่อนแล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ ผู้ร้องจึงมีส่วนได้เสียโดยตรงในทรัพย์หลักประกันดังกล่าว และเป็นผู้นำผู้คัดค้านไปทำการยึด แม้ผู้คัดค้านจะมีหมายนัดให้ผู้ร้องไปทำการยึดและเป็นอำนาจของผู้คัดค้านในการรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 ด้วยก็ตาม แต่ก็เป็นความประสงค์ของผู้ร้องที่ขอบังคับชำระหนี้ด้วยการขอให้ผู้คัดค้านยึดหลักประกันดังกล่าวขายทอดตลาดตามคำขอรับชำระหนี้มาตั้งแต่ต้น เมื่อทรัพย์ดังกล่าวไม่มีการขายหรือจำหน่ายเนื่องจากผู้ร้องขอถอนคำขอรับชำระหนี้ ผู้ร้องจึงต้องรับผิดในค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินสำหรับทรัพย์สินที่ไม่มีการขายหรือจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 179 (4) ทั้งนี้เพราะผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ผู้ขอบังคับคดีซึ่งมีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 153 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1834/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้และการบังคับคดีจำนอง: สิทธิเจ้าหนี้ในการรับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองแม้หนี้ขาดอายุความ
เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 3 เมื่อสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ในมูลหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีขาดอายุความ อย่างไรก็ตามในมูลหนี้ดังกล่าวลูกหนี้ที่ 3 ได้นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจดทะเบียนจำนองเป็นประกันการชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้ และ ป. เจ้าหนี้อื่นในคดีแพ่งได้นำยึดทรัพย์จำนองดังกล่าวไว้แล้ว ต่อมาเจ้าหนี้ในคดีนี้จึงยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ในคดีแพ่งดังกล่าว และศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว สิทธิของเจ้าหนี้ที่จะได้รับชำระหนี้ในจำนวนเท่ากับสิทธิของเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองที่มีการบังคับคดีแล้วย่อมได้รับการคุ้มครอง โดยมีสิทธิได้รับชำระหนี้ภายในวงเงินจำนองพร้อมดอกเบี้ยจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ส่วนหากว่าขายทอดตลาดทรัพย์จำนองแล้วได้เงินสุทธิน้อยกว่าจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ เมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อพ้นกำหนดอายุความจึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ในส่วนที่ขาดจากการบังคับจำนองอันเป็นหนี้สามัญด้วยแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1198/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้รับจำนองในคดีล้มละลาย แม้หนี้ขาดอายุความ ยังมีสิทธิบังคับจำนองได้ภายในวงเงินจำนอง
เจ้าหนี้อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกันของลูกหนี้โดยเป็นผู้มีสิทธิเหนือที่ดินโฉนดเลขที่ 74181, 58539 และ 58540 ตำบลโคกสูง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ของลูกหนี้ในทางจำนอง แม้จะได้ความว่าหนี้ประธานของเจ้าหนี้ขาดอายุความแล้ว แต่เจ้าหนี้ยังคงมีสิทธิที่จะบังคับชำระหนี้ในฐานะผู้รับจำนอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 745 จากราคาทรัพย์จำนองของลูกหนี้ภายในวงเงินจำนอง แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระย้อนหลังนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเกินกว่า 5 ปีไม่ได้ ตามมาตรา 193/27 ประกอบมาตรา 745 การที่เจ้าหนี้ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ เท่ากับว่าเจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามบุริมสิทธิจำนองในลำดับสองจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อปรากฏว่าธนาคาร ก. เป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองลำดับหนึ่งและเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ ธ. 2770/2548 ของศาลแพ่ง ซึ่งพิพากษาให้ลูกหนี้ชำระหนี้จำนองลำดับหนึ่งโดยเจ้าหนี้ผู้รับจำนองลำดับหนึ่งได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 96 (3) ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติตามคำสั่งกรมบังคับคดีที่ 81/2554 โดยแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการบังคับคดีแพ่งต่อไปและให้ผู้รับจำนองลำดับหนึ่งได้รับชำระหนี้บุริมสิทธิการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในคดีดังกล่าวก่อนเจ้าหนี้อื่น แล้วส่งเงินส่วนที่เหลือจากการชำระหนี้แก่ผู้รับจำนองลำดับหนึ่งเข้ามาในคดีล้มละลาย ดังนี้ถือว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ปฏิบัติการแทนตามนัยมาตรา 6 นิยาม "เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์" และมาตรา 112 อันเป็นการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15158/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้กู้ยืมและการบังคับจำนอง: สิทธิเจ้าหนี้แม้หนี้ขาดอายุความ
เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้กู้ยืมและจำนองจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 96 (3) จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนอง แต่ตามสัญญากู้ยืมเงินที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้ดังกล่าวปรากฏว่า เป็นสัญญาที่มีข้อตกลงชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ จึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (2) และเจ้าหนี้ไม่มีหลักฐานว่าลูกหนี้ที่ 1 ผิดนัดเมื่อใด แม้เจ้าหนี้จะอ้างว่าในตอนที่รับโอนหนี้มาจากเจ้าหนี้เดิมจะไม่มีดอกเบี้ยค้างชำระและเงินต้นน้อยกว่าสัญญาก็ตาม แต่พยานหลักฐานของเจ้าหนี้มีเพียงเอกสารการคำนวณภาระหนี้ของเจ้าหนี้ที่เจ้าหนี้จัดทำขึ้นเอง โดยไม่มีหลักฐานว่าลูกหนี้นำเงินไปชำระให้แก่เจ้าหนี้เดิมเมื่อใด อย่างไร การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ฟังว่าลูกหนี้ที่ 1 ผิดนัดตั้งแต่งวดแรก (วันที่ 2 มีนาคม 2539) จึงชอบแล้ว เมื่อเจ้าหนี้นำหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินมายื่นคำขอรับชำระหนี้ในวันที่ 20 ตุลาคม 2551 สิทธิเรียกร้องในหนี้กู้ยืมเงินจึงขาดอายุความแล้ว และการขาดอายุความในส่วนของหนี้กู้ยืมเงินถือว่าหนี้กู้ยืมเงินขาดอายุความทั้งหมด มิใช่เพียงส่วนที่เกิน 5 ปี แต่ในส่วนหนี้จำนองนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 745 บัญญัติให้ผู้รับจำนองบังคับจำนองได้แม้หนี้ที่ประกันขาดอายุความ แต่จะบังคับดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่า 5 ปี ไม่ได้ ดังนั้น แม้หนี้ประธานตามสัญญากู้ยืมเงินจะขาดอายุความ แต่เจ้าหนี้ยังคงมีสิทธิบังคับจำนองได้ ซึ่งตามคำสั่งของศาลแพ่งในคดีที่เจ้าหนี้ไปยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น ศาลมีคำสั่งให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของลูกหนี้ที่ 1 ในต้นเงิน 427,449.64 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 14.3 ต่อปี แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระย้อนหลังนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาดเกินกว่า 5 ปี ไม่ได้ ดังนั้น แม้ลูกหนี้ที่ 1 จะถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าหนี้จึงไม่เสียสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองของลูกหนี้ที่ 1 หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมทรัพย์ดังกล่าวเข้าสู่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4083/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละหลักทรัพย์ในคดีล้มละลาย และหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์เมื่อไม่มีการขายทอดตลาด
การที่ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 อย่างเจ้าหนี้มีประกัน ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 96 (3) คือ ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ ซึ่งผู้ร้องก็ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์หลักประกันคือที่ดินโฉนดเลขที่ 10576 ไว้ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 12/2542 ของศาลจังหวัดชลบุรี อันเป็นไปตามความประสงค์ในคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้องและศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้แล้ว การที่ต่อมาผู้ร้องยื่นคำร้องขอสละหลักทรัพย์คือที่ดินแปลงดังกล่าวก็เป็นเพราะที่ดินมีสภาพเป็นถนน ประกาศขายทอดตลาดหลายครั้งแต่ขายทอดตลาดไม่ได้ เห็นได้ถึงความประสงค์ที่แท้จริงของผู้ร้องว่าต้องการที่จะไม่ดำเนินการกับที่ดินแปลงดังกล่าวอีกต่อไป ซึ่งก็หมายถึงถอนการยึดทรัพย์หลักประกันนั่นเอง ประกอบกับที่ประชุมเจ้าหนี้พิจารณาแล้วเห็นว่าการจะรวบรวมที่ดินแปลงดังกล่าวแล้วนำออกขายทอดตลาดย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใดแก่กองทรัพย์สิน มีแต่จะก่อภาระแก่กองทรัพย์สินจึงไม่ประสงค์จะดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินแปลงดังกล่าว กล่าวคือบรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 145 (1) และ (3) โดยการสละสิทธิในที่ดินแปลงดังกล่าว ผู้ร้องย่อมต้องมีหน้าที่รับผิดชอบในส่วนค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายและค่าใช้จ่ายในการบังคับคดี หาใช่เป็นภาระของกองทรัพย์สินของลูกหนี้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18801/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับหนี้จากการรับชำระหนี้ด้วยการโอนสิทธิเรียกร้อง ต้องมีการชำระหนี้จริง จึงจะถือว่าหนี้ระงับ
การระงับไปแห่งหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคหนึ่ง ด้วยการที่เจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ จะถือว่าหนี้นั้นระงับก็ต่อเมื่อเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้แล้วเท่านั้น ตามสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินของลูกหนี้ที่ 2 มิได้ระบุว่าหนี้ที่ลูกหนี้ที่ 2 มีอยู่กับเจ้าหนี้ ได้ระงับลงทั้งหมดหรือบางส่วนในทันทีที่ทำหนังสือโอนสิทธิเรียกร้อง แต่มีข้อตกลงว่าหากมีความเสียหายเกิดขึ้นจากการรับโอนสิทธิเรียกร้อง ลูกหนี้ที่ 2 ยอมให้เจ้าหนี้เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้ เมื่อไม่ปรากฏพยานหลักฐานว่าเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ตามสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องเพื่อชำระหนี้ที่เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ การที่เจ้าหนี้ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ที่ 2 จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ด้วยเงิน เมื่อลูกหนี้ดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนอื่นที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 2 เด็ดขาด และไม่ต้องห้ามมิให้ได้รับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94 เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 799/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้มีประกันได้รับชำระหนี้จากเงินจากการขายทอดตลาดที่ดินจำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น
คำสั่งของศาลล้มละลายกลางที่ยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งของผู้คัดค้านที่ให้ผู้ร้องคืนเงินจำนวน 47,651 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 ไม่ใช่คำสั่งซึ่งอยู่ในข้อยกเว้นที่ให้อุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 24 วรรคสอง อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ แต่เนื่องจากมีกรณีจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาดอาศัยอำนาจตามมาตรา 26 วรรคสี่ ศาลฎีกาเห็นสมควรรับพิจารณาพิพากษาตามอุทธรณ์ของผู้ร้องได้
เงินที่ผู้คัดค้านมีคำสั่งให้ผู้ร้องคืนแก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 เป็นเงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ริบ เนื่องจากผู้ซื้อผิดสัญญาไม่ชำระค่าที่ดินที่ซื้อได้จากการขายทอดตลาดที่ดินของลูกหนี้ที่ 1 ซึ่งจำนองแก่ผู้ร้อง เงินมัดจำที่ถูกริบดังกล่าวย่อมเป็นเงินที่ได้จากการเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดเพื่อใช้หนี้จำนองนั้นซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 732 บัญญัติให้จัดใช้เงินสุทธิดังกล่าวแก่ผู้รับจำนองเรียงตามลำดับ และถ้ายังมีเงินเหลืออยู่อีกก็ให้ส่งมอบแก่ผู้จำนอง เมื่อผู้คัดค้านโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีได้นำที่ดินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดใหม่อีกครั้งหนึ่งได้ราคาเมื่อรวมกับเงินมัดจำที่ริบดังกล่าวไม่เพียงพอชำระหนี้จำนองแก่ผู้ร้องซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นในฐานะเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 96 (3) จึงไม่มีเงินเหลือที่จะให้ส่งมอบแก่ลูกหนี้ที่ 1 ผู้จำนองอีก การที่ผู้คัดค้านมีคำสั่งให้ผู้ร้องคืนเงินมัดจำดังกล่าวเพื่อนำเข้าเป็นกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 799/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้จำนองในการได้รับชำระหนี้จากเงินขายทอดตลาดก่อนเจ้าหนี้อื่น แม้มีการพิทักษ์ทรัพย์
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้จำนองตามคำพิพากษาของลูกหนี้ที่ 1 ในคดีแพ่งซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีได้นำที่ดินจำนองพร้อมสิ่งปลูกสร้างของลูกหนี้ที่ 1 ออกขายทอดตลาดแล้วแต่ผู้ซื้อผิดสัญญาไม่ชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือ เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีคำสั่งริบมัดจำจำนวน 47,651 บาท ของผู้ซื้อและจ่ายชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้องแล้ว เงินมัดจำที่ถูกริบดังกล่าวย่อมเป็นเงินที่ได้จากการเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดเพื่อใช้หนี้จำนองนั้น ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 732 บัญญัติให้จัดใช้เงินจำนวนสุทธิดังกล่าวแก่ผู้รับจำนองเรียงตามลำดับและถ้ายังมีเงินเหลืออยู่อีกก็ให้ส่งมอบแก่ผู้จำนองต่อมาเมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาดและผู้คัดค้านโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีได้นำที่ดินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดใหม่แล้วปรากฏว่าเงินสุทธิที่ได้จากการขายทอดตลาดใหม่รวมกับเงินมัดจำที่ริบดังกล่าวไม่เพียงพอชำระหนี้จำนองแก่ผู้ร้อง จึงไม่มีเงินเหลือที่จะให้ส่งมอบแก่ลูกหนี้ที่ 1 ผู้จำนองอีก การที่ผู้คัดค้านมีคำสั่งให้ผู้ร้องคืนเงินมัดจำดังกล่าวเพื่อนำเข้าสู่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 ย่อมกระทบถึงสิทธิของผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้มีประกันซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินจำนองดังกล่าวก่อนเจ้าหนี้อื่นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 96 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1679/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมในคดีล้มละลาย และสิทธิเจ้าหนี้มีประกัน
ลูกหนี้ทั้งสองผิดนัดชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่งตั้งแต่งวดแรกวันที่ 8 กรกฎาคม 2537 เจ้าหนี้จึงอาจบังคับสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาตามยอมได้นับแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2537 เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2547 จึงพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องนั้นได้แล้ว ทั้งการที่เจ้าหนี้ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์จำนองของลูกหนี้ที่ 1 ภายในกำหนดระยะเวลา 10 ปี และลูกหนี้ที่ 1 ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้ที่ประชุมเจ้าหนี้พิจารณาลดยอดหนี้เพื่อขอไถ่ถอนจำนองนั้น ก็มิใช่เป็นการกระทำอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีหรือเป็นการรับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) และ (5) ดังนั้น มูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวจึงขาดอายุความและถือเป็นหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 94 (1)
เจ้าหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันในทรัพย์จำนองของลูกหนี้ที่ 1 ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองแล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 96 (3) แม้หนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้ว เจ้าหนี้ก็ยังคงมีทรัพยสิทธิบังคับชำระหนี้จากราคาทรัพย์จำนองของลูกหนี้ที่ 1 ภายในวงเงินจำนอง แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระย้อนหลังนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาดเกินกว่าห้าปีไม่ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/27 ประกอบมาตรา 745

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6722/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้มีประกันเลือกใช้สิทธิได้ตามมาตรา 95 หรือ 96 หากใช้สิทธิแล้วสิทธิเดิมสิ้นสุด
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 95 และ 96 แสดงให้เห็นว่าเจ้าหนี้มีประกันมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ 2 วิธี วิธีแรก เจ้าหนี้มีประกันใช้สิทธิตามมาตรา 95 โดยถือสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันโดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แต่ต้องยอมให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจดูทรัพย์สินนั้น ดังนี้ กำหนดเวลาให้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายใน 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามมาตรา 91 จึงไม่มี และหากบังคับชำระหนี้เหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ เจ้าหนี้มีประกันย่อมหมดสิทธิขอรับชำระหนี้ที่ยังขาดอยู่จากทรัพย์สินอื่นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย วิธีที่สอง โดยเจ้าหนี้มีประกันอาจขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายภายใต้เงื่อนไขมาตรา 96 ซึ่งมีอยู่ 4 ประการในประการใดประการหนึ่ง
ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 (3) หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้วได้เงินมายังไม่พอชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องย่อมมีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ และการขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 ต้องยื่นภายใน 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามมาตรา 91
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 95 และ 96 แยกให้เห็นข้อแตกต่างในวิธีการขอรับชำระหนี้และข้อแตกต่างในผลของการใช้สิทธิมาตราใดมาตราหนึ่ง เจ้าหนี้มีประกันชอบที่จะเลือกใช้สิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 95 หรือมาตรา 96 มาตราใดมาตราหนึ่งเท่านั้น เมื่อผู้ร้องเลือกใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 (3) แล้ว ผู้ร้องย่อมหมดสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามมาตรา 95 อีกต่อไป
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 95 เจ้าหนี้มีประกันไม่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย เพียงแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบว่าจะถือเอาสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็น หลักประกันและจะต้องยอมให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าตรวจดูทรัพย์สินเท่านั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจออกคำสั่งว่าให้ได้รับชำระหนี้หรือไม่ ดังนั้น คำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านในคดีนี้ที่เคยอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 95 จึงไม่ถูกต้องแม้จะกลับมามีคำสั่งใหม่เป็นว่า ไม่อนุญาตในภายหลังซึ่งล่วงเลยมาเป็นเวลาเกือบ 10 ปี คำสั่งของผู้คัดค้านในครั้งก่อนและในครั้งหลังจึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงสิทธิของผู้ร้องตามกฎหมาย เพราะไม่ทำให้ผู้ร้องได้สิทธิหรือเสียสิทธิ เมื่อผู้ร้องได้ใช้สิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันโดยขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายตามมาตรา 96 แล้ว ผู้ร้องย่อมหมดสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน
of 4