คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 96 (3)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2051/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซึ่งมีตราสารกับการจำนำ: ข้อจำกัดสิทธิเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย
สิทธิซึ่งมีตราสารหมายถึงตราสารที่ใช้แทนสิทธิหรือทรัพย์ซึ่งเป็นเอกสารที่ทำขึ้นตามแบบพิธีในกฎหมาย และเป็นตราสารที่โอนกันได้ด้วยวิธีของตราสารนั้น ไม่ได้หมายความถึงเอกสารธรรมดาที่ทำขึ้นเพื่อเป็นพยานหลักฐานแห่งสิทธิทั่ว ๆ ไป สิทธิการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์พร้อมทะเบียนรถยนต์และสัญญาเช่าซื้อที่ลูกหนี้ (จำเลย) มอบให้เจ้าหนี้เพื่อประกันการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์ออกให้แก่เจ้าหนี้นั้นไม่ได้มีลักษณะเป็นสิทธิซึ่งมีตราสาร แม้สิทธิดังกล่าวอาจโอนแก่กันได้ก็เป็นเพียงการโอนสิทธิเรียกร้องธรรมดาเท่านั้น การที่ลูกหนี้มอบสิทธิการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์พร้อมทะเบียนรถยนต์และสัญญาเช่าซื้อแก่เจ้าหนี้เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์ออกให้แก่เจ้าหนี้ จึงไม่เป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสารตามนัยมาตรา 750 แห่ง ป.พ.พ. เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 96 (3) แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2051/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ไม่ใช่สิทธิซึ่งมีตราสาร จึงไม่ถือเป็นการจำนำเพื่อขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
สิทธิซึ่งมีตราสารหมายถึงตราสารที่ใช้แทนสิทธิหรือทรัพย์ซึ่งเป็นเอกสารที่ทำขึ้นตามแบบพิธีในกฎหมาย และเป็นตราสารที่โอนกันได้ด้วยวิธีของตราสารนั้น ไม่ได้หมายความถึงเอกสารธรรมดาที่ทำขึ้นเพื่อเป็นพยานหลักฐานแห่งสิทธิทั่ว ๆ ไป สิทธิการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์พร้อมทะเบียนรถยนต์และสัญญาเช่าซื้อที่ลูกหนี้ (จำเลย) มอบให้เจ้าหนี้เพื่อประกันการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์ออกให้แก่เจ้าหนี้นั้นไม่ได้มีลักษณะเป็นสิทธิซึ่งมีตราสาร แม้สิทธิดังกล่าวอาจโอนแก่กันได้ก็เป็นเพียงการโอนสิทธิเรียกร้องธรรมดาเท่านั้น การที่ลูกหนี้มอบสิทธิการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์พร้อมทะเบียนรถยนต์และสัญญาเช่าซื้อแก่เจ้าหนี้เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์ออกให้แก่เจ้าหนี้ จึงไม่เป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสารตามนัยมาตรา 750 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 96(3) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2051/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ไม่เป็นสิทธิซึ่งมีตราสาร เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้มีประกัน
สิทธิซึ่งมีตราสารย่อมหมายถึงตราสารที่ใช้แทนสิทธิหรือทรัพย์ซึ่งเป็นเอกสารที่ทำขึ้นตามแบบพิธีในกฎหมาย และเป็นตราสารที่โอนกันได้ด้วยวิธีของตราสารนั้น ไม่หมายความถึงเอกสารธรรมดาที่ทำขึ้นเพื่อเป็นพยานหลักฐานแห่งสิทธิทั่ว ๆ ไป สิทธิการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์พร้อมทะเบียนรถยนต์และสัญญาเช่าซื้อที่ลูกหนี้มอบให้เจ้าหนี้เพื่อประกันการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์ออกให้แก่เจ้าหนี้นั้น หาได้มีลักษณะเป็นสิทธิซึ่งมีตราสารในความหมายดังกล่าวไม่ แม้สิทธิดังกล่าวอาจโอนแก่กันได้ก็เป็นเพียงการโอนสิทธิเรียกร้องธรรมดาเท่านั้น การที่ลูกหนี้มอบสิทธิการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์พร้อมทะเบียนรถยนต์และสัญญาเช่าซื้อแก่เจ้าหนี้เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์ออกให้แก่เจ้าหนี้ จึงไม่เป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 750 เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้มีประกันตาม พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 96(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองหลังการประนอมหนี้และการล้มละลาย
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจทำการขายทอดตลาดทรัพย์สินจำนองเพื่อเป็นการบังคับเอาแก่ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันตามข้อตกลงในการประนอมหนี้ ซึ่งศาลได้มีคำสั่งเห็นชอบแล้วได้ แม้ศาลจะมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายและให้จำเลยมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนเพราะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังต้องมีอำนาจหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อตกลงในการประนอมหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดหลังศาลสั่งยกเลิกการล้มละลาย – ข้อตกลงประนอมหนี้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจทำการขายทอดตลาดทรัพย์สินจำนองเพื่อเป็นการบังคับเอาแก่ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันตามข้อตกลงในการประนอมหนี้ ซึ่งศาลได้มีคำสั่งเห็นชอบแล้วได้ แม้ศาลจะมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายและให้จำเลยมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตน เพราะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังต้องมีอำนาจหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อตกลงในการประนอมหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองหลังศาลเห็นชอบการประนอมหนี้
ในการขอประนอมหนี้ครั้งแรกซึ่งถูกศาลสั่งยกเลิกและพิพากษาให้จำเลยล้มละลาย จำเลยขอชำระหนี้เป็นจำนวนร้อยละ 15 ของยอดหนี้ที่ไม่มีประกัน รวมทั้งหนี้มีประกันของผู้ร้องส่วนที่ยังขาดอยู่หลังจากบังคับจำนองทรัพย์อันเป็นหลักประกันแล้วด้วย ในการขอประนอมหนี้ครั้งหลังจำเลยยื่นคำขอประนอมหนี้โดยระบุว่าจำเลยจะยอมชำระหนี้ที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้วเป็นจำนวนร้อยละ 15 แม้ว่าในคำขอประนอมหนี้ครั้งหลังจำเลยจะมิได้ระบุ รายละเอียดเหมือนการประนอมหนี้ครั้งแรก แต่การประนอมหนี้ทั้งสองครั้งได้กระทำในคดีล้มละลายเรื่องเดียวกัน เมื่อพิจารณาคำขอประนอมหนี้ทั้งสองครั้งประกอบกันแล้ว เห็นได้ว่าจำเลยมีความประสงค์จะขอประนอมหนี้เฉพาะหนี้ที่ไม่มีประกันเป็นจำนวนร้อยละ 15 ของหนี้ทั้งหมดส่วนที่เป็นหนี้มีประกันจำเลยยินยอมให้เจ้าหนี้บังคับเอาแก่ทรัพย์อันเป็นหลักประกันก่อน หากยังขาดอยู่ จำเลยจึงขอชำระหนี้จำนวนร้อยละ 15 ของหนี้ส่วนที่ขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจขายทอดตลาดทรัพย์อันเป็นประกันตามข้อตกลงในการประนอมหนี้ซึ่งศาลมีคำสั่งเห็นชอบแล้วได้ การที่ศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายเนื่องจากจำเลยขอประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายสำเร็จ และศาลสั่งให้จำเลยมีอำนาจเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของตนนั้น อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายยังมิได้สิ้นสุดลงโดยสิ้นเชิงเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังมีหน้าที่ในการที่จะปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อตกลงในการประนอมหนี้อยู่ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2085/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลายและการเพิกถอนการชำระหนี้
ผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้มีประกัน เมื่อลูกหนี้ล้มละลายผู้คัดค้านอาจใช้สิทธิขอรับชำระหนี้โดยบังคับเอากับทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน แล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนหนี้ที่ยังขาดอยู่หรือขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน แล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ หรือตีราคาทรัพย์อันเป็นหลักประกันแล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ได้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 96(2)(3)(4)ดังนั้น เงินค่าขายทรัพย์ที่เหลือจากการหักชำระหนี้รายอื่นจึงอยู่ในเกณฑ์ที่ผู้คัดค้านในฐานะเจ้าหนี้มีประกันจะบังคับเอาได้การที่ผู้คัดค้านรับชำระหนี้ส่วนนี้ย่อมไม่ทำให้เจ้าหนี้อื่นซึ่งมีฐานะเป็นเพียงเจ้าหนี้สามัญเสียเปรียบ การกระทำของลูกหนี้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นจึงไม่อาจเพิกถอนการชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองรายนี้ตาม มาตรา 115.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6051/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการชำระหนี้ก่อนล้มละลาย: เจ้าหนี้ได้เปรียบหรือไม่
จำเลยถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลาย ทางสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปรากฏว่าในระหว่างระยะเวลาภายหลังจากถูกฟ้องจำเลยได้ชำระหนี้เงินกู้ให้ผู้คัดค้านเป็นเงิน 520,000 บาท จำเลยยังคงค้างผู้คัดค้านอยู่อีก 681,279.40 บาท ผู้คัดค้านได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ที่เหลือดังกล่าว โดยขอให้ขายทรัพย์ที่จำนองเป็นประกันและขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนเงินที่ขาดอยู่ ดังนี้ การที่จำเลยชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้านภายหลังถูกฟ้อง มีผลทำให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นของจำเลย เพราะหากผู้คัดค้านไม่ได้รับชำระหนี้จำนวน 520,000 บาทไปก่อน ผู้คัดค้านก็จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้เต็มจำนวนหนี้ โดยขอให้ขายทรัพย์ที่จำนองก่อนถ้าขายทรัพย์ที่จำนองได้เงินไม่ถึงจำนวนหนี้ทั้งหมด ผู้คัดค้านได้รับชำระหนี้จากเงินที่ขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองนั้นก่อนส่วนหนี้ที่ยังขาดอยู่ผู้คัดค้านจะได้เพียงส่วนเฉลี่ยโดยเสมอภาคกับเจ้าหนี้อื่นของจำเลย ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วผู้คัดค้านอาจจะได้รับชำระหนี้ไม่เต็มจำนวนหนี้ แต่การที่ผู้คัดค้านได้รับชำระหนี้ไปก่อนแล้วนำเอาหนี้ส่วนที่ขาดมาขอรับชำระหนี้ ถ้าขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองได้เงินไม่ถึงจำนวนหนี้ทั้งหมดที่เป็นหนี้อยู่ ผู้คัดค้านจะได้รับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนอง ซึ่งเมื่อรวมกับจำนวนเงินที่ได้รับชำระไปก่อนผู้คัดค้านอาจจะได้รับชำระหนี้เต็มตามจำนวนหนี้ จึงเป็นการได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นของจำเลย และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยมีเจ้าหนี้รวมเป็นจำนวนเงินถึง 12,378,335.11 บาท แต่มีทรัพย์สินเพียง 40,000 บาท แสดงว่าจำเลยมีทรัพย์สินไม่พอที่จะชำระหนี้ได้ทั้งหมด พฤติการณ์ที่จำเลยชำระเงินให้ผู้คัดค้านไปก่อน จึงเป็นการมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นของจำเลย ผู้คัดค้านจะได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 3 โดยสุจริตดังอ้างหรือไม่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็เพิกถอนการชำระหนี้ดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4432/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในสัญญาเช่าซื้อมีภาระเกินควรในคดีล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจไม่ยอมรับได้
สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อบ้านและที่ดินระหว่างผู้ร้องทั้งหมดกับจำเลยที่ 1 นั้นเป็นสิทธิที่ผู้ร้องทั้งหมดและจำเลยที่ 1 จะพึงได้รับทั้งสองฝ่าย หาใช่เป็นสิทธิตามสัญญาที่ผู้ร้องทั้งหมดจะพึงได้รับไปแต่ฝ่ายเดียวเท่านั้นไม่ เมื่อปรากฏว่าที่ดินดังกล่าวติดจำนอง ธนาคาร ท. เจ้าหนี้มีประกันได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้จำนวนเงิน 166,527,203.70 บาท โดยขอให้ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนเงินที่ยังขาดอยู่ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 96(3) และยังมีเจ้าหนี้รายอื่นอีกจำนวนมากยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นจำนวนถึง 1,271,317,509.34 บาทแต่สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 จะได้รับค่าเช่าซื้ออีกบางส่วนจากผู้ร้องทั้งหมดเพียงรายละ 180,000 บาท เท่านั้น ดังนี้สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 จะได้รับเงินจากผู้ร้องทั้งหมดเป็นเงินจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับความยุ่งยากหรือภาระที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามสัญญา จึงเป็นกรณีที่สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อมีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญานั้นได้ ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯมาตรา 122.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2376-2378/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจบอกเลิกสัญญาซื้อขายได้ หากสิทธิที่จำเลยจะได้รับตามสัญญา มีภาระเกินกว่าประโยชน์ที่จะได้รับ
การที่ผู้ร้องกับพวกทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน และสัญญาว่าจ้างปลูกสร้างอาคารกับจำเลยที่ 1 ผู้ร้องกับพวกคงค้างชำระเงินตามสัญญาดังกล่าวเป็นเงิน 506,370 บาท จำเลยที่ 1 ยังไม่ได้โอนที่ดินให้ผู้ร้องกับพวก แต่ กลับนำที่ดินตาม สัญญาดังกล่าวและที่ดินอื่นรวม 31 โฉนด ไปจำนองบริษัท ส. จำกัด ในวงเงิน8,000,000 บาท ต่อมาศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาด บริษัท ส. จำกัด ยื่นขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกัน โดย ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดที่ดินที่จำนองและขอรับชำระหนี้สำหรับหนี้จำนวนที่ขาดจากยอดหนี้10,589,687.88 บาท ตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 96(3) ดังนี้ เมื่อสิทธิตาม สัญญาที่จำเลยที่ 1 จะได้รับเงินจากผู้ร้องกับพวกเป็นเงินจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับความยุ่งยากหรือภาระที่จะต้อง ปฏิบัติให้เป็นไปตาม สัญญา จึงเป็นกรณีที่สิทธิตาม สัญญามีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านมีอำนาจที่จะไม่ยอมรับทรัพย์สินหรือสิทธิตาม สัญญานั้นโดย บอกเลิกสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้ร้องกับพวกได้ ตาม พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 122
of 4