พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8736/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสนอราคาไถ่ถอนจำนองและการสนองรับโดยปริยาย หากไม่ฟ้องคดีภายในกำหนดเวลา
จำเลยที่ 2 เป็นเพียงผู้ซื้อทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 มาจากการขายทอดตลาดโดยติดจำนองไม่ได้เป็นคู่สัญญาที่จะต้องรับผิดตามสัญญาจำนอง จำเลยที่ 2 จึงมีฐานะเป็นเพียงผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง มีหน้าที่ปลดเปลื้องภาระจำนองด้วยการไถ่ถอนจำนองตาม ป.พ.พ. มาตรา 738 ซึ่งจำเลยที่ 2 ก็ได้เสนอคำขอไถ่ถอนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างทรัพย์จำนองไปยังโจทก์ โจทก์ได้รับคำเสนอดังกล่าวเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2557 หากโจทก์ไม่ยอมรับคำเสนอก็ต้องฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 เดือนนับแต่วันมีคำเสนอเพื่อให้ศาลพิพากษาสั่งให้ขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองนั้นตามมาตรา 739 แต่โจทก์เพียงแต่มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาหนังสือขอไถ่ถอนจำนองไปยังจำเลยที่ 2 ว่า โจทก์ขอปฏิเสธข้อเสนอชำระค่าไถ่ถอนจำนองของจำเลยที่ 2 หากจะไถ่ถอนจำนองจะต้องชำระตามภาระหนี้จำนอง โดยไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 เดือนนับแต่วันมีคำเสนอ โจทก์จึงต้องถูกผูกพันตามคำเสนอขอไถ่ถอนจำนองของจำเลยที่ 2 โดยถือว่าเป็นการสนองรับโดยปริยายตามมาตรา 739 และมาตรา 741 จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิไถ่ถอนจำนองในวงเงินตามที่เสนอ แต่ภาระจำนองจะระงับสิ้นไปก็ต่อเมื่อจำเลยที่ 2 ใช้เงินแก่โจทก์ตามที่จำเลยที่ 2 เสนอขอไถ่ถอนดังกล่าว แม้โจทก์จะไม่ยอมรับราคาตามที่จำเลยที่ 2 เสนอ แต่เมื่อถือว่าโจทก์สนองรับราคาตามที่จำเลยที่ 2 เสนอแล้ว จำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ปฏิบัติตามคำเสนอดังกล่าวด้วย โดยต้องไถ่ถอนจำนองตามราคาที่เสนอซึ่งถือเป็นหนี้เงินที่จะต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่นำเงินตามราคาที่เสนอไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ภายในกำหนดเวลาตามคำเสนอตามมาตรา 330 และ 331 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในส่วนดอกเบี้ยนับแต่วันครบกำหนดตามคำเสนอราคาไถ่ถอนจำเลยที่ 2 มีหนังสือถึงโจทก์ขอไถ่ถอนทรัพย์จำนองภายใน 30 วัน โจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าววันที่ 25 พฤศจิกายน 2557 โจทก์จึงต้องฟ้องคดีภายในวันที่ 25 ธันวาคม 2557 กรณีจึงต้องถือว่าการสนองรับคำเสนอราคาไถ่ถอนของจำเลยที่ 2 มีผลวันที่ 25 ธันวาคม 2557 กำหนดเวลา 30 วัน ที่จำเลยที่ 2 ต้องวางเงินจึงตรงกับวันที่ 24 มกราคม 2558 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยผิดนัดนับแต่วันที่ 25 มกราคม 2558 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4302/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องร้องผู้พิพากษาด้วยความเข้าใจผิดด้านข้อกฎหมาย และการฟ้องเท็จที่กระทบต่อเกียรติยศ
จำเลยบรรยายฟ้องในข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตามกระบวนพิจารณา ซึ่งรวมทั้งได้คัดใจความที่โจทก์ร่วมในฐานะผู้พิพากษามีคำสั่งในสำนวนความ แต่จำเลยไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของโจทก์ร่วมในปัญหาข้อกฎหมายว่าการออกคำสั่งงดไต่สวนมูลฟ้องและมีคำพิพากษายกฟ้อง รวมทั้งคำสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์ร่วมเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จึงเป็นการระบุบทกฎหมายในฐานความผิดจากข้อเท็จจริงตามฟ้องมิใช่เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงให้แตกต่างจากความเป็นจริงที่เกิดขึ้นตามกระบวนพิจารณา แต่เป็นการยืนยันความเห็นที่แตกต่างในข้อกฎหมายตามความเข้าใจของจำเลย ไม่อาจถือว่าเป็นความเท็จ การฟ้องคดีอาญาของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 175จำเลยเป็นคู่ความในคดีและมีความรู้ทางกฎหมายพอสมควรย่อมทราบและเข้าใจถึงการดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีว่าโจทก์ร่วมใช้ดุลพินิจมีคำสั่งในคดีตามบทบัญญัติของกฎหมายมิใช่เป็นการมีคำสั่งโดยอคติและไม่ยุติธรรม แต่จำเลยกลับนำคดีมาฟ้องกล่าวหาโจทก์ร่วมว่า การที่โจทก์ร่วมมีคำสั่งงดไต่สวนมูลฟ้องและพิพากษายกฟ้องในคดีดังกล่าวเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 นั้น เป็นการกล่าวหาว่าโจทก์ร่วมมีเจตนากระทำโดยมิชอบด้วยหน้าที่และข้อกล่าวหาในฟ้องย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่า การใช้ดุลพินิจของโจทก์ร่วมไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของความชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการบั่นทอนและลดคุณค่าในการพิจารณาพิพากษาคดีในหน้าที่ผู้พิพากษาของโจทก์ร่วม ทั้งทำให้ประชาชนทั่วไปซึ่งมิได้รู้ข้อเท็จจริงในเชิงลึกของคดี ขาดความเชื่อมั่นหรือเชื่อถือต่อกระบวนการยุติธรรม การฟ้องคดีของจำเลยเป็นการฟ้องแกล้งกล่าวหาโจทก์ร่วมตามอำเภอใจโดยอาศัยเหตุที่จำเลยเสียประโยชน์ในผลแห่งคดี หาใช่เป็นการใช้สิทธิทางศาลตามปกติและโดยสุจริตไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการดูหมิ่นผู้พิพากษาในการพิจารณาหรือพิพากษาคดีตาม ป.อ. มาตรา 198
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4187/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์เมื่อไม่มีการขาย: ความรับผิดชอบของผู้ขออายัดจากการตรวจสอบทรัพย์สินที่ไม่ถูกต้อง
ค่าธรรมเนียมเมื่อยึดทรัพย์สินซึ่งมิใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย เป็นค่าบริการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเรียกเก็บจากคู่ความที่มาขอใช้บริการการยึดทรัพย์จากเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วแต่ต่อมาไม่มีการขายทรัพย์ที่ยึดนั้น
โจทก์เป็นผู้ยื่นคำขอยึดทรัพย์ ณ ที่ทำการต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี พร้อมส่งโฉนดที่ดิน ภาพถ่ายสิ่งปลูกสร้าง และเอกสารประกอบ โดยอ้างว่าเป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของจำเลยทั้งสอง เจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสอบแล้วเชื่อว่าเป็นทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองตามที่โจทก์กล่าวอ้างจึงทำการยึดให้แล้วประเมินราคาทรัพย์ที่ยึด แจ้งการยึดให้เจ้าพนักงานที่ดินและจำเลยทั้งสองทราบ ปิดประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีเรื่องการยึดทรัพย์ ณ ที่ตั้งทรัพย์ การยึดของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวจึงมีค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเกิดขึ้นแล้ว เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์หลงผิดในส่วนภาพถ่ายของที่ดินที่นำยึด ความจริงแล้วที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินว่างเปล่าไม่ปรากฏสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแก้ไขให้ถูกต้อง เท่ากับโจทก์ประสงค์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการยึดสิ่งปลูกสร้างตามภาพถ่าย กรณีจึงเป็นการขอถอนการยึดทรัพย์ที่มีอยู่จริง จึงต้องเสียค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายตามตาราง 5 หมายเลข 3 ท้าย ป.วิ.พ.
โจทก์เป็นผู้ยื่นคำขอยึดทรัพย์ ณ ที่ทำการต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี พร้อมส่งโฉนดที่ดิน ภาพถ่ายสิ่งปลูกสร้าง และเอกสารประกอบ โดยอ้างว่าเป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของจำเลยทั้งสอง เจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสอบแล้วเชื่อว่าเป็นทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองตามที่โจทก์กล่าวอ้างจึงทำการยึดให้แล้วประเมินราคาทรัพย์ที่ยึด แจ้งการยึดให้เจ้าพนักงานที่ดินและจำเลยทั้งสองทราบ ปิดประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีเรื่องการยึดทรัพย์ ณ ที่ตั้งทรัพย์ การยึดของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวจึงมีค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเกิดขึ้นแล้ว เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์หลงผิดในส่วนภาพถ่ายของที่ดินที่นำยึด ความจริงแล้วที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินว่างเปล่าไม่ปรากฏสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแก้ไขให้ถูกต้อง เท่ากับโจทก์ประสงค์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการยึดสิ่งปลูกสร้างตามภาพถ่าย กรณีจึงเป็นการขอถอนการยึดทรัพย์ที่มีอยู่จริง จึงต้องเสียค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายตามตาราง 5 หมายเลข 3 ท้าย ป.วิ.พ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2580/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี และประเด็นการยกข้อต่อสู้ที่มิได้ยกขึ้นในศาลล่าง
คำว่า "ซึ่งมิใช่ภริยาหรือสามีของตน" ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก หมายถึงการเป็นภริยาหรือสามีกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1457 ที่บัญญัติว่า "การสมรสตามประมวลกฎหมายนี้จะมีได้เฉพาะเมื่อได้จดทะเบียนแล้วเท่านั้น" เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายที่ 1 และจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้เสียหายที่ 1 และจำเลยจึงยังมิใช่ภริยาหรือสามีกัน
จำเลยฎีกาว่า เมื่อผู้เสียหายที่ 1 ยินยอมไปกับจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร ตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม นั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง และไม่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยที่จะยกขึ้นได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 225 ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า แม้จำเลยให้การรับสารภาพ แต่โจทก์มิได้นำพยานหลักฐานมาสืบประกอบให้ได้ความชัดว่า จำเลยสอดใส่อวัยวะเพศของจำเลยเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายที่ 1 หรือผู้เสียหายที่ 1 เป็นผู้ใช้อวัยวะเพศของจำเลยสอดใส่กระทำกับอวัยวะเพศของผู้เสียหายที่ 1 เอง นั้น จำเลยมิได้นำสืบต่อสู้ในศาลชั้นต้น ทั้งมิได้อุทธรณ์ในประเด็นดังกล่าว จำเลยเพิ่งยกข้อเท็จจริงนี้ขึ้นต่อสู้ในชั้นฎีกา จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ทั้งยังไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และ 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
จำเลยฎีกาว่า เมื่อผู้เสียหายที่ 1 ยินยอมไปกับจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร ตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม นั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง และไม่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยที่จะยกขึ้นได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 225 ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า แม้จำเลยให้การรับสารภาพ แต่โจทก์มิได้นำพยานหลักฐานมาสืบประกอบให้ได้ความชัดว่า จำเลยสอดใส่อวัยวะเพศของจำเลยเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายที่ 1 หรือผู้เสียหายที่ 1 เป็นผู้ใช้อวัยวะเพศของจำเลยสอดใส่กระทำกับอวัยวะเพศของผู้เสียหายที่ 1 เอง นั้น จำเลยมิได้นำสืบต่อสู้ในศาลชั้นต้น ทั้งมิได้อุทธรณ์ในประเด็นดังกล่าว จำเลยเพิ่งยกข้อเท็จจริงนี้ขึ้นต่อสู้ในชั้นฎีกา จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ทั้งยังไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และ 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2580/2563 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี และอายุยังไม่เกินสิบสามปี โดยไม่เป็นภริยาหรือสามีโดยชอบด้วยกฎหมาย
คำว่า "ซึ่งมิใช่ภริยาหรือสามีของตน" ตามบทบัญญัติของ ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก หมายถึงการเป็นภริยาหรือสามีกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ครอบครัว ลักษณะ 1 เรื่องการสมรส ซึ่งตาม มาตรา 1457 บัญญัติว่า "การสมรสตามประมวลกฎหมายนี้จะมีได้เฉพาะเมื่อได้จดทะเบียนแล้วเท่านั้น" เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายที่ 1 และจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้เสียหายที่ 1 และจำเลยจึงยังมิใช่ภริยาหรือสามีตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ในขณะที่ผู้เสียหายที่ 1 อายุไม่เกินสิบสามปี และในขณะที่ผู้เสียหายที่ 1 อายุเกินสิบสามปี แต่ยังไม่เกินสิบห้าปี จึงเป็นความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ซึ่งมิใช่ภริยาหรือสามีของตน และฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปี ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรกและวรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 532/2563 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 532/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเรา, พรากผู้เยาว์, และการล่วงละเมิดอำนาจปกครองเด็ก การใช้ขนมล่อลวงเป็นกลอุบาย
จำเลยเรียกผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุ 14 ปีเศษ ให้เข้าไปเอาขนมในบ้าน จึงเป็นการกระทำโดยใช้ขนมมาล่อผู้เสียหายให้เข้าไปในบ้าน ถือเป็นกลอุบายส่วนหนึ่งเพื่อให้ได้ตัวผู้เสียหายมากระทำชำเรา และเมื่อผู้เสียหายเข้าไปแล้วจำเลยก็ได้ปิดประตู จึงนับได้ว่าเป็นการพาไปโดยแยกอำนาจปกครองจากบิดามารดา และการที่จำเลยพาผู้เสียหายไปกระทำชำเราที่ป่าละเมาะข้างทุ่งนา และพาผู้เสียหายจากบริเวณแท็งก์น้ำเข้าไปกระทำอนาจารในซอกแท็งก์น้ำ ล้วนเป็นการพาผู้เสียหายจากที่เปิดเผยเข้าไปในจุดลับตาผู้คน จึงเป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดาทั้งสิ้น เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7178/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานกระทำชำเราและอนาจารต่อเด็ก การพิจารณาความผิดกรรมเดียวและบทลงโทษ
คำว่า "อนาจาร" มีความหมายว่า การกระทำที่ไม่สมควรทางเพศ ซึ่งรวมถึงการแตะต้องเนื้อตัวร่างกายในทางไม่สมควร ส่วนการกระทำชำเราหมายถึง การกระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำ โดยการใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำกระทำกับอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น การกระทำชำเราจึงรวมถึงการกระทำอนาจารอยู่ในตัว เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยขู่บังคับให้ผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งมีอายุ 9 ปีเศษ นอนลงกับพื้น อ้าขาและใช้อวัยวะเพศของจำเลยสอดใส่เข้าไปในทวารหนักของผู้เสียหายที่ 1 การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีโดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยเด็กนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ ตาม ป.อ. มาตรา 279 วรรคสอง (เดิม) และฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีซึ่งมิใช่ภริยาหรือสามีของตน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม (เดิม) ด้วย ซึ่งเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7176/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดร่วมกัน จำเลยต้องมีเจตนาตกลงร่วมกัน พยานหลักฐานต้องชัดเจน
จำเลยทั้งสามเดินทางมาที่ห้างสรรพสินค้า ซ. สาขาพระราม 9 ด้วยกัน แล้วจำเลยที่ 1 ถูกจับกุมก่อนพร้อมธนบัตรดอลลาร์สหรัฐปลอมที่เก็บไว้ในซองสีน้ำตาลซ่อนอยู่กับตัวของจำเลยที่ 1 ต่อมาจึงจับกุมจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ คนละแห่งกันกับที่จับกุมจำเลยที่ 1 แม้อยู่ในห้างสรรพสินค้าเดียวกัน แต่ก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะครอบครองธนบัตรดอลลาร์สหรัฐปลอมร่วมกัน โจทก์คงอาศัยพฤติการณ์ของจำเลยทั้งสามที่ร่วมเดินทางมาด้วยกันเท่านั้นที่เป็นหลักในการดำเนินคดี แต่บุคคลที่เดินทางมาด้วยกัน ไม่จำเป็นว่าจะต้องกระทำความผิดร่วมกันเสมอไป โจทก์ไม่มีพยานบุคคลใดที่ทราบถึงรายละเอียดของการซื้อและส่งมอบธนบัตรดอลลาร์สหรัฐปลอม พยานหลักฐานของโจทก์จึงยังไม่ได้ความชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีการกระทำร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ที่มีธนบัตรดอลลาร์สหรัฐปลอมไว้เพื่อนำออกใช้ และรู้ถึงการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 มาตั้งแต่แรกด้วยหรือไม่ จึงให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยที่ 2 และที่ 3